โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
http://siamportuguesestudy.blogspot.com
ผู้เขียนได้รับการประสานขอให้ช่วยศึกษาตรวจสอบและกำหนดอายุปืนใหญ่กระบอกหนึ่ง
พบจากการทำประมงในน่านน้ำของเขตจังหวัดระนอง
อันเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอันดามัน
ซึ่งเรือโปรตุเกสเคยสัญจรค้าขายระหว่างคริสต์ศตวรรษที่16-19 ในเบื้องต้นนี้ทราบว่าเป็นปืนใหญ่แบบมีรางปืนเปิดท้ายของโปรตุเกส
มีตราแผ่นดิน(Coat of Arm) และสัญลักษณ์ลูกโลก (?)
หล่ออยู่เหนือลำกล้องใกล้ปากกระบอกปืน น้ำหนักชั่งได้ 437 กิโลกรัม ยาว 2.5 เมตร
จากการศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบข้อมูลเพื่อกำหนดอายุของโบราณวัตถุดังกล่าวด้วยความสนใจ
ผู้เขียนได้พบว่า รูปแบบของปืนดังกล่าวเป็นอาวุธที่หล่อขึ้นประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่16
ในประเทศไทยมีจัดแสดงไว้ที่หน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ จำนวน
2 กระบอก โดยมีรูปแบบ ขนาด
น้ำหนักและความยาวไล่เลี่ยกัน
ผลวิเคราะห์การเสื่อมสภาพจากภาพถ่ายจำนวนหนึ่งที่เจ้าของมอบให้
สามารถแลเห็นร่องรอยของการกัดกร่อนที่ตำแหน่งของตราแผ่นดินโปรตุเกส(Coat
of Arm of Portuguese) ลึกลงไปในเนื้อโลหะ
ส่งผลให้รอยนูนบนขอบตราดังกล่าวถูกลบจนเลือนไป
นอกจากนี้รูปปราสาทห้าหลังของโปรตุเกสในตราแผ่นดินก็เริ่มจะกร่อนหายไปเช่นกัน
ลักษณะการเสื่อมสภาพดังกล่าวค่อนข้างสอดคล้องกับอายุสมัยของอาวุธปืนกระบอกนี้
ภาพเปรียบเทียบจำแนกรูปแบบและวิวัฒนาการปืนใหญ่สเปน
โปรตุเกสและชาติตะวันตกในย่านเมดิเตอร์เรเนียน ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.angelfire.com/ga4/guilmartin.com/Weapons.html
ลำดับที่1
(จากซ้ายไปขวา)
ปืนแวร์ซูแบบสเปน-โปรตุเกส
ตีขึ้นจากเหล็ก(Wrought-iron Verso) มีช่องรังเพลิงแบบถอดประกอบได้(Removable
wrought-iron Chamber) ตีจากเหล็กเช่นกัน
และมีแผ่นเหล็กเสียบกันรังเพลิงเคลื่อนที่ขณะยิง
ตรงจุดศูนย์กลางของปืนมีแกนสำหรับหมุนยิง ส่วนท้ายปืนมีด้ามจับหมุนส่ายหาเป้า
ลำดับที่2 (จากซ้ายไปขวา)
ปืนแวร์ซูแบบสเปน-โปรตุเกส
ตีขึ้นจากเหล็ก(Wrought-Iron Verso) มีอายุปลายคริสต์ศตวรรษที่15 ลักษณะคล้ายปืนแบบ
Falconetes แต่มีขนาดใหญ่กว่า
มีช่องรังเพลิงแบบถอดประกอบได้ตีจากเหล็กเช่นกัน ยาวประมาณ 4.5 ฟุต
ด้ามจับพัฒนาเป็นแท่งยาว
ลำดับที่3 (จากซ้ายไปขวา)
ปืนแวร์ซูแบบสเปน-โปรตุเกส
หล่อด้วยโลหะสำริด(Cast bronze Verso)แบบสเปน
–โปรตุเกส ต้นคริสต์ศตวรรษที่16 รูปร่างค่อนข้างเทอะทะ มีรังเพลิงหล่อจากสำริด
ครั้นถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่16 ก็พัฒนารูปทรงให้เพรียวยิ่งขึ้น
ภาพสันนิษฐานจากเอกสารโบราณของปืนกึ่งปืนใหญ่สำริด
(Half
bronze cast Cannon) ของย่านเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก
อายุสมัยต้นคริสต์ศตวรรษที่16
ตรงกลางปืนแบบเอสเมอริล
(Esmeril)
ของสเปน ลักษณะปากกระบอกปืน คล้ายปืนแบบฟาลังกี ( Farangi ) ของตุรกีและปืนมอสเชตตี ( Moschetti )ของชาวเวนิส
ปืนของสเปนแบบมอเตเรตตี(Morterete)
กลางคริสต์ศตวรรษที่16 คล้ายกับปืนแบบบอมบาเดลเล (Bombardelle) ของเวนิสและดาร์เบซี(Darbezy)ของตุรกี
ปืนใหญ่ขนาดย่อมของโปรตุเกสมีแกนหมุนยิงได้รอบทิศ(swivel
gun)
อยู่ที่พิพิธภัณฑ์อังกฤษ(The
British Museum)
ตราแผ่นดินโปรตุเกสและเครื่องคำนวณหาระยะทาง
(armillary
sphere) ด้านล่างของปากกระบอกปืน(ลายเส้นบนสัญลักษณ์ลูกโลกไขว้จากซ้ายมาขวา)
ปืนใหญ่โปรตุเกส พบที่Dhlo,
Dambarare, Portuguese Settlement จากหนังสือ Market , Feira
and Fort in Zimbabwe1693.
ปืนใหญ่หน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส
ณ กรุงเทพฯ
ได้รับการอนุรักษ์โดยการเคลือบสารกันการกัดกร่อนแล้ว
ภายขยายตราแผ่นดินโปรตุเกสและสัญลักษณ์
armillary sphere ของปืนใหญ่หน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส
ณ กรุงเทพฯ (ลายเส้นบนสัญลักษณ์ลูกโลกไขว้จากขวามาซ้าย)
ปืนใหญ่โปรตุเกสบรรจุท้ายพบจากการทำประมงในน่านน้ำอันดามัน
ปัจจุบันอยู่ที่
จ.ระนอง น้ำหนัก 437 กิโลกรัม
ท้ายปืน
เดือยท้ายปืนสำหรับวางบนฐานยิง
หรือ หมุนหาเป้า
ขอบปากกระบอกปืนอันดามัน
หนา 1.5 นิ้ว
เส้นผ่าศูนย์กลางของปากกระบอกปืนอันดามันกว้าง
4 นิ้ว
ปากกระบอกปืนและภาพขยายสัญลักษณ์ตราแผ่นดินโปรตุเกส
เหนือ
armillary sphere บนปืนใหญ่จากน่านน้ำอันดามัน(ลายเส้นบนสัญลักษณ์ลูกโลกไขว้จากซ้ายมาขวา)
สัญลักษณ์
armillary sphere ใต้ตราแผ่นดินโปรตุเกส
สัญลักษณ์
armillary sphere ใต้ตราแผ่นดินโปรตุเกส
ภาพลายเส้นหยาบๆ
สัญลักษณ์ armillary sphere ซึ่งหล่อนูนขึ้นมาจนเห็นได้ชัดเจนใต้ตราแผ่นดินของปืนใหญ่โปรตุเกสศตวรรษที่17
ที่ป้อมเมืองดิว(Diu) อดีตอาณานิคมโปรตุเกสที่อินเดียตอนใต้(ลายเส้น
สัญลักษณ์ลูกโลกไขว้จากซ้ายมาขวา)
ตัวอย่างเครื่องวัดระยะทางแบบ
“armillary sphere”
เครื่องวัดระยะทางแบบ
“armillary sphere” ชิ้นนี้มีลูกศรระบุทิศด้วย
(http://crabapplelandscapexperts.blogspot.com/2012/06/sundials-and-armillary-spheres-as.html)
เครื่องมือคำนวณระยะทาง
( armillary sphere )ชิ้นนี้มีนาฬิกาดาราศาสตร์ประกอบมาด้วย
การกัดกร่อนตราแผ่นดินโปรตุเกสจนขอบด้านข้างเสียรูป
ขณะที่ดวงตรารูปปราสาทและสัญลักษณ์ความมั่งคั่งด้านในกรอบเลือนหายไปจนเกือบมองไม่เห็นด้านล่างเป็นสัญลักษณ์
armillary sphere ก็ถูกกัดกร่อนเช่นกัน
ตราแผ่นดินโปรตุเกส(Coat of arms of Portugal) ที่ใช้บนธงชาติโปรตุเกสปัจจุบันประกอบด้วยโล่พื้นแดงมีดวงตรารูปปราสาทสีทอง(ปิดประตู)ตั้งอยู่ 7 หลัง(Escutcheons)[1] ภายในกรอบพื้นสีขาวทำเป็นสัญลักษณ์รูปเหรียญ 5 อันบนพื้นโล่สีน้ำเงิน 5 โล่ อันหมายถึงสิทธิของกษัตริย์ในการผลิตเงินตราออกมาใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ด้านล่างของตราแผ่นดินมีสัญลักษณ์รูปเครื่องวัดมุมบนท้องฟ้า (the Armillary sphere หรือ the celestrial sphere ) ซึ่งใช้ในการคำนวณระยะทางระหว่างการเดินเรือ และกลายเป็นทั้งตัวแทนความสำคัญของโปรตุเกสในยุคแห่งการค้นพบ(the Age of Discovery ต้นคริสต์ศตวรรษที่15-17) และแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโปรตุเกสซึ่งมีดินแดนอยู่ทุกภูมิภาคในโลก[2]
สรุป
จากสภาพการสึกกร่อนที่ค่อนข้างรุนแรงนี้
ผู้เขียนเชื่อว่า ปืนใหญ่โปรตุเกสจากอันดามันกระบอกนี้
มีอายุร่วมสมัยกับปืนใหญ่ที่หน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ คือ
ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16
การอ้างอิง
-พิทยะ ศรีวัฒนสาร, ตราแผ่นดินโปรตุเกสที่หน้าจั่วของจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส
ณ กรุงเทพฯ(Portuguese Coat of Arms at the Villa of the Ambassador of
Portugal in Bangkok) อ้างใน http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2011/05/portuguese-coat-of-arms-at-villa-of.html
วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
.......................................................ปืนใหญ่หน้าสถานทูตโปรตุเกส2 http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2011/03/2.html
วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554
-JOHN FRANCIS GUILMARTIN JR., THE WEAPONS OF SIXTEENTH CENTURY WARFARE AT SEA, http://www.angelfire.com/ga4/guilmartin.com/Weapons.html
-DIU
FORT CANNONS AND HOWITZER GUNS.wmv
เยี่ยมมากครับ
ตอบลบกำลังจะถูกทำลายหรือทำลายไปแล้วครับ จะทันมั้ยเนี่ยะ
ตอบลบhttps://www.facebook.com/profile.php?id=100002229449234&sk=photos&collection_token=100002229449234%3A2305272732%3A69&set=a.614572901960352.1073742791.100002229449234&type=1
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบความคิดของคนเห็นแก่ได้ ไม่คิดถึง ประวัติศาส เพื่อไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา
ตอบลบ