วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรือซาเกรสของโปรตุเกส( NRP Sagres ) เยือนประเทศไทย

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร


ภาพเรือซาเกรส III (NRP Sagres III) จากโปสเตอร์ที่ระลึกซึ่งมีจำหน่ายในเรือซาเกรสได้รับการอนุเคราะห์จากคุณศานติ สุวรรณศรีแห่งโบสถ์ซางตาครูซ
ระหว่างวันที่ 9 ถึง 14 ตุลาคม 2553 ของกองทัพเรือโปรตุเกส ได้เดินทางมาจอดเทียบที่ท่าOB ในท่าเรือคลองเตย กรุงเทพฯ โดยมีภารกิจ คือ การฝึกภาคสนามแล่นรอบโลกไปตามเส้นทางประวัติศาสตร์ที่อดีตจักรวรรดิทางทะเลโปรตุเกส(Portuguese seaborne Empire) เคยมีอิทธิพลหรือเคยเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีของนักเรียนนายเรือโปรตุเกส
กองเรือของวาสกู ดา กามา(Vasco da Gama)ในน่านน้ำที่มุ่งสู่อินเดีย(ภาพจากWikipedia ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง)

ภาพเรือโปรตุเกสแบบ "Carrack" ที่เดินทางไปเยือนญี่ปุ่นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่16-17 ศิลปะนันบัน(Nanban Art)ที่เมืองนางาซากิ(Nagasaki) ของญี่ปุ่น(ภาพจาก Wikipedia)
เรือซาเกสรIII ที่เมืองกัว (ภาพจากhttp://nizgoenkar.blogspot.com/2010/11/magnificient-diplomatice-send-of-to.html)

ก่อนหน้าที่จะเดินทางมาถึงประเทศไทย เรือซาเกรส ได้แล่นเข้าไปจอดเทียบท่าที่เมืองกัว อดีตศูนย์บัญชาการของผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งอินเดียมาแล้ว เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 ท่ามกลางการต้อนรับด้วยมิตรภาพของชาวอินเดียจำนวนหนึ่ง

การต้อนรับเรือซาเกรสที่เมืองกัว ประเทศอินเดีย(Thank you for the information from http://nizgoenkar.blogspot.com/2010/11/magnificient-diplomatice-send-of-to.html)


เรือซาเกรสกางใบกลางแม่น้ำเจ้าพระยา (ภาพโดย สุขสม หิรัญพันธ์)

เรือซาเกรสเป็นเรือใบ 3 เสา แบบ Tall ship (เรือเสาสูง ดู tall ship ในwikipedia เพิ่มเติม) เรือลำนี้เข้าประจำในกองทัพโปรตุเกสเมื่อค.ศ.1961 เดิมเป็นเรือของรัฐบาลนาซีเยอรมัน ต่อขึ้นเมื่อค.ศ.1937 หลังสงครามโลกครั้งที่2 ก็ถูกกองทัพเรือสหรัฐอเมริกายึดเป็นของรัฐบาลอเมริกัน และขายต่อให้รัฐบาลบราซิลในปีค.ศ.1948
ชื่อเรือซาเกรส ทำด้วยโลหะทองเหลืองขัดมันวาววับ (ภาพโดย สุขสม หิรัญพันธ์)

หลังจากนั้นในปีค.ศ.1961(พ.ศ.2504) กองทัพเรือโปรตุเกสได้รับช่วงซื้อต่อมาจากบราซิล เพื่อใช้ในการฝึกนักเรียนนายเรือแทนเรือซาเกรสII ซึ่งถูกปลดระวางและถูกนำกลับไปจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่ประเทศเยอรมนี
เทพีประจำเรือ (ภาพจาก "ดาดา" ใน http://www.oknation.net/blog/dada/2010/10/13/entry-1 ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง)

ภาพจากดาดาใน http://www.oknation.net/blog/dada/2010/10/13/entry-1

คันบังคับหางเสือ(พวงมาลัย) ภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/dada/2010/10/13/entry-1



การต้อนรับโดยวงโยธวาทิตกองทัพเรือ (ภาพโดย สุขสม หิรัญพันธ์)

ในภาพฯพณฯ เอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ (H. E. Mr. António de Faria e Maya)พร้อมด้วยคุณหญิงก็เดินทางมาต้อนรับอย่างอบอุ่น ก่อนที่ท่านจะเกษียณอายุราชการในเดือนธันวาคม 2553 (ภาพโดย สุขสม หิรัญพันธ์)

นักเรียนนายเรือโปรตุเกสปีนขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่บนเสากระโดงเรืออย่างเข้มแข็งและคล่องแคล่ว สมกับที่ได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดีคล้ายกับลักษณะที่ถูกบันทึกไว้ในภาพเขียนศิลปะนันบันของญี่ปุ่นด้านล่าง (ภาพโดย สุขสม หิรัญพันธ์ในhttp://www.thaiarmedforce.com/taf-gallery/45-world-photos/204-sagres-in-t ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง)

เรือซาเกรสมีความยาว 89 เมตร กว้าง 12 เมตร กินนำลึก 5.2เมตร และมีระวางขับน้ำ 1,755 ตัน เสากระโดงของเรือซาเกรสสูง 42 เมตร ประกอบขับเคลื่อน 2 ระบบ ได้แก่ เครื่องยนต์ดีเซลและพลัง 22 ใบเรือ ที่คิดเป็นพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร เมื่อกางใบรับลมเต็มที่เรือซาเกรสสามารถแล่นได้เร็วถึง 17 น็อต หรือ 31 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ข้อมูลจาก (Wikipedia)

"ขนมฝรั่งกุฎีจีน" ในมือของนายทหารตำแหน่งต้นเรือ (Ship chief officer) ของเรือซาเกรสเปรียบเหมือนทูตแห่งสันถวไมตรีระหว่างสยามกับโปรตุเกสที่ยั่งยืนมานานถึงปัจจุบัน(ภาพโดยสุขสม หิรัญพันธ์ ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น