วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

เกี้ยว กริช และสัปทน : เครื่องยศโปรตุเกสที่บางท่านยังไม่ทราบ

โดยพิทยะ ศรีวัฒนสาร เมื่อ 9 กันยายน 2011 เวลา 18:55 น.

ภาพวาดในศิลปะนันบันของญี่ปุ่น ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่าเป็นขบวนของกะปิเตา-มูร์(Capitao -mor)นายอำเภอฝ/หัวหน้าชุมชนโปรตุเกส)ที่เมืองนางาซากิ


ในหนังสือ “The Embassy of Pero Vaz de Siqueira to Siam (1684-1686) โดย ลึอูนอร์ ดึ ซึอาบรา(Leonor de Seabra) ตีพิมพ์ที่มาเก๊า เมื่อ ค.ศ.2005 รวบรวมบันทึกของคณะราชทูตโปรตุเกส ชื่อ เปรู วาซ ดึ ซิไกรา(Pero Vaz de Siqueira) ซึ่งเดินทางเข้ามายังสยามระหว่างค.ศ.1684-1686 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ตอนหนึ่งในบันทึกดังกล่าวบรรยายถึงประเพณีการแห่แหนไปส่งคณะทูตจากจวนเอกอัครราชทูตไปยังท่าเรือ และวัฒนธรรมการแต่งกาย การประดับเครื่องยศอันประกอบด้วยสัปทนและเกี้ยวก่อนเดินทางจากมาเก๊าเข้ามายังสยาม กล่าวคือ



ขบวนของชายสูงศักดิ์ชาวโปรตุเกสวาดบนแผงลับแล ศิลปะนันบันของญี่ปุ่น


“วันที่ 6 เดือนมีนาคม ค.ศ.1684 ฯพณฯเอกอัครราชทูต เดินทางออกจากจวนของท่านเพื่อไปขึ้นเรือในลักษณะดังต่อไปนี้


บรรดาบุคคลสำคัญทั้งหลายในเมืองนี้ ( คือ มาเก๊า: ผู้แปล ) ต่างก็พากันมาที่บ้านของฯพณฯเอกอัครราชทูตเพื่อการติดตามไปส่งที่ท่าเรือ ท่ามกล่างคนเหล่านี้มี ท่านสาธุคุณ บาทหลวง อันตอนิอู มอร์ไรช์ ดึ ซาร์เมนตู (António Morães de Sarmento)ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ปกครองสังฆมณฑลแห่งจีน(Governor of the Bishopric of China)กับคณะสงฆ์(priests)ผู้ติดตาม นอกจากนี้ก็มีเจ้าอาวาสคณะออกุสตินียน (the Augustinian Abbot) พร้อมด้วยสงฆ์ (friars) ผู้ติดตาม และกลุ่มบาทหลวงคณะดูมินิกัน (the Dominicans) ซึ่งบาทหลวงผู้ดำรงตำแหน่งพระราชาคณะ(the Prelate)มิได้เดินทางมาร่วมด้วยเนื่องจากมีอาการอาพาธ ส่วนสมุห์บัญชีของคณะนักบุญฟรานซิสกัน (the Custodian of the Church of Saint Francis) ก็มาพร้อมกับชุมชนที่สังกัดโบสถ์ดังกล่าว รวมทั้งท่านกรรมาธิการแห่งคณะแม่ชี (the Commissioner of the Nuns) และ ฯพณฯ ผู้พิพากษา (His Highness Magistrate) ฟรานซิสกู กูเมซ บูเตลญู(Francisco Gomez Botelho) ผู้มาพร้อมกับคณะเจ้าหน้าที่ศาล ทั้งนี้ยังมีชาวเมืองและคนครึ่งชาติจีนมาร่วมส่งฯพณฯเอกอัครราชทูตจนล้นหลามไปทั้งสองฟากถนน เมื่อทุกคนมาพร้อมหน้ากันแล้ว ฯพณฯเอกอัครราชทูต ได้สืบเท้าออกมาในเครื่องแต่งกายผ้าทอเงินสูงค่า(dress in a rich silver woven fabric) เดินเส้นด้วยไหมทองคำ สวมสร้อยคอราคาแพงฝีมือประณีตน้ำหนักเท่ากับทองคำ 5 ออนซ์ครึ่ง (five and a half gold loaves)[1] เสื้อคลุมของฯพณฯเอกอัครราชทูตเดินลวดลายด้วยเส้นทองคำยกปมเลอค่า (the cloak had rich gold filigree buttons) ประดับกายด้วยดาบทองคำและกริชทองคำอันสง่างามกลมกลืนด้วยฝีมือสกุลช่างเดียวกัน เครื่องประดับของฯพณฯเอกอัครราชทูตมีราคามากกว่าทองคำมูลค่า 8 ออนซ์ สายรัดดาบเส้นหนึ่ง(one talim)เป็นชิ้นงานถักยกปมด้วยเส้นด้ายทองคำราคาแพง(one talim with an expensive gold embroidery work) จากอังกฤษ และหมวกของฯพณฯเอกอัครราชทูตนั้นก็ประดับด้วยเปียทองคำซึ่งทำขึ้นอย่างประณีตงดงามเกินราคาที่แท้จริง ภายใต้สัปทนทองคำขลิบด้วยสีเหลืองอมแดงเข้มประดับด้วยยอดเงิน ( a fine gold parasol lined with yellow damask with its pinnacle in silver ) ส่วนสัปทนประดับมุกสีแดงเข้มอีก 4 หลัง(four parasols of nacre damask ) ขลิบสีเหลืองอมแดงยอดเงิน ผู้ที่ยืนทางด้านขวามือของฯพณฯเอกอัครราชทูต คือ ท่านสาธุคุณ หัวหน้านักบวช เปดรู ดา ตรินดาดึ (the Reverend Father, Master Friar Pedro da Trindade) อนุศาสนาจารย์ประจำคณะทูต ทางด้านซ้ายมือ คือ เลขานุการทูต ฟรานซิสกู ฟรากูซู(Francisco Fragoso) ผู้ซึ่งยอมหลีกทางยกที่ของตนให้แก่ท่านสาธุคุณหัวหน้านักบวช ทันใดนั้นเอง มานูเอล รูดริเกช แฟรย์ (Manuel Rodrigues Freyre) ผู้บังคับกองอาภรณ์( the Captain of the banner)[2] ก็ก้าวมายืนด้านหลังของฯพณฯเอกอัครราชทูตพร้อมกับชูเสาประดับด้วยตราสัญลักษณ์ของราชสำนักโปรตุเกส (the Royal Coat) ที่สามารถแลเห็นได้อย่างชัดเจนจากสองฟากถนน ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวมีพื้นสีขาวกับสีแดงเข้มประดับดวงตราของราชสำนัก โดยปักอย่างประณีตด้วยเส้นไหมยกดอกทองคำเดินเส้นขอบสีทอง (exquisitely embroidered in golden thread with borders and girdle and bullion in crimson and gold) ด้านหน้าของตราราชสำนักมีขุนนางจำนวน 6 คน ยืนเรียงตามฐานันดรยศ ได้แก่ ผู้บังคับกองร้อยพร้อมด้วยผู้บังคับหมวดและผู้บังคับหมู่( the Captain with his Second Lieutenant and Sergeant) นอกจากนี้ก็มีหัวหน้าผู้ประกอบพิธีกรรมและผู้ช่วย(the Master of Ceremonies and the Assistant) เจ้าพนักงานดูแลทั่วไปประจำคณะทูต 2 นาย ( two Chamberlain) ยืนด้านหน้าคนผิวดำชาวพื้นเมือง 2 นาย( two Kaffirs) คนหนึ่งถือกลองอีกคนถือทรัมเป็ตเงินซึ่งติดธงสีแดงเข้มแบบหอยมุก(nacre damask flag)ไว้ เจ้าหน้าที่ดูแลทั่วไปทั้งสองคนถือตราประจำตระกูลทำจากผ้าปักไหมยกทองและเงินของท่านเอกอัครราชทูต คนผิวดำชาวพื้นเมืองทั้งสองนายแต่งกายอย่างดีด้วยเครื่องแต่งกายแบบชาวจีนและสวมหมวกกำมะหยี่สีแดงเข้ม(nacre velvet caps) ปักลูกไม้สีขาว(white lacework) แถวดังกล่าวขนาบด้วยกองทหาร 12 คน ทำหน้าที่เป็นหน่วยทหารรักษาความปลอดภัยซึ่งท่านผู้สำเร็จราชการ(the Count Viceroy)ออกคำสั่งให้ส่งมาจากเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์(the prison guard) ภายใต้การบังคับบัญชาของกัปตัน ฟรานซิสกู แฟร์ไรรา ดา ครูซ(Captain Francisco Ferreira da Cruz) ทหารรักษาความปลอดภัยเหล่านี้สวมเสื้อผ้าตามแฟชั่นของฤดูใบไม้ผลิผ้าอย่างหรูหราจากประเทศจีนโดยท่านเอกอัครราชทูตเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด และเหตุที่ท่านเอกอัครราชทูตเห็นว่า หน่วยทหารดังกล่าวซึ่งเป็นกองทหารปืนคาบศิลา(musketeers) มีจำนวนเพียงเล็กน้อย จึงให้รับชาวเมืองเข้าเป็นทหารเพิ่มอีก 8 นาย รวมเป็น 20 คน โดยเพิ่มค่าจ้างให้สูงขึ้นด้วยเงินส่วนตัว เพื่อให้พวกเขาเต็มใจร่วมทางไปยังสยาม ด้านหลังของท่านเอกอัครราชทูต คือ มานูเอล ดา โรชา(Manoel da Rocha) ซึ่งเกิดที่มาเก๊า ทำหน้าที่เป็นอาลักษณ์ใหญ่(Main scribe)ของเลขานุการคณะทูต เขาแต่งกายอย่างสง่าผ่าเผยด้วยชุดเสื้อคลุมยาวสำหรับสวมในงานเลี้ยงซึ่งท่านเอกอัครราชทูตสั่งตัดให้เช่นกัน ขุนนางทั้งหมด 6 คน (six pages) สวมใส่เสื้อผ้าด้วยสีสันหรูหรามีปุ่มลวดลายเป็นเส้นสีเงิน(silver filigree buttons) แบบเดียวกันสั่งตรงมาจากประเทศจีน เบื้องหลังทางด้านขวามือของพวกเขา เป็นเกี้ยว(the sedan chair)ซึ่งท่านเอกอัครราชทูตเตรียมไว้สำหรับใช้ในราชอาณาจักสยาม เกี้ยวดังกล่าวตกแต่งด้วยอุปกรณ์เงิน พรมและเบาะกำมะหยี่สีแดงเข้ม( silver fittings and crimson velvet carpet and cushion) ภายในปักด้วยเส้นไหมทอง หลังคาของเกี้ยว(the canopy of the sedan chair) มีสีแดงเข้มและสีเขียวประดับด้วยแผ่นทองคำและเงินจากจีนภายในกรุด้วยสีแดงเข้มอมเหลือง คนหามเกี้ยวมีทั้งหมด 9 นาย แต่งกายแบบด้วยไหมทออย่างประณีตจากจีนเดียวกับคนถือสัปทนซึ่งสวมหมวกกำมะหยี่สีแดงสดขลิบลูกไม้สีขาว ขณะที่คนหามเกี้ยววัยฉกรรจ์สวมหมวกตกแต่งด้วยลูกไม้สีต่างๆอย่างดีจากอังกฤษ

ท่ามกลางความเอิกเกริกเกรียวกราวของผู้คนทั้งที่มาเองและได้รับเชิญมาเป็นเกียรติ มีทั้งเสียงกลองและทรัมเป็ต ท่านเอกอัครราชทูตก็ได้เดินทางออกจากจวนที่พำนักมุ่งไปยังวิทยาลัยนักบุญเปาลู (the São Paulo College) เมื่อถึงประตูโบสถ์ก็พบว่า คณะสงฆ์ทั้งหมดกำลังยืนรออยู่พร้อมด้วยบาทหลวงฝ่ายตรวจสอบ(the Inspector) และพระราชาคณะ เนื่องจากต่างก็ทราบล่วงหน้ามาแล้วว่า ท่านเอกอัครราชทูตจะไปสักการะธาตุกระดูกของนักบุญฟรานซิส เซเวียร์(Saint Francis Xavier) ซึ่งท่านเอกอัครราชทูตมีศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นก่อนออกเดินทางไปยังสยาม คณะสงฆ์ได้เดินนำท่านเอกอัครราชทูตไปยังแท่นบูชา จากนั้นก็ปูพรมและเบาะรองนั่งให้ เมื่อท่านเอกอัครราชทูตนั่งลงแล้วท่านก็ได้กล่าวคำสวดภาวนา หลังจากนั้น ผู้ปกครองคริสต์จักร(the Prefect of the Church) ในชุดเสื้อคลุมสงฆ์(surplice)และผ้าพาดไหล่(stole) [3] เดินขึ้นไปยังพระแท่นบูชา พร้อมกับนำธาตุกระดูกแขนของนักบุญฟรานซิส เซเวียร์ลงมามอบแก่ท่านเอกอัครราชทูต ซึ่งท่านก็เอื้อมมือไปรับไว้ด้วยอิริยาบถอันแสดงถึงความเคารพอย่างสูงสุด และค้อมกายอำลาด้วยความศรัทธาแรงกล้า จนทำให้ผู้คนรอบข้างถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความตื้นตันใจ จากนั้นท่านเอกอัครราชทูตก็ลุกขึ้นกล่าวลาคณะสงฆ์ ซึ่งยืนกรานว่าจะออกไปส่งท่านที่ท่าเรือ ท่ามกลางความเงียบงันบรรดาชาวเมืองต่างก็กล่าวตำหนิคณะผู้ปกครองเมืองมาเก๊า( the Town Hall) ซึ่งไม่ได้แสดงความภาคภูมิใจต่อการที่ท่านเอกอัครราชทูตได้รับเลือกจากผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งอินเดียภายใต้พระราชบัญชาของเจ้าชายมกุฎราชกุมารแห่งโปรตุเกสให้เดินทางไปยังราชอาณาจักรสยาม ท่านเอกอัครราชทูตเดินผ่านถนนหลายสายเพื่อไปยังท่าเรือ หน้าต่างของตึกทุกหลังเนืองแน่นไปด้วยสุภาพสตรีที่รู้ข่าวการเดินทางของท่าน ยิ่งกว่านั้นพวกเขาล้วนเศร้าโศรกต่อการออกเรือไปยังสยามของท่าน เนื่องจากท่านเอกอัครราชทูตเป็นบุคคลที่ชาวเมืองภาคภูมิใจ แต่ด้วยจิตใจอันห้าวหาญท่านเอกอัครราชทูตก็ได้เดินทางไปถึงสะพานปลาซึ่งมีเรือแจว(Baloon)สะอาดสะอ้านลอยลำรออยู่ บรรดาชาวเมืองต่างก็ลงขบวนเรือแจวเล็กของตนพร้อมกับชวนพวกพ้องแห่ลงเรือออกไปส่งท่านเอกอัครราชทูตยังเรือฟรีเกตของท่านด้วย บางคนก็ยังอ้อยอิ่งอยู่บนเรือฟรีเกตของท่านเอกอัครราชทูตจนกระทั่งได้เวลาเรือออก ผู้ที่เป็นหัวหน้าชาวเมืองในการทำเช่นนี้ คือ ผู้พิพากษาฟรานซิสกู กูเมซ บูเตลญู และบรรดาหมู่สงฆ์คณะเยซูอิต ซึ่งไม่ใคร่อยากจะอำลาจากท่านเอกอัครราชทูตเท่าใดนัก เช่นเดียวกับบาทหลวงในสังกัดของโบสถ์นักบุญฟรานซิส เนื่องจากท่านเอกอัครราชทูตเป็นผู้อุปถัมภ์โบสถ์คนสำคัญกำลังจะจากไปไกล ท่านสาธุคุณ บาทหลวง อันตอนิอู มอร์ไรช์ ดึ ซาร์เมนตู (António Morães de Sarmento)ผู้ปกครองสังฆมณฑลแห่งจีน(Governor of the Bishopric of China) ก็มิได้รู้สึกต่างไปจากผู้อื่นเลย ขณะที่ท่านเอกอัครราชทูตลงเรือไปจากสะพานปลาพร้อมกับผู้ไปส่งยังเรือฟรีเกต เรือทุกลำบริเวณนั้นต่างก็ประดับประดาด้วยป้ายและธงทิว(shields and banners) และยิงปืนสลุตด้วยเสียงอันดังเพื่อแสดงการคารวะ ซึ่งถึงแม้บรรดาเสนาบดีผู้ปกครองเมืองมาเก๊า(the Town Hall Ministers) จะบังคับให้ชาวเมืองทั้งหมดออกมาปรบมือส่งท่านเอกอัครราชทูตให้ดังที่สุดเท่าที่จะดังได้เพียงใด ก็ยังมิอาจเปรียบได้กับเสียงแห่งความชื่นชมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและความเสียสละทุ่มเทต่อกรณียกิจของเจ้าชายและมูลนาย((Prince and Lord) ของพวกเขา ” [4]

แม้เราจะทราบจากเอกสารข้างต้นถึงบรรยากาศและขนบประเพณีของการส่งคณะทูตโปรตุเกสมายังสยามว่า มีความเป็นไปตามขั้นตอนอย่างไร แต่ภาพเขียนในศิลปะนันบัน(Nan Ban Art) ที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ดูเหมือนจะสะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพของชาวโปรตุเกสขณะออกเดินทางไปปฎิบัติหน้าที่ต่างแดน โดยเฉพาะเรื่องของการแต่งกาย การใช้ชีวิต และความโอ่อ่าสง่าผ่าเผยของคณะราชทูต หรือ แม้กระทั่งหัวหน้าชุมชนโปรตุเกสในเมืองต่างๆของเอเชียและแอฟริกาได้ระดับหนึ่ง นอกจากนี้ข้อมูลดังกล่าวยังอาจจุดประกายความคิดแก่ผู้สนใจ หากมีการตั้งประเด็นถึงวัฒนธรรมการใช้สัปทนและเครื่องราชยานคานหามที่สืบทอดกันมายาวนานในสังคมสยามตั้งแต่สมัยก่อนอารยธรรมไทย


[1] ความหมายของทองคำน้ำหนักมูลค่า 1 เลิฟ (1loaf of gold) ในปัจจุบัน เท่ากับ 1 ออนซ์ มาตรฐานทองคำ (One standard ounce of gold) หรือ 1,140 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา (ซึ่งเทียบได้กับน้ำหนักของขนมปังซึ่งตัดออกมาจากขนมปังก้อนใหญ่ 1 ชิ้น - slice of bread) (อ้างจากhttp://www.investinganswers.com/a/9-most-surprising-things-worth-more-their-weight-gold-1676) ทั้งนี้ น้ำหนักทองคำ 1 ออนซ์ เทียบได้กับน้ำหนัก 28 กรัม (อ้างจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Ounce)
[2] banner หมายถึง ในที่นี้หมายถึง gierela m. แปลว่า garment อ้างจาก http://home.comcast.net/~modean52/oeme_dictionaries.htm
[3] ผ้าพันคอยาวปกติทำจากผ้าไหมปักหรือผ้าลินิน สวมใส่ไหล่ซ้ายโดยมัคนายกและพาดไหล่ทั้งสองข้างโดยพระสงฆ์และพระสังฆราชขณะทำพิธีทางศาสนา อ้างจาก http://www.thefreedictionary.com/stole
[4] Leonor de Seabra, The Embassy of Pero Vaz de Siqueira to Siam, 1684-1686. (Macau: University of Macau, 2005), pp.136-140

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

"อักษรยุโรปแจกตามภาษาไทยสำหรับเด็กพึ่งหัดเรียนหนังสือ" (AKSON EUROPA CHEEK TAM PHASA THAI SAMRAB DEK PHU’NG HAT RIEN NANGSU’.

