วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Seafaring, Spice route, Sacred Christ

เวลา13.30-16.30 สถานที่Main Hall,
Maha Chulalongkorn Building,
Chulalongkorn University

เก็บความและเรียบเรียง โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ศ. ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์
ประเด็นทางการค้า
วัตถุประสงค์ของการเดินเรือของโปรตุเกส 3 ประการใหญ่ คือ สำรวจทางทะเล แสวงหาเครื่องเทศและผูกขาดการค้าเครื่องเทศที่จะนำไปขายในยุโรป ปรากฏว่าโปรตุเกสลงทุนสูง แต่ผลที่ได้กลับไม่คุ้มค่า เพราะมีหลักฐานว่า สินค้าเครื่องเทศที่ส่งผ่านทางบกไปยังอิตาลียังมีปริมาณสูงมากกว่าปริมาณเครื่องเทศที่ส่งผ่านลิสบอนไปยังยุโรป นอกจากนี้โปรตุเกสยังมิได้ตั้งบริษัทการค้าแบบรวมทุนดังเช่นอังกฤษและฮอลันดา ทุนของโปรตุเกสจึงมีจำกัด เมื่ออังกฤษและฮอลันดาเข้ามา พ่อค้าโปรตุเกสจึงทุนของทั้งสองงชาติดังกล่าวไม่ได้

อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาหนึ่ง โปรตุเกสได้นำผลกำไรจากการค้าเครื่องเทศมา “Reinvest” เพื่อลงทุนในเรื่องของการต่อเรืออย่างจริงจัง ส่งผลให้เรื่อโปรตุเกสมีสมรรถภาพมากกว่าเรือสำเภาจีน และใช้คนน้อยกว่า แต่การค้าในเอเชียมีต้นทุนสูงมากและไม่คุ้ม เพราะต้องนำผลกำไรมาปราบปรามโจรสลัดด้วย ซึ่งในที่นี้หมายถึงพวกที่เข้ามาค้าขายทางทะเลโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ชาวมลายูจากอาเจะห์ยังโจมตีมะละกาหลายๆครั้ง ฮอลันดาก้คุกคามความมั่นคง

ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เสนอว่า ในช่วงเวลาประมาณคริสต์ศตวรรษที่16 – 17 พ่อค้ายุโรปยังไม่มีสินค้าของตนนำออกมาขายในเอเชีย จึงต้องนำสินแร่เงิน(Silver) ในอเมริกาออกมาแลกเปลี่ยนกับสินค้าของเอเชีย โดยเฉพาะสเปน แต่โปรตุเกสไม่มีสินแร่เงินของตน กำไรทางการค้าในเอเชียจึงเป็นกำไรที่เกิดจากการซื้อขายสินค้ากันเองในเอเชียมากกว่า อาทิ ไหม เครื่องถ้วยจีน เครื่องเทศ ของป่า ไม้หอม ฯลฯ และดูเหมือนว่าสินค้าสำคัญในเอเชีย คือ เรือกำปั่นแบบยุโรป โปรตุเกสจึงจำเป็นต้องหาเมืองท่าหรืออาณานิคม เพื่อ ทำให้ตนมีอิทธิพลควบคุมตลาดที่จะนำสินค้าไประบาย

บริษัทEast India Company ของอังกฤษก็ประสบปัญหาเรื่องการค้าขาดทุนจนกระทั่งเอาฝิ่นมาขายในเอเชียจึงประสบความสำเร็จทางการค้ามากกว่าชาติอื่น ขณะที่โปรตุเกสเมื่อรู้ตัวว่า จะต้องเป็นพ่อค้าคนกลางค้าขายภายในเอเชียก็สายเสียแล้ว เพราะการเข้ามาของฮอลันดา

ประเด็นทางด้านวัฒนธรรม
ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เสนอว่า โปรตุเกสมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมมากที่สุดในเอเชีย เมื่อเปรียบเทียบกับชาวตะวันตกชาติอื่นโดยไม่นับรวมสเปน เพราะวัฒนธรรมของโปรตุเกสจะกระจายมากกว่าในขณะที่วัฒนธรรมของสเปนจะกระจุกตัวอยู่เพียงในประเทศฟิลิปปินส์เท่านั้น

