วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บทบาทของชาวโปรตุเกสในบันทึกของเอดมันด์ โรเบิร์ต (Edmund Roberts)

Edmund Roberts,  Embassy to the Eastern courts of Cochin-china, Siam and Muscat; in the US Sloop of War Peacock David Geisinger, Commander, during the Years 1832 -3-4 by Edmund Roberts, New York : Harpers Brothers,  1837 .

เรื่องราวของเอดมันด์ โรเบิร์ต(Edmund Roberts)  ทูตอเมริกันคนแรกสมัยรัตนโกสินทร์ ปรากฏกระจัดกระจายอยู่ในหลายแหล่ง เว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตอเมริกา ณ กรุงเทพมหานครเลือกที่จะกล่าวถึงสัญญาสัมพันธไมตรีระหว่างสยามกับสหรัฐอเมริกาอย่างละเอียด แต่ก็มิได้พูดถึงบทบาทของนักการทูตผู้นี้มากเท่าใดนัก[1]   อาจจะเนื่องด้วยเป็นข้อจำกัดในด้านวัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์เว็บไซต์ กล่าวคือ

1833 March 18 His Majesty King Nang Klao (Rama III) grants an audience to American envoy Edmund Roberts.
  • March 20 Siam and the U.S. sign the Treaty of Amity and Commerce in Bangkok.”
เว็บไซต์ของสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์กรมศิลปากร เรียกชื่อของ “เอดมันด์ โรเบิร์ต” ว่า “โรเบิร์ต เอดมันด์”[2] โดยคงยังรอการนำเสนอผลงานการค้นคว้าเกี่ยวกับทูตผู้นี้อยู่

บันทึกของเอดมันด์ โรเบิร์ตนอกจากจะให้ความรู้เรื่องร่วมสมัยในช่วงเวลาที่เขาเดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามแล้ว ยังสะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับบทบาทของชุมชนโปรตุเกสเอาไว้พอสมควร ดังนี้
(หมายเหตุ :  ขออภัยในความผิดพลาด ผู้เรียบเรียงได้ตรวจแก้เดือนและค.ศ.ในผลงานชิ้นนี้อีกครั้งแล้วเมื่อ ๑๓ กย.๒๕๕๗)

-นายท่าโปรตุเกสแห่งเมืองบางกอกออกไปรับทูตอเมริกัน
ในวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1833 เรือใหญ่(boat)จำนวน 3 ลำของสยามแล่นออกไปทอดสมอใกล้เรือเดินสมุทร(ship)ของเอดมันด์ โรเบิร์ต(Edmund Roberts)  ภายใต้การนำของเจ้าท่าเมืองบางกอก(Captain of the port of Bangkok) ชื่อ ยอแซฟ ปิเอดาดึ (Josef Piedade)[3]  ชาวคริสเตียนโปรตุเกสเกิดในกรุงเทพฯ เขาระบุว่า งานเลี้ยงต้อนรับคณะทูตจะถูกจัดขึ้นที่เมืองปากน้ำ ตามธรรมเนียมโดยรับสั่งของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสยาม

เมื่อลงเรือที่มารับเพื่อไปร่วมงานเลี้ยงดังกล่าว เอดมันด์ โรเบิร์ตได้รายงานถึงจำนวน “ ปืนใหญ่ทองเหลือง(long brass cannon) ” ในเรือของสยามด้วย[4]

ที่เมืองปากน้ำนั้น มีเจ้าท่าบางกอกรออยู่  เจ้าเมืองปากน้ำออกมาคอยทูตอเมริกันที่มาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยาม โดยนั่งขัดสมาธิบนพื้นยกสูง ด้านบนขึงผ้า (canopy) มีดาบฝักกาไหล่เงินวางถัดลงจากยกพื้น  มีบริวารคอยโบกพัดขนาดใหญ่ไล่ยุงและคลายร้อน บริวารของเจ้าเมืองจำนวนหนึ่งหมอบคลานอยู่ข้างๆ  เจ้าเมืองสูบไปป์ด้ามยาว ข้างๆ มีเชี่ยนหมาก พลู ยาเส้นวางจีบในซองพลูบนพานทอง  เจ้าเมืองมีผ้าคาดพุง ไว้ผมทรงมหาดไทยแบบสยาม

