วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ศิลปะกระจกสี39ภาพที่โบสถ์ซางตาครูซ ชุมชนเชื้อสายโปรตุเกสย่านกุฎีจีน

พิทยะ ศรีวัฒนสาร เรียบเรียง
ศานติ สุวรรณศรี เอื้อเฟื้อข้อมูลและถ่ายภาพกระจกสี



๑. พระผู้เป็นเจ้า (พระยาเวห์-Yaweh)ทรงสร้างสรรพสิ่งบนโลกมนุษย์ทรงสร้างอาดัมและเอวา
กระจกสีภาพที่1
๒. อัครเทวดามิคาแอล (เซนต์ไมเคิล) กำลังต่อสู้กับเหล่าปีศาจและส่งปีศาจลงไปอยู่ในนรก

กระจกสีภาพที่2
๓. ยุคน้ำท่วมโลก โนอาร์ซึ่งเป็นลูกหลานอาดัม-อีวา(Adam-Eva) รุ่นที่ 10พระผู้เป็นเจ้าทรงรักและให้โนอาห์(Noah)ต่อเรือลำใหญ่พาสัตว์ต่าง ๆ เป็นคู่ ๆขึ้นไปไว้บนเรือก่อนที่พระเจ้าจะทำลายล้างโลกด้วยน้ำท่วมใหญ่ฝนตก 40 วัน 40 คืน


กระจกสีภาพที่3
๔. อับราฮัม(Abraham)เป็นผู้นำที่พระผู้เจ้าทรงเลือกสรร พระองค์ทรงลองใจอัมราฮัมให้นำลูกชาย ชื่อ อิซาอัค (Isaac)มาบูชายัญต่อพระเจ้า ซึ่งต่อมาเทวดาได้มาห้ามไว้ พระเจ้าได้อวยพรแก่อับราฮัมให้ลูกหลานของเขามีจำนวนเท่ากับดวงดาวบนท้องฟ้า


กระจกสีภาพที่4
๕. ในยุคต้นราชวงศ์ที่ 19 ของอียิปต์ ชาวฮิบรูตกเป็นทาสอยู่ในอียิปต์ ทารกเพศชายของชาวฮิบรูที่เกิดใหม่ต้องถูกฆ่าทิ้ง โมเสสถูกซ่อนไว้ 3 เดือน ต่อมาจึงถูกนำมาลอยน้ำ ธิดาฟาโรห์มาพบและนำมาเลี้ยงเป็นลูกชายของเธอ ต่อมาโมเสสเป็นผู้นำชาวฮิบรูปลดปล่อยจากการเป็นทาสของชาวอียิปต์

กระจกสีภาพที่5
๖. โมเสส(Moses)ขึ้นไปบนเขาซีนาย(Sinai)เพื่อรับบัญญัติ 10 ประการ (10 commandments)ที่พระเจ้าประทานแก่ชาวฮิบรู(Hebrews)ให้เป็นหลักแห่งการปกครองและจริยธรรม

กระจกสีภาพที่6
๗. ดาวิด(David)ได้ฆ่ายักษ์โกไลแอต(Goliath)ศัตรูที่เข้ามารุกรานประเทศอิสราเอล(Islrael)ที่กำลังเริ่มต้นสร้างประเทศ จากนั้นดาวิดได้ถูกยกขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศอิสราเอล

กระจกสีภาพที่7
๘. เทวดาคาเบรียล(Gabriel)ได้มาพบหญิงพรหมจารีย์ชื่อ “มารีอา” ขอให้เธอยอมรับการเป็นมารดาขององค์พระผู้ไถ่ (พระเยซู Jesus Christ)) โดยอำนาจของพระบิดาผ่านทางพระจิต

กระจกสีภาพที่8
๙. พระนางมารีอา(Maria)เสด็จเยี่ยมนางเอลิซาเบธ (Elizabeth)ญาติของพระนางซึ่งเทวดาแจ้งว่า ตั้งครรภ์เช่นกันด้วยอำนาจของพระเจ้า บุตรในครรภ์ของนางอริซาเบท คือ นักบุญยวง เดอะ แบพตีสต์(๋John the Baptist)


กระจกสีภาพที่9
๑๐. หลังจากที่องค์พระเยซูเจ้าทรงประสูติที่เมืองเบธเลแฮม(Bethlehem)ได้ 40 วัน นักบุญยอเซฟและพระนางมารีอาได้นำพระกุมารเยซูมาถวายต่อพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม ตามกฎบัญญัติของโมเสส

กระจกสีภาพที่10
๑๑. แปดเดือนหลังจากที่พระกุมารเยซูประสูติ โหราจารย์(Magis คือ นักปราชญ์) 3 คนจากเปอร์เซีย ซึ่งติดตามดาวแห่งกษัตริย์มายังเบธเลแฮม จนได้พบกับพระกุมารเยซูพร้อมทองคำ กำยาน และมดยอบ จากนั้นเทวดาได้มาบอกนักบุญยอแซฟให้หนีกษัตริย์เฮโรดซึ่งจะมาตามฆ่าไปยังอียิปต์

กระจกสีภาพที่11
๑๒. หลังจากที่กษัตริย์เฮโรด(Herod)ตายแล้ว เทวดาได้มาพบนักบุญยอแซฟให้พาครอบครัวไปยังบ้านเกิดของนักบุญยอแซฟที่เมืองนาซาเร็ท(Nazareth) พระเยซูในวัยเด็กได้ฝึกฝนและเรียนรู้ในวิชาช่างไม้ที่นี่

กระจกสีภาพที่12
๑๓. เมื่อพระเยซูอายุได้ 12 ปี นักบุญยอแซฟพาครอบครัวมาฉลองเทศกาลยบัสกาที่กรุงเยรูซาเล็ม ขากลับนักบุญยอแซฟ(Joseph)และพระนางมารีอาพลัดหลงกับพระเยซู 3 วัน ต่อมาทั้งสองได้ย้อนกลับมาที่พระวิหารในกรุงเยรูซาเล็มพบพระเยซูเจ้ากำลังสนทนาธรรมกับเหล่าธรรมาจารย์

กระจกสีภาพที่13
๑๔. พระเยซูเจ้าทรงรับพิธิล้างบาปจากนักบุญยวง เดอะ แบพติสท์ มีพระจิตเสด็จลงมาในรูปนกพิราบ เพื่อเป็นประจักษ์พยานแห่งการเป็นองค์พระผู้ไถ่ของพระเยซูเจ้า


กระจกสีภาพที่14
๑๕. พระเยซูเจ้าพร้อมแม่พระและเหล่าสาวกไปร่วมงานแต่งงานที่หมู่บ้านคานา พระเยซูเจ้าทรงแสดงอัศจรรย์เป็นครั้งแรกโดยทรงทำให้น้ำเปล่ากลายเป็นเหล้าองุ่น

กระจกสีภาพที่15
๑๖. พระเยซูเจ้าพร้อมเหล่าสาวก พระองค์กำลังเทศนาสั่งสอนผู้คนที่ติดตามพระองค์มากถึง 5,000 คน พระองค์ทรงแสดงอัศจรรย์ทวีคูณปลา 2 ตัว และขนมปัง 5 ก้อน เพื่อเลี้ยงคนที่ติดตามพระองค์มา เหนือเนินเขาริมทะเลสาปกาลิลี (Galili)

กระจกสีภาพที่16
๑๗. พระเยซูเจ้าทรงจำแลงพระกายสีขาวสว่างท่ามกลางโมเสสและประกาศกอิสิยาห์( Prophet Isaiah )พร้อมเสียงตรัสจากพระผู้เป็นเจ้าให้สาวก 3 คน ได้รู้ว่าพระเยซูเป็นพระบุตรสุดที่รักของพระผู้เป็นเจ้า ขอให้สาวกเชื่อฟังพระเยซูเจ้า จากนั้นพระเยซูเจ้าพร้อมสาวกได้เดินทางสู่กรุงเยรูซาเล็ม

กระจกสีภาพที่17
๑๘. พระเยซูเจ้าทรงเข้าไปในพระวิหารพบพ่อค้ากำลังค้าขายกำไรแบบเกินในเขตวิหาร พระองค์ทรงขับไล่เหล่าพ่อค้าออกไป



กระจกสีภาพที่18
๑๙. ในวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทและศีลบวชพระสงฆ์ ทรงล้างเท้าเหล่าสาวกเพื่อสอนให้พวกเขาเป็นพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำ รับใช้เพื่อนมนุษย์ และรู้จักถ่อมตน

กระจกสีภาพที่19
๒๐. ในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ เวลาตี 3 พระเยซูเจ้าทรงสวดภาวนาในสวน พระองค์ทรงรู้ล่วงหน้าถึงการถูกจับตรึงกางเขนเพื่อรับบาปทั้งหมดที่มนุษย์ได้ทำไว้ตั้งแต่ยุคอาดัมและอีวา ซึ่งเหล่าสาวกต่างหลับไหลและกลุ่มทหารโรมันจับกุมสั่งไปให้เหล่าพระยิวและข้าหลวงโรมัน


กระจกสีภาพที่20
๒๑. ข้าหลวงโรมันได้สั่งให้เฆี่ยนตีพระเยซูเจ้าอย่างหนัก เพื่อหวังให้เหล่าพระยิวพอใจจะได้ช่วยชีวิตพระเยซูเจ้าไว้ แต่บรรดาพระยิวและพรรคพวกต้องการให้พระเยซูเจ้าถูกประหารชีวิตบนไม้กางเขน

กระจกสีภาพที่21
๒๒. พระเยซูเจ้าทรงถูกเหยาะหยัน ถูกตีและถูกสวมมงกุฎหนาม

กระจกสีภาพที่22
๒๓. พระเยซูเจ้าทรงแบกไม้กางเขนไปบนเขากัลวาริโอ(Galvario)


กระจกสีภาพที่23

๒๔. ในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์เวลาบ่าย 3 โมง พระเยซูเจ้าทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน
กระจกสีภาพที่24

๒๕. ในวันอาทิตย์บัสกา (๓วันต่อมา) พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนชีพจากความตาย

กระจกสีภาพที่25
๒๖. หลังจากที่พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนชีพ พระองค์เสด็จมาประจักษ์กับเหล่าสาวก พระองค์ทรงอยู่กับพวกเขา 40 วัน จากนั้นพระองค์ทรงได้เสด็จขึ้นสู่สวรรค์

กระจกสีภาพที่26
๒๗. พระจิตได้เสด็จลงมายังเหล่าสาวกท่ามกลางแม่พระ พระจิตทรงบันดาลให้เหล่าสาวกสามารถพูดภาษาต่าง ๆ ได้ และนำคำสั่งสอนของพระเยซูออกเผยแพร่ออกสู่โลกภายนอก ถือเป็นวันกำเนิดคริสต์ศาสนา

กระจกสีภาพที่27
๒๘. แม่พระถูกยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ

กระจกสีภาพที่28
๒๙. แม่พระทรงได้รับแต่งตั้งจากสวรรค์ให้เป็นราชินีแห่งสากลโลก

กระจกสีภาพที่29
๓๐. มารดาผู้น่ารักยิ่ง แม้แต่องค์พระเยซูเจ้ายังทรงไว้ใจในแม่พระ มนุษย์อย่างเราต้องไว้ใจในแม่พระ


กระจกสีภาพที่30
๓๑. แม่พระทรงประจักษ์ต่อ ยวง ดิเอโกที่เมืองกวาดาลูป (Guadalupe)ประเทศเม็กซิโกเป็นครั้งแรก


กระจกสีภาพที่31

๓๒. พระตรีเอกภาพ (พระบิดา พระบุตร พระจิต) ท่ามกลางพระจิต นักบุญยอแซฟและพระนางมารีอาพรหมจารีย์


กระจกสีภาพที่32


๓๓. แม่พระนิจจานุเคราะห์

กระจกสีภาพที่33
๓๔. จักรพรรดิบนสแตนตินผู้สร้างอาณาจักไบเซนไทน์ เดินทางสู่กรุงเยรูซาเล็มพร้อมพระมารดา เพื่อค้นหาไม้กางเขนขององค์พระเยซูเจ้าบนเขากัลวาริโอ ในปี ค.ศ.326



กระจกสีภาพที่34


๓๕. ในยุคโมเสส เขาได้พาชาวฮิบรูอพยพสู่ดินแดนคานาอัน ชาวฮิบรูบางส่วนเริ่มไม่เชื่อฟังพระเจ้า พระองค์ส่งงูพิษมากัดพวกเขา โดยพระองค์บอกโมเสสให้ทำเสาทำรูปงูแขวนไม้ ผู้ที่ยังเชื่อในพระเจ้า แค่มองเสาหลักนี้ก็จะรอดชีวิต(ซึ่งเป็นความหมายต่อมาในยุคหลังพระเยซูเจ้าว่าผู้ที่เชื่อในเสาที่เป็นรูปไม้กางเขนคนนั้นจะรอด)



กระจกสีภาพที่35


๓๖. ภาพพระเมตตาของพระเยซูเจ้าผู้ทรงมาประจักษ์แก่ซิสเตอร์โฟสตินา โควาลสิกาชาวโปแลนด์ ทรงมาประจักษ์ระหว่างปี ค.ศ.1931-1938



กระจกสีภาพที่36


๓๗. พระบิดาทรงมาประจักษ์แก่ซิสเตอร์ยูจีเนีย เอลิซาเบตตา ราวาซิโอ ที่ประเทศอิตาลี ในปี 1932 โดยพระศาสนาจักรคาทอลิกแห่งวาติกันได้ทำการสอบสวนและรับรอง โดยถือว่าเป็นการมาประจักษ์ของพระบิดาเพียงครั้งเดียว



กระจกสีภาพที่37


๓๘. พระหฤทัยของพระเยซูเจ้าและดวงหฤทัยนิรมลของพระนางมารีอา



กระจกสีภาพที่38


๓๙. บุญราศีทั้ง 7 แห่งอำเภอสองคอน จ.มุกดาหาร และบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง

กระจกสีภาพที่39

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ฤาหลังคากระเบื้องลอนกาบกล้วยโบราณของไทย... แรกเริ่มร่อนชะไร.....จะมาไกลจากโปรตุเกส?

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร


ผู้เขียนเคยชมภาพยนตร์ฝรั่งย้อนยุคกรีก-โรมัน จนถึงประมาณสมัยสงครามโลกครั้งที่2หลายเรื่อง และได้สังเกตแว่บๆ เห็นกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาในฉากอาคารโบราณ มีรูปแบบคล้ายกับกระเบื้องลอนกาบกล้วยโบราณของไทย ซึ่งพบตามแหล่งขุดค้น/ ขุดแต่งทางโบราณคดีสมัยอยุธยา จึงเก็บความสงสัยเอาไว้ในใจมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ลองสืบค้นในแหล่งข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็ยังได้พบว่า ในเขตชนบทของโปรตุเกส สเปน และอิตาลีบางแห่งยังคงมีการใช้วัสดุดังกล่าวมุงหลังคาอยู่เช่นกัน


ผู้เขียนเคยเปรยๆกับนักโบราณคดีท่านหนึ่งขณะกำลังขุดแต่งวัดโพธิ์ชัยร้างทางด้านใต้ของหมู่บ้านโปรตุเกสเมื่อประมาณต้นปีพ.ศ.2551 ว่า กระเบื้องดินเผาแบบลอนกาบกล้วย หรือ แบบลูกฟูก น่าจะเป็นอิทธิพลของชาติตะวันตก นักโบราณคดีท่านนนั้นมองหน้าแบบเกรงๆใจน้อยหนึ่งแล้ว พึมพำๆ ว่า น่าจะมาจากจีนมากกว่า


ผู้เขียนกล่าวแย้งว่า กระเบื้องมุงหลังคาแบบจีนนั้น ตัวเมียดูจะแอ่นขึ้นมากกว่ากระเบื้องตัวเมียของไทย ขณะที่กระเบื้องมุงหลังคาของไทยทั้งผู้-เมีย แทยจะถอดแบบออกมาจากกระเบื้องมุงหลังคาของฝรั่งเลยทีเดียว


ผู้เขียนเปรยกับกัลยาณมิตร คือ คุณ แพทริค (Patrick) เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่นานนักก็ได้แนวร่วมจากหลักฐานในบันทึกของลาลูแบร์(La Loubere) ซึ่งระบุว่า "การใช้อิฐ(และหลังคามุงกระเบื้อง) เป็นวัฒนธรรมที่สยามได้รับจากโลกตะวันตก" รายละเอียดและการอ้างอิงปรากฏในเนื้อหาของจดหมายต่อไปนี้


Update from Bang Pahan
วันศุกร์, 17 กันยายน 2010 09:59 น.
จาก: "Ayutthaya Historical Research"
ถึง: "Bidya Sriwattanasarn"

Dear Khun Bidiya,

Hope you and you're spouse are doing well. Hereby a small update of the last weeks. I mainly have been busy with updating my Google maps on temples, canals and historical sites. I also have been trying to catch up with the writing about a number of temple sites for the website as I want to finalize my first objective (catalogue all temples within Ayutthaya district) I set more than a year ago.

I have been partly reading de La Loubere’s “A new Historical Relation of the Kingdom of Siam” and I had to think about you. I remember you told me at the site of Wat Phutthai Sawan, that you suspected the Portuguese having brought the use (and making) of roof tiles to Siam. DLL writes (John Villiers – White Lotus, Bangkok, 1986, page 31): “The King of China’s Palace is still of wood; and this persuades me that brick buildings are very modern at Siam, and that the Europeans have there introduced the practice and use thereof.” So also de La Loubère speculated that the use of bricks (and tiles) was a practice brought from the western world. Maybe a quote you can use for your thesis.

I sent some pictures to TAT last week of a tree fallen on a monument site, a dump of garbage close to a tourist spot and a iron cable ready to behead people on a walking-bicycling track, but I got no response.

I have been studying the old Rama III map and made a digital interactive map of it. I still am in pain with about 20 locations, of which I can impossibly read the names. Probably I will find it when I read the “Pradu Songtham” book. I am still busy with the Phraya Boran’s one.

Yesterday on visiting some sites in the southern area (Tambon Pak Kran & Ban Run), I found the location of an old temple site, which I had not yet on my list. It is a brick mound, where before stood the foundations of a chedi as being told by the two monks on retreat in that location. It is in the middle of nowhere surrounded by rice fields. A canal though seems to be leading to the Chao Phraya River. The site was called Wat Chumphon and could have been a gathering place for troops in the southern area.

I have also seen that FAD has been making a test pit southwest of Viharn Phra Mongkhon Bophit, near the local market place. I saw quite a few brick layers at a depth of two meters. Wonder what there might have been. Remains of Wat Sri Chiang Sai?

I passed also at the Dutch Settlement yesterday. I was surprised to see that so little had been done on the site since my last visit on 06 July, although there are plenty of workers living in shacks on the site. I spoke with a drunken worker who came to my encounter, and out of what he garbled, I could make out that they wait for ground to up-level the site near the river (making of a dam to avoid flooding?). On the spot where they have been building the basic foundations of the future Dutch Information Center, there are a lot of shattered bricks, which led to the presumption that also on that spot there was some brickwork very close to the Chao Phraya (maybe the old quay).

So that was it in short. If there is something whereby I can help you for your thesis, let me know.

Kind regards,
Patrick
http://www.ayutthaya-history.com/


ต่อมาผู้เขียนได้เห็นหลักฐานภาพกระเบื้องดินเผาแบบลอนกาบกล้วยในหนังสือ 500 ปี ความสัมพันธ์สยาม-โปรตุเกส ภาพที่6หน้า 123 และภาพกระเบื้องมุงหลังคาอาคารโบราณแห่งหนึ่งภายในมหาวิทยาลัยกูอิงบรา(Coimbra Unversity) ในหนังสือเบื้องหลังกองถ่ายสารคดี 500 ปีความสัมพันธ์สยามโปรตุเกส ภาพที่2 หน้า 105 ซึ่งได้รับอภินันทนาการมาจากคุณยุวดี วัชรากูร (บรรณาธิการ) ก็ยิ่งมีความรู้สึกว่าสมมติฐานข้างต้นมีความเป็นไปได้ค่อนข้างมาก


แล้วผู้รู้จะคิดอย่างไรกันบ้างครับ

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตราแผ่นดินโปรตุเกสที่หน้าจั่วของจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ(Portuguese Coat of Arms at the Villa of the Ambassador of Portugal in Bangkok)

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร





จวนของเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 โดยความร่วมมือระหว่างคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์และสถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ ผู้เขียนได้เป็นวิทยากรร่วมนำชมโบสถ์กัลหว่าร์ โบสถ์คอนเซ็ปชันและโบสถ์ซางตราครูซแก่คณะอาสาสมัครพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร(National Museum Volunteers, Bangkok) จำนวน 30 คน เพื่อย้อนรอยพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมขนเชื้อสายโปรตุเกสในกรุงเทพมหานคร สถานที่แห่งแรกซึ่ง NMV เดินทางไปเยือน คือ จวนของเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ โดยมีฯพณฯ ดร. จอร์จึ แปร์รุช ปึไรร่า(Jorge Perros-Pereira) เอกอัครราชทูตคนปัจจุบันเป็นผู้นำชม ระหว่างนั้น วิทยากรร่วม คือ อาจารย์ ธีรนันท์ ช่วงพิชิต นักมานุษยวิทยา ผู้เชี่ยวชาญการท่องเที่ยวเชิงชุมชนในพื้นกรุงเทพมหานคร ชี้ไปที่ตราแผ่นดินของโปรตุเกสบนหน้าจั่วของจวนท่านทูต แล้วถามผู้เขียนว่า ตราดังกล่าวหมายถึงอะไร หรือ บอกความหมายอะไรบ้าง ผู้เขียนตอบว่าไม่ทราบ แต่ก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่า น่าจะหมายถึงป้อมปราการซึ่งเป็นเมืองขึ้น หรือ อาณานิคมของโปรตุเกสในแอฟริกาและเอเชีย


ตราแผ่นดินโปรตุเกสบนจั่วหน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ ด้านบนเป็นมงกุฎ หมายถึง ราชสำนักโปรตุเกส ภายในกรอบสี่เหลี่ยมมีรูปป้อมปราการหรือปราสาท จำนวน 7 แห่ง บนพื้นแดง หมายถึง ดินแดนที่โปรตุเกสยึดกลับคืนมาได้จากชาวมุสลิมในสมัยกลาง(Reconquista Period) ด้านในสุดเป็นสัญลักษณ์เหรียญเงิน 5 ชุด ๆ ละ 5 เหรียญ หมายถึง สิทธิในการผลิตเหรียญกษาปณ์ออกมาใช้แต่เพียงผู้เดียวของราชสำนักโปรตุเกส


ตราแผ่นดินโปรตุเกสที่ใช้ในกองทัพโปรตุเกสปัจจุบันมีข้อความว่า Pátria esta e a ditosa minha amada แปลว่า มาตุภูมิอันเป็นที่รัก(ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://en.wikipedia.org/wiki/Coat_of_arms_of_Portugal)



เมื่อผู้เขียนได้รับมอบหมายภารกิจในการนำชมแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับชุมชนโปรตุเกสในประเทศไทยทั้งสามแหล่งอีกครั้งจากศูนย์วัฒนธรรมโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ ในวันที่ 3 มิถุนายน 2554 ก็ได้พบว่า ยังมีลวดลายปูนปั้นตราแผ่นดินของโปรตุเกสอีกที่บริเวณเหนือกรอบประตูชั้นล่างของจวนดังกล่าว จึงบันทึกภาพไว้เพิ่มเติม รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ที่น่าสนใจภายในจวนด้วย


ตราแผ่นดินโปรตุเกส ณ จวน เอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ ตรอกกัปตันบุช (Image from cell phone) เหนือกรอบประตูหน้าจวน(ด้านหันหน้าลงแม่น้ำเจ้าพระยา)



ตราแผ่นดินโปรตุเกสสมัยเฮนรีแห่งเบอร์กันดี ทำเป็นรูปกางเขนสีน้ำเงินบนโล่สีเงิน (ค.ศ.1093?-1183?อ้างจากhttp://en.wikipedia.org/wiki/Coat_of_arms_of_Portugal


พัฒนาการของตราแผ่นดินโปรตุเกสค.ศ.1247-1385 มีปราสาทสีทองมากถึง 14 แห่งและเหรีญเงินขาวในโล่สีน้ำเงิน 10 เหรียญ แสดงถึงความยิ่งใหญ่และมั่งคั่งทางโภคทรัพย์



ตราแผ่นดินโปรตุเกสซึ่งใช้ตั้งแต่ค.ศ.1481ภายในกรอบรูปโล่พื้นแดงทำเป็นรูปปราสาทสีทองจำนวน 7 แห่ง (ไม่ใช่หอคอยดังเช่นข้อมูลจากบางแห่งนำเสนอ) ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเซบัสเตียนที่4 (ค.ศ.1481เป็นต้นมา) หมายถึง ดินแดนของชาวมุสลิม(Moorish) ในยุโรปซึ่งโปรตุเกสสามารถยึดครองกลับคืนมาได้ในสมัยกลาง(Reconquista Period) ส่วนสัญลักษณ์รูปวงกลมสีขาวจำนวน 5 วงในพื้นโล่สีน้ำเงินขนาดเล็กซ้อนอยู่ในโล่สีเงิน หมายถึง เหรียญเงิน ซึ่งสถาบันกษัตริย์เท่านั้นที่มีสิทธิ์อนุญาตให้ทำขึ้นมาใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าได้ อันเป็นธรรมเนียมที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยไบแซนไทน์(Byzantine Period C.5-15)




ตราแผ่นดินโปรตุเกสซึ่งเริ่มใช้ในธงชาติของสาธารณรัฐโปรตุเกสตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ.1911เป็นต้นมา โดยยังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นราชอาณาจักรโปรตุเกสในสมัยกลาง ลักษณะใกล้เคียงที่สุดกับตราแผ่นดินเหนือกรอบประตูชั้นล่างหน้าจวน(ภาพจาก cell phone ด้านบน)


ธงชาติสาธารณรัฐโปรตุเกสปัจจุบัน


ปืนใหญ่สำริดแบบมีรางท้ายปืน หน้าสถานทูตโปรตุเกส โดยด้านหน้าของอาคารโรงสินค้าโปรตุเกส(ปัจจุบัน คือ ที่ทำการของสถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ) ยังมีการตั้งปืนใหญ่VOCขนาดลำกล้อง 1 นิ้ว ของฮอลันดาด้วย 4 กระบอก อันเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงการนำปืนใหญ่ของฮอลันดามาประจำการด้วย



ปืนใหญ่ของโปรตุเกสมีตราแผ่นดินโปรตุเกสเหนือปากลำกล้อง

ในห้องรับแขกด้านล่าง แลเห็นคานไม้ขนาดใหญ่รองรับพื้นชั้นบนของจวน


ศิลปะการตกแต่งผนังด้วยกระเบื้องดินเผา(Azurejo)แบบโปรตุเกส ซึ่งนิยมกันมากในศิลปะแบบรอคโกโกลวดลายช่อดอกไม้ในแจกันปากกว้างบนกระเบื้องดินเผาเคลือบกรุผนังชั้นล่างของจวน เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความสุขและชื่นชมยินดี
ลวดลายใบไม้และช่อดอกแบบฝรั่ง
บานประตูไม้แกะสลักเป็นรูปทวารบาลทหารโปรตุเกสของเก่าน่าจทำขึ้นในช่วงเดียวกับที่ได้รับพระราชทานที่ดินให้สร้างจวนกงศุลโปรตุเกสประมาณรัชกาลที่2


ลวดลายและสีที่ขอบบนคล้ายรูปแบบศิลปะไทยที่ได้รับอิทธิพลจากจีนสมัยร.3

ทวารบาลรูปทหารฝรั่ง

จิตรกรรมบนผ้าใบใส่กรอบกระจกรูปกองทหารดุริยางค์โปรตุเกสเป่าแตรคล้ายทรัมเปต ไม่สวมรองเท้า กำลังเดินนำหน้าขบวนพาเหรดทหารชาติเดียวกัน มีข้อความด้านล่างอธิบายว่าวาดโดยช่างไทยจากจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ภาพนี้น่าจะมีอายุประมาณเกือบ 100 ปี


ภาพขบวนทหารโปรตุเกสเดินตามแถวกองดุริยางค์ตราแผ่นดินโปรตุเกส