ปัญหาอย่างหนึ่งของโปรตุเกส คือ การไม่มีกองทหารประจำการจริงๆกองทัพของโปรตุเกส ประกอบขึ้นมาจากการเกณฑ์ผู้คนหลากหลายชนชั้นในโปรตุเกสมาเป็นกำลังในการยึดครองดินแดนต่างๆในแอฟริกาและเอเชีย โปรตุเกสมีทั้งขุนนางและไพร่เข้ามาทำงานในเอเชียและแอฟริกา ซึ่งคนเหล่านี้เมื่อเข้ามารับใช้ผู้ปกครองพื้นเมืองแล้วก็ไม่ยอมเดินทางกลับมาตุภูมิ องค์กรศาสนาของโปรตุเกสต่างจากชาติอื่นๆ คือ ไม่มีการรังเกียจเรื่องผิว มีการส่งเสริมให้แต่งงานกับชาวพื้นเมืองจนมีลูกหลาน พ่อค้าฮอลันดาและอังกฤษมีลูกเมีย เมื่อครบวาระการดำรงตำแหน่งก็ต้องกลับไป แต่ชุมชนโปรตุเกส เมื่อมีลูกเมีย กลับไม่ยอมเดินทางกลับมาตุภูมิ

โปรตุเกสไม่ประสบความสำเร็จด้านการเผยแพร่ศาสนา พระของโปรตุเกสแบ่งเป็น พระกลุ่มบุกเบิก กับ พระประจำโบสถ์ ทำให้พระโปรตุเกสไม่มีปัญหาขัดแย้งกันเอง

ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เชื่อว่า ชาวคริสเตียนโปรตุเกสในสยามกับกัมพูชาไม่รู้จักกัน แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้เมื่อชาวคริสต์ในกัมพูชาหนีภัยเข้ามาในยาม พระรู้จักกันผ่านพระบาทหลวง

ท้าวทองกีบม้าเป็นตัวอย่างของคนโปรตุเกสเชื้อสายญี่ปุ่นที่อพยพมาจากกัมพูชา

วัฒนธรรมโปรตุเกสที่แพร่เข้ามาในสยาม ได้แก่ เครื่องดนตรีประเภทไวโอลิน เพลงไทยสำเนียงฝรั่ง สถาปัตยกรรมและภาษาโปรตุเกส

ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
โปรตุเกสในเอเชีย
การเข้ามาของโปรตุเกสในเอเชีย ถือเป็นการรุกรานเอเชียครั้งแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นครั้งแรกที่ชาติตะวันตกใช้นโยบายเรือปืนในเอเชีย เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า

สินค้าที่โปรตุเกสสนใจ คือ เครื่องเทศซึ่งมีราคาแพงมากในยุโรปและต้องเป็นอำมาตย์จึงจะมีโอกาสได้ใช้ นอกจากนี้ก็มีสินค้าประเภท สมุนไพร เครื่องหอม ของป่า พริกไท อบเชย กานพลู จันเทศ กระวาน ขิง ฯลฯ เพื่อวัตถุประสงค์เรื่องการถนอมอาหาร แต่ก่อนการเดินทางสำรวจทางทะเลของโปรตุเกสนั้น เวนีสเป็นผู้ผูกขาดการค้าเครื่องเทศอยู่ก่อนแล้ว

โปรตุเกสยังให้ความสนใจในการเดินทางค้นหาดินแดนของกษัตริย์เพรสเตอร์ จอห์น (Prester John)ซึ่งเคยเชื่อว่าเป็นอาณาจักรของชาวคริสต์โบราณในตำนานของ St. Thomas (São Tomé) ผู้ซึ่งตายจากการอุทิศตนแก่ศาสนา(Matyr)

ยุคนั้น ชาวยุโรปไม่รู้จักอินเดียจึงประมาณกันว่า ดินแดนของอินเดียอาจเริ่มต้นที่แม่น้ำไนล์แล้วไปสิ้นสุดที่ใดสักแห่งหนึ่ง หนังสือของมาร์โคโปโล เขียนกันหลายเวอร์ชั่นมาก อาทิ เวอร์ชั่นของ อิบน์ บาตูตา(Ibn Batuta, 1304-1368)