-แรกเลี้ยงอาหารสไตล์โปรตุเกสที่เมืองปากน้ำ
เอดมันด์ โรเบิร์ตรายงานว่า เจ้าเมืองต้อนรับตนอย่างมีอัธยาศัย ทั้งสุภาพและมีมารยาท โดยยื่นมือมาจับอย่างจริงใจ เมื่อนั่งเก้าอี้เรียบร้อย อาหารที่นำมาเลี้ยงก็จัดอย่างดีที่สุดเท่าที่จะหาได้และถูกนำมาเสิร์ฟถึง 12 จานตามแบบโปรตุเกส พนักงานเสิร์ฟอาหารก็แต่งตัวสะอาดเรียบร้อย  มีเครื่องดื่มประกอบด้วยน้ำมะพร้าว เหล้ายินขวดเหลี่ยมแบบดัทช์ ผ้าปูโต๊ะสะอาดสะอ้าน มีด ส้อม จานและช้อน ส่วนพื้นก็ปูด้วยพรมขนสัตว์ทออย่างดี เจ้าเมืองถามถึงสุขภาพ อายุและลูกๆของคนในคณะทูต และแสดงความยินดีต่อการเดินทางมาถึงโดยสวัสดิภาพของคณะทูต

-จางวางกรมทหารปืนใหญ่โปรตุเกสนำทูตอเมริกันเข้าพักเรีอนหลังงาม : บ้านหลวงรับราชทูต
เอดมันด์ โรเบิร์ตเรียกอยุธยาว่า “Jutaya” ระหว่างแล่นเรือเข้าเมืองบางกอกเป็นช่วงน้ำลด เมื่อเข้าใกล้ถึงเมืองก็แลเห็นเรือนแพค้าขายของชาวจีนลอยเรียงรายอยู่เต็มไปหมดทั้งสองฟากแม่น้ำ จากปากน้ำมาถึงบ้านรับรองราชทูตใช้เวลานานถึง 9 ชั่วโมง เมื่อขึ้นจากเรือเพื่อตั้งขบวนเข้าบ้านพัก ขบวนของคณะทูตนำโดย  “นายพลเอกแห่งกรมทหารปืนใหญ่ (the pia-visa-พระยาวิเศษ หรือ general of artillery)  ” ชื่อเบเนเดตส์ ดึ อาร์เกลเลเรีย(Benedetts[5] de Arguelleria)[6] และขุนนางผู้อื่นเข้าไปยังบ้านพักหลังงาม ผ่านประตูสีขาว ผนังสร้างแบบก่ออิฐปูนอย่างดี มีสนามหญ้า เมื่อผ่านไปยังประตูชั้นใน ก็พบอาณาบริเวณที่กว้างขวาง มีตึกขนาบสองด้าน มีต้นไม้ใหญ่อยู่ตรงกลาง

-พ่อครัวที่เรือนรับรองคณะทูตเป็นคนเชื้อสายโปรตุเกส
เมื่อขึ้นบันไดขนาดใหญ่ก็เป็นห้องรับแขก ตั้งโต๊ะรอ สักพักก็ถึงเวลาอาหารเย็น(supper) ซึ่งจัดปรุงแบบยุโรปผสมอินเดีย มีทั้งแกงเผ็ดปลาและไก่ถูกนำมาเสิร์ฟอย่างเต็มที่ ตามด้วยขนมหวานและผลไม้ตามฤดูกาล พระราชาธิบดีแห่งสยามโปรดเกล้าฯพระราชทานเตียง โครงเตียง มุ้ง คนทำอาหารและคนส่งอาหาร และโปรดให้ส่งพ่อครัวชาวสยามเชื้อสายโปรตุเกส ชื่อ โดมิงกู( Domingo) และคนทำงานบ้านมาประจำที่บ้านพักทูตอีกด้วยรวม 4 คน ทั้งหมดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของปิเอดาดึ เจ้าท่าบางกอก ซึ่งได้รับคำสั่งโดยตรงมาจากพระคลัง[7]

            พระคลังจะส่งขนมหวานและผลไม้มาให้คณะทูตอเมริกันทุกวันหรือสองวันครั้ง ครั้งละหลายๆถาด ตึกแถวที่พักของคณะทูตเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคามุงกระเบื้อง ยาวประมาณ 150 ฟุต ด้านหน้ามีลานกว้างขวาง อาคารแต่ละหลังมีห้องรวมด้านละแปดห้อง ขนาด 20 x 20 ฟุต  ปูพื้นไม้ ด้านล่างเป็นสำนักงาน  มุมตึกเป็นห้องอาหารใหญ่เปิดโล่งรับลม เชื่อมอาคารทั้งสองไว้ ด้านล่างโถงอาหารเป็นห้องน้ำ