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
ภาพจากอาจารย์ธวัชชัย ตั้งศิริวาณิชย์(Thavatchai Tangsirivanich ) ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง


ผู้เขียนอ่านพบข้อคิดเห็นของผู้รู้เกี่ยวกับหนังสือ ชื่อ "AKSON EUROPA CHEEK TAM PHASA THAI SAMRAB DEK PHU’NG HAT RIEN NANGSU’. NA : BANGKOK SAKKARAT P. CHRISTO CHAò M DCCC XXX VIII " ในหน้าFace book ของอาจารย์ธวัชชัย ตั้งศิริวาณิชย์(Thavatchai Tangsirivanich ) ซึ่งอาจารย์ธวัชชัยถอดคำอ่านออกมาเป็นคำอ่านภาษาไทยว่า "อักษรยุโรปฉีกตามภาษาไทยสำหรับเด็กพึ่งหัดเรียนหนังสือ" และมีการแสดงความคิดเห็นของผู้รู้หลายท่าน ด้วยความที่ผู้เขียนอยู่นอกวงการผู้รู้ ก็เลยแยกออกมาแสดงความคิดเห็นต่างหาก ในประเด็นเล็กๆ ต่อคำว่า CHEEK คำว่า NA: BANGKOK คำว่า CHRISTO และตัวเลขภาษาละติน

ผู้เขียนเห็นว่า คำว่า “ฉีก (CHEEK)” นั้นตามคำอ่านข้างต้นก่อนหน้านี้ น่าจะอ่านว่า “แจก” คือ แจกลูกตัวสะกดมากกว่า “ฉีก”


ชื่อหนังสือจึงควรอ่านว่า "อักษรยุโรปแจกตามภาษาไทยสำหรับเด็กพึ่งหัดเรียนหนังสือ"

ส่วนคำว่า NA : BANGKOK นั้น คำว่า NA เป็นภาษาโปรตุเกส แปลว่า “ใน หรือ ณ กรุงเทพฯ” ซึ่งผู้เขียนเข้าใจว่า เมื่อแรกตั้งนามสกุลในสยามสมัยรัชกาลที่6 มีวัตถุประสงค์เพื่อบอกรากเหง้าตระกูลของเจ้านายและขุนนางสายต่าง ๆ อาทิ ณ อยุธยา ณป้อมเพชร ทำนองเดียวกับเจ้านายและขุนนางฝรั่งชาติยุโรปที่สืบเชื้อสายมาจากชาวคริสต์ตระกูลเก่าแก่ ก็จะมีคำว่า de หรือ of นำหน้านามสกุล ส่วนพวกยิว หรือ คนพื้นเมืองที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์นั้น เท่าที่ทราบจากเจ้าหน้าที่ศูนย์วัฒนธรรมโปรตุเกส มักจะเอาต้นไม้ แม่น้ำ ลำธาร สี ก้อนหิน ป่าไม้ ฯลฯ มาตั้งเป็นนามสกุลใหม่ๆ กัน

คำว่า CHRISTO เป็นภาษาละติน ส่วนที่เขียน ลำดับตัวเลขละตินว่า “ M DCCC XXX VIII ” นั้น ตรงกับ ตัวเลข 800 30 1000 8 เทียบได้กับ ค.ศ. 1838

การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่น่าสนใจและมีคุณค่าทางวิชาการอื่นๆ เกี่ยวกับหนังสือข้างต้นนั้น อาจดูได้จากหน้า face book ของอาจารย์ธวัชชัย ตั้งศิริวาณิชย์ครับ

ส่วนเรื่องการแจกลูกสะกดคำในภาษาไทยดูจากเว็บไซต์การจัดการความรู้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต โดยผู้เขียน คือ : นิภาพร วิชชุปัญญ์กุล หน่วยงาน : ร.ร.วัดเทพนิมิต เสาร์ ที่ 25 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2554 ในhttp://www.kmphuket.net/?name=research&file=readresearch&id=8

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คำเรียกประเทศต่างๆในแผนที่ยูรบ(ยุโรป)สมัยรัตนโกสินทร์

ภาพจากดร.พีระศรี โพทาวงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง)




โดยพิทยะ ศรีวัฒนสาร



เมื่อวันที่27กรกฎาคม 2554 ดร.พีรศรี โพวาทอง ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอบทความจากงานวิจัย เรื่อง Building Siwilai : Civilizational Discourse, Semi-Colonialism, and the Transformation of Architecture in Siam, 1868 - 1882 ในที่ประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่11 ที่โรงแรมสยามซิตี้ จัดโดย มหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนหนึ่งของบทความมีภาพประกอบเป็นแผนที่ทวีปยุรบ(ยุโรป) อายุประมาณสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็นการออกเสียงคำเรียกชื่อประเทศต่างๆในทวีปยุโรป จึงขออนุญาตทำสำเนาจากเจ้าของบทความและขอนำลงเผยแพร่ในที่นี้ต่อไปเนื่องจากเป็นที่น่าเสียดายที่มีบางท่านมิได้เข้าร่วมในที่ประชุมดังกล่าว

ทวีปยุโรป - ยูรบ ทวีปเอเชีย-ทวีปเอเซีย
ทะเลเมดิเตอเรเนียน -ชะเลเมดิทะเรเนีย
ทะเลดำ - ชะเลดำ ทะเลขาว -ชะเลขาว ทะเลสาบแคสเปียน- ชะเลคัศะเพีย ทะเลบอลติก-ชะเลบอละทิก
มหาสมุทรแอตแลนติก - มหาสมุทอัดลานทิก
เนเธอแลนด์(ฮอลแลนด์)- วิลันดา
เบลเยียม -เบลเชยิม
Republic of Venetian? / Venezia? (ตอนใต้ของฝรั่งเศสและเยอรมนี ตอนเหนือของอิตาลี)- ขึ้นแกพรูเทีย
สวิตเซอร์แลนด์-ซะวิศะลันดา
กรีซ-คิรเซีย
ไอ๊ซ์แลนด์- ไอซะลันดา
ไอร์แลนด์-ไอระลันดา
อังกฤษ-อิงลันดา
สกอตแลนด์-สะกตลันดา
เยอรมนี- อาละมาน
ปรัสเซีย-พรูเซีย
เดนมาร์ก-เดนมาก
สเปน-ซะเพน
โปรตุเกส-พะโทดา
อิตาลี-อิทาเลีย
ออสเตรีย-ออซะเตรีย
โปแลนด์-โพลันดา
นอรเวย์-นอเว
สวีเดน-ซเวเดน
แลปแลนด์-ลับลันดา
รัสเซีย-เมืองรูเซีย
ตุรกี-เทอเค
ดูเหมือนจะมีเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่ไม่ทราบว่าเป็นประเทศอะไรในปัจจุบัน คือ ประเทศ "ขึ้นแกพรูเทีย"
แผนที่ทวีปยูรบ


หลังจากเผยแพร่ออกไปไม่นานนัก ก็มีนักวิชาการแสดงความคิดเห็นอันทรงคุณค่า จึงขอขอบคุณและขออนุญาตนำมา "ขยาย" เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาต่อไป ดังนี้


Thavatchai Tangsirivanich "แผนที่ทวีปยูรบ" นี้น่าสนใจมาก เพราะน่าจะเป็นแผนที่แผ่นแรกที่พิมพ์ขึ้นในสยาม รวมอยู่ใน "หนังสือ, เรื่องแผนที่ทวีบยุรบ. เล่มต้น." (สะกดตามต้นฉบับ) แต่งโดย เอ. เฮเมนเวย์ (A. Hemenway) พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ โดยสำนักพิมพ์ A.B.C.F.M. Press เป็นหนังสือหายากมากๆ เพราะพิมพ์เพียง ๕๐๐ เล่ม ผมเห็นหนังสือและแผนที่เล่มนี้ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพในเชียงใหม่เมื่อราวห้าปีก่อน ตื่นเต้นมาก หนังสือ(และแผนที่) พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2386 (ค.ศ. 1843) หรือ 168 ปีมาแล้ว ตรงกับกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
Thavatchai Tangsirivanich "แผนที่ทวีปยูรบ" นี้ยังน่าสนใจอีกประการหนึ่งหากมองในบริบททางประวัติศาสตร์ เพราะช่วงนั้น (สมัย ร.3) ทางชนชั้นนำสยามเริ่มเข้าถึงและสนใจวัฒนธรรมตะวันตก เหตุผลคือ หากเราย้อนกลับไปตั้งแต่สมัย ร.1 เมื่ออังกฤษเริ่มแผ่ขยายลัทธิอาณานิคมเข้ามาในย่านนี้ เริ่มด้วยการขอเช่าเกาะปีนัง พ.ศ. 2329 เช่าเกาะสิงคโปร์ พ.ศ. 2362 ทำศึกชนะพม่า(คู่ปรับเก่าของเรา) พ.ศ. 2368 ชนชั้นนำเริ่มตระหนักว่า เขตอิทธิพลทางการเมืองและผลประโยชน์ทางการค้าของอังกฤษเริ่ิมเข้ามาประชิดและพัวพันกับสยาม และในขณะเดียวกัน พวกมิชชันนารีอเมริกันก็ได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในราชอาณาจักร พร้อมนำแท่นพิมพ์อักษรไทยจากสิงคโปร์เข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2378 จุดประสงค์หลักของการพิมพ์หนังสือไทยขณะนั้นก็เพื่อเผยแผ่ศาสนาแก่ชาวสยาม แต่พวกเขายังได้พิมพ์เอกสารตำราต่างๆ มากมาย อาทิ พจนานุกรม วรรณคดี รวมถึงนสพ.ฉบับแรกของสยาม และตำราภูมิศาสตร์เล่มที่กล่าวถึงนี้ ขอเสริมเกร็ดอีกนิดว่า ในสมัย ร.3 กรมขุนเดชาดิศร (พระราชโอรสใน ร.2) ได้พยายามสอบถามหมอบรัดเลย์ มิชชันนารีอเมริกัน เกี่ยวกับขนาดและอำนาจของประเทศต่างๆ ในยุโรป และขอให้หมอบรัดเลย์เรียงลำดับความยิ่งใหญ่ของประเทศเหล่านี้ให้ด้วย เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศ์ก็ได้เข้ามาถามเกี่ยวกับประวัติศาสตร์รัสเซีย ตำราภูมิศาสตร์และแผนที่ฉบับนี้น่าจะให้คำตอบกรมขุนเดชาฯ และท่านเจ้าอาวาส ได้เป็นอย่างดี ... หนังสือและแผนที่เก่า หากศึกษาอย่างพินิจพิเคราะห์ จะช่วยให้เราเข้าใจในอดีต ได้เรียนรู้ถึงรากเหง้าความเป็นมาของตัวเอง

Pirasri Povatong หนังสือนี้มาจาก Hemenway Collection ที่เก็บรักษาอยู่ที่ห้องสมุด Clements มหาวิทยาลัยมิชิแกนครับ มีทั้งหนังสือ จดหมาย สมุดบันทึก ตลอดจนสิ่งของต่างๆ เช่น ผ้า ธงช้าง ภาพถ่าย แมลงทับ ฯลฯ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมิชิแกนซื้อจากร้านหนังสือหายากแห่งหนึ่งในอเมริกา น่าจะนานสักสิบปีแล้วครับ มีของไทยๆ ไม่มาก แต่น่าสนใจมาก เพราะ Hemenway เป็นมิชชันนารีรุ่นแรก ประมาณว่ามาไล่ๆ กับหมอบรัดเล เลยมีสิ่งพิมพ์ยุคแรกๆ ของสยามที่เขาเก็บไว้ สภาพดีมากทั้งสิ้นครับ โดยมากเป็นหนังสือสอนศาสนา (religious tracts) แต่ก็มีเรื่องอื่นๆ บ้าง เช่น หนังสือคำประกาษพรรณาว่าด้วยโทษฝิ่น (ค.ศ. 1840) หนังสือเรื่องแผนที่ทวีปยุรบ (ค.ศ. 1843) A Companion to Elementary Lessons (ค.ศ. 1845) และ Bangkok Recorder ค.ศ. 1844 ครับ

พิทยะ ศรีวัฒนสาร Khun Jan, would you mind to identify what is(was ) the real name of the state "ขึ้นแกพรูเทีย/ พรูเชีย" in the present day (or at that time)?

Jan Dresler well... I think the Thai map is very small, and as far as I can see there is no date... the problem is that this area in Germany was institutionally instable, and small areas could be handed over from one noble family to another by marriage inheritance or warfare. But in this special case it probably refers to an area under traditional Prussian controll. I guess it refers to an area called Rhine Province
Jan Dressler even more curious is the expression อาละมาน, and the explaination above that this should be Germany... ^-^ Actually the German state of today grew out of the Prussian state, bound together with an assembly of smaller political units, etc. I cannot see the Republic of Venice on the Thai map, but that was an interesting state too:
พิทยะ ศรีวัฒนสาร According to my assumption that "ขึนแพรูเทีย", may be the meaning of "depending on the nation state of Prussia" , I agree with you at all for the first comment.

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ตราสัญลักษณ์ของราชวงศ์โรมานอฟ(Coat of Arm of Romanv Dynasty)

แปลโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

Lesser State Emblem of the Russian Empire /final version, 1883.
(ขอขอบคุณข้อมูลจาก en.wikipedia.com)


ตราของราชวงศ์โรมานอฟและตราของสหพันธรัฐรัสเซีย(ปัจจุบัน)ล้วนมีพัฒนาการมาจากตราของจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งดัดแปลงมาจากตราแผ่นดินในสมัยของพระเจ้าอีวานที่ 3 ( Ivan III (ค.ศ.1462–1505)ในสมัยกลาง รูปแบบของสีก็ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่15 ขณะที่ลักษณะนกอินทรีนั้นสามารถกำหนดอายุย้อนกลับไปได้ถึงสมัยของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช (Peter the Great, 1682-1725)

สัญลักษณ์นกอินทรี2หัวและรูปบุคคลขี่ม้าสังหารมังกรหรืองูใหญ่นั้นถูกใช้มาก่อนรัชสมัยของปีเตอร์มหาราช โดยมีการอธิบายอย่างไม่เป็นทางการว่าเป็นของนักบุญจอร์จ (Saint George) จนกระทั่งในปีค.ศ.1730 จึงมีพระบรมราชโองการประกาศว่าบุคคลดังกล่าวคือ นักบุญจอร์จผู้นำชัยชนะ ("Saint George the Victory bearer") และรูปนี้บางครั้งก็ถูกอธิบายว่าเป็นดยุ๊คผู้ยิ่งใหญ่แห่งมอสโคว์(the Grand Duchy of Muscovy) และถูกใช้เป็นตราของเมืองมอสโคว์อย่างเป็นทางการสืบมา

สัญลักษณ์นกอินทรี2หัวเริ่มใช้โดยกษัตริย์ อีวานที่3 หลังจากทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงโซเฟีย พาลีโอลอก(Sophia Paleologue) แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ เมื่อ12 พฤศจิกาย ค.ศ. 1472 โดยเสด็จลุงของเจ้าหญิงทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ อนทรี 2 หัว เป็นสัญลักษณ์ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ซึ่งมีพื้นที่ทั้งในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก นอกจากนี้อินทรี 2 หัวยังอาจหมายถึงโลกทางอาณาจักรและโลกทางศาสนาด้วยเช่นกัน หลังการสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์(ค.ศ.1453) กษัตริย์อีวานทรงถือว่ามอสโคว์เป็นที่มั่นสุดท้ายของศาสนาคริสต์อันบริสุทธิ์ และถือว่ามอสโคว์เป็นจักรวรรดิโรมที่3(Third Rome) ดังนั้นหลังค.ศ.1497 อินทรี 2 หัวจึงเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่ากษัตริย์รัสเซียมีความยิ่งใหญ่เทียบเท่าจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากกษัตริย์ของจักรวรรดิดังกล่าวเคยประกาศตนเป็นผู้สืบทอดจารีตของศาสนาคริสต์แบบโรมัน( the Christian Roman tradition) บนหน้าบันที่พระราชวังเครมลินก็มีตราแผ่นดินรูปนกอินทรี 2หัวบนพื้นแดงติดตั้งอยู่

ในสมัยราชวงศ์โรมานอฟ(ค.ศ.1613-1917) ตรงกับรัชสมัยของกษัตริย์มิคาอิล(Mikhail I Fyodorovich Romanovค.ศ.1596-1645) อินทรี2หัวก็ถูกตกแต่งด้วยมงกุฎ 3 องค์เป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1625 โดยมีการสันนิษฐานว่า อาจหมายถึงการยึดครองอาณาจักร 3 แห่ง ได้แก่ คาซาน อัสตราคานและไซบีเรีย(kingdoms of Kazan, Astrakhan, and Siberia) หรืออาจหมายถึงการรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรรัสเซียทั้งปวง ได้แก่ รัสเซีย ยูเครนและเบลารุส) หรืออาจหมายถึงความเป็นจักรวรรดิโรมที่3ก็ได้ ส่วนสัญลักษณ์ของคธา(และรูปโลกในอุ้งเล็บของนกอินทรี หมายถึง ความมีอธิปไตยและและความมีอำนาจ



ถ้วยสุราแบบรัสเซียทำด้วยหินหยกเขียว ด้ามเป็นตราราชวงศ์โรมานอฟ สลักลายลงยาสีต่างๆ ประดับเพชร ทับทิมและไข่มุกฝีมือช่างของฟาแบร์เช่ ชื่อ Henrik Wigstromสันนิษฐานว่าเป็นของถวายที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนรัสเซีย ในค.ศ. 1897 (ภาพอ้างจาก เรือนไทย.คอม ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง)


ตราราชวงศ์โรมานอฟ สลักลายลงยาสีต่างๆ ประดับเพชร ทับทิมและไข่มุก อ้างจาก เรือนไทย.คอม (ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง) ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐรัสเซีย(The coat of arms of the Russian Federation)ในปัจจุบันเริ่มใช้ตั้งแต่ค.ศ.1993 แม้จะมีการปกครองแบบสาธารณรัฐแล้วแต่ก้ยังคงรักษารูปแบบตราสัญลักษณ์ดั้งเดิมเอาไว้
(ขอขอบคุณWikipedia)

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Seafaring, Spice route, Sacred Christ

เวลา13.30-16.30 สถานที่Main Hall,
Maha Chulalongkorn Building,
Chulalongkorn University

เก็บความและเรียบเรียง โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ศ. ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์
ประเด็นทางการค้า
วัตถุประสงค์ของการเดินเรือของโปรตุเกส 3 ประการใหญ่ คือ สำรวจทางทะเล แสวงหาเครื่องเทศและผูกขาดการค้าเครื่องเทศที่จะนำไปขายในยุโรป ปรากฏว่าโปรตุเกสลงทุนสูง แต่ผลที่ได้กลับไม่คุ้มค่า เพราะมีหลักฐานว่า สินค้าเครื่องเทศที่ส่งผ่านทางบกไปยังอิตาลียังมีปริมาณสูงมากกว่าปริมาณเครื่องเทศที่ส่งผ่านลิสบอนไปยังยุโรป นอกจากนี้โปรตุเกสยังมิได้ตั้งบริษัทการค้าแบบรวมทุนดังเช่นอังกฤษและฮอลันดา ทุนของโปรตุเกสจึงมีจำกัด เมื่ออังกฤษและฮอลันดาเข้ามา พ่อค้าโปรตุเกสจึงทุนของทั้งสองงชาติดังกล่าวไม่ได้

อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาหนึ่ง โปรตุเกสได้นำผลกำไรจากการค้าเครื่องเทศมา “Reinvest” เพื่อลงทุนในเรื่องของการต่อเรืออย่างจริงจัง ส่งผลให้เรื่อโปรตุเกสมีสมรรถภาพมากกว่าเรือสำเภาจีน และใช้คนน้อยกว่า แต่การค้าในเอเชียมีต้นทุนสูงมากและไม่คุ้ม เพราะต้องนำผลกำไรมาปราบปรามโจรสลัดด้วย ซึ่งในที่นี้หมายถึงพวกที่เข้ามาค้าขายทางทะเลโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ชาวมลายูจากอาเจะห์ยังโจมตีมะละกาหลายๆครั้ง ฮอลันดาก้คุกคามความมั่นคง

ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เสนอว่า ในช่วงเวลาประมาณคริสต์ศตวรรษที่16 – 17 พ่อค้ายุโรปยังไม่มีสินค้าของตนนำออกมาขายในเอเชีย จึงต้องนำสินแร่เงิน(Silver) ในอเมริกาออกมาแลกเปลี่ยนกับสินค้าของเอเชีย โดยเฉพาะสเปน แต่โปรตุเกสไม่มีสินแร่เงินของตน กำไรทางการค้าในเอเชียจึงเป็นกำไรที่เกิดจากการซื้อขายสินค้ากันเองในเอเชียมากกว่า อาทิ ไหม เครื่องถ้วยจีน เครื่องเทศ ของป่า ไม้หอม ฯลฯ และดูเหมือนว่าสินค้าสำคัญในเอเชีย คือ เรือกำปั่นแบบยุโรป โปรตุเกสจึงจำเป็นต้องหาเมืองท่าหรืออาณานิคม เพื่อ ทำให้ตนมีอิทธิพลควบคุมตลาดที่จะนำสินค้าไประบาย