ข้อมูลจาก http://www.associatedcontent.com/article/411216/marco_polo_ibn_battuta.html

Travel of Sir John Mandeville หรือ "Jehan de Mandeville", เผยแพร่ราวค.ศ.1380 แต่เซอร์ จอห์น ผู้นี้อาจไม่มีตัวตนจริง และผุ้เขียนตัวจริง คือ จาน เดอ ลังญี (Jan de Lagni) ต่อมามีการพิสูจน์ว่าเป้นบันทึกการเดินทางของมาร์โค โปโล


พาหนะที่โปรตุเกสใช้เดินทาง คือ เรือนาว( Nau) ซึ่งเป็นเรือหลายใบไม่ใช้ฝีพาย อุปกรณ์สำคัญของโปรตุเกส คือ แผนที่แบบPortolan Chart

http://www.google.co.th/

และเครื่องวัดมุมโดยอาศัยแสงอาทิตย์ช่วยแบบAstrolabe

http://www.google.co.th/

ขณะที่ฮอลันดาใช้เครื่องวัดดวงดาวเป็นอุปกรณ์สำคัญ ทำให้สามารถเดินทางในเวลากลางคืนได้

ภาพจาก http://www.causamerita.com/nau1.jpg

ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐกล่าวว่า บันทึกของอาซูไวรา นักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกส ระบุถึงบทบาทของเจ้าชายเฮนริกด้านการส่งเสริมการเดินเรือ แต่ปัจจุบัน มีการตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ของบทบาทดังกล่าว

ในการสำรวจทางทะเลนั้น เมืองใดที่ยึดได้ โปรตุเกสก็จะสร้างป้อม(Fortalesa)ขึ้นรักษาพื้นที่ เมืองใดที่ยึดไม่ได้ก็จะสร้างโรงสินค้า(Feitoria)

โคลัมบัส(Christopher Columbus)เป็นชาวเมืองเยนัว แต่พยายามจะมาเดินเรือให้โปรตุเกส/ สเปน

Vasco da Gama ได้พิสูจน์ให้เห้นว่า เขารู้จักกรแสน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติกและอินเดียเป็นอย่างดี ใน ปี ค.ศ. 1498 เขาสามารถเข้ามาตั้งสถานีการค้าขึ้นที่เมืองCochin ในอินเดีย เส้นทางการเดินเรือของเขาเริ่มจาก ลิสบอน ข้ามทะเลไปยังหมู่เกาะเคปเวิร์ด (Capa Verde) จากนั้นวกเข้าแหลมGood Hope แล้วมุ่งสู่ปลายทางที่กาลิกัต

ฟรานซิสกู ดึ อัลไมดา (Francisco de Almeida) อุปราชโปรตุเกสคนแรก

A portrait of Francisco de Almeida in the National Museum of Ancient Art. อุปราชคนแรกแห่ง State of India(Estado da Índia, 1505). (อ้างจาก Wikipedia)

เรือ Carrack ของ อัลไมดา (Wikipedia)

ค.ศ.1510 อัลฟองซู ดึ อัลบูแกร์กึ(Alfonso de Albouquerque) ศักดินาต่ำกว่าอัลไมดา ป็นอุปราชโปรตุเกสแห่งอินเดียคนที่2 ยึดกัวและมะละกา เพื่อคุมการค้าเครื่องเทศ

โปรตุเกสยึดครองเมืองกัวได้ จากนั้นก็ย้ายศูนย์กลางจากโคชินไปอยู่เมืองกัวนานถึงค.ศ.1966จึงคืนให้แก่อินเดีย

โปรตุเกสมีเมืองท่าสถานีการค้าและป้อมปราการ รวม 14 แห่ง เช่น เตอร์เนต ดิว กัว โคชิน โคลัมโบ บอมเบย์ อัมบอยนา มาเก๊า มะละกาฯลฯ นอกจากนี้ยังกระจายไปอยู่เซาโตเม มาลิอาปอร์ (นอกเมืองมัทราส) ฮูกห์ลี มากัสซาร์ ปาร์ลิกัต ปอร์ตู นูวู อยุธยา นอกจากนี้ยังได้สร้างเมืองโซลอร์และนางาซากิด้วย [1]