เอดมันด์ โรเบิร์ตเล่าว่า ปกติแล้วแม่น้ำจะคึกคักไปด้วยเรือจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงเช้าที่ติดตลาดจะมีเรือทุกขนาดมาจอแจกันตั้งแต่ขนาดเรือเท่ากับเรือแคนูไปจนถึงเรือยาวนับร้อยฟุตมีฝีพายหลายสิบคน มีกัญญาตรงกลาง คนสัญจรทางน้ำส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงนำสินค้านานาชนิดมาขายโดยใส่ในถาดทองเหลืองซึ่งทำจากจีน อังกฤษและอินเดีย สินค้าที่นำมาขายได้แก่ ข้าว น้ำมัน ปลาสด ปลาแห้ง กุ้งแห้ง(balachangs) ไข่ สัตว์ปีก หมาก พลู  ปูน(chunam) หมู ผลไม้ ผัก ฯลฯ รวมถึงของกินของใช้ต่างๆ  มีพระสงฆ์จำนวนมากแจวเรือออกมาบิณฑบาต ผู้หญิงไทยพายเรือเก่งพอๆกับผู้ชาย คนไทยแม้จะไม่สะอาดนักแต่ก็เหนือกว่าชาวโคชินไชน่าหลายเท่า พวกเขาอาบน้ำบ่อยก็เลยไม่เอาแต่เกาตลอดเวลาเหมือนชาวเมืองวุงลัม(Vunglam)ในเวียดนาม แต่ฟันที่ดำสนิทราวกับถ่านของคนไทยดูน่ารังเกียจมากกว่าหลายเท่า และน้ำหมากสีแดงจากการเคี้ยวหมากและยาเส้นยังกระจายฟุ้งเลอะจากปากให้เห็นเสมอ[8]

เอดมันด์ โรเบิร์ตสังเกตเห็นการจับปลาในแม่น้ำ เรือนแพแต่ละหลังจะมีเรือเล็กไว้ใช้สัญจรและติดต่อธุรกิจ ด้านหน้าเป็นร้านค้าวางสินค้าทั้งบนชั้นและทางเดินบนแพ ตอนกลางคืนก็แปลงเป็นห้องนอน
แม่น้ำบริเวณที่พักของทูตกว้างประมาณ 1,500 ฟุตและลึก 50-60 ฟุต น้ำไหลแรงทั้งตอนน้ำขึ้นและน้ำลง น้ำมีความสะอาดและใช้อุปโภค-บริโภคในครัวเรือนได้ บ้านบนชายฝั่งยกพื้นสูงหลังคามุงกระเบื้องหรือใบจาก

-นรลักษณ์บางส่วนของพระคลัง
เอดมันด์ โรเบิร์ตบรรยายรูปร่างลักษณะของพระคลังไว้ว่า [9] เป็นชายร่างใหญ่เทอะทะ น้ำหนักเกือบสามร้อยปอนด์ อายุประมาณ 55 ปี นุ่งผ้าไหมคาดเอว นั่งบนแท่น เอนกายอิงหมอนขวานและหมอนอิงใหม่เอี่ยม บนแท่นมีเชี่ยนหมากทองคำที่ได้รับพระราชทานมา[10] ห้องรับแขกด้านหน้านั้นเปิดโล่ง ตกแต่งด้วยกระจกเงาเดินลายทองรูปไข่เรียบๆ จำนวนมากติดบนยอดเสาใกล้เพดาน  มีภาพฉากสงครามของอังกฤษและชนบทในอังกฤษติดบนผนัง ฉากแก้วลายรูปสัตว์ของจีนสูงสี่ฟุตติดตั้งอย่างหรูหรา มีโคมไฟทองเหลืองทั้งแบบแชนเดอเลียร์(Brass Chandelier)และโคมไฟแก้วแบบธรรมดาแขวนประดับห้องด้วย ด้านซ้ายมือของพระคลัง ซึ่งถือเป็นทิศแห่งเกียรติยศ จัดให้เป็นที่นั่งของเอดมันด์ โรเบิร์ตและกัปตันไกซิงเจอร์(Geisingers) ถัดไประดับเดียวกับที่พระคลังนั่งเป็นเก้าอี้ของคณะทูตที่มาด้วย