บริษัทEast India Company ของอังกฤษก็ประสบปัญหาเรื่องการค้าขาดทุนจนกระทั่งเอาฝิ่นมาขายในเอเชียจึงประสบความสำเร็จทางการค้ามากกว่าชาติอื่น ขณะที่โปรตุเกสเมื่อรู้ตัวว่า จะต้องเป็นพ่อค้าคนกลางค้าขายภายในเอเชียก็สายเสียแล้ว เพราะการเข้ามาของฮอลันดา

ประเด็นทางด้านวัฒนธรรม
ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เสนอว่า โปรตุเกสมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมมากที่สุดในเอเชีย เมื่อเปรียบเทียบกับชาวตะวันตกชาติอื่นโดยไม่นับรวมสเปน เพราะวัฒนธรรมของโปรตุเกสจะกระจายมากกว่าในขณะที่วัฒนธรรมของสเปนจะกระจุกตัวอยู่เพียงในประเทศฟิลิปปินส์เท่านั้น

ปัญหาอย่างหนึ่งของโปรตุเกส คือ การไม่มีกองทหารประจำการจริงๆกองทัพของโปรตุเกส ประกอบขึ้นมาจากการเกณฑ์ผู้คนหลากหลายชนชั้นในโปรตุเกสมาเป็นกำลังในการยึดครองดินแดนต่างๆในแอฟริกาและเอเชีย โปรตุเกสมีทั้งขุนนางและไพร่เข้ามาทำงานในเอเชียและแอฟริกา ซึ่งคนเหล่านี้เมื่อเข้ามารับใช้ผู้ปกครองพื้นเมืองแล้วก็ไม่ยอมเดินทางกลับมาตุภูมิ องค์กรศาสนาของโปรตุเกสต่างจากชาติอื่นๆ คือ ไม่มีการรังเกียจเรื่องผิว มีการส่งเสริมให้แต่งงานกับชาวพื้นเมืองจนมีลูกหลาน พ่อค้าฮอลันดาและอังกฤษมีลูกเมีย เมื่อครบวาระการดำรงตำแหน่งก็ต้องกลับไป แต่ชุมชนโปรตุเกส เมื่อมีลูกเมีย กลับไม่ยอมเดินทางกลับมาตุภูมิ

โปรตุเกสไม่ประสบความสำเร็จด้านการเผยแพร่ศาสนา พระของโปรตุเกสแบ่งเป็น พระกลุ่มบุกเบิก กับ พระประจำโบสถ์ ทำให้พระโปรตุเกสไม่มีปัญหาขัดแย้งกันเอง

ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เชื่อว่า ชาวคริสเตียนโปรตุเกสในสยามกับกัมพูชาไม่รู้จักกัน แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้เมื่อชาวคริสต์ในกัมพูชาหนีภัยเข้ามาในยาม พระรู้จักกันผ่านพระบาทหลวง

ท้าวทองกีบม้าเป็นตัวอย่างของคนโปรตุเกสเชื้อสายญี่ปุ่นที่อพยพมาจากกัมพูชา

วัฒนธรรมโปรตุเกสที่แพร่เข้ามาในสยาม ได้แก่ เครื่องดนตรีประเภทไวโอลิน เพลงไทยสำเนียงฝรั่ง สถาปัตยกรรมและภาษาโปรตุเกส

ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
โปรตุเกสในเอเชีย
การเข้ามาของโปรตุเกสในเอเชีย ถือเป็นการรุกรานเอเชียครั้งแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นครั้งแรกที่ชาติตะวันตกใช้นโยบายเรือปืนในเอเชีย เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า

สินค้าที่โปรตุเกสสนใจ คือ เครื่องเทศซึ่งมีราคาแพงมากในยุโรปและต้องเป็นอำมาตย์จึงจะมีโอกาสได้ใช้ นอกจากนี้ก็มีสินค้าประเภท สมุนไพร เครื่องหอม ของป่า พริกไท อบเชย กานพลู จันเทศ กระวาน ขิง ฯลฯ เพื่อวัตถุประสงค์เรื่องการถนอมอาหาร แต่ก่อนการเดินทางสำรวจทางทะเลของโปรตุเกสนั้น เวนีสเป็นผู้ผูกขาดการค้าเครื่องเทศอยู่ก่อนแล้ว

โปรตุเกสยังให้ความสนใจในการเดินทางค้นหาดินแดนของกษัตริย์เพรสเตอร์ จอห์น (Prester John)ซึ่งเคยเชื่อว่าเป็นอาณาจักรของชาวคริสต์โบราณในตำนานของ St. Thomas (São Tomé) ผู้ซึ่งตายจากการอุทิศตนแก่ศาสนา(Matyr)

ยุคนั้น ชาวยุโรปไม่รู้จักอินเดียจึงประมาณกันว่า ดินแดนของอินเดียอาจเริ่มต้นที่แม่น้ำไนล์แล้วไปสิ้นสุดที่ใดสักแห่งหนึ่ง หนังสือของมาร์โคโปโล เขียนกันหลายเวอร์ชั่นมาก อาทิ เวอร์ชั่นของ อิบน์ บาตูตา(Ibn Batuta, 1304-1368)

ข้อมูลจาก http://www.associatedcontent.com/article/411216/marco_polo_ibn_battuta.html

Travel of Sir John Mandeville หรือ "Jehan de Mandeville", เผยแพร่ราวค.ศ.1380 แต่เซอร์ จอห์น ผู้นี้อาจไม่มีตัวตนจริง และผุ้เขียนตัวจริง คือ จาน เดอ ลังญี (Jan de Lagni) ต่อมามีการพิสูจน์ว่าเป้นบันทึกการเดินทางของมาร์โค โปโล


พาหนะที่โปรตุเกสใช้เดินทาง คือ เรือนาว( Nau) ซึ่งเป็นเรือหลายใบไม่ใช้ฝีพาย อุปกรณ์สำคัญของโปรตุเกส คือ แผนที่แบบPortolan Chart

http://www.google.co.th/

และเครื่องวัดมุมโดยอาศัยแสงอาทิตย์ช่วยแบบAstrolabe

http://www.google.co.th/

ขณะที่ฮอลันดาใช้เครื่องวัดดวงดาวเป็นอุปกรณ์สำคัญ ทำให้สามารถเดินทางในเวลากลางคืนได้

ภาพจาก http://www.causamerita.com/nau1.jpg

ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐกล่าวว่า บันทึกของอาซูไวรา นักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกส ระบุถึงบทบาทของเจ้าชายเฮนริกด้านการส่งเสริมการเดินเรือ แต่ปัจจุบัน มีการตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ของบทบาทดังกล่าว

ในการสำรวจทางทะเลนั้น เมืองใดที่ยึดได้ โปรตุเกสก็จะสร้างป้อม(Fortalesa)ขึ้นรักษาพื้นที่ เมืองใดที่ยึดไม่ได้ก็จะสร้างโรงสินค้า(Feitoria)

โคลัมบัส(Christopher Columbus)เป็นชาวเมืองเยนัว แต่พยายามจะมาเดินเรือให้โปรตุเกส/ สเปน

Vasco da Gama ได้พิสูจน์ให้เห้นว่า เขารู้จักกรแสน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติกและอินเดียเป็นอย่างดี ใน ปี ค.ศ. 1498 เขาสามารถเข้ามาตั้งสถานีการค้าขึ้นที่เมืองCochin ในอินเดีย เส้นทางการเดินเรือของเขาเริ่มจาก ลิสบอน ข้ามทะเลไปยังหมู่เกาะเคปเวิร์ด (Capa Verde) จากนั้นวกเข้าแหลมGood Hope แล้วมุ่งสู่ปลายทางที่กาลิกัต

ฟรานซิสกู ดึ อัลไมดา (Francisco de Almeida) อุปราชโปรตุเกสคนแรก

A portrait of Francisco de Almeida in the National Museum of Ancient Art. อุปราชคนแรกแห่ง State of India(Estado da Índia, 1505). (อ้างจาก Wikipedia)

เรือ Carrack ของ อัลไมดา (Wikipedia)

ค.ศ.1510 อัลฟองซู ดึ อัลบูแกร์กึ(Alfonso de Albouquerque) ศักดินาต่ำกว่าอัลไมดา ป็นอุปราชโปรตุเกสแห่งอินเดียคนที่2 ยึดกัวและมะละกา เพื่อคุมการค้าเครื่องเทศ

โปรตุเกสยึดครองเมืองกัวได้ จากนั้นก็ย้ายศูนย์กลางจากโคชินไปอยู่เมืองกัวนานถึงค.ศ.1966จึงคืนให้แก่อินเดีย

โปรตุเกสมีเมืองท่าสถานีการค้าและป้อมปราการ รวม 14 แห่ง เช่น เตอร์เนต ดิว กัว โคชิน โคลัมโบ บอมเบย์ อัมบอยนา มาเก๊า มะละกาฯลฯ นอกจากนี้ยังกระจายไปอยู่เซาโตเม มาลิอาปอร์ (นอกเมืองมัทราส) ฮูกห์ลี มากัสซาร์ ปาร์ลิกัต ปอร์ตู นูวู อยุธยา นอกจากนี้ยังได้สร้างเมืองโซลอร์และนางาซากิด้วย [1]

สิทธิในการเผยแพร่ศาสนา
บาทหลวงโปรตุเกสส่วนใหญ่สังกัดคณะโดมินิกันและฟรานซิสกัน ที่เมืองกัวบาทหลวงโปรตุเกสส่วนใหญ่สังกัดคณะออกุสติน มุ่งให้ความช่วยเหลือทางจิตวิญญาณแก่ชาวโปรตุเกสและครอบครัว

บาทหลวงเยซูอิตส่วนใหญ่จะให้ความสนใจคนพื้นเมือง
บันทึกในห้องสมุดที่ประเทศโปรตุเกสและสำนักวาติกันยังไม่ได้อ่านและตีพิมพ์เผยแพร่ยังมีอีกมาก บันทึกการเดินทางของปินโต(Pérégrinação)เป็นหนังสือที่นักเรียนชาวโปรตุเกสปัจจุบันใช้เป็นแบบเรียน

หนังสือเรื่อง Os Lusídas ของลูอิช กามอยช์ (Luís de Camões)

http://www.google.co.th/
เป็นมหากาพย์สดุดีการเดินทางของวาสโก ดา กามา โดยเขาระบุว่า การเดินทางของกามอยช์เกิดจากแรงบันดาลใจของพระเจ้า

กามอยช์มีเรื่องทเลาะกับชาวบ้านจึงถูกส่งไปทำงานลบล้างความผิดในอินเดีย แต่มีเรื่องบาดหมางกับอุปราชที่อินเดียจึงถูกส่งไปยังมาเก๊า 2 ปี เคยผจญภัยเรือแตกในเวียดนามด้วย เขาอยู่ในเอเชียนานถึง 17 ปี

ความเสื่อมของโปรตุเกส
ค.ศ.1580 เริ่มเสื่อมอิทธิพล เพราะรวมกับสเปน ซึ่งอาจมีสาเหตุอื่นอีก โดยเฉพาะเรื่องการทุจริตต่อหน้าที่ของขุนนางโปรตุเกส ซึ่งมีวาระอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ คราวละ 2 ปี จึงใช้เวลาดังกล่าวตักตวงผลประโยชน์ ตั้งคนของตนมาทำหน้าที่แทนคนเก่า เพื่อสร้างฐานะให้ทันในช่วง 2 ปี นอกจากนี้ยังถูกชาวพื้นเมืองต่อต้านด้วย

โปรตุเกสเสียมะละกาแก่ฮอลันดา ค.ศ.1640 จากนั้นก้ทยอยเสียเมืองต่างแก่ตามลำดับ จนกระทั่งเหลือเพียง 3 เมือง ในอินเดีย คือ ดิว กัว ดาเมา

ผลจากการสร้างสถานีการค้าของโปรตุเกส
-ทำให้การค้าในเอเชียขยายตัวโดยมีโปรตุเกสเป็นคนกลาง
-การเข้ามาของเทคโนโลยี
-การเกิดชุมชนโปรตุเกส
-การเกิดคนครึ่งชาติ(Meztiço)

บาทหลวงสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์
ปัจจุบันคริสเตียนในประเทศไทยมี 300,000 คนเศษ เท่านั้น ชาวโปรตุเกสในคริสต์ศตวรรษที่16 มีความเชื่อและศรัทธาต่อศาสนาต่างจากชาวโปรตุเกสในปัจจุบัน

ในคริสต์ศตวรรษที่16 ชาวโปรตุเกสเชื่อว่า พระเจ้าสร้างโลกและสรรพสิ่งทั้งหลาย ตรงกับความเชื่อซึ่งปรากฏในงานของPinto และ Luís de Camões พวกเขาเชื่อว่า แผ่นดินเป็นของ “พระ” ดังนั้นเมื่อสำรวจพบดินแดนแล้วจึงต้องไปขอแผ่นดินจาก “พระ” พระสันตะปาปาทรงเป็นตัวแทนของพระเจ้า โดยเสนอว่า โปรตุเกสจะประกาศศาสนาให้คนพื้นเมือง ความศรัทธาของโปรตุเกสทำให้พระสันตะปาปาพอใจ เนื่องจากตามปกติ พระสันตะปาปาต้องจ่ายเงินในการเผยแพรศาสนาเอง ดังนั้นจึงเขียนเอกสารอนุญาต(Bull / Bula of Pope) มอบอำนาจให้โปรตุเกสครอบครองแผ่นดินที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของโดยต้องหาสังฆราชเอง สร้างโบสถืเองและเผยแพร่ศาสนาเอง

เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเชื่อว่าโลกกลม ขณะที่คนอื่นเชื่อว่าโลกแบน การเดินทางไปอินเดียก็สามารถมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกได้เช่นกัน เมื่อเขาไปเสนอโครงการสำรวจทางทะเลกับกษัตริย์โปรตุเกส กลับถูกจับขึ้นศาลไต่สวนทางศาสนา (Inquisition) เพราะเป็นความเชื่อที่สวนทางกับพระคัมภีร์

โคลัมบัสหนีไปสเปนได้ ตรงกับรัชสมัย Queen Ezobella ปรากฏว่าเขาก็ถูกทางการสเปนจับเช่นกัน หลังจากนั้นเขาได้พบกับพระผู้ฟังการสารภาพบาปของราชินีอีโซเบลลา และเสนอแผนการสำรวจทางทะเลแก่พระรูปนั้น ทำให้ราชินีอีโซเบลลาเชื่อและขายเครื่องประดับเพชรเพื่อซื้อเรือและเป็นทุนสนับสนุนการเดินทางสำรวจของโคลัมบัสในที่สุด ทำให้พบโลกใหม่และยื่นขอแผ่นดินจากพระสันตะปาปา ทำให้โปรตุเกสไม่พอใจ Pope จึงไกล่เกลี่ยด้วยสัญญาTordessillas โดยแบ่งพื้นที่โลกออกเป็นเป็นสองส่วน ให้ซีกโลกตะวันตกเป็นของสเปน ซีกโลกตะวันออกเป็นของโปรตุเกส แต่พระสันตะปาปา ก็ยังแบ่งบราซิลให้แก่โปรตุเกส

ความเชื่องช้าของโปรตุเกสทำให้สเปนซึ่งมีอิทธิพลทางทหารมากกว่ายึดฟิลิปินส์เป็นอาณานิคม ขณะที่โปรตุเกสยังคงมุ่งค้าขายเล็กน้อยๆในเอเชีย

โปรตุเกสได้ส่งบาทหลวงเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในเอเชีย ได้แก่ คณะโดมินิกัน ฟรานซิสกันและเยซูอิต โดยอาศัยสิทธิพิเศษทางศาสนา(Padroado Portuguese) โดยมีเงื่อนไขว่าไม่ว่าจะเป็นมิชชันนารีชาติใด ต้องเปลี่ยนชื่อเป็นโปรตุเกส เรียนภาษาโปรตุเกส สาบานว่าจะเชื่อฟังกษัตริย์โปรตุเกส และเผยแพร่ศาสนาในนามของทางการโปรตุเกส เมื่อเดินทางไปเผยแพร่ศาสนาในจีน โคชิจีน และตังเกี๋ย ปรากฏว่ากลับถูกเบียดเบียนทางศาสนาอย่างรุนแรง ยกเว้นในสยาม

อย่างไรก็ดี โปรตุเกสเองก็ยังมิได้ประกาศศาสนา(คือ การเผยแพร่คำสอนแก่คนนอกศาสนา) ในเอเชียทันที ส่งผลให้มีบาทหลวงคณะ Mission Étrangère de Paris (MEP) เข้ามาสวมบทบาทนี้แทนในจีน โคชินจีน และตังเกี๋ย แต่กลับถูกเบียดเบียนทางศาสนาเช่นกัน นอกจากนี้ทางการโปรตุเกสหรือแม้แต่ชุมชนโปรตุเกสก็ไม่ยอมรับเช่นกัน ถึงกับมีหลักฐานการสั่งให้ทหารจับกุมบาทหลวงของคณะMEP

ในสยามนั้น ค่ายโคชินจีนของชาวเวียดนามให้การปกป้องบาทหลวงคณะMEPจึงเป็นสาเหตุของการขัดแย้งระหว่างชาวโปรตุเกสในสยามกับบาทหลวงคณะMEPที่มาใหม่

ชาวคริสต์มีจารีตว่า คนเราแต่งงานได้เพียงครั้งเดียว ไม่มีสิทธิ์แต่งงานใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมว่า เมื่อแต่งงานแล้วไม่มีสิทธิ์จับปืน(เป็นทหาร)อีก การแต่งงานของชาวคริสต์แต่ละคนจะต้องได้รับอนุญาตจากศาสนจักร ดังนั้น บางครั้งชาวคริสต์จึงต้องเดินทางไปขออนุญาตแต่งงานจากPopeไกลถึงยุโรป จนอาจต้องใช้เวลานานถึง 3 ปี Popeในคริสต์ศตวรรษที่16เชื่อว่า การแต่งงานเป็นเรื่องเคร่งครัดศักดิ์สิทธิ์และต้องอยู่กันจนตาย

กรณีของพระเจ้าเฮนรีที่8 ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่เคร่งศาสนามากของอังกฤษ แต่เมื่อเบื่อราชินีและต้องการแต่งงานใหม่ เมื่อของอนุญาตจากPopeแล้วไม่ได้รับอนุมัติ จึงใช้วิธีเปลี่ยนศาสนาใหม่ เป็นนิกายChurch of Anglican และตั้งกฎว่า ศาสนาต้องขึ้นตรงต่อกษัตริย์เท่านั้น

ปัจจุบันนิกายแองกลิกัน มีพระสงฆ์และสังฆราชเป็นหญิง ทำให้สงฆ์แองกลิกันอยากกลับมาสังกัดนิกายคาธอลิกอีกครั้ง

ในเมืองพระนครศรีอยุธยา การแต่งงานระหว่างชาวโปรตุเกสกับชาวสยามเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อมีลูกก็สามารถบวชเป็นสงฆ์ได้ เช่นกรณีของ António Pinto นักเรียนบ้านเณรชาวสยาม ซึ่งต้องเรียนภาษาละติน แล้วสามารถแสดงธรรมได้อย่างประทับใจต่อหน้าของเชอวาลิเยร์ เดอ โชมองต์จนถึงกับได้รับคำชมว่า เทียบเท่าผู้ที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยซอร์บอนได้เลย

เมื่อโกษาปานไปฝรั่งเศสก็นำปินตูไปด้วย และได้แสดงธรรมต่อหน้าคาร์ดินัลและสังฆราชในมหาวิหารNotre Dame de Paris ชื่อเสียงของปินตูได้ยินถึงPope ทรงอยากฟังการแสดงธรรมของเขา เมื่อได้ฟังก็ทรงทำนายว่า ปินตูจะได้เป็นถึงสังฆราชแห่งสังฆมณฑลสยาม แต่น่าเสียดาย เมื่อปินตูกลับมาสยามได้ 2 ปีก็ป่วยตาย

ชาวคริสต์สมัยนั้นถือว่าการแต่งงานต้องถูกต้อง หากไม่ถูกต้องก็ร่วมพิธีไม่ได้ ถ้าตายก็จะถูกฝังนอกป่าช้า โดยไม่ได้แก้บาป ไม่ได้รับศีล ซึ่งหมายถึงจะต้องตกนรกตามความเชื่อทางศาสนา ถูกประจานให้คนเป็นที่ผ่านไปมาฟัง

กฎที่เคร่งครัดทางศาสนาของชาวคริสต์ในคริสต์ศตวรรษที่16-19 คือ
-ฟังเทศน์ปีละ 100 ครั้ง ผู้เทศน์ต้องได้รับการแต่งตั้ง หากไม่ได้รับการแต่งตั้ง ไม่มีสิทธิ์เทศน์ คริสตังในสยามจึงเสี่ยงต่อการผิดกฎข้อนี้มาก
-ชาวคริสต์ต้องมาโบสถ์และแก้บาปอาทิตย์ละครั้ง
-ฟังเทศน์วันปัสกาล(วันคืนชีพของพระคริสต์)ปีละครั้ง
-อดอาหาร 160 วันต่อปี(สมัยนี้ปีละ 2 วัน บางคนยังไม่ค่อยจะทำกัน)
-ต้องเชื่อในเรื่อง พระคุณการุณย์
-ชาวโปรตุเกสเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ โชคลาง เพราะชาวยุโรปผ่านเรื่องร้ายๆมามาก เช่น โรคกาฬโรค พวกเขาเชื่อว่า มีสาเหตุมาจากการที่มีชาวยิวเข้ามาอยู่ในยุโรปมาก จึงเกิดเหตุการณ์ฆ่าล้างหมู่บ้านชาวยิว[2]
-ชาวยิวถูกมองว่ามีบาปเพราะเป็นผู้ฆ่าพระคริสต์ในอดีต
-ชาวโปรตุเกสติดรูปพระ ไม้กางเขน รูปภาพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์และนักบุญที่แท่นบูชาขนาดใหญ่ในบ้านมากกว่าชาติอื่น แม้แต่หน้าบ้านยังติดแผ่นกระเบื้องเคลือบอะซูเลจู(Azulejo)[3] อันมีชื่อเสียงด้วย

A B
ตัวอย่างกระเบื้องเคลือบทำเป็นแผ่นอะซูเลจู ที่บ้านของเอกอัครราชทูตโปรตุเกสก็มี แบบB เป็นแบบดั้งเดิมของโปรตุเกส

แบบC
[1] ในปัตตานีก็มีชุมชนโปรตุเกส
[2] เป็นเหตุให้ชาวยิว เปลี่ยนศาสนามาเป็นคาธอลิกกันมาก
[3] เป็นคำเรียกแผ่นกระเบื้องเคลือบรูปสี่เหลี่ยมที่ออกแบบเป็นรูปหรือลวดลายต่างๆ ในSpain, Italy, Holland, Turkey, Iran and Moroccoก็มี แต่ของดปรตุเกสมีชื่อเสียงมากที่สุด

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เก็บตกนิทรรศการมรดกสถาปัตยกรรมโปรตุเกส 10 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 2554

รายงานโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร


วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นวันชาติโปรตุเกส ปีนี้ผู้เขียนได้รับบัตรเชิญไปร่วมงานฉลอง ดังกล่าว ณ โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน แต่มีปัญหาทางเทคนิคเล็กน้อย เนื่องจากทำบัตรเชิญหาย และเข้าใจว่าตนเองยังไม่ได้รับบัตรเชิญดังกล่าว ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ สอบถามมาว่า ไม่พบหน้าในวันงาน สบายดีหรือเปล่า ผุ้เขียนตอบว่าเสียดายที่ไม่ได้รับบัตรเชิญ เป็นเหตุให้มีการไล่เรียงหาคำตอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบยืนยันว่า ได้ส่งบัตรเชิญมาแล้ว จนกระทั่งเพิ่งหาเจอเมื่อเช้าวันที่ 17 มิย. 54 จึงขออภัยผู้เกี่ยวข้องอเป็นย่างยิ่งมา ณ ที่นี้ ครับ



อย่างไรก็ดี ผู้เขียนได้ร่วมเฉลิมฉลองโอกาสสำคัญนี้ ด้วยการจัดการความรู้และเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวบางส่วนของนิทรรศการ เรื่อง มรดกสถาปัตยกรรมโปรตุเกส ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 10 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 2554 ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำหรับบางท่านที่พลาดโอกาสในการเรียนรู้เรื่องราวทางด้านสถาปัตยกรรมโปรตุเกสในเอเชียและแอฟริกาจากนิทรรศการข้างต้น โดยหวังว่าจะมีประโยชน์แก่ผู้สนใจบ้างไม่มากก็น้อย



หลังจากนี้แล้ว ผู้จัดงานจะนำนิทรรศการนี้ไปจัดแสดงในประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป



พิธีกรจากสถานทูตโปรตุเกสกับภัณฑารักษ์ กรมศิลปากร ร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน



ดร.โสมสุดา ลียวณิช อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวรายงาน




ภาพจากวิดีทัศน์




























วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ศิลปะกระจกสี39ภาพที่โบสถ์ซางตาครูซ ชุมชนเชื้อสายโปรตุเกสย่านกุฎีจีน

พิทยะ ศรีวัฒนสาร เรียบเรียง
ศานติ สุวรรณศรี เอื้อเฟื้อข้อมูลและถ่ายภาพกระจกสี



๑. พระผู้เป็นเจ้า (พระยาเวห์-Yaweh)ทรงสร้างสรรพสิ่งบนโลกมนุษย์ทรงสร้างอาดัมและเอวา
กระจกสีภาพที่1
๒. อัครเทวดามิคาแอล (เซนต์ไมเคิล) กำลังต่อสู้กับเหล่าปีศาจและส่งปีศาจลงไปอยู่ในนรก

กระจกสีภาพที่2
๓. ยุคน้ำท่วมโลก โนอาร์ซึ่งเป็นลูกหลานอาดัม-อีวา(Adam-Eva) รุ่นที่ 10พระผู้เป็นเจ้าทรงรักและให้โนอาห์(Noah)ต่อเรือลำใหญ่พาสัตว์ต่าง ๆ เป็นคู่ ๆขึ้นไปไว้บนเรือก่อนที่พระเจ้าจะทำลายล้างโลกด้วยน้ำท่วมใหญ่ฝนตก 40 วัน 40 คืน


กระจกสีภาพที่3
๔. อับราฮัม(Abraham)เป็นผู้นำที่พระผู้เจ้าทรงเลือกสรร พระองค์ทรงลองใจอัมราฮัมให้นำลูกชาย ชื่อ อิซาอัค (Isaac)มาบูชายัญต่อพระเจ้า ซึ่งต่อมาเทวดาได้มาห้ามไว้ พระเจ้าได้อวยพรแก่อับราฮัมให้ลูกหลานของเขามีจำนวนเท่ากับดวงดาวบนท้องฟ้า


กระจกสีภาพที่4
๕. ในยุคต้นราชวงศ์ที่ 19 ของอียิปต์ ชาวฮิบรูตกเป็นทาสอยู่ในอียิปต์ ทารกเพศชายของชาวฮิบรูที่เกิดใหม่ต้องถูกฆ่าทิ้ง โมเสสถูกซ่อนไว้ 3 เดือน ต่อมาจึงถูกนำมาลอยน้ำ ธิดาฟาโรห์มาพบและนำมาเลี้ยงเป็นลูกชายของเธอ ต่อมาโมเสสเป็นผู้นำชาวฮิบรูปลดปล่อยจากการเป็นทาสของชาวอียิปต์

กระจกสีภาพที่5
๖. โมเสส(Moses)ขึ้นไปบนเขาซีนาย(Sinai)เพื่อรับบัญญัติ 10 ประการ (10 commandments)ที่พระเจ้าประทานแก่ชาวฮิบรู(Hebrews)ให้เป็นหลักแห่งการปกครองและจริยธรรม

กระจกสีภาพที่6
๗. ดาวิด(David)ได้ฆ่ายักษ์โกไลแอต(Goliath)ศัตรูที่เข้ามารุกรานประเทศอิสราเอล(Islrael)ที่กำลังเริ่มต้นสร้างประเทศ จากนั้นดาวิดได้ถูกยกขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศอิสราเอล

กระจกสีภาพที่7
๘. เทวดาคาเบรียล(Gabriel)ได้มาพบหญิงพรหมจารีย์ชื่อ “มารีอา” ขอให้เธอยอมรับการเป็นมารดาขององค์พระผู้ไถ่ (พระเยซู Jesus Christ)) โดยอำนาจของพระบิดาผ่านทางพระจิต

กระจกสีภาพที่8
๙. พระนางมารีอา(Maria)เสด็จเยี่ยมนางเอลิซาเบธ (Elizabeth)ญาติของพระนางซึ่งเทวดาแจ้งว่า ตั้งครรภ์เช่นกันด้วยอำนาจของพระเจ้า บุตรในครรภ์ของนางอริซาเบท คือ นักบุญยวง เดอะ แบพตีสต์(๋John the Baptist)


กระจกสีภาพที่9
๑๐. หลังจากที่องค์พระเยซูเจ้าทรงประสูติที่เมืองเบธเลแฮม(Bethlehem)ได้ 40 วัน นักบุญยอเซฟและพระนางมารีอาได้นำพระกุมารเยซูมาถวายต่อพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม ตามกฎบัญญัติของโมเสส

กระจกสีภาพที่10
๑๑. แปดเดือนหลังจากที่พระกุมารเยซูประสูติ โหราจารย์(Magis คือ นักปราชญ์) 3 คนจากเปอร์เซีย ซึ่งติดตามดาวแห่งกษัตริย์มายังเบธเลแฮม จนได้พบกับพระกุมารเยซูพร้อมทองคำ กำยาน และมดยอบ จากนั้นเทวดาได้มาบอกนักบุญยอแซฟให้หนีกษัตริย์เฮโรดซึ่งจะมาตามฆ่าไปยังอียิปต์

กระจกสีภาพที่11
๑๒. หลังจากที่กษัตริย์เฮโรด(Herod)ตายแล้ว เทวดาได้มาพบนักบุญยอแซฟให้พาครอบครัวไปยังบ้านเกิดของนักบุญยอแซฟที่เมืองนาซาเร็ท(Nazareth) พระเยซูในวัยเด็กได้ฝึกฝนและเรียนรู้ในวิชาช่างไม้ที่นี่

กระจกสีภาพที่12
๑๓. เมื่อพระเยซูอายุได้ 12 ปี นักบุญยอแซฟพาครอบครัวมาฉลองเทศกาลยบัสกาที่กรุงเยรูซาเล็ม ขากลับนักบุญยอแซฟ(Joseph)และพระนางมารีอาพลัดหลงกับพระเยซู 3 วัน ต่อมาทั้งสองได้ย้อนกลับมาที่พระวิหารในกรุงเยรูซาเล็มพบพระเยซูเจ้ากำลังสนทนาธรรมกับเหล่าธรรมาจารย์

กระจกสีภาพที่13
๑๔. พระเยซูเจ้าทรงรับพิธิล้างบาปจากนักบุญยวง เดอะ แบพติสท์ มีพระจิตเสด็จลงมาในรูปนกพิราบ เพื่อเป็นประจักษ์พยานแห่งการเป็นองค์พระผู้ไถ่ของพระเยซูเจ้า


กระจกสีภาพที่14
๑๕. พระเยซูเจ้าพร้อมแม่พระและเหล่าสาวกไปร่วมงานแต่งงานที่หมู่บ้านคานา พระเยซูเจ้าทรงแสดงอัศจรรย์เป็นครั้งแรกโดยทรงทำให้น้ำเปล่ากลายเป็นเหล้าองุ่น

กระจกสีภาพที่15
๑๖. พระเยซูเจ้าพร้อมเหล่าสาวก พระองค์กำลังเทศนาสั่งสอนผู้คนที่ติดตามพระองค์มากถึง 5,000 คน พระองค์ทรงแสดงอัศจรรย์ทวีคูณปลา 2 ตัว และขนมปัง 5 ก้อน เพื่อเลี้ยงคนที่ติดตามพระองค์มา เหนือเนินเขาริมทะเลสาปกาลิลี (Galili)

กระจกสีภาพที่16
๑๗. พระเยซูเจ้าทรงจำแลงพระกายสีขาวสว่างท่ามกลางโมเสสและประกาศกอิสิยาห์( Prophet Isaiah )พร้อมเสียงตรัสจากพระผู้เป็นเจ้าให้สาวก 3 คน ได้รู้ว่าพระเยซูเป็นพระบุตรสุดที่รักของพระผู้เป็นเจ้า ขอให้สาวกเชื่อฟังพระเยซูเจ้า จากนั้นพระเยซูเจ้าพร้อมสาวกได้เดินทางสู่กรุงเยรูซาเล็ม

กระจกสีภาพที่17
๑๘. พระเยซูเจ้าทรงเข้าไปในพระวิหารพบพ่อค้ากำลังค้าขายกำไรแบบเกินในเขตวิหาร พระองค์ทรงขับไล่เหล่าพ่อค้าออกไป



กระจกสีภาพที่18
๑๙. ในวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทและศีลบวชพระสงฆ์ ทรงล้างเท้าเหล่าสาวกเพื่อสอนให้พวกเขาเป็นพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำ รับใช้เพื่อนมนุษย์ และรู้จักถ่อมตน

กระจกสีภาพที่19
๒๐. ในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ เวลาตี 3 พระเยซูเจ้าทรงสวดภาวนาในสวน พระองค์ทรงรู้ล่วงหน้าถึงการถูกจับตรึงกางเขนเพื่อรับบาปทั้งหมดที่มนุษย์ได้ทำไว้ตั้งแต่ยุคอาดัมและอีวา ซึ่งเหล่าสาวกต่างหลับไหลและกลุ่มทหารโรมันจับกุมสั่งไปให้เหล่าพระยิวและข้าหลวงโรมัน


กระจกสีภาพที่20
๒๑. ข้าหลวงโรมันได้สั่งให้เฆี่ยนตีพระเยซูเจ้าอย่างหนัก เพื่อหวังให้เหล่าพระยิวพอใจจะได้ช่วยชีวิตพระเยซูเจ้าไว้ แต่บรรดาพระยิวและพรรคพวกต้องการให้พระเยซูเจ้าถูกประหารชีวิตบนไม้กางเขน

กระจกสีภาพที่21
๒๒. พระเยซูเจ้าทรงถูกเหยาะหยัน ถูกตีและถูกสวมมงกุฎหนาม

กระจกสีภาพที่22
๒๓. พระเยซูเจ้าทรงแบกไม้กางเขนไปบนเขากัลวาริโอ(Galvario)


กระจกสีภาพที่23

๒๔. ในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์เวลาบ่าย 3 โมง พระเยซูเจ้าทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน
กระจกสีภาพที่24

๒๕. ในวันอาทิตย์บัสกา (๓วันต่อมา) พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนชีพจากความตาย

กระจกสีภาพที่25
๒๖. หลังจากที่พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนชีพ พระองค์เสด็จมาประจักษ์กับเหล่าสาวก พระองค์ทรงอยู่กับพวกเขา 40 วัน จากนั้นพระองค์ทรงได้เสด็จขึ้นสู่สวรรค์

กระจกสีภาพที่26
๒๗. พระจิตได้เสด็จลงมายังเหล่าสาวกท่ามกลางแม่พระ พระจิตทรงบันดาลให้เหล่าสาวกสามารถพูดภาษาต่าง ๆ ได้ และนำคำสั่งสอนของพระเยซูออกเผยแพร่ออกสู่โลกภายนอก ถือเป็นวันกำเนิดคริสต์ศาสนา

กระจกสีภาพที่27
๒๘. แม่พระถูกยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ

กระจกสีภาพที่28
๒๙. แม่พระทรงได้รับแต่งตั้งจากสวรรค์ให้เป็นราชินีแห่งสากลโลก

กระจกสีภาพที่29
๓๐. มารดาผู้น่ารักยิ่ง แม้แต่องค์พระเยซูเจ้ายังทรงไว้ใจในแม่พระ มนุษย์อย่างเราต้องไว้ใจในแม่พระ


กระจกสีภาพที่30
๓๑. แม่พระทรงประจักษ์ต่อ ยวง ดิเอโกที่เมืองกวาดาลูป (Guadalupe)ประเทศเม็กซิโกเป็นครั้งแรก


กระจกสีภาพที่31

๓๒. พระตรีเอกภาพ (พระบิดา พระบุตร พระจิต) ท่ามกลางพระจิต นักบุญยอแซฟและพระนางมารีอาพรหมจารีย์


กระจกสีภาพที่32


๓๓. แม่พระนิจจานุเคราะห์

กระจกสีภาพที่33
๓๔. จักรพรรดิบนสแตนตินผู้สร้างอาณาจักไบเซนไทน์ เดินทางสู่กรุงเยรูซาเล็มพร้อมพระมารดา เพื่อค้นหาไม้กางเขนขององค์พระเยซูเจ้าบนเขากัลวาริโอ ในปี ค.ศ.326



กระจกสีภาพที่34


๓๕. ในยุคโมเสส เขาได้พาชาวฮิบรูอพยพสู่ดินแดนคานาอัน ชาวฮิบรูบางส่วนเริ่มไม่เชื่อฟังพระเจ้า พระองค์ส่งงูพิษมากัดพวกเขา โดยพระองค์บอกโมเสสให้ทำเสาทำรูปงูแขวนไม้ ผู้ที่ยังเชื่อในพระเจ้า แค่มองเสาหลักนี้ก็จะรอดชีวิต(ซึ่งเป็นความหมายต่อมาในยุคหลังพระเยซูเจ้าว่าผู้ที่เชื่อในเสาที่เป็นรูปไม้กางเขนคนนั้นจะรอด)



กระจกสีภาพที่35


๓๖. ภาพพระเมตตาของพระเยซูเจ้าผู้ทรงมาประจักษ์แก่ซิสเตอร์โฟสตินา โควาลสิกาชาวโปแลนด์ ทรงมาประจักษ์ระหว่างปี ค.ศ.1931-1938



กระจกสีภาพที่36


๓๗. พระบิดาทรงมาประจักษ์แก่ซิสเตอร์ยูจีเนีย เอลิซาเบตตา ราวาซิโอ ที่ประเทศอิตาลี ในปี 1932 โดยพระศาสนาจักรคาทอลิกแห่งวาติกันได้ทำการสอบสวนและรับรอง โดยถือว่าเป็นการมาประจักษ์ของพระบิดาเพียงครั้งเดียว



กระจกสีภาพที่37


๓๘. พระหฤทัยของพระเยซูเจ้าและดวงหฤทัยนิรมลของพระนางมารีอา



กระจกสีภาพที่38


๓๙. บุญราศีทั้ง 7 แห่งอำเภอสองคอน จ.มุกดาหาร และบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง

กระจกสีภาพที่39

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ฤาหลังคากระเบื้องลอนกาบกล้วยโบราณของไทย... แรกเริ่มร่อนชะไร.....จะมาไกลจากโปรตุเกส?

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร


ผู้เขียนเคยชมภาพยนตร์ฝรั่งย้อนยุคกรีก-โรมัน จนถึงประมาณสมัยสงครามโลกครั้งที่2หลายเรื่อง และได้สังเกตแว่บๆ เห็นกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาในฉากอาคารโบราณ มีรูปแบบคล้ายกับกระเบื้องลอนกาบกล้วยโบราณของไทย ซึ่งพบตามแหล่งขุดค้น/ ขุดแต่งทางโบราณคดีสมัยอยุธยา จึงเก็บความสงสัยเอาไว้ในใจมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ลองสืบค้นในแหล่งข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็ยังได้พบว่า ในเขตชนบทของโปรตุเกส สเปน และอิตาลีบางแห่งยังคงมีการใช้วัสดุดังกล่าวมุงหลังคาอยู่เช่นกัน


ผู้เขียนเคยเปรยๆกับนักโบราณคดีท่านหนึ่งขณะกำลังขุดแต่งวัดโพธิ์ชัยร้างทางด้านใต้ของหมู่บ้านโปรตุเกสเมื่อประมาณต้นปีพ.ศ.2551 ว่า กระเบื้องดินเผาแบบลอนกาบกล้วย หรือ แบบลูกฟูก น่าจะเป็นอิทธิพลของชาติตะวันตก นักโบราณคดีท่านนนั้นมองหน้าแบบเกรงๆใจน้อยหนึ่งแล้ว พึมพำๆ ว่า น่าจะมาจากจีนมากกว่า


ผู้เขียนกล่าวแย้งว่า กระเบื้องมุงหลังคาแบบจีนนั้น ตัวเมียดูจะแอ่นขึ้นมากกว่ากระเบื้องตัวเมียของไทย ขณะที่กระเบื้องมุงหลังคาของไทยทั้งผู้-เมีย แทยจะถอดแบบออกมาจากกระเบื้องมุงหลังคาของฝรั่งเลยทีเดียว


ผู้เขียนเปรยกับกัลยาณมิตร คือ คุณ แพทริค (Patrick) เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่นานนักก็ได้แนวร่วมจากหลักฐานในบันทึกของลาลูแบร์(La Loubere) ซึ่งระบุว่า "การใช้อิฐ(และหลังคามุงกระเบื้อง) เป็นวัฒนธรรมที่สยามได้รับจากโลกตะวันตก" รายละเอียดและการอ้างอิงปรากฏในเนื้อหาของจดหมายต่อไปนี้


Update from Bang Pahan
วันศุกร์, 17 กันยายน 2010 09:59 น.
จาก: "Ayutthaya Historical Research"
ถึง: "Bidya Sriwattanasarn"

Dear Khun Bidiya,

Hope you and you're spouse are doing well. Hereby a small update of the last weeks. I mainly have been busy with updating my Google maps on temples, canals and historical sites. I also have been trying to catch up with the writing about a number of temple sites for the website as I want to finalize my first objective (catalogue all temples within Ayutthaya district) I set more than a year ago.

I have been partly reading de La Loubere’s “A new Historical Relation of the Kingdom of Siam” and I had to think about you. I remember you told me at the site of Wat Phutthai Sawan, that you suspected the Portuguese having brought the use (and making) of roof tiles to Siam. DLL writes (John Villiers – White Lotus, Bangkok, 1986, page 31): “The King of China’s Palace is still of wood; and this persuades me that brick buildings are very modern at Siam, and that the Europeans have there introduced the practice and use thereof.” So also de La Loubère speculated that the use of bricks (and tiles) was a practice brought from the western world. Maybe a quote you can use for your thesis.

I sent some pictures to TAT last week of a tree fallen on a monument site, a dump of garbage close to a tourist spot and a iron cable ready to behead people on a walking-bicycling track, but I got no response.

I have been studying the old Rama III map and made a digital interactive map of it. I still am in pain with about 20 locations, of which I can impossibly read the names. Probably I will find it when I read the “Pradu Songtham” book. I am still busy with the Phraya Boran’s one.

Yesterday on visiting some sites in the southern area (Tambon Pak Kran & Ban Run), I found the location of an old temple site, which I had not yet on my list. It is a brick mound, where before stood the foundations of a chedi as being told by the two monks on retreat in that location. It is in the middle of nowhere surrounded by rice fields. A canal though seems to be leading to the Chao Phraya River. The site was called Wat Chumphon and could have been a gathering place for troops in the southern area.

I have also seen that FAD has been making a test pit southwest of Viharn Phra Mongkhon Bophit, near the local market place. I saw quite a few brick layers at a depth of two meters. Wonder what there might have been. Remains of Wat Sri Chiang Sai?

I passed also at the Dutch Settlement yesterday. I was surprised to see that so little had been done on the site since my last visit on 06 July, although there are plenty of workers living in shacks on the site. I spoke with a drunken worker who came to my encounter, and out of what he garbled, I could make out that they wait for ground to up-level the site near the river (making of a dam to avoid flooding?). On the spot where they have been building the basic foundations of the future Dutch Information Center, there are a lot of shattered bricks, which led to the presumption that also on that spot there was some brickwork very close to the Chao Phraya (maybe the old quay).

So that was it in short. If there is something whereby I can help you for your thesis, let me know.

Kind regards,
Patrick
http://www.ayutthaya-history.com/


ต่อมาผู้เขียนได้เห็นหลักฐานภาพกระเบื้องดินเผาแบบลอนกาบกล้วยในหนังสือ 500 ปี ความสัมพันธ์สยาม-โปรตุเกส ภาพที่6หน้า 123 และภาพกระเบื้องมุงหลังคาอาคารโบราณแห่งหนึ่งภายในมหาวิทยาลัยกูอิงบรา(Coimbra Unversity) ในหนังสือเบื้องหลังกองถ่ายสารคดี 500 ปีความสัมพันธ์สยามโปรตุเกส ภาพที่2 หน้า 105 ซึ่งได้รับอภินันทนาการมาจากคุณยุวดี วัชรากูร (บรรณาธิการ) ก็ยิ่งมีความรู้สึกว่าสมมติฐานข้างต้นมีความเป็นไปได้ค่อนข้างมาก


แล้วผู้รู้จะคิดอย่างไรกันบ้างครับ

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตราแผ่นดินโปรตุเกสที่หน้าจั่วของจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ(Portuguese Coat of Arms at the Villa of the Ambassador of Portugal in Bangkok)

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร





จวนของเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 โดยความร่วมมือระหว่างคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์และสถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ ผู้เขียนได้เป็นวิทยากรร่วมนำชมโบสถ์กัลหว่าร์ โบสถ์คอนเซ็ปชันและโบสถ์ซางตราครูซแก่คณะอาสาสมัครพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร(National Museum Volunteers, Bangkok) จำนวน 30 คน เพื่อย้อนรอยพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมขนเชื้อสายโปรตุเกสในกรุงเทพมหานคร สถานที่แห่งแรกซึ่ง NMV เดินทางไปเยือน คือ จวนของเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ โดยมีฯพณฯ ดร. จอร์จึ แปร์รุช ปึไรร่า(Jorge Perros-Pereira) เอกอัครราชทูตคนปัจจุบันเป็นผู้นำชม ระหว่างนั้น วิทยากรร่วม คือ อาจารย์ ธีรนันท์ ช่วงพิชิต นักมานุษยวิทยา ผู้เชี่ยวชาญการท่องเที่ยวเชิงชุมชนในพื้นกรุงเทพมหานคร ชี้ไปที่ตราแผ่นดินของโปรตุเกสบนหน้าจั่วของจวนท่านทูต แล้วถามผู้เขียนว่า ตราดังกล่าวหมายถึงอะไร หรือ บอกความหมายอะไรบ้าง ผู้เขียนตอบว่าไม่ทราบ แต่ก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่า น่าจะหมายถึงป้อมปราการซึ่งเป็นเมืองขึ้น หรือ อาณานิคมของโปรตุเกสในแอฟริกาและเอเชีย


ตราแผ่นดินโปรตุเกสบนจั่วหน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ ด้านบนเป็นมงกุฎ หมายถึง ราชสำนักโปรตุเกส ภายในกรอบสี่เหลี่ยมมีรูปป้อมปราการหรือปราสาท จำนวน 7 แห่ง บนพื้นแดง หมายถึง ดินแดนที่โปรตุเกสยึดกลับคืนมาได้จากชาวมุสลิมในสมัยกลาง(Reconquista Period) ด้านในสุดเป็นสัญลักษณ์เหรียญเงิน 5 ชุด ๆ ละ 5 เหรียญ หมายถึง สิทธิในการผลิตเหรียญกษาปณ์ออกมาใช้แต่เพียงผู้เดียวของราชสำนักโปรตุเกส


ตราแผ่นดินโปรตุเกสที่ใช้ในกองทัพโปรตุเกสปัจจุบันมีข้อความว่า Pátria esta e a ditosa minha amada แปลว่า มาตุภูมิอันเป็นที่รัก(ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://en.wikipedia.org/wiki/Coat_of_arms_of_Portugal)



เมื่อผู้เขียนได้รับมอบหมายภารกิจในการนำชมแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับชุมชนโปรตุเกสในประเทศไทยทั้งสามแหล่งอีกครั้งจากศูนย์วัฒนธรรมโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ ในวันที่ 3 มิถุนายน 2554 ก็ได้พบว่า ยังมีลวดลายปูนปั้นตราแผ่นดินของโปรตุเกสอีกที่บริเวณเหนือกรอบประตูชั้นล่างของจวนดังกล่าว จึงบันทึกภาพไว้เพิ่มเติม รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ที่น่าสนใจภายในจวนด้วย


ตราแผ่นดินโปรตุเกส ณ จวน เอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ ตรอกกัปตันบุช (Image from cell phone) เหนือกรอบประตูหน้าจวน(ด้านหันหน้าลงแม่น้ำเจ้าพระยา)



ตราแผ่นดินโปรตุเกสสมัยเฮนรีแห่งเบอร์กันดี ทำเป็นรูปกางเขนสีน้ำเงินบนโล่สีเงิน (ค.ศ.1093?-1183?อ้างจากhttp://en.wikipedia.org/wiki/Coat_of_arms_of_Portugal


พัฒนาการของตราแผ่นดินโปรตุเกสค.ศ.1247-1385 มีปราสาทสีทองมากถึง 14 แห่งและเหรีญเงินขาวในโล่สีน้ำเงิน 10 เหรียญ แสดงถึงความยิ่งใหญ่และมั่งคั่งทางโภคทรัพย์



ตราแผ่นดินโปรตุเกสซึ่งใช้ตั้งแต่ค.ศ.1481ภายในกรอบรูปโล่พื้นแดงทำเป็นรูปปราสาทสีทองจำนวน 7 แห่ง (ไม่ใช่หอคอยดังเช่นข้อมูลจากบางแห่งนำเสนอ) ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเซบัสเตียนที่4 (ค.ศ.1481เป็นต้นมา) หมายถึง ดินแดนของชาวมุสลิม(Moorish) ในยุโรปซึ่งโปรตุเกสสามารถยึดครองกลับคืนมาได้ในสมัยกลาง(Reconquista Period) ส่วนสัญลักษณ์รูปวงกลมสีขาวจำนวน 5 วงในพื้นโล่สีน้ำเงินขนาดเล็กซ้อนอยู่ในโล่สีเงิน หมายถึง เหรียญเงิน ซึ่งสถาบันกษัตริย์เท่านั้นที่มีสิทธิ์อนุญาตให้ทำขึ้นมาใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าได้ อันเป็นธรรมเนียมที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยไบแซนไทน์(Byzantine Period C.5-15)




ตราแผ่นดินโปรตุเกสซึ่งเริ่มใช้ในธงชาติของสาธารณรัฐโปรตุเกสตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ.1911เป็นต้นมา โดยยังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นราชอาณาจักรโปรตุเกสในสมัยกลาง ลักษณะใกล้เคียงที่สุดกับตราแผ่นดินเหนือกรอบประตูชั้นล่างหน้าจวน(ภาพจาก cell phone ด้านบน)


ธงชาติสาธารณรัฐโปรตุเกสปัจจุบัน


ปืนใหญ่สำริดแบบมีรางท้ายปืน หน้าสถานทูตโปรตุเกส โดยด้านหน้าของอาคารโรงสินค้าโปรตุเกส(ปัจจุบัน คือ ที่ทำการของสถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ) ยังมีการตั้งปืนใหญ่VOCขนาดลำกล้อง 1 นิ้ว ของฮอลันดาด้วย 4 กระบอก อันเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงการนำปืนใหญ่ของฮอลันดามาประจำการด้วย



ปืนใหญ่ของโปรตุเกสมีตราแผ่นดินโปรตุเกสเหนือปากลำกล้อง

ในห้องรับแขกด้านล่าง แลเห็นคานไม้ขนาดใหญ่รองรับพื้นชั้นบนของจวน


ศิลปะการตกแต่งผนังด้วยกระเบื้องดินเผา(Azurejo)แบบโปรตุเกส ซึ่งนิยมกันมากในศิลปะแบบรอคโกโกลวดลายช่อดอกไม้ในแจกันปากกว้างบนกระเบื้องดินเผาเคลือบกรุผนังชั้นล่างของจวน เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความสุขและชื่นชมยินดี
ลวดลายใบไม้และช่อดอกแบบฝรั่ง
บานประตูไม้แกะสลักเป็นรูปทวารบาลทหารโปรตุเกสของเก่าน่าจทำขึ้นในช่วงเดียวกับที่ได้รับพระราชทานที่ดินให้สร้างจวนกงศุลโปรตุเกสประมาณรัชกาลที่2


ลวดลายและสีที่ขอบบนคล้ายรูปแบบศิลปะไทยที่ได้รับอิทธิพลจากจีนสมัยร.3

ทวารบาลรูปทหารฝรั่ง

จิตรกรรมบนผ้าใบใส่กรอบกระจกรูปกองทหารดุริยางค์โปรตุเกสเป่าแตรคล้ายทรัมเปต ไม่สวมรองเท้า กำลังเดินนำหน้าขบวนพาเหรดทหารชาติเดียวกัน มีข้อความด้านล่างอธิบายว่าวาดโดยช่างไทยจากจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ภาพนี้น่าจะมีอายุประมาณเกือบ 100 ปี


ภาพขบวนทหารโปรตุเกสเดินตามแถวกองดุริยางค์ตราแผ่นดินโปรตุเกส

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

หนังสือพิมพ์โปรตุเกสเสนอบทความชื่นชมพระสิริโฉมสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเมื่อปีพ.ศ.2507

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร






เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 1964(2507) หนังสือพิมพ์โปรตุเกส ชื่อ "Flama" ปีที่12 ฉบับที่854 หน้า 20-21 ตีพิมพ์เผยแพร่ที่กรุงลิสบอน ได้เสนอบทความชื่อ "Sirikit da Tailandia: a mais bela rainha do mundo(สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์แห่งประเทศไทย: พระราชินีผู้มีพระสิริโฉมงดงามที่สุดในโลก)" การเสด็จฯเยือนประเทศโปรตุเกสอย่างเป็นทางการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ


สำเนาของบทความดังกล่าวถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติของประเทศโปรตุเกส ต่อมา Miguel Castelo Branco หัวหน้าฝ่ายค้นคว้าทางด้านวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติโปรตุเกส(the Division of Culture and Scientific Investigation at the National Library of Portugal) ได้นำมาเผยแพร่ครั้งแรกในงานประชุมสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับโปรตุเกสเมื่อพ.ศ.2548 ภายใต้ชื่อบทความ "Thailand and Portugal: a Documental Perspective"

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

Exhibition "Fernão Mendes Pinto, the fascinated gaze", by Instituto Camões

โดย

สถาบันกามอยช์ (Instituto Camões)และศูนย์วัฒนธรรมโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ (Cultural Center of Portugal in Bangkok)
คู่มือนิทรรศการและคัดสรรบทอ่านนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการเรื่อง ยลมองต้องมนต์(Deslubramentos do Olhar) จัดขึ้นเนื่องในวาระครบ 500 ปี ชาตกาลของ สถาบันกามอยช์ (Instituto Camoes) ในปีค.ศ.2009 โดยความร่วมมือของ สถานเอกอัคราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสถาบันกามอยช์ เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการและไม่แสวงหาผลกำไรโดยได้รับอนุญาตจากศูนย์วัฒนธรรมโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ


1. การแสวงบุญ (Peregrinacam) [1] การจาริกแสวงบุญของฟืร์นาว เมนดืช ปินตู (Fernam Mendez Pinto)[2] ซึ่งเล่าเรื่องราวอันแสนพิสดารหลายเรื่อง[3] ที่ได้พบเห็นและได้ยินมาในอาณาจักรจีน ตาร์ตาร์ [4]หลวงพระบาง พะโค[5] เมาะตะมะ อาณาจักรสยาม[6]และเมืองบริวารอื่นๆ อีกมากมาย ในดินแดนตะวันออก ขณะที่ในดินแดนตะวันตกของเราทราบข่าวกันน้อยมากหรือไม่ได้ข่าวอะไรเลย และเขาก็เล่าเหตุการณ์เฉพาะมากมายที่เกิดขึ้นกับตนเองและบุคคลอื่นๆ และในตอนจบมีเรื่องบางเรื่องเล่าอย่างย่อๆ และกล่าวถึงการมรณภาพของท่านนักบุญ ฟรานซิสกู ชาวิเยร์(Francisco Xavier)[7] แสงดวงเดียวและความสว่างแห่งดินแดนตะวันออกเหล่านั้น และอธิการคณะแห่งพระเยซูเจ้าอันเป็นสากล(คณะเยซูอิต- Jesuite)



2. ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู ข้าจะเล่าให้พวกท่านฟังย่อๆ ว่า เกิดอะไรขึ้นกับพวกข้าในเวลาต่อมา แต่ข้าจะไม่เขียนแม้แต่ตอนที่ร้อยซึ่งพวกข้าได้พานพบมา เพราะถ้าตั้งใจจะเขียนทุกๆสิ่งแล้วไซร้จะต้องใช้ทะเลกลั่นเป็นน้ำหมึกและท้องฟ้าทอเป็นกระดาษ

(จดหมายจากฟืร์นาว เมนดืช ปินตู ถึง บาทหลวง บัลตาซาร์ เดียส (Baltasar Dias) มาเก๊า ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1555 )

3. พระมหากรุณาธิคุณต่อ ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู “ถึงผู้ที่ได้เห็นพระราชหัตถเลขานี้ ข้าขอให้รับทราบทั่วกันว่า เนื่องด้วยการปฏิบัติหน้าที่ในอินเดียของ ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู ผู้พำนักในเมืองอัลเมดา[8] และเพื่อเป็นการตอบแทน ข้าเห็นควรและมีความยินดีให้เขาควรมีและได้รับบำนาญเป็นข้าวสาลี 2 มอยอูจากท้องพระคลังของข้า เริ่มตั้งแต่วันแรกของเดือนมกราคมในปี 1583 นี้ [9] ทุกๆ ปี ตราบชีวิตเขาจะหาไม่..” (พระราชหัตถเลขาโปรดฯ พระราชทานบำนาญข้าวสาลี 2 มอยอู ทุกๆ ปี กรุงลิสบัว[10] ลงวันที่ 15 มกราคม ปีที่ 1583 )
วันเปิดนิทรรศการที่สำนักหอสมุด ห้องปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.Luisa Dutra ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ ร่วมเปิดงาน
3.ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู นักเดินทาง “ฟืร์นาว เมนตืช? มินตู”[11] (ฟืร์นาว ท่านโกหกใช่ไหม ใช่ ข้าโกหก) เป็นการเล่นคำในภาษาโปรตุเกส (เมนดืช เมนตืช ปินตู มินตู) จากนามของผู้ประพันธ์การแสวงบุญ ซึ่งสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน แม้แต่ก่อนที่จะตีพิมพ์ผลงานนี้ ก็กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นและเกิดการถกเถียงกันเหลือคณาที่เกี่ยวกับการผจญภัยที่เขาเล่ามานั้นว่าเกิดขึ้นจริงๆ หรือไม่ จากข้อมูลที่ปรากฏในเรื่อง เรารู้ว่า ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู ถือกำเนิด และอาศัยในเมืองมงตือมอร์ อู เวลญู่[12] จนถึงอายุ 10 หรือ 12 ปี ที่ “บ้านแคบๆ โกโรโกโส” ของบิดา แล้วคุณลุงผู้ปรารถนาชักนำเขาไปสู่อนาคตที่ดีกว่า พาเขาเดินทางไปกรุงลิสบัว ในตอนปลาย ค.ศ.1521 เขามีปัญหาในการทำงานและโชคร้ายอยู่ร่ำไป จนกระทั่งภายหลังการออกเดินทางที่อ่อนล้าเป็นครั้งแรก ก็โดยสารเรือสู่อินเดียในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1537 มุ่งมั่นไปแสวงโชคในระหว่าง 21 ปีกว่าๆ ที่เขาพำนักในดินแดนตะวันออก ได้เดินทางระหว่างอินเดียและจีนนับครั้งไม่ถ้วน อ้างว่า ตนเป็นหนึ่งในบรรดาชาวตะวันตก คนแรกๆ ที่เดินทางถึงญี่ปุ่น เขาได้ประกอบอาชีพ พ่อค้า ทหาร นักการทูต รับใช้พระเจ้า รวมทั้งเป็นโจร หมอพื้นบ้าน และถูกจับกุมเป็นเชลยบ่อยครั้ง เขากลับกรุงลิสบัวในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 นำจดหมายหลายฉบับรับรองการปฏิบัติหน้าที่รับใช้มาตุภูมิกลับมาด้วย ซึ่งถือเป็นทรัพย์ที่มีค่าที่สุดของเขา ภายหลังจากการร้องฎีกาต่อราชสำนักประสบความล้มเหลวหลายครั้งระยะเวลา 4 ปี เขาก็ใช้ชีวิตวัยเกษียณที่ที่ดินส่วนตัว ณ ปาเลนซ่า (Palença) เขต ปรากัล (Pragal) เมือง อัลมาดา ซึ่งเขาเขียนรวบรวมเรื่องราวต่างๆ จากความทรงจำลงในหนังสือ การแสวงบุญ

อาจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์เป็นประธานเปิดนิทรรศการ
4. เพื่อนร่วมทางของ ฟรานซิสกู ชาวิเยร์ “ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู รับใช้ฝ่าพระบาทเรื่อยมาในดินแดนแถบนี้ และในญี่ปุ่น เขาได้ให้ข้ายืมเงิน 300 ครูซาดูช[13] เพื่อสร้างบ้านที่ ยามากูชิ[14] เขาเป็นคนฐานะดี มีน้องชาย 2 คน อัลวารู เมนดืช (Álvaro Mendes) และ อันตอนิอู เมนดืช (António Mendes) การที่จะทำให้พวกเขาให้จ่ายเงินที่มีและจบชีวิตลงในขณะปฏิบัติหน้าที่เพื่อฝ่าพระบาท ข้าขอเสนอให้ทรงบรรจุพวกเขาเป็นมหาดเล็ก อัลวารู เมนดืช อยู่ในเมืองมะละกา ขณะที่เมืองถูกข้าศึกล้อม”

(จดหมายจากบาทหลวง ฟรานซิสกู ชาวิเยร์[15] ถึง ดง ญูอาวที่ 3[16] โคชิน [17]ลงวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1552 )

ความชื่นชมที่มีต่อ ฟรานซิสกู ชาวิเยร์ ทำให้ ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู ละทิ้งความมั่งคั่งที่ได้สั่งสมมา แล้วเข้าร่วมกับคณะแห่งพระเยซูเจ้า[18] ใน ค.ศ. 1554 หลังจากพิธีฝังศพท่านนักบุญอันน่าสะเทือนใจที่เมืองกัว[19] ในการแสวงบุญ มิได้กล่าวถึงการเข้าร่วมคณะแห่งพระเยซูเจ้า แม้ว่า ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู จะเล่าว่า ตนพบกับ ฟรานซิสกู ชาวิเยร์ และพูดถึงภารกิจการเผยแผ่ศาสนาในญี่ปุ่น โดยมีบาทหลวงเมลชิยอร์ บาร์เรตู (Melchior Barreto) ร่วมอยู่ด้วย ยังต้องสืบหาเหตุผลกันต่อไปว่าทำไมตัวเขาเองถึงไม่เล่าชีวิตขณะที่เป็นบราเธอร์ ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู ในดินแดนตะวันออกอย่างละเอียด แต่เอกสารหลายฉบับเป็นพยานให้ว่า ระยะเวลาบวชสั้นเพียง 1 ปี รวมทั้งจดหมาย 2 ฉบับ ซึ่ง ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู บอกไว้ก่อนที่จะเขียนเล่าในบันทึกความทรงจำ ฉบับแรกอยู่ในความครอบครองของคณะแห่งพระเยซูเจ้า เป็นหมวดจดหมายที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1555 และพิมพ์แก้ไขซ้ำอีกหลายครั้งเป็นภาษาโปรตุเกสและอิตาเลียน ทำให้ ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วยุโรป ก่อนที่จะกลับมาโปรตุเกสเสียอีก ส่วนจดหมายฉบับที่ 2 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1555 เป็นเอกสารฉบับแรกที่ทราบกันว่า เขียนในมาเก๊า

5. หนังสือยอดนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 17

ใน ค.ศ. 1614 ได้มีการตีพิมพ์ผลงานเล่มหนาที่ ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู เขียนด้วยลายมือ ผ่านการอนุมัติให้พิมพ์และผู้ตีพิมพ์อุทิศให้กับ พระเจ้า ฟิลิปที่ 2 แห่งโปรตุเกส รายได้จากการขายมอบให้กับสถานสงเคราะห์ผู้ยากไร้ในกรุงลิสบัวตลอดเวลาหลายศตวรรษ มีการคาดการณ์กันมากมายเกี่ยวกับรอยต่อของเวลา ระหว่างปีที่ผู้ประพันธ์เสียชีวิตใน ค.ศ. 1583 และปีที่ตีพิมพ์ เชื่อกันว่า ต้องมีการตรวจเซ็นเซอร์หรือปรับเปลี่ยนบางบทมาก่อน รวมทั้งมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องเพ้อฝันในงานเขียนนี้ จึงทำให้มีการแก้ไขฉบับภาษาโปรตุเกสแค่ 5 ครั้งจนถึงทศวรรษแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งนับว่าน้อยทีเดียว อย่างไรก็ดี หนังสือได้ประสบความสำเร็จแบบไม่ธรรมดาในยุโรป ได้รับการแปลเป็น 18 ภาษาหลักในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นที่รู้จักกันดีและชื่นชอบในหมู่ผู้อ่านที่พิสมัยนิยายผจญภัยในห้วงเวลานั้น

งานเขียนที่ก้าวผ่านมิติแห่งกาลเวลา การแสวงบุญ ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และปรากฏมากกว่า 100 ต้นฉบับปรับปรุงใหม่จนถึงปัจจุบัน มากกว่า 200 ครั้ง ถ้าเรานับที่ตีพิมพ์ซ้ำกันหลายครั้งในโปรตุเกสเอง นับตั้งแต่ต้นฉบับปรับปรุงที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1829 ก็ยังคงได้รับการกล่าวขวัญในวรรณคดีโปรตุเกส มีการคัดเลือกพิมพ์เฉพาะบางเนื้อหาในบางเล่มแสดงให้เห็นว่า สามารถอ่านหนังสือเล่มนี้ได้หลายแนวทาง โดยจากการจัดหมวด (นับตั้งแต่ประเภทวรรณคดีจิตวิญญาณ จนถึงเรื่องเล่าจากการผจญภัยหรือการเดินทางอันน่าอัศจรรย์) ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู และงานประพันธ์ของเขา เป็นแรงบันดาลใจเรื่อยมาให้กับศิลปินหลายแขนง เช่น วรรณคดี ทัศนศิลป์ การละคร และดนตรี

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริและอาจารย์ ลุยซา ดูตรา
งานแปลในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื้อหาสมบูรณ์ – ค.ศ. 1620 – ภาษาสเปน (พิมพ์ซ้ำ : 1620, 1628, 1645, 1664, 1666) / 1628 – ภาษาฝรั่งเศส (พิมพ์ซ้ำ : 1645, 1830) เนื้อหาบางส่วน – ค.ศ. 1625 – ภาษาอังกฤษ / 1652 – ภาษาดัตช์ (พิมพ์ซ้ำ : 1653) / 1653 – ภาษาอังกฤษ (พิมพ์ซ้ำ : 1663, 1692) / 1671 – ภาษาเยอรมัน (พิมพ์ซ้ำ : 1671, 1671)

งานแปลในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เนื้อหาสมบูรณ์ – ค.ศ. 1979 – ภาษาญี่ปุ่น / 1982 – ภาษาสเปน / 1989 – ภาษาอังกฤษ / 1991 – ภาษาฝรั่งเศส / 1992 – ภาษาดัตช์ / 1999 – ภาษาจีน

6. หนังสือแห่งความเพ้อฝัน ญูอาว โรดริกืช (João Rodrigues) ประวัติศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่น (História da Igreja do Japão) (ค.ศ. 1630) ระบุว่า


“ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู ในหนังสือแห่งความเพ้อฝันของเขา อ้างว่า เขาเป็น (ชาวโปรตุเกส) 1 ใน 3 คน ที่อยู่บนเรือสำเภาลำนั้น แต่ไม่จริงหรอก เนื่องจากยังมีสิ่งอื่นๆ อีกมากมายในหนังสือของเขา ซึ่งดูเหมือนว่าเขาจะประพันธ์เพื่อให้ความสนุกสนานมากกว่าพูดเรื่องจริง เพราะว่าไม่มีอาณาจักรใดหรือเหตุการณ์ใดที่เขาไม่ได้แสร้งว่า เขาอยู่ตรงนั้นพอดี”

7. “ใครก็ตามที่ไม่เชื่อข้าหรือสงสัยในสิ่งที่ข้าพูด...” เพราะข้าเกรงว่าถ้าข้าบรรยายทุกๆ สิ่งอย่างละเอียดตามที่ข้าได้เห็นในเมืองนี้ ความวิจิตรตระการตาที่แปลกไปอาจทำให้ผู้อ่านเกิดความสงสัย และเพื่อว่าจะได้ไม่ไปเชื่อพวกไม่ประสงค์ดีและปากร้าย ที่ตัดสินสิ่งต่างๆ จากสิ่งที่ตนเห็นแค่เพียงเล็กน้อย และมีความเข้าใจอยู่ในระดับต่ำและมีอย่างจำกัดด้วย มาตัดสินเรื่องจริงที่ข้าเห็นกับตาของข้าเอง ข้าจึงละเว้นที่จะเล่าหลายๆ สิ่งที่อีกนัยหนึ่งอาจจะให้ความเพลิดเพลินกับพวกที่มีจิตใจสูงส่งและมีความฉลาดกว้างไกล คนที่ไม่ได้ตัดสินสิ่งต่างๆ จากดินแดนอื่น โดยแค่ใช้ความชั่วร้ายและความหยาบคายที่พวกเขาเห็นต่อหน้าต่อตามาวัด

การแสวงบุญ บทที่ 114 “ข้าเห็นกะตาของข้าเอง”
ผู้ร่วมงานเปิดนิทรรศการจากชุมชนกุฎีจีนสนทนากับนักวิชาการจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
ไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือความเพ้อฝัน การแสวงบุญ เป็น 1 ในบรรดาเรื่องที่มีเสน่ห์ ซึ่งทำให้เรารู้สึกทึ่ง เนื่องจากความสามารถในการท้าทายผู้อ่าน ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู นักเดินทาง ผู้เห็นโลก และต้องการจะบอกเราเกี่ยวกับมันทั้งหมดพยายามหาทางชักจูงให้ผู้อ่านที่เคลือบแคลงสงสัย หันมาเชื่อเขา และมารู้สึกว่าสิ่งที่เขากำลังเล่าไม่น่าจะเป็นไปได้ แม้ว่าเขาจะย้ำสถานภาพของเขาในฐานะพยานผู้เห็นเหตุการณ์ “ข้าเห็น” พยายามใช้รูปแบบนี้ รับรองว่า เรื่องน่าอัศจรรย์ที่เล่ามานั้นเป็นเรื่องจริง แต่จำนวนตัวเลขที่ละเอียด เช่น ตกเป็นเชลย 13 ครั้ง และถูกนำไปขาย 17 ครั้ง วันเวลาที่ขัดแย้งกัน การอ้างอิงชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ดูลึกลับไม่อาจสืบหาได้ในปัจจุบัน ความผิดพลาดในการกะระยะทาง และความไม่ใส่ใจในภาษาต่างๆที่เขาถ่ายเสียงมาด้วย มีส่วนทำให้เห็นว่าเป็น “หนังสือแห่งความเพ้อฝัน” ดังที่บาทหลวงคณะแห่งพระเยซูเจ้า ญูอาว โรดิเกช ได้ระบุไว้ อย่างไรก็ดี การค้นคว้าการเขียนประวัติศาสตร์ได้ยืนยันแล้วว่า ข้อมูลจำนวนมากมาจากการแต่งขึ้นมาเอง ซึ่งแสดงความรุ่มรวยที่ไม่ธรรมดาของงานประพันธ์ที่สามารถใช้อ่านประหนึ่งเอกสารที่มีคุณค่าในสมัยนั้นหรือเรื่องผจญภัยชวนเคลิ้มฝันและลึกลับ
เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกรมยุโรป กระทรวงต่างประเทศ เดินทางมาร่วมงานด้วย
8. เมืองลอยน้ำทั้งหลาย ตลอดระยะทางมากกว่าครึ่งลีก[20] ริมแม่น้ำในเมืองกวางตุ้ง เห็นฝูงเรือเนืองแน่นเสียจนน่าอัศจรรย์นัก และสิ่งที่วิเศษมากไปกว่านั้น จำนวนเรือไม่เคยพร่องหรือลดลงตลอดทั้งปีเลย เพราะว่า ถ้าเรือ 30 หรือ 40 หรือ 100 ลำ ออกจากท่าใน 1 วัน เรือก็เข้ามาเทียบท่าในจำนวนเท่าๆ กันฉันนั้น ข้าขอบอกท่านว่า ฝูงเรือไม่เคยพร่องหรือลดลง ก็เพราะว่า แม้ว่าบางครั้งจะมีมากลำหรือน้อยลำ ฝูงเรืออันน่าพิศวงก็ยังคงมีมิได้ขาด (…) (กาสปาร์ ดา ครูซ -Gaspar da Cruz เรื่องราวจากจีน -Tratado das Coisas da China, ค.ศ. 1569)

ขณะเดินทางเหนือลำน้ำ พวกข้าได้เห็น(เหมือนที่ข้าได้พูดมาแล้ว) เรือวันกอยซ์[21] ลานเตอาช และเรือท้องแบน บรรทุกผลิตผลทั้งหมดที่แผ่นดินและทะเลจะสามารถมอบให้ได้ และมีล้นหลามจนข้าขอประกาศไว้เลยว่า ข้ามิอาจสรรหาถ้อยคำใดหรือวิธีการใดที่จะใช้เป็นมาตรนับได้ มิมีผู้ใดจะจินตนาการได้ว่า สรรพสิ่งทั้งมวลนี้สามารถดำรงอยู่อย่างเหลือคณานับในบรรดาประเทศแถบนี้ นอกจากนี้ กว่าจะขนหมดยังต้องใช้เรือ 200 หรือ 300 ลำ และเมื่อเรือเหล่านี้มารวมตัวกันครั้งใหญ่ดูดุจมหานครอันงามสง่าผุดขึ้นเป็นแนวยาวตามชายฝั่งมากกว่า 1 ลีก และกว้างเกือบ 1/3 ลีก
คุณลุง ณรงค์ชัย เจริญสุข จากชุมชนกุฎีจีน
การแสวงบุญ บทที่ 98 คนเล่าเรื่อง...

เรื่องเล่าที่สืบทอดจากยุคแห่งการค้นพบ[22]จนมาถึงสมัยเรา ก็มีลักษณะคล้ายกับ การแสวงบุญ โดยเขียนอ้างเหตุผลว่า เขียนเพื่อเผยโฉมหน้าดินแดนและบรรดาผู้คนหลากหลายรวมทั้งอุปสรรคและความไม่แน่นอนระหว่างการเดินทางในท้องทะเลดังนั้น จึงเสนอเรื่องเล่าออกมาในรูปบันทึกการเดินเรือ เส้นทางการเดินทาง หรือตำราภูมิศาสตร์ ซึ่งเชื่อมโยงประสบการณ์ที่พานพบกับข้อมูลที่รวบรวมมาจากนักเดินทางคนอื่นๆ แต่ก็ไม่เสมอไปที่ของตนกับของผู้อื่นจะรวมเป็นเนื้อเดียว อย่างไรก็ดี เรื่องเล่าของ ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู มีความโดดเด่น เนื่องจากตั้งใจเขียนเป็นอัตชีวประวัติ บันทึกความจำในสิ่งที่เขาเห็น ได้ยิน และอยู่ร่วมในเหตุการณ์ เขียนหลังจากผ่านการผจญภัยมานาน

หลายปี ซึ่งปัจจัยเรื่องระยะเวลาที่ห่างไปนี้ ส่งผลให้เห็นว่า เขากลั่นกรองประดิษฐ์เรื่องจากประสบการณ์ของตน เรื่องบางเรื่องที่เขาเล่าก็มีนักเดินทางคนอื่นๆ เล่าตัดหน้าไปก่อนแล้ว เพราะพวกเขาได้เคยอ่านจากนักเขียนคนอื่นมาก่อนนั่นเอง แต่ความแตกต่างอยู่ที่เขาขมวดรวมทุกตอนประหนึ่งว่ามาจากประสบการณ์ส่วนตัว ยกตัวอย่างเช่น บทบรรยายจีน ที่ดูเหมือนว่า ได้รับแรงบันดาลใจจาก ฟืร์นาว ลอปืช ดือ กาสตานเญดา [23]หรือเรื่องเล่าจาก กาเลโอตึ ปือไรยร่า[24] หรือ ภารดา กาสปาร์ ดา ครูซ[25] ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู เดินทางข้ามจีนขณะถูกจับเป็นเชลย และกล่าวว่า เขาได้เห็นในสิ่งที่ผู้อื่นได้บรรยายไว้ก่อนหน้านี้แล้วเขาก็มักจะขยายบทบรรยายอย่างย่อๆ เหล่านั้นให้ยาวขึ้นหลายหน้า

9. เชลย เนื่องจากพวกเข้าส่วนใหญ่มีเคราะห์กรรม กำลังเจ็บระบมจากบาดแผลลึกและเป็นอันตราย ไม่ต้องเอ่ยถึงการปฏิบัติอย่างทารุณที่พวกเข้าได้รับจากคุกอันน่าเศร้านั้น ในเช้าวันรุ่งขึ้น ทหาร 2 จาก 9 นาย ก็สิ้นลม คน 1 ชื่อ นูนู่ เดลกาดู (Nuno Delgado) อีกคน อังเดร บอร์จ (André Borges) ทั้ง 2 มาจากครอบครัวที่ดีและมีจิตเข้มแข็ง ทั้งคู่มีบาดแผลลึกที่ศีรษะ ซ้ำไม่มีแพทย์มารักษา แล้วก็ไม่ได้รับหยูกยาใดๆ ที่นั่น พวกเขาเลยจบชีวิตลง

การแสวงบุญ บทที่ 6 10. ผจญภัย ผจญภัย ในตอนต้น การแสวงบุญ ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู ได้ระบุว่า “อุปสรรคและเคราะห์กรรมมากมาย” เกิดกับตัวเขา และเย้ยหยันโชคชะตาที่ไล่ต้อนและให้ร้ายเขา เขาก็กลับขอบคุณพระผู้เป็นเจ้า ที่ทางช่วยเหลือเขาให้รอดพ้นจากภยันตรายถึงชีวิตหลายครั้งตลอดการเดินทาง 21 ปี ในดินแดนตะวันออก จึงถือเป็นการเตรียมผู้อ่านให้ทราบว่า จะเกิดการผจญภัยและการทรมานตามมาเรื่อยๆ แล้วเขาก็สามารถหลบหลีกโดยไม่ได้รับอันตรายใดๆ อย่างปาฏิหาริย์ด้วยพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า เส้นทางการเดินทางที่ลำบาก และการผจญภัยอันน่าเวียนศีรษะ – การตกเป็นเชลย เรืออับปาง การสู้รบ ข้าศึกล้อมเมือง การถูกพิพากษาประหารชีวิต การถูกตามล่า - ทำให้ภาพลักษณ์ของวีรบุรุษในฝันผู้นี้ มีชัยเหนือความทุกข์ยาก และภายหลังสมัยนิยมงานประพันธ์ของ เป็นนิยายผจญภัยที่ไม่ธรรมดาเรื่อง 1 ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังสมัยนิยมงานประพันธ์ของ เซร์บันเตส (Cervantes) เรื่อง ดอน กิโฆเต้ (Don Quixote) ตีพิมพ์ภาคแรก ใน ค.ศ. 1605 และภาคที่ 2 ใน ค.ศ. 1615 ดังนั้น จึงเข้าใจได้ว่า ทำไมหนังสือฉบับตัดตอนและฉบับปรับปรุงหลายเล่มถึงเลือกพิมพ์ตอนที่น่าตื่นเต้นเร้าใจที่สุดในการเดินทางของนักผจญภัยผู้นี้ ซึ่งเป็นแนวหลักของหนังสือ และตัดทิ้งตอนที่เผยความหมายทางจิตวิญญาณแห่งการแสวงบุญนี้

หมายเหตุผู้แปล 1. ผศ. สว่างวัน ไตรเจริญวิวัฒน์ ภาควิชาภาษาสเปน คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้แปล ดอน กิโฆเต้ แห่งลามันช่า ขุนนางต่ำศักดิ์ นักฝัน สนพ. ผีเสื้อ พิมพ์ครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2549 ยุทธนาวี

เมื่อพวกเติร์กหยั่งรู้หรือสงสัยในสิ่งที่พวกข้าตั้งใจจะทำ ก็ส่งเสียงอึกทึก และสวดคาถาบริกรรมตามหลักศาสนาสักประเดี๋ยว แล้วก็เปลี่ยนทิศทางใบเรือลายสีหมากรุกและธงผ้าไหมบนเสากระโดงหันมาทางพวกข้า ด้วยเหตุที่ลมเป็นใจ พวกเขาตามลมมาทางที่พวกข้าอยู่ได้โดยง่าย ทันทีที่พวกเขาอยู่ในระยะสะดวกยิง ก็เปิดฉากระดมปืนใหญ่ทั้งหมดมาหาพวกข้า คนของพวกข้าเสียชีวิตทันที 9 ส่วนที่เหลือบาดเจ็บ 26 กำลังคนจึงอ่อนแอนัก ลูกเรือส่วนใหญ่ก็กระโดดหนีลงทะเลไป พวกเติร์กขยิบมาประชิด พุ่งหอกจากดาดฟ้าเรือใส่พวกข้าจนได้รับบาดเจ็บไปตามๆ กัน


การแสวงบุญ บทที่ 5 การปล้นเมือง เมาะตะมะ เมืองเมาะตะมะ ที่น่าเศร้าตกอยู่ในกำมือของทหารเลว เมื่อสิ้นสัญญาณยิงนัดสุดท้าย พวกเขาก็เข้าประจัญบานอย่างเหี้ยมโหด ขณะเข้าประตูเมือง กล่าวกันว่าบดขยี้คนไปมากกว่า 300 ทหารจำนวนนับไม่ถ้วนเหล่านี้มาจากหลายถิ่น ซึ่งไร้กษัตริย์ปกครอง ไร้กฎหมาย และไม่เกรงกลัวสิ่งใดหรือเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าทั้งหมดตามืดบอดเพราะความโหยหิว ไม่คิดถึงอะไร นอกจากการฆ่าฝัน 100 คน เพื่อ ครูซาดู[26] เดียว แม้กษัตริย์จะทรงปรากฏพระวรกาย 6 หรือ 7 ครั้ง เพื่อปราบฝูงชนและความวุ่นวายที่ครอบงำเมืองนี้ ความกระหาย ความละโมบ และความโหดร้ายของบรรดาทหารไพรีที่ดุร้าย ปล้นเมือง 3 วันครึ่งจนโล่งเตียน ไม่เหลือสิ่งใดไว้ให้เห็นเลย

การแสวงบุญ บทที่ 151 11. ยลมองต้องมนต์ แม้ว่าพวกข้าถูกล่ามบนพนักฝีพายเรือ ลานเตอา พวกข้าก็อดมองทัศนียภาพอันแสนวิเศษของเมืองใหญ่น้อย และหมู่บ้านที่ตั้งเรียงรายริมฝั่งแม่น้ำใหญ่สายนี้ไม่ได้ ดังนั้น ข้าจะเล่าสิ่งที่ข้าเห็นสักเล็กน้อย

การแสวงบุญ บทที่ 138 12. ภูมิศาสตร์ใน การแสวงบุญ การเดินทางที่ ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู เล่า กินเนื้อที่ภูมิศาสตร์ที่กว้างไกลจากอินเดีย จรด ญี่ปุ่น อีกทั้งบรรดาทะเล แม่น้ำ เมืองเล็ก นครใหญ่ และอาณาจักรทั้งหลาย ซึ่งปรากฏในแผนที่ของเส้นทางหลายจุดที่ไวเคานต์ แห่งลากูอา ได้รวบรวมไว้ภายหลัง แต่ควาทชอบพรรณนาของผู้ประพันธ์ ไม่ได้จำกัดแค่เพียงเส้นทางนประเทศต่างๆ ตามลำดับ แต่ยังมองลึกไปถึงรายละเอียดของสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติหรือสิ่งก่อสร้างฝีมือมนุษย์อันวิจิตร เช่น วังกำแพง โรงเตี๊ยม วัด สวน แหล่งเพาะปลูก เหมือนเรื่องเล่าอื่นๆ ในสมัยเดียวกันการแสวงบุญ บรรจุข้อมูลละเอียดเกี่ยวกับประเทศต่างๆ และประชาชน ใช้แง่มุมมองดุจผู้พิชิตดินแดน รวมถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ พืชพรรณธัญญาหารที่ปลูกความมั่งคั่งที่ชาวยุโรปปรารถนา การจัดการปกครองและการทหาร เมืองหลัก และป้อมปราการ ลักษณะนิสัยและความประพฤติของประชากร

หมายเหตุผู้แปล 1. ไวเคานต์แห่งลากูอา (Lagoa) หรือ ญูอาว อันตอนิอู มาสกาเรนญาส จูดิซ (João António Mascarenhas Júdice) (ค.ศ 1898 – 1957) เป็นนักประวัติศาสตร์ที่ค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์ยุคแห่งการค้นพบของโปรตุเกส และรวบรวมคำศัพท์ชื่อดินแดนที่ปรากฏบนแผนที่ทางภูมิศาสตร์ในยุคแห่งการค้นพบ

13. ทรราชของพม่า เนื่องจากทรราชได้รับบาดเจ็บและเสียหน้าในเหตุการณ์ที่ผ่านมา เขาก็เลยก่อกรรมทำเข็ญให้แก่ประชาชนผู้เคราะห์ร้าย แก้แค้นที่โชคไม่ดีในช่วงปิดล้อมเมืองแต่ก็เกิดขึ้นก็เพราะเขาเองเป็นคนจิตใจอ่อนแอ สืบสายเลือดไม่ดี และวงศ์ตระกูลโหดร้ายโหยหาการล้างแค้นมากกว่าความเมตตาและความกล้าหาญ เหนืออื่นใด เขาขาดความซื่อสัตย์ นิสัยท่าทางดังอิสตรี ประกาศเป็นศัตรูกับพวกหล่อน คนในอาณาจักรของเขาเอง และคนอื่นที่เขาปกครอง กลับมีความยุติธรรมและความงามอันหาที่เปรียบมิได้

การแสวงบุญ บทที่ 155 ความอุดมสมบูรณ์ของอาณาจักรสยามและรายละเอียดอื่น ข้าว่าเหมาะที่จะเอ่ยถึงดินแดนนี้ แม้ว่าข้าจะได้เห็นเพียงคร่าวๆ ทั้งสถานที่ตั้งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง และความเจริญงอกงาม ในอาณาจักรสยามและจักรวรรดิซอร์เนา น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่านี้ หากได้พิชิตดินแดนนี้ทดแทนทุกสิ่งที่เรามีที่อินเดีย และเราก็ลงทุนน้อยกว่าที่เราเคยลงทุนกันมาถึงขณะนี้

การแสวงบุญ บทที่ 189

หมายเหตุผู้แปล 1. ซอร์เนา (Sornau) มาจาก ชาฮ์ร์-อิ-เนา (Shahr-i-nao) ซึ่งพ่อค้าชาวเปอร์เซียเรียกสยาม แปลว่า เมืองใหม่

บรรดาอาณาจักรที่ดีที่สุดในโลก ใน 226 บท ของ การแสวงบุญ มักเสนอการออกเดินทางและการมาถึงดินแดนต่างๆ ทางบกและทะเล แต่ในหลายกรณี การออกนอกเส้นทางโดยบังเอิญนำ ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู ไปสู่เส้นทางที่ไม่ได้คาดการไว้ และทำให้เขากลายเป็นพยายให้กับประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นนั้นไป ระหว่างที่กษัตริย์พม่าทรงกรีฑาทัพรุกอาณาจักรใกล้เคียง ดังปรากฏในเรื่องเล่าที่ไม่ธรรมดาเกี่ยวกับชั้นเชิงการยุทธ์ผู้บัญชาการเมืองมะละกาได้ส่ง ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู ไปเมาะตะมะ ซึ่งเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญแห่ง 1 ในคาบสมุทรมลายู และเขาก็ค้นพบเมืองที่ถูกกษัตริย์พม่าทรงปิดล้อม เขาพรรณนาถึงการปล้นหลังจากมีชัย ซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะกษัตริย์ทรราชไร้ความปรานี ส่วนในสยาม เขาได้ร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพกษัตริย์ ซึ่งทรงถูกพระมเหสีวางยาพิษ และในที่สุด กษัตริย์พม่าทรงเข้ายึดครองกรุงศรีอยุธยาเขาก็กล่าวถึงการกระทำที่โหดร้ายทารุณ สงครามที่เขาประจักษ์ จุดประกายให้ทหารชาวคริสต์ที่ละโมบฝันไปว่า จะสามารถพิชิตอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ อุดมสมบูรณ์มั่งคั่งเหล่านี้ ได้โดยง่าย

14. วังกาละมินญัน เมื่อพวกข้าเดินเข้าไปข้างในประตูเหล่านั้น ก็ผ่านทะลุอุทยานใหญ่ ที่ประกอบด้วยสิ่งแปลกและแตกต่างกันหลายชนิด เพลินตายามมองนัก มิอาจสรรหาถ้อยคำใดมาสดุดีได้เลย ทางเดินแคบๆ ล้อมรั้วสีเงิน และบรรดาต้นไม้ส่งกลิ่นประหลาดซึ่งเขาบอกกับพวกข้าว่า เข้ากันกับปฏิทินจันทรคติ พวกมันผลิดอกและออกผลตลอดเวลา นอกจากนี้ ก็ยังมีดอกกุหลาบหลายชนิด และดอกไม้ชนิดอื่นๆ และดอกเดซี่สิ่งที่ดีที่สุดก็คือ แสร้งผ่านๆ ไป เนื่องจากมิมีผู้ใดบอกว่า อะไรกำลังเกิดขึ้นกันแน่

การแสวงบุญ บทที่ 163 หมายเหตุผู้แปล 1. กาละมินญัน (Calaminhan) ที่ปรากฏในงานประพันธ์ สันนิษฐานว่า เป็นอาณาจักรหลวงพระบาง หลวงพระบาง เจ้าแห่งโลกา แม้สภาพภูมิศาสตร์ที่แท้จริงของสถานที่ทั้งหลายใน การแสวงบุญ บางสถานที่ก็ชวนให้เราเคลิ้ม เช่น กรณีอาณาจักรหลวงพระบาง ซึ่งปรากฏหลายบท ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู และเพื่อนร่วมทาง ติดตามทูตของกษัตริย์พม่า ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ในนครติงปลาว[27] เมืองหลวงของอาณาจักร เมื่อพวกเขามาถึงท่าเทียบเรือก็ข้าม “ถนนยาวมากหลายสาย” และเข้าไปในอาคารแรกในวังหลวงพระบาง ผู้เล่าค่อยๆ บรรยายพื้นที่ภายในอย่างละเอียด เมื่อผ่านลาน เข้าไปในห้อง ขึ้นบันไดเดินตามระเบียง จนกระทั่งพวกเขามาถึง “อาคารใหญ่” ในขณะนั้นประตูปิด” ความกระวนกระวายและความลึกลับเพิ่มพูนขึ้นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติที่ละเอียด ก่อนที่จะเปิดประตูแล้วก็ปิดทันที หลังจากทูตได้เข้ามาแล้ว ก็ปล่อยให้เราชมอุทยานใหญ่ซึ่งเรารับรู้เนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญว่า กำลังแสดงภาพของสวรรค์บนดิน

ออกจากอาคารนี้แล้ว พวกข้ามาถึงประตู ซึ่งมียาม 6 คน ถือคฑาเงิน เคลื่อนไปอีกอาคารที่สร้างวิจิตรที่สุด ที่ซึ่งเจ้าหลวงประทับที่อาสน์สมสง่าราชา ล้อมด้วยรั้วกั้นทำด้วยเงิน 3 แถว หญิงงาม 12 นางในชุดวิจิตร นั่งภายในรั้ว บนขั้นบันไดลดลั่นกันไป เล่นเครื่องดนตรีที่ส่งเสียงหวานไพเราะ และ 2 นาง ผลัดกันขับขานเหนือที่ประทับ เด็กหญิง 12 คน แต่ละคนอายุราว 9 หรือ 10 ปี คุกเข่ารอบๆ พระองค์ ถือคฑาทองน้อยๆ อีกคนยืนพัดให้พระองค์

การแสวงบุญ บทที่ 163 15. สิ่งมหัศจรรย์ในจีน เพื่อจะไม่ใช้เวลามากไปกว่านี้ให้รายละเอียดทุกสิ่งที่พบเห็นในเมืองนี้ มิเช่นนั้น ก็จะยืดยื้อไม่จบเรื่องนี้ ข้าบอกได้เพียงว่า มิมีสิ่งใดบนโลกนี้ที่ขอหรือปรารถนาแล้ว จะหาไม่เจอบนเรือเหล่านี้ในเวลานี้ และมีปริมาณมากกว่าที่ข้าได้บอกเสียอีก ข้าจะไม่พูดอะไรเลยเกี่ยวกับเมืองใหญ่น้อยและหมู่บ้านอื่นๆ ที่ตั้งบนดินแดนนี้ เพราะสามารถตัดสินเมืองอื่นๆ ที่เหลือได้จากเมืองนี้บนฝั่งแม่น้ำ ทั้งหมดเหมือนกันมากๆ

การแสวงบุญ บทที่ 99 รัฐบาลที่ดีของจีน การเดินทางของ ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู และสหาย ภายในจีน เป็นส่วนหลักของ การแสวงบุญ และเป็น 1 ในบทที่รู้จักกันมากที่สุด หลังจากเรืออับปางลงชาวโปรตุเกสเร่ร่อนขอทานตามหมู่บ้านริมชายฝั่ง และถูกกล่าวหาว่าเป็นคนจรจัดและหัวขโมย ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงในสังคมนั้น จึงถูกควบคุมตัวไปพิจารณาคดีที่เมืองนานกิง แล้วต่อมา ปักกิ่ง ซึ่งต้องเดินทางเหนือน้ำไป ขณะที่เรือเดินหน้า ผู้เล่าได้พรรณนาการใช้ที่ดินเพาะปลูก และให้ผลผลิตมากเท่าไหร่ ความเคลื่อนไหวทางการค้าที่ท่าเรือ (เรือจำนวนมากเหมือนเมืองลอยน้ำ) อาคารวิจิตรงดงามและโดยเฉพาะกำแพงล้อมเมือง และปกป้องพวกเขาจากภยันตรายจากโลกภายนอกเมื่อพวกเขาเดินทางถึงนครปักกิ่ง บรรดานักโทษรู้สึกทึ่งในการดูแลคนยากไร้และคนป่วย รวมทั้งการจัดกระบวนการยุติธรรมที่ดี เห็นได้จากการใช้ระบบมนุษยธรรมสูงขณะเดียวกัน ยังมีความสามารถในการฟื้นฟูผู้กระทำความผิด

สิ่งที่โดดเด่นบางสิ่งในนครปักกิ่ง ข้ากล้ายืนยันว่า ไม่มี (เมืองหลวงของอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ใดๆ) สามารถเทียบกับสิ่งที่เล็กที่สุดในปักกิ่ง ที่ยิ่งใหญ่ได้เลย ดูแค่ความมหึมาและความหรูหราทั้งหมดที่ครอบครองทุกๆ สิ่ง อาคารขนาดยักษ์ ความมั่งคั่งอเนกอนันต์ ความอุดมสมบูรณ์สูงสุด และความเต็มปรี่ของทุกๆ สิ่งที่จำเป็น ทั้งประชากร การค้า และจำนวนเรือที่นับจำนวนมิได้ ความยุติธรรม รัฐบาล ระบบกฎหมาย ...

การแสวงบุญ บทที่ 107 16. เฮ้ย แผ่นดิน... ขณะที่พวกข้าอยู่หน้าเกาะที่ระดับความลึก 70 ฟาธอม[28] เรือลำเล็ก 2 ลำออกมาจากแผ่นดิน บรรทุกคน 6 คน มุ่งมาหาพวกข้า เมื่อพวกข้าขึ้นมาบนเรือ หลังจากที่กล่าวทักทายและมีมารยาทตามธรรมเนียมปกติแล้ว ก็ไต่ถามพวกข้าว่าเรือสำเภาแล่นมาจากที่ใด พวกข้าตอบว่า จีน มีสินค้าที่จะค้าขายให้พวกเขา ถ้าพวกเขาอนุญาตให้ทำเช่นนั้น 1 ใน 6 คน ตอบพวกข้าว่า เนาโตกิง[29] ผู้ปกครองเกาะทาเนกาชิม่า[30] ยินดีให้ใบอนุญาต ถ้าพวกข้าจ่ายค่าธรรมเนียมตามที่ปฏิบัติกันในญี่ปุ่นซึ่งเป็นดินแดนที่วิเศษปรากฏข้างหน้าพวกข้า

การแสวงบุญ บทที่ 132 ญี่ปุ่น เมืองแห่งพระเจ้า ในการแสวงบุญ ภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นถือเป็นสถานที่สำคัญในดินแดนตะวันออก ในฐานะ “ดินแดนใหม่” เหมาะที่จะสร้างพื้นที่สังคมตามอุดมคติซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ เมื่อเดินทางมาถึงโลกใหม่ ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู อ้างว่าตนเป็นชาวโปรตุเกสคนแรกๆ ที่มาถึงญี่ปุ่น และตอนปฏิสัมพันธ์กันเป็นครั้งแรกเป็น 1 ในบทที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด เช่น การถวายปืนแด่กษัตริย์แห่งบุงโกะ ซึ่งก่อให้เกิดอุบัติเหตุจนเกือบคร่าชีวิตเจ้าชาย เกาะเลกัว[31] และบุงโกะ เริ่มปรากฏเป็นแหล่งการค้าที่น่าสนใจ เพราะร่ำรวยมากและมีช่องทางการค้า แต่เจตนารมณ์ด้านจิตวิญญาณ นำโดยนักบุญ ฟรานซิสกู ชาวิเยร์ ได้เข้ามาแทนที่จุดประสงค์แรกการที่กษัตริย์[32] แห่งบุงโกะ[33] ทรงสัญญาเข้ารีต จะทำให้เปลี่ยนญี่ปุ่นให้เป็นดินแดนคริสเตียนในอุดมคติ สถานที่ตามความฝันที่จะมีเมืองแห่งพระเจ้าในดินแดนตะวันออก เป็นจริงได้ในที่สุด

เกียรติที่นักบุญ ฟรานซิสกู ชาวิเยร์ ได้รับจากกษัตริย์แห่งบุงโกะ เมื่อคุณพ่อเดินเข้าไปข้างในพร้อมกับบรรดาชนชั้นสูง ท่านได้เข้าไปในห้องที่ตกแต่งอย่างประณีต ซึ่งกษัตริย์ประทับยืนอยู่ก่อน ทันทีที่พระองค์ทอดพระเนตรคุณพ่อ พระองค์ทรงก้าวมาข้างหน้า 5 – 6 ก้าวจากที่ประทับเพื่อปฏิสันถารกับคุณพ่อ คุณพ่อพยายามยืนโค้งคำนับพระองค์ แต่พระองค์มิได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต กลับทรงถึงแขนคุณพ่อขึ้น แล้วพระนลาฏจรดพื้นเพื่อคำนับคุณพ่อ 3 ครั้ง ซึ่ง (ข้าเคยกล่าวไว้แล้ว) เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่บุตรพึงกระทำต่อบิดาหรือข้าทาสบริวารต่อเจ้านาย สุภาพบุรุษทั้งหมดที่นั่นรู้สึกประหลาดใจมาก และพวกข้าทั้งหมด ก็รู้สึกมากกว่าเสียอีก

การแสวงบุญ บทที่ 210 17. กากืชไซยตาว พวกข้าเห็นสิ่งมีชีวิตที่ใหม่มากและแปลกชนิด 1 ซึ่งคนพื้นเมืองที่นี่เรียกว่า กากืชไซยตาว (Caquesseitão)[34] ขนาดเท่าเป็ดใหญ่ สีดำมาก มีกระดองบนหลัง และหนามบนกระดูกสันหลังยาวเท่าปากกาก้านขนนก ปีกเหมือนค้างคาว คอแบบงูเห่าอุ้งเล็บเหมือนเดือยไก่บนหัว หางยาวมาก แต้มจุดสีเขียวและดำเหมือนกิ้งก่าในประเทศนี้ สัตว์ที่บินได้นี้ กิงลิงและสัตว์อื่นเป็นอาหาร โดยการกระโจนล่าไปตามต้นไม้

การแสวงบุญ บทที่ 14 18. สัตว์ประหลาดและสิ่งมหัศจรรย์ การแสวงบุญ ก็เหมือนกับเรื่องเล่าอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน ที่เราพบภาพสัตว์ประหลาด ซึ่งตรงกับข้อมูลจากยุคโบราณที่ให้ไว้เกี่ยวกับดินแดนตะวันออกที่แพร่หลายกันในยุโรป ตั้งแต่จากชาวกรีกเป็นต้นมา อินเดียถูกมองภาพว่า เป็นดินแดนประหลาดและมหัศจรรย์ คนที่นั่นมีหัวสุนัขคำรามและหอน คนไร้ศีรษะมีดวงตาอยู่ที่ท้อง ขณะที่คนอื่นปกป้องตัวจากแสงแดด โดยนอนเอนหลังแล้วยกเท้าที่ใหญ่มหึมาที่มีอยู่เท่าเดียวขึ้น ภาพเพ้อฝันเหล่านี้ทั้งหมด ยังคงอยู่เสมือนจริงไม่เปลี่ยนแปลงจนกระทั่งยุคแห่งการค้นพบ และกำหนดการมองที่น่าหวาดกลัวและน่าหลงใหลไว้ล่วงหน้าแล้วในสายตานักเดินทางสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ผู้มักสับสนภาพเพ้อฝันกับการพรรณนาเหมือนจริง แม้ว่าเรื่องเล่าของ ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู มีตรากำกับไว้ก่อนว่า เป็นสิ่งเพ้อฝัน แต่ภาพสัตว์ประหลาดกลับมีให้เห็นไม่มากนัก ส่วนเรื่องสัตว์พื้นถิ่น เขายอมรับหลายจุดว่า ได้พบเห็นสัตว์ที่ไม่ธรรมดาหลายชนิด แต่เขารอบคอบมากในเรื่องพันธุ์สัตว์ที่อยู่ในดินแดนที่ห่างไกล และพรรณนาภาพ “สัตว์ประหลาด” ที่เขาพบในวัด แทนที่จะเป็นสัตว์ประหลาดตัวเป็นๆ เสียมากกว่า ซึ่งนำมาใช้อธิบายลักษณะเฉพาะของศาสนาในท้องถิ่น และรากเหง้าในตัวตนที่แตกต่างของโลกตะวันออก

ชายที่มีเท้ากลม (เหนือจังหวัด ปริวการานจา) (Friucaranjã)) มีประชากร (…) เท้ากลมเหมือนวัวตัวผู้ แต่นิ้วเท้า เล็บ และทุกสิ่งอื่นๆ เหมือนคนทั่วไป ยกเว้น มือพวกเขามีขนดกมาก ผู้ชายโหดเหี้ยมตามธรรมชาติ และมีเจตนาร้ายกาจ ใต้หลัง เกือบถึงพุงมีก้อนเหมือนกำปั้น 2 กำ และพวกเขาอาศัยอยู่ตามทิวเขาที่สูงมาก ลำบากนักบางส่วนมีโพรงลึก ในคืนฤดูหนาวคืน 1 ได้ยินเสียงครางและน่าขนหัวลุกดังออกมาจากที่นั่น

การแสวงบุญ บทที่ 166 เทวรูปมหึมา ตินาโกโก ท่ามกลางอาราม 24 แห่ง เหล่านี้ ภายในสวนในร่ม มีรางทองเหลือง 3 แถว (…) โรงสวดอุทิศให้เทวรูป ตินาโกโก (Tinagógó) พระเจ้าแห่งพระเจ้า 1000 องค์ ประทับในช่องกลม บุแถบเงินเรียงเป็นแถวจากบนลงล่าง เชิงเทียนจำนวนมากทำด้วยวัสดุประเภทเดียวกัน เทวรูปร่างใหญ่ (พากข้าไม่ทราบว่าทำด้วยทองหรือไม้หรือทองแดงชุบ) ประทับยืนตรง พระหัตถ์ทั้ง 2 ชูขึ้นฟ้า และมงกุฎหรูหราบนพระเศียร

การแสวงบุญ บทที่ 159 19. การเดินทางของภาษา ใน การแสวงบุญ เป็นแหล่งรวม “ศัพท์ต่างชาติ” ที่ไม่ธรรมดา ดังที่นักไวยากรณ์ในคริสต์วรรษที่ 16 ฟืร์นาว ดือ โอลิไวยร่า[35] ได้ระบุไว้ มีการนำวลีมาปรับใหม่ตลอดการเล่า ในขณะที่ผู้ประพันธ์ได้ยินวลีนั้นแล้วจึงให้ “คำอธิบาย” เป็นภาษาโปรตุเกส เพื่อให้มีลักษณะเหมือนจริง กระนั้น การเลียนแบบภาษาต่างถิ่นก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน โดยใช้ทำนองพูดอ้อมและคำอุปมาในการแปลคำพูดตามตัวละครชาวตะวันออก คำศัพท์จากภาษาตะวันออกเหล่านี้ ปรากฏตลอดทั้งบทส่งเสริมภาพคิดฝันของความเป็นตะวันออกให้เด่นชัด ในขณะเดียวกัน ก็เปิดทางให้วิพากษ์ความประพฤติของชาวโปรตุเกสที่เป็นคริสตังได้อย่างรุนแรงที่สุด กระบวนการทั้งหมดเหล่านี้ นำ การแสวงบุญ ไปสู่ความแปลกไม่เหมือนใคร และปรากฏความพยายามริเริ่มเขียนนิยายขึ้น

ลิ้นคนนอกศาสนา ชาวเมืองกรูเข้ามาใกล้ทันที ฉวยคันธนูและหอกมากมาย พลันร้องตะโกนว่า “นาวาการานเก้! นาวาการานเก้!” (Navacarangué Navacarangué) ซึ่งหมายความว่า “จับพวกขโมย จับพวกขโมย!”

การแสวงบุญ บทที่ 133 ...คนป่วยทั้งหมดในอาคารร่วมกันร้องตะโกนว่า “ปิเตา ฮินากูร์ มากูโต เชน โด” (Pitau hinacur macuto chen dó) ซึ่งหมายความว่า “ขอให้บาทหลวง ผู้ทำงานของพระเจ้า จงมากับพระเจ้า”

การแสวงบุญ บทที่ 136 ฤาษีของเกาะกาเลมปุย[36] วิจารณ์ชาวโปรตุเกส “ข้าได้ยินสิ่งที่ท่านได้กล่าวมาอย่างดี และข้าก็เข้าใจเจตนาร้ายของท่าน ซึ่งในความมืดบอดของท่าน เหมือนผู้นำทางจากนรก ชี้นำท่านและสิ่งอื่นๆ มาสู่ถ้ำลึกแห่งทะเลสาบรัตติกาล แทนที่จะขอบคุณพระเจ้าสำหรับพระกรุณาอันใหญ่ยิ่ง ซึ่งท่านยอมรับว่า พระองค์ประทานให้ ท่านกลับมาปล้นพระองค์ ดังนั้น ข้าขอถามว่าหากท่านทำสิ่งนั้นท่านจะคาดหวังความยุติธรรมประการใดจากพระผู้เป็นเจ้าให้แก่ท่านในขณะที่ท่านกำลังจะสิ้นลมเล่า จงเปลี่ยนเจตนาร้ายของท่านเสีย และอย่าได้ให้ความคิดที่จะทำบาปหนักเข้าสู่ความคิดของท่านเลย และพระเจ้าจะมิทรงลงโทษท่านจงเชื่อข้า เพราะข้าพูดความจริง และขอให้มันยืนยงแทนข้านานตราบที่ข้ายังมีลมหายใจอยู่”


ซ้าย อ.ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร (พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)ขวา ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ(ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
เชิงอรรถ

[1] การสะกดชื่อ Peregrinaçam เป็นการเขียนในคริสตวรรษที่ 16 ส่วน Peregrinaçãn เป็นการเขียนในสมัยปัจจุบัน

[2] การสะกดชื่อ ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู Fernam Mendez Pinto เป็นการเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ส่วน Fernão Mendez Pinto เป็นการเขียนในสมัยปัจจุบัน

[3] งานประพันธ์ในภาษาโปรตุเกส ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู คือ Peregrinaçam หรือ Peregrinaçãn ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า การแสวงบุญ เนื่องจากแรงศรัทธามั่นที่มีต่อศาสนาคริสต์มีส่วนช่วยให้เขารอดพ้นจากภยันตรายต่างๆ ระหว่างการเดินทาง เสมือนการมีองค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้นำทาง อย่างไรก็ดีบันทึกความทรงจำเล่มนี้ ก็เล่าถึงการเดินทางผจญภัยไปยังถิ่นแปลกๆ เป็นส่วนใหญ่ ในฉบับแปลภาษาอังกฤษ จึงตั้งชื่อเรื่องว่า Travels

[4] ตาร์ตาร์ (Tartar, Tatar) เป็นอาณาจักรของชาวตาด ในคริสต์วรรษที่ 13 ถูกเจงกีส ข่าน ผู้นำเผ่ามองโกเลีย เข้ายึดเมือง

[5] อาณาจักรพะโค (Pegu) คือ หงสาวดี

[6] ซอร์เนา (Sornau) มาจาก ชาฮ์ร์-อิ-เนา (Shahr-i-nao) ซึ่งพ่อค้าชาวเปอร์เซียเรียกสยาม แปลว่า เมืองใหม่

[7]นักบุญ ฟรานซิสกู ชาวิเยร์ (Francisco Xavier) เป็นที่รู้จักกันในนามว่า ฟรานซิส ซาเวียร์

[8] เมืองอัลมาดา (Almada) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำไตยชู่ (Tejo) ฝั่งตรงข้ามกับกรุงลิสบัว

[9] มอยอู (moio) เป็นมาตราชั่วตวงโบราณ (เช่น ข้าวโพด ฯลฯ) 1 มอยอู หนัก 4 บุชเช็ล (หน่วยสำหรับตวงข้าว) (bushel) = 32 แกลลอน (gallon) และ 1 แกลลอน = 3.8 ลิตร ดังนั้น 1 มอยอู = 121.6 ลิตร

[10]กรุงลิสบัว (Lisboa) เป็นชื่อเมืองหลวงในภาษาโปรตุเกส = ลิสบอน (Lisbon) ในภาษาอังกฤษ

[11] กริยา mentir แปลว่า โกหก ผันในรูปบุรุษที่ 2 เอกพจน์ (ท่าน คุณ แก) ได้ mentes (เมนตืช) ผันในรูป บุรุษที่ 1 เอกพจน์ (ข้า ฉัน ผม) ได้ minto (มินตู) ซึ่ง เมนตืช (ท่านโกหก) เสียงคล้อยจองกับนามสกุลกลางวัน เมนดืช และ มินตู (ข้าโกหก) เสียงคล้องจองกับนามสกุลหลังว่า ปินตู

[12]เมืองมงตือมอร์ อู เวลญู่ (Montemor-o-Velho) ตั้งอยู่ 25 กิโลเมตร ห่างจากเมืองคูอิมบรา (Coimbra) ซึ่งเป็นเมืองมหาวิทยาลัย และเมืองสำคัญในภาคกลางของโปรตุเกส

[13] ครูซาดู (cruzado) เป็นเหรียญทองโบราณของโปรตุเกส

[14] เมือง ยามากูชิ (Yamaguchi) ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของเกาะ ฮอนชู นักบุญ ฟรานซิสกู ชาวิเยร์ เข้ามาในญี่ปุ่นเพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ใน ค.ศ. 1549 – 1551 และพำนักในเมืองนี้เกือบปี

[15] ฟรานซิสกู ชาวิเยร์ (Francisco Xavier) เรียกกันในหมู่คนไทยว่า ฟรังซิส ซาเวียร์ เป็นชาวสเปน เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในดินแดนตะวันออก เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น

[16] ดง ญอาวที่ 3 (Dom João III) กษัตริย์แห่งโปรตุเกสองค์ที่ 15 ทรงครองราชย์ใน ค.ศ. 1521 – 1557 [17] โคชิน (Cochin) ตั้งอยู่ในอินเดีย ถูกโปรตุเกสยึดครองใน ค.ศ. 1503 และ ใช้เป็นศูนย์กลางปกครองการค้า การเผยแผ่ศาสนาในดินแดนตะวันออกโดยมีผู้สำเร็จราชการหรืออุปราช (viceroy) ส่งมาจากส่วนกลาง ก่อนที่จะย้ายศูนย์กลางการปกครองมายังเมือง กัว (Goa)

[18] คณะแห่งพระเยซูเจ้า (Society of Jesus) รู้จักกันในนาม คณะเยซูอิต นิกาย โรมันคาทอลิก ก่อตั้งโดยนักบุญ อิกนาซิโอ เดอ โลโยล่า (Iganacio de Loyola) ชาวสเปนใน ค.ศ. 1534

[19] เมืองกัว (Goa) ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของอินเดีย ตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสใน ค.ศ. 1510 ปรากฏ สิ่งก่อสร้างแบบผสมโคโลเนียลโปรตุเกสคริสต์ศาสนา นามสกุลโปรตุเกส สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน [20] ลีก (league) เป็นหน่วยวัดระยะทาง 1 ลีก = 3 ไมล์ หรือประมาณ 4.8 กิโลเมตร

[21] วันกอยซ์ (vancões) เป็นเรือโบราณในดินแดนตะวันออก โดยเฉพาะในจีนใช้ฝีพาย มีขนาดเล็กกว่าเรือสำเภาจีน ส่วน ลานเตอาช (lanteãs) เป็นเรือที่มีน้ำหนักเบาในดินแดนตะวันออกไกล ลักษณะคล้ายกับเรือโป๊ะจ้าย (เรือฉลองทะเล) ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู ได้ถอดเสียงจากภาษาจีนมาไว้ในภาษาโปรตุเกส

[22] ยุคแห่งการค้นพบ (Age of Discovery) ของโปรตุเกส เริ่มเปิดศักราช หลังจากความสำเร็จในการเข้ายึดเมือง เซวต้า (Ceuta) อัฟริกาเหนือใน ค.ศ. 1415 ซึ่งเกิดจากการสนับสนุนของ เจ้าชาย ดง เอริกึ (D. Henrique) หรือรู้จักกันดีว่า Henry the Navigator เทคนิคการเดินเรือได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สามารถค้นพบดินแดนต่างๆ สำเร็จ เช่น วาสกู ดา กาม่า (Vasco da Gama) ใช้เส้นทางทางเรืออ้อมแหลม กู๊ด โฮป จนถึงอินเดียใน ค.ศ. 1498 การค้นพบบราซิลใน ค.ศ. 1500 เป็นต้น

[23] ฟืร์นาว ลอปืช ดือ กาสตานเญดา (Fernão Lopes de Castanheda) (ราว ค.ศ. 1500 – 1559) เป็นนักประวัติศาสตร์ และใน ค.ศ. 1528 ติดตามบิดาซึ่งไปรับราชการเป็นผู้พิพากษาที่เมืองกัว ใช้ชีวิตที่นั่น 10 ปี รวบรวมข้อมูลแล้วกลับมาเขียน ประวัติศาสตร์การค้นพบและพิชิตอินเดียโดยชาวโปรตุเกส (História do Descobrimento e Conquista da India pelos Portugueses) ตีพิมพ์ภาคแรกใน ค.ศ. 1551 และต่อมาอีก 6 ภาค

[24] กาเลโอตึ ปือไรยร่า (Galeote Pereira) เป็นทหารรับจ้างชาวโปรตุเกส เขียนเรื่องราวที่ตนประสบในดินแดนตะวันออก เช่น สงครามระหว่างสยามและหม่า ในสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ใน ค.ศ. 1548 – 1549 การลอบขนสินค้าไปขายตามชายฝั่งทะเลจีนใต้ในสมัยราชวงศ์ หมิง จนตนถูกจับกุม การเข้าร่วมขุดศพที่ไม่เน่าเปื่อย นักบุญ ฟรานซิสกู ชาวิเยร์ ในหมู่เกาะชวนฉาน (Chuanshan) ใน ค.ศ. 1553 เพื่อเคลื่อนย้ายศพไปเมืองกัว อินเดีย โดยผ่าน มาเก๊า ตีพิมพ์ เรื่องราวเกี่ยวกับจีน (Tratado sobre a China) ใน ค.ศ. 1565 [25] ภารดา กาสปาร์ ดา ครูซ (Gaspar da Cruz) (ราว ค.ศ. 1520 – 1570) พระนิกายโดมินิกัน เดินทางเผยแผ่ศาสนาในดินแดนตะวันออก เช่น อินเดีย มะละกา เขมร (แต่ไม่สำเร็จ) จีน ได้เขียน เรื่องราวจากจีน (Tratado das Coisas da China) ใน ค.ศ. 1569 ถือเป็นการเปิดมุมมองให้กับชาวยุโรปในสมัยนั้น

[26] ครูซาดู (cruzado) เป็นเหรียญทองโบราณของโปรตุเกส

[27] ติงปลาว (Timplão) หมายถึง เชียงหลวง (Xieng Luang) คือ หลวงพระบาง ในท้องพระโรง

[28] ฟาธอม เป็นหน่วยวัดความลึกของน้ำ 1 ฟาธอม เท่ากับ 1.83 เมตร หรือ 6 ฟุต

[29] เนาโตกิง (Nautoquim) เป็นคำที่ ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู ใช้เรียกเจ้าชาย แต่น่าจะเป็นการถ่ายเสียงตามตัวอักษรคันจิของชื่อ โตกิตากะ (Tokitaka) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองต่อจากบิดา ขณะอายุได้ 16 ปี

[30] เกาะทาเนกาชิม่า (Tanegashima) 1 ในหมู่เกาะ โอซูมิ (Osumi) ตั้งอยู่ใต้เกาะคิวชู (Kyushu) ชาวโปรตุเกสขึ้นบกที่เกาะนี้เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1543 นำอาวุธปืนไฟเข้ามาเผยแพร่ และสอนวิธีผลิตที่เกาะนี้ จนปัจจุบัน เรียกอาวุธปืนไฟในภาษาปากญี่ปุ่นว่า ทาเนกะ-ชิม่า

[31] เลกิอุส (Lé quios) คือ เกาะริวกิว (Ryukyu) ปัจจุบันคือ หมู่เกาะโอกินาวา อาณาจักรที่เป็นชุมทางการค้ากับดินแดนอื่นๆ ในเอเชีย รวมทั้งสยาม

[32] ฟืร์นาว เมนดืช ปินตู เข้าใจผิดว่า เป็นกษัตริย์แห่ง บุงโกะ แต่ที่จริง คือ ไดเมียว (daimyo) เจ้าเมืองในระบบศักดินาสวามิภักดิ์ของญี่ปุ่น ขึ้นตรงกับองค์จักรพรรดิ หรืออาจเป็น โชกุน ในกรณีที่พระองค์ทรงอ่อนแอ

[33]บุงโกะ (Bungo) ตั้งอยู่ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะคิวชู (Kyushu) ปัจจุบันอยู่ในเขตปกครอง โออิตะ (Oita) ซึ่งเรารู้จักกันในฐานะต้นแบบแนวคิด 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์

[34]สันนิษฐานว่า ผู้ประพันธ์จินตนาการสัตว์ประหลาดประเภทนี้

[35] ฟืร์นาว ดือ โอลิไวยร่า (Fernão de Oliveira) (ค.ศ. 1507 – 1581) เป็นพระนิกายโดมินิกัน นักปราชญ์ที่สำคัญในสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการของโปรตุเกส แต่งหนังสือการใช้ไวยากรณ์ภาษาโปรตุเกสเป็นครั้งแรก ไวยากรณ์การใช้ภาษาโปรตุเกส (Grammatica da Lingoagem Portuguesa) ใน ค.ศ. 1536)

[36] เกาะกาเลมปุย (Calemplui) ตั้งอยู่ในอ่าวนานกิง เป็นสุสานหลวงฝังพระศพองค์จักรพรรดิจีน