สิทธิในการเผยแพร่ศาสนา
บาทหลวงโปรตุเกสส่วนใหญ่สังกัดคณะโดมินิกันและฟรานซิสกัน ที่เมืองกัวบาทหลวงโปรตุเกสส่วนใหญ่สังกัดคณะออกุสติน มุ่งให้ความช่วยเหลือทางจิตวิญญาณแก่ชาวโปรตุเกสและครอบครัว

บาทหลวงเยซูอิตส่วนใหญ่จะให้ความสนใจคนพื้นเมือง
บันทึกในห้องสมุดที่ประเทศโปรตุเกสและสำนักวาติกันยังไม่ได้อ่านและตีพิมพ์เผยแพร่ยังมีอีกมาก บันทึกการเดินทางของปินโต(Pérégrinação)เป็นหนังสือที่นักเรียนชาวโปรตุเกสปัจจุบันใช้เป็นแบบเรียน

หนังสือเรื่อง Os Lusídas ของลูอิช กามอยช์ (Luís de Camões)

http://www.google.co.th/
เป็นมหากาพย์สดุดีการเดินทางของวาสโก ดา กามา โดยเขาระบุว่า การเดินทางของกามอยช์เกิดจากแรงบันดาลใจของพระเจ้า

กามอยช์มีเรื่องทเลาะกับชาวบ้านจึงถูกส่งไปทำงานลบล้างความผิดในอินเดีย แต่มีเรื่องบาดหมางกับอุปราชที่อินเดียจึงถูกส่งไปยังมาเก๊า 2 ปี เคยผจญภัยเรือแตกในเวียดนามด้วย เขาอยู่ในเอเชียนานถึง 17 ปี

ความเสื่อมของโปรตุเกส
ค.ศ.1580 เริ่มเสื่อมอิทธิพล เพราะรวมกับสเปน ซึ่งอาจมีสาเหตุอื่นอีก โดยเฉพาะเรื่องการทุจริตต่อหน้าที่ของขุนนางโปรตุเกส ซึ่งมีวาระอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ คราวละ 2 ปี จึงใช้เวลาดังกล่าวตักตวงผลประโยชน์ ตั้งคนของตนมาทำหน้าที่แทนคนเก่า เพื่อสร้างฐานะให้ทันในช่วง 2 ปี นอกจากนี้ยังถูกชาวพื้นเมืองต่อต้านด้วย

โปรตุเกสเสียมะละกาแก่ฮอลันดา ค.ศ.1640 จากนั้นก้ทยอยเสียเมืองต่างแก่ตามลำดับ จนกระทั่งเหลือเพียง 3 เมือง ในอินเดีย คือ ดิว กัว ดาเมา

ผลจากการสร้างสถานีการค้าของโปรตุเกส
-ทำให้การค้าในเอเชียขยายตัวโดยมีโปรตุเกสเป็นคนกลาง
-การเข้ามาของเทคโนโลยี
-การเกิดชุมชนโปรตุเกส
-การเกิดคนครึ่งชาติ(Meztiço)

บาทหลวงสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์
ปัจจุบันคริสเตียนในประเทศไทยมี 300,000 คนเศษ เท่านั้น ชาวโปรตุเกสในคริสต์ศตวรรษที่16 มีความเชื่อและศรัทธาต่อศาสนาต่างจากชาวโปรตุเกสในปัจจุบัน

ในคริสต์ศตวรรษที่16 ชาวโปรตุเกสเชื่อว่า พระเจ้าสร้างโลกและสรรพสิ่งทั้งหลาย ตรงกับความเชื่อซึ่งปรากฏในงานของPinto และ Luís de Camões พวกเขาเชื่อว่า แผ่นดินเป็นของ “พระ” ดังนั้นเมื่อสำรวจพบดินแดนแล้วจึงต้องไปขอแผ่นดินจาก “พระ” พระสันตะปาปาทรงเป็นตัวแทนของพระเจ้า โดยเสนอว่า โปรตุเกสจะประกาศศาสนาให้คนพื้นเมือง ความศรัทธาของโปรตุเกสทำให้พระสันตะปาปาพอใจ เนื่องจากตามปกติ พระสันตะปาปาต้องจ่ายเงินในการเผยแพรศาสนาเอง ดังนั้นจึงเขียนเอกสารอนุญาต(Bull / Bula of Pope) มอบอำนาจให้โปรตุเกสครอบครองแผ่นดินที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของโดยต้องหาสังฆราชเอง สร้างโบสถืเองและเผยแพร่ศาสนาเอง

เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเชื่อว่าโลกกลม ขณะที่คนอื่นเชื่อว่าโลกแบน การเดินทางไปอินเดียก็สามารถมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกได้เช่นกัน เมื่อเขาไปเสนอโครงการสำรวจทางทะเลกับกษัตริย์โปรตุเกส กลับถูกจับขึ้นศาลไต่สวนทางศาสนา (Inquisition) เพราะเป็นความเชื่อที่สวนทางกับพระคัมภีร์

โคลัมบัสหนีไปสเปนได้ ตรงกับรัชสมัย Queen Ezobella ปรากฏว่าเขาก็ถูกทางการสเปนจับเช่นกัน หลังจากนั้นเขาได้พบกับพระผู้ฟังการสารภาพบาปของราชินีอีโซเบลลา และเสนอแผนการสำรวจทางทะเลแก่พระรูปนั้น ทำให้ราชินีอีโซเบลลาเชื่อและขายเครื่องประดับเพชรเพื่อซื้อเรือและเป็นทุนสนับสนุนการเดินทางสำรวจของโคลัมบัสในที่สุด ทำให้พบโลกใหม่และยื่นขอแผ่นดินจากพระสันตะปาปา ทำให้โปรตุเกสไม่พอใจ Pope จึงไกล่เกลี่ยด้วยสัญญาTordessillas โดยแบ่งพื้นที่โลกออกเป็นเป็นสองส่วน ให้ซีกโลกตะวันตกเป็นของสเปน ซีกโลกตะวันออกเป็นของโปรตุเกส แต่พระสันตะปาปา ก็ยังแบ่งบราซิลให้แก่โปรตุเกส

ความเชื่องช้าของโปรตุเกสทำให้สเปนซึ่งมีอิทธิพลทางทหารมากกว่ายึดฟิลิปินส์เป็นอาณานิคม ขณะที่โปรตุเกสยังคงมุ่งค้าขายเล็กน้อยๆในเอเชีย

โปรตุเกสได้ส่งบาทหลวงเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในเอเชีย ได้แก่ คณะโดมินิกัน ฟรานซิสกันและเยซูอิต โดยอาศัยสิทธิพิเศษทางศาสนา(Padroado Portuguese) โดยมีเงื่อนไขว่าไม่ว่าจะเป็นมิชชันนารีชาติใด ต้องเปลี่ยนชื่อเป็นโปรตุเกส เรียนภาษาโปรตุเกส สาบานว่าจะเชื่อฟังกษัตริย์โปรตุเกส และเผยแพร่ศาสนาในนามของทางการโปรตุเกส เมื่อเดินทางไปเผยแพร่ศาสนาในจีน โคชิจีน และตังเกี๋ย ปรากฏว่ากลับถูกเบียดเบียนทางศาสนาอย่างรุนแรง ยกเว้นในสยาม

อย่างไรก็ดี โปรตุเกสเองก็ยังมิได้ประกาศศาสนา(คือ การเผยแพร่คำสอนแก่คนนอกศาสนา) ในเอเชียทันที ส่งผลให้มีบาทหลวงคณะ Mission Étrangère de Paris (MEP) เข้ามาสวมบทบาทนี้แทนในจีน โคชินจีน และตังเกี๋ย แต่กลับถูกเบียดเบียนทางศาสนาเช่นกัน นอกจากนี้ทางการโปรตุเกสหรือแม้แต่ชุมชนโปรตุเกสก็ไม่ยอมรับเช่นกัน ถึงกับมีหลักฐานการสั่งให้ทหารจับกุมบาทหลวงของคณะMEP

ในสยามนั้น ค่ายโคชินจีนของชาวเวียดนามให้การปกป้องบาทหลวงคณะMEPจึงเป็นสาเหตุของการขัดแย้งระหว่างชาวโปรตุเกสในสยามกับบาทหลวงคณะMEPที่มาใหม่

ชาวคริสต์มีจารีตว่า คนเราแต่งงานได้เพียงครั้งเดียว ไม่มีสิทธิ์แต่งงานใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมว่า เมื่อแต่งงานแล้วไม่มีสิทธิ์จับปืน(เป็นทหาร)อีก การแต่งงานของชาวคริสต์แต่ละคนจะต้องได้รับอนุญาตจากศาสนจักร ดังนั้น บางครั้งชาวคริสต์จึงต้องเดินทางไปขออนุญาตแต่งงานจากPopeไกลถึงยุโรป จนอาจต้องใช้เวลานานถึง 3 ปี Popeในคริสต์ศตวรรษที่16เชื่อว่า การแต่งงานเป็นเรื่องเคร่งครัดศักดิ์สิทธิ์และต้องอยู่กันจนตาย

กรณีของพระเจ้าเฮนรีที่8 ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่เคร่งศาสนามากของอังกฤษ แต่เมื่อเบื่อราชินีและต้องการแต่งงานใหม่ เมื่อของอนุญาตจากPopeแล้วไม่ได้รับอนุมัติ จึงใช้วิธีเปลี่ยนศาสนาใหม่ เป็นนิกายChurch of Anglican และตั้งกฎว่า ศาสนาต้องขึ้นตรงต่อกษัตริย์เท่านั้น

ปัจจุบันนิกายแองกลิกัน มีพระสงฆ์และสังฆราชเป็นหญิง ทำให้สงฆ์แองกลิกันอยากกลับมาสังกัดนิกายคาธอลิกอีกครั้ง

ในเมืองพระนครศรีอยุธยา การแต่งงานระหว่างชาวโปรตุเกสกับชาวสยามเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อมีลูกก็สามารถบวชเป็นสงฆ์ได้ เช่นกรณีของ António Pinto นักเรียนบ้านเณรชาวสยาม ซึ่งต้องเรียนภาษาละติน แล้วสามารถแสดงธรรมได้อย่างประทับใจต่อหน้าของเชอวาลิเยร์ เดอ โชมองต์จนถึงกับได้รับคำชมว่า เทียบเท่าผู้ที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยซอร์บอนได้เลย

เมื่อโกษาปานไปฝรั่งเศสก็นำปินตูไปด้วย และได้แสดงธรรมต่อหน้าคาร์ดินัลและสังฆราชในมหาวิหารNotre Dame de Paris ชื่อเสียงของปินตูได้ยินถึงPope ทรงอยากฟังการแสดงธรรมของเขา เมื่อได้ฟังก็ทรงทำนายว่า ปินตูจะได้เป็นถึงสังฆราชแห่งสังฆมณฑลสยาม แต่น่าเสียดาย เมื่อปินตูกลับมาสยามได้ 2 ปีก็ป่วยตาย

ชาวคริสต์สมัยนั้นถือว่าการแต่งงานต้องถูกต้อง หากไม่ถูกต้องก็ร่วมพิธีไม่ได้ ถ้าตายก็จะถูกฝังนอกป่าช้า โดยไม่ได้แก้บาป ไม่ได้รับศีล ซึ่งหมายถึงจะต้องตกนรกตามความเชื่อทางศาสนา ถูกประจานให้คนเป็นที่ผ่านไปมาฟัง

กฎที่เคร่งครัดทางศาสนาของชาวคริสต์ในคริสต์ศตวรรษที่16-19 คือ
-ฟังเทศน์ปีละ 100 ครั้ง ผู้เทศน์ต้องได้รับการแต่งตั้ง หากไม่ได้รับการแต่งตั้ง ไม่มีสิทธิ์เทศน์ คริสตังในสยามจึงเสี่ยงต่อการผิดกฎข้อนี้มาก
-ชาวคริสต์ต้องมาโบสถ์และแก้บาปอาทิตย์ละครั้ง
-ฟังเทศน์วันปัสกาล(วันคืนชีพของพระคริสต์)ปีละครั้ง
-อดอาหาร 160 วันต่อปี(สมัยนี้ปีละ 2 วัน บางคนยังไม่ค่อยจะทำกัน)
-ต้องเชื่อในเรื่อง พระคุณการุณย์
-ชาวโปรตุเกสเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ โชคลาง เพราะชาวยุโรปผ่านเรื่องร้ายๆมามาก เช่น โรคกาฬโรค พวกเขาเชื่อว่า มีสาเหตุมาจากการที่มีชาวยิวเข้ามาอยู่ในยุโรปมาก จึงเกิดเหตุการณ์ฆ่าล้างหมู่บ้านชาวยิว[2]
-ชาวยิวถูกมองว่ามีบาปเพราะเป็นผู้ฆ่าพระคริสต์ในอดีต
-ชาวโปรตุเกสติดรูปพระ ไม้กางเขน รูปภาพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์และนักบุญที่แท่นบูชาขนาดใหญ่ในบ้านมากกว่าชาติอื่น แม้แต่หน้าบ้านยังติดแผ่นกระเบื้องเคลือบอะซูเลจู(Azulejo)[3] อันมีชื่อเสียงด้วย

A B
ตัวอย่างกระเบื้องเคลือบทำเป็นแผ่นอะซูเลจู ที่บ้านของเอกอัครราชทูตโปรตุเกสก็มี แบบB เป็นแบบดั้งเดิมของโปรตุเกส

แบบC
[1] ในปัตตานีก็มีชุมชนโปรตุเกส
[2] เป็นเหตุให้ชาวยิว เปลี่ยนศาสนามาเป็นคาธอลิกกันมาก
[3] เป็นคำเรียกแผ่นกระเบื้องเคลือบรูปสี่เหลี่ยมที่ออกแบบเป็นรูปหรือลวดลายต่างๆ ในSpain, Italy, Holland, Turkey, Iran and Moroccoก็มี แต่ของดปรตุเกสมีชื่อเสียงมากที่สุด

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เก็บตกนิทรรศการมรดกสถาปัตยกรรมโปรตุเกส 10 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 2554

รายงานโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร


วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นวันชาติโปรตุเกส ปีนี้ผู้เขียนได้รับบัตรเชิญไปร่วมงานฉลอง ดังกล่าว ณ โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน แต่มีปัญหาทางเทคนิคเล็กน้อย เนื่องจากทำบัตรเชิญหาย และเข้าใจว่าตนเองยังไม่ได้รับบัตรเชิญดังกล่าว ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ สอบถามมาว่า ไม่พบหน้าในวันงาน สบายดีหรือเปล่า ผุ้เขียนตอบว่าเสียดายที่ไม่ได้รับบัตรเชิญ เป็นเหตุให้มีการไล่เรียงหาคำตอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบยืนยันว่า ได้ส่งบัตรเชิญมาแล้ว จนกระทั่งเพิ่งหาเจอเมื่อเช้าวันที่ 17 มิย. 54 จึงขออภัยผู้เกี่ยวข้องอเป็นย่างยิ่งมา ณ ที่นี้ ครับ



อย่างไรก็ดี ผู้เขียนได้ร่วมเฉลิมฉลองโอกาสสำคัญนี้ ด้วยการจัดการความรู้และเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวบางส่วนของนิทรรศการ เรื่อง มรดกสถาปัตยกรรมโปรตุเกส ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 10 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 2554 ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำหรับบางท่านที่พลาดโอกาสในการเรียนรู้เรื่องราวทางด้านสถาปัตยกรรมโปรตุเกสในเอเชียและแอฟริกาจากนิทรรศการข้างต้น โดยหวังว่าจะมีประโยชน์แก่ผู้สนใจบ้างไม่มากก็น้อย



หลังจากนี้แล้ว ผู้จัดงานจะนำนิทรรศการนี้ไปจัดแสดงในประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป



พิธีกรจากสถานทูตโปรตุเกสกับภัณฑารักษ์ กรมศิลปากร ร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน



ดร.โสมสุดา ลียวณิช อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวรายงาน




ภาพจากวิดีทัศน์