-การหมอบคลานของขุนนางแขก ไทย ฝรั่งหรือแม้แต่ลูกๆ ของพระคลัง
ทางด้านขวามือบนพื้นที่ยกสูงแต่ต่ำกว่าระดับที่นั่งของพระคลังและคณะทูต ตรงข้ามกับเอดมันด์ โรเบิร์ตและกัปตันไกซิงเจอร์ เป็นที่นั่งหมอบของกัปตันปิเอดาดึและคณะล่าม เลขานุการและเจ้าหน้าที่อื่นๆ  รวม 6-7 คน

ด้านหลังของเอดมันด์ โรเบิร์ตมีบุตรชายคนเล็กของพระคลังนั่งอยู่ด้วยสองคน เมื่อได้รับคำสั่งจากบิดา บุตรคนหนึ่งของพระคลังก็คลานไปหาบิดาเช่นเดียวกับผู้อื่นและคลานกลับมายื่นบุหรี่มวนด้วยใบปาล์มแก่เอดมันด์ โรเบิร์ตและกัปตันไกซิงเจอร์ก่อนจะคลานกลับไปนั่งที่เดิม[11]

วันที่ 6 มีนาคม ค.ศ.1833 เอดมันด์ โรเบิร์ต ไปร่วมงานโกนจุกบุตรของพี่ชายพระคลัง เขาตื่นเต้นกับการแสดงกายกรรมแบบต่อตัวสูงเพราะไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน เอดมันด์          โรเบิร์ตเรียก “ฆ้องวง” ว่า “ฆ้องนง- Knong-nong)[12]

-ไฟไหม้โบสถ์ซางตาครูซและพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวคริสต์
วันที่11 มีนาคม ค.ศ.1833  เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่โบสถ์ซางตาครูซ ใกล้กับที่พักทูตและดับลงก่อนถึงเขตบ้านรับรองราชทูต ทำให้บ้านซึ่งสร้างด้วยไม้ไผ่และหลังคามุงจากติดไฟง่ายเสียหายจำนวนมาก  ทำให้บรรดาคนยากจนได้รับความเดือดร้อน ทั้งบ้านทั้งทรัพย์สิน  เหลือเพียงเสื่อ  เครื่องครัว หม้อดิน เหยือกน้ำ ผ้าเคียนเอวและผ้าผ่อนผืนเล็กๆ ไม่กี่ชิ้น แต่ก็ยังถูกขโมยมาฉกซ้ำไปอีก มีกระท่อมประมาณ 150 หลังถูกไฟไหม้ และผู้ได้รับความเดือดร้อน 50 – 60 คนเข้ามาอยู่ในบ้านทูตและตามห้องว่างในบ้านรับรองทูต และได้รับการเลี้ยงจากทูตอย่างดีหลายวัน [13]

พระราชาธิบดีแห่งสยาม(และพระคลัง)โปรดเกล้าฯ พระราชทานและมอบไม้ไผ่มาสร้างบ้านใหม่ จากนั้นข้าวสารและของใช้ก็ถูกเพื่อนบ้านซึ่งรอดพ้นจากการถูกไฟไหม้นำมามอบให้ผู้เดือดร้อน ขณะที่ไฟกำลังลุกไหม้ทุกคนต่างก็ช่วยกันสาดน้ำใส่กองเพลิงและบ้านซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม ส่วนเรือนแพจำนวนมากใกล้ที่เกิดเหตุก็ปล่อยสายโยงล่องลงไปตามกระแสน้ำลง ชาวเรือนแพต่างก็เล่าลือกันไปต่างๆ นานา ถึงความเดือดร้อนที่ได้ประสบ มีคนตาย 4 คนพร้อมกับข้าวของเสียหายในแพ  พ่อค้าจีน 2 คนถูกไฟครอกตายในแพ ต่อมาเมื่อน้ำขึ้น แพเหล่านั้นก็ถูกเคลื่อนย้ายกลับมาตั้งที่เดิม

-ลางร้ายอีแร้งเกาะหลังคาบ้านเจ้าท่าโปรตุเกส
เอดมันด์ โรเบิร์ตได้ยินมาว่า ก่อนหน้านั้นหมอดูชาวสยามพยากรณ์ว่า จะเกิดไฟไหม้ เนื่องจากมีผู้เห็นนกแร้งเกาะบนหลังคาบ้านของเจ้าท่าโปรตุเกส  บ้านของเจ้าท่าซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับโบสถ์โรมันคาทอลิกก็ถูกไฟไหม้ไปด้วย แต่โบสถ์กลับไม่ได้รับอันตรายจากไฟไหม้ครั้งนี้ เพราะสร้างเสร็จแต่ผนังเท่านั้น   เอดมันด์ โรเบิร์ตระบุว่า ความยากจนของชาวคริสเตียนเหล่านี้ทำให้เขาเชื่อว่า อีกหลายปีกว่าจะสร้างโบสถ์ได้สำเร็จ บ้านเก่าด้านหลังสร้างด้วยไม้หลังคามุงจากก็มีสภาพทรุดโทรม มีโบสถ์คริสต์อีก4 แห่งในบางกอกและชานเมือง  และอีกหนึ่งแห่งที่อยุธยา นอกนั้นกลายเป็นซากโบสถ์ไปแล้ว[14]

วันที่13มีนาคมคณะทูตอเมริกันไปชมช้างเผือกและช้างสำคัญหลายเชือก จากนั้นก็ไปชมถนน บ้านเรือน ร้านรวงและแผงลอยเนื้อ ไก่ หมูผักและผลไม้

สินค้าจีน อินเดียและยุโรปส่วนใหญ่จะวางขายในตลาดลอยน้ำ(floating bazars)มากกว่า เอดมันด์ โรเบิร์ตรายงานว่า พบเห็นผู้คนน้อยมาก

วัตถุประสงค์หลักของเขาในการเข้าเมืองครั้งนี้คือการไปชมพระเมรุมาศที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการพระราชทานเพลิงพระศพกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเสด็จทิวงคตไปเมื่อประมาณ 6 เดือนที่แล้ว เขาอธิบายเกี่ยวกับกรรมวิธีในการจัดการพระศพและลักษณะพระเมรุมาศไว้อย่างละเอียด[15]

-ดินเนอร์แบบ “A la Siamese and Portuguese” ที่บ้านพระคลัง
วันที่ 14 มีนาคม เอดมันด์ โรเบิร์ต กล่าวถึงการได้รับเชิญไปร่วมงานเลี้ยงโกนจุกบุตรชาย 2 คนและหลานชาย 1 คน ที่บ้านพระคลัง มีกงสุลโปรตุเกส ชื่อ ซิลไวรู(Silveiro)ไปร่วมงานด้วย เป็นการเชิญล่วงหน้า 10 วันแต่ก็เลื่อนแล้วเลื่อนอีกเป็นระยะๆ  เอดมันด์ โรเบิร์ตกล่าวว่า งานสำเร็จลงได้เพราะพระคลังได้ขอยืมตัวพ่อครัวหนึ่งในสองของคณะทูต โต๊ะ แก้วน้ำ แก้วไวน์  หม้ออบ(tureens) ทัพพี ช้อน ฯลฯ จากทูตอเมริกัน  พระคลังแจ้งให้ทราบว่า ตนยังไม่มีไวน์และขอให้ทูตนำไวน์มาช่วยงานในปริมาณที่จำเป็นด้วย ครั้นถึงเวลาบ่ายสามโมง ก็มีเรือกัญญา(เรือมีหลังคาคลุม)มารับเอดมันด์ พระคลังรออยู่ในห้องรับแขก โดยมีอาหารเย็นวางรออยู่แล้วบนโต๊ะ  มีการทักทายกันตามมารยาท เขาบันทึกว่าเมื่อเรานั่งลงเพื่อเริ่มรับประทานอาหารเย็น  ก็มีเสียงดนตรีบรรเลงออกมาจากภายในบ้านคลอไปกับเสียงของนักร้องหญิง ระหว่างงานเลี้ยงก็มีคนมานั่งหมอบลงกับพื้น(crouching to the ground) อย่างสงบเสงี่ยม เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่ในสนามหน้าบ้าน  เอดมันด์ โรเบิร์ตคิดว่า น่าจะมาดู “เรา” กินข้าว และดูนายทหารแต่งกายเต็มยศ  ไม่มีใครแสดงพฤติกรรมรุ่มร่ามโวยวายเหมือนอย่างที่จอห์น ครอว์ฟอร์ด(John Crawford) และคนอื่นๆ เคยบันทึกเอาไว้เลย มีแต่ความเงียบและการแสดงความเคารพเท่านั้น[16]

อาหารเย็นมื้อนั้นเป็นแบบ “A la Siamese and Portuguese”[17] เวทีการแสดงหกสูง(vaulters and tumblers)ถูกยกขึ้นกลางลานบ้าน และการแสดงที่น่าแปลกใจก็เริ่มต้นขึ้น เมื่อของหวานถูกนำมาเสิร์ฟ อันประกอบด้วยขนมอบและผลไม้สามสิบจาน (some thirty confectionary and fruit) การแสดงดังกล่าวประกอบด้วยผู้แสดง 12 คน ผู้แสดงสังกัดในกรมของเจ้าฟ้าน้อย หรือ ทูลกระหม่อมฟ้าน้อย เช่นเดียวกับการแสดงในจวนของพี่ชายพระคลังเมื่อ 2-3 วันก่อนหน้านั้น  หลังจากเปิดม่านออกแล้ว  เอดมันด์ โรเบิร์ต ได้ยืนดื่มถวายพระพรแด่สมเด็จพระราชาธิบดีสยาม พระคลังดื่มอวยพรแด่ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา มีการดื่มอวยให้แก่บุคคลอื่นๆ อีก 2-3 ครั้ง  คณะกายกรรมหกสูงแสดงเป็นเวลานานถึง 2 ชั่วโมง จนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดิน  จากนั้นนักแสดงชายหญิงจำนวน 12 คน ซึ่งแต่งตัวอย่างหรูหราก็ออกมาร่ายรำและแสดงลีลา(pantomimes : ละครใบ้) จนเลยสามทุ่ม คณะทูตซึ่งเหน็ดเหนื่อยกับการชมการแสดงจึงขอตัวกลับ เขาระบุว่า ตนเข้าใจว่าการแสดงคงจะมีต่อไปจนถึงหลังเที่ยงคืน ส่วนดนตรีก็บรรเลงในแบบเดียวกับที่คณะทูตเคยได้ชมมาแล้ว

-ยลโฉมภรรยาและบุตรของพระคลัง
 ขณะนั้นปรากฏว่า ม่านสามผืนซึ่งขึงบังคูหาด้านในของเรือนก็ถูกดึงขึ้น  เมื่อนักแสดงเริ่มสวมบทบาท ประตูทั้งสามบานก็ออแน่นไปด้วยบรรดาภรรยาของพระคลัง โดยแถวหน้าเป็นลูกๆ ของท่าน บุคคลทั้งหมดสวมสร้อยและกำไลมือ ประทินผิวด้วยขมิ้นเหลือง เพื่อให้ผิวพรรณดูยองใย ผู้หญิงเหล่านี้มิได้มีกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นปูดโปนดังที่เขาเคยเห็นมาก่อน รูปร่างแบบบางและปกปิดเรือนร่างมิดชิด บางคนมีผิวพรรณเกือบจะเรียกได้ว่าขาว แต่ละนางแต่งกายด้วยผ้าไหมรัดอกและเอวสีเข้ม(sombre-culours) แต่ไม่สวมเครื่องประดับอัญมณี แม้แต่หญิงที่อายุน้อยสุดก็มีฟันสีดำราวกับถูกพ่นสี  ส่วนริมฝีปากและเหงือกนั้นดูซีดเผือด[18]

ผู้ใหญ่ทุกคนต่างมีส่วนร่วมในการขลิบจุกของเด็กผู้ชาย  อย่างไรก็ตาม แม้พิธีจะมีลักษณะคล้ายๆ กับการถ่อมตน แต่จากการยิงปืนนกสับ 2-3 กระบอก การจุดดอกไม้ไฟ การแสดงดนตรี นาฏศิลป์และการละเล่นหลายอย่าง ชี้ให้เห็นว่า มีการคาดหวังจะได้รับของขวัญจากญาติ มิตร  คนรู้จัก เพื่อมอบให้แก่เด็กชายที่เข้าพิธี และในทางกลับกันของขวัญที่มีค่าใกล้เคียงกันก็ถูกคาดหมายเอาไว้แล้วว่า จะได้รับกลับคืน พฤติกรรมทำนองเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นในงานของขุนนางระดับสูงเสมอ

-เอดมันด์ โรเบิร์ต ระบายความในใจถึง Culture Shock ในสยาม
เพื่อที่จะแสดงออกถึงความไม่พัฒนาแบบสุดๆ ของคนเหล่านี้  แม้กระทั่งในหมู่คนชั้นสูง ปิเอดาดึ เจ้าท่าเมืองบางกอกจึงถูกพระคลังส่งให้ไปพบเอดมันด์ โรเบิร์ต  เพื่อแจ้งให้ทราบว่า คณะทูตจากสหรัฐอเมริกาจะต้องมอบของกำนัลแก่พระคลังเช่นเดียวกับจอห์น ครอว์ฟอร์ด(Crawford)และกงสุลโปรตุเกสได้ทำมาแล้วก่อนหน้านั้น ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนนี้ เพื่อเห็นแก่การทำสนธิสัญญา ซึ่งยังมีอีก 2 ประเด็น ที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ เอดมันด์ โรเบิร์ตจึงโอนอ่อนไปตามข้อเรียกร้องเรื่องของกำนัล โดยมอบเหรียญเงินจำนวน 100 ดอลลาร์ ใส่ลงไปในแจกันทองคำ ซึ่งนายพลเอกเบเนดิโตแห่งกรมทหารปืนใหญ่เป็นผู้นำมา พร้อมกับแนบข้อความอวยพรแก่บุตรของพระคลังจากตนไปด้วย เอดมันด์ โรเบิร์ตวิจารณ์อย่างรุนแรงว่า นับเป็นทั้งเรื่องที่น่าหัวเราะและน่ารังเกียจมากที่ได้เห็นนายพลเอกซึ่งมีฐานะเป็นถึงขุนนางอันดับที่11 และมีบรรดาศักดิ์เป็นถึงพระยา กำลังคลานสี่เท้าบนพื้น แต่งกายด้วยชุดเสื้อคลุมผ้าไหมลาย สวมสร้อยคอทองคำเส้นใหญ่ คล้ายการแต่งกายในศตวรรษที่15 ซุกหน้าอยู่กับแจกันทองคำไปจนกระทั่งมอบแก่พระคลัง จากนั้นก็กราบพระคลังลงบนพื้นด้วยมือสองข้างที่ประนมไว้ แล้วก็ถอยกลับด้วยกิริยาอันนอบน้อม และขยับมาถ่ายทอดคำขอบใจจากพระคลังให้แก่เอดมันด์ โรเบิร์ต ต่อมาแจกันทองคำใบนั้นก็ถูกนำมาวางบนโต๊ะด้านหน้า  แล้วส่งต่อให้ชายสองคน คนแรก เป็นเหรัญญิก( the treasure) อีกคนน่าจะเป็นชาวมัวร์ เลขานุการชาวจูเลี่ยห์(Chuliah secretary) ผู้ซึ่งมักจะปรากฏตัวออกมาด้วยการคลานสี่เท้าพร้อมกับกระดาษสีดำ กระดานชนวนและดินสอในมือทุกครั้งที่มีการเจรจาทางธุรกิจเกิดขึ้น เหรียญเงินดอลลาร์ถูกนำออกมานับต่อหน้าของเอดมันด์ โรเบิร์ต   จากนั้นก็แจ้งให้พระคลังทราบว่า จำนวนเงินนั้น “ถูกต้องแล้วขอรับ!!!” (…and report to the Praklang to be alright !!!)[19]

ก่อนหน้านั้นประมาณ 1-2 วัน เอดมันด์ โรเบิร์ตได้มอบนาฬิกาเรือนทองประดับมุก ผ้าไหม 2 หีบ ตะกร้าถักจากเส้นลวดเงิน ขอบทองประดับด้วยรูปเคลือบ จำนวน 4 ใบแก่พระคลังไปแล้ว  ซึ่งของดังกล่าวนั้น เขาตั้งใจจะมอบให้เมื่อทำสัญญาเสร็จแล้ว แต่โดยที่พระคลังทราบล่วงหน้าว่า เอดมันด์ โรเบิร์ตมีของจะมากำนัลแด่ท่าน จึงส่งเจ้าท่าปิเอดาดึมาสอบถามว่า ของขวัญดังกล่าวเป็นอะไร และคิดเป็นราคาเท่าใด วันรุ่งขึ้นเจ้าท่าปิเอดาดึก็กลับมาพร้อมกับบุตรชายคนโตของพระคลัง ซึ่งดำรงตำแหน่งสำคัญเป็นอันดับสองจากในจำนวนขุนนาง 4 คน   ที่ดูแลพระราชมนเทียนของพระราชาธิบดี คือ  “หลวงนายสิทธิ์”  เพื่อขอตรวจสอบของกำนัลและสินค้าคงคลังที่นำมา โดยเจ้าท่าบางกอกแจ้งเป็นนัยแก่เอดมันด์ โรเบิร์ตว่า งานของเขาจะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หากพระคลังได้รับของกำนัล แม้เอดมันด์ โรเบิร์ต  จะเห็นว่าเป็นการไม่เหมาะสมที่จะมอบของกำนัลแก่พระคลังก่อนจะได้เข้าเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการแด่สมเด็จพระราชาธิบดี แต่เขาก็ยินยอมทำตามคำขอดังกล่าว โดยบอกกับตนเองว่า นี่เป็นการมอบให้โดยการคำสั่งและบ่ายวันนั้นของกำนัลดังกล่าวก็ถูกขนไป[20]

[3] ต้นฉบับหน้า 303 ระบุคำนำหน้านามว่า ซินญอร์ โยเซ ดา ปิเอดาดึ (Sur-Jose-da –Piedade)
[4]Edmund Roberts,  Embassy to the Eastern courts of Cochin-china, Siam and Muscat; in the US Sloop of War Peacock David Geisinger, Commander, during the Years 1832 -3-4 by Edmund Roberts, New York : Harpers Brothers,  1837 , p.230
[5] Edmund Roberts, ibid., p.246 ระบุชื่อว่า “Beneditto” ในเอกสารอื่นของไทยดูเหมือนจะระบุชื่อว่า  “Benedict”
[6] หน้า 303 ระบุคำนำหน้านำและชื่อสกุลว่า Sur-Beneditto-de –Arvellegeria
[7] Edmund Roberts,  ibid., pp 234-235. เอดมันด์ โรเบิร์ต กล่าวถึงพระคลังคนที่2 คือ พระยาพิพัฒน์โกษา , ibid., p.252
[8] Edmund Robert, ibid ,pp. 235-236
[9] P.236
[10] P.237
[11] P.238
[12] p.239
[13] pp.240-241
[14] P.241
[15] P.242-244
[16] P.245
[17] P.245
[18] P.245
[19] P.246
[20] P.247

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

A Study and Dating of Cannons at the Villa of the Ambassador of Portugal to Bangkok and the Andaman Cannon recently Found

Bidya Sriwattanasarn
Faculty of Arts and Sciences,
Dhurakij Pundit University.

History  and Physical Analysis
Last month, the author was in touch with by an anonymous  who owned the ancient cannon  accidentally discovered  from the fishery in the Andaman Sea, not far from Ranong Province, the  upper Southern Thailand:  part of the ancient  sea route of the Portuguese during  16-19 Centuries.  
Fundamentally,  the mentioning cannon is classified as  the Cast Bronze Verso type. The Cast Bronze Versos were generally  used by  Spaniard and Portuguese bombardiers in their  forts and ships. Below the mount of the muzzle, there are the coat of arms of Portuguese and the symbol of the  armillary sphere (celestial sphere).  The one that found in the Andaman sea   is reportedly 437 kilograms of weight with 2.5 meters  of length. Depending on my own study and comparison, the method is based on photos and documents approaching from many sources,   the author believed  that  the Andaman cannon might be casted in the lately period of the  16th  century.
In Thailand, There are at least 2 the Cast Bronze Versos has been positioned in front of the Villa of the Ambassador of Portugal to Bangkok at the  similar size  of the Andaman cannon.
Result of the physical analysis, traces of deterioration on the muzzle, especially, over the edge of the coat of arms  of Portugal and the armillary sphere could be viewed rather clearly deep intoits texture.

Succinct chronology of the Portuguese Cannon
Type and development of  Spain and Portuguese cannons comparison with western cannons in the Mediterrenean.(http://www.angelfire.com/ga4/guilmartin.com/Weapons.html)














1. (From left to right) The Spain- Portuguese Wrought-iron Versowith Removable wrought-iron Chamber.
2. (From left to right) Spain -Portuguese Wrought-Iron Verso  in the 15th century, similar to the Falconetes.
3. (From left to right) Spain -Portuguese Cast bronze Verso in early the 16th century.

Reconstruction of half bronze cast cannon of  western Mediterranean from archives of the 16th century. 

The sketch of the Esmeril of Spain, its muzzle was similar to the Farangi of Turkey and the Moschetti of Venice.

The Morterete of Spain in the middle of the 16th Century looked very similar to the Bombardelle of  Venice and  Darbezy of Turkey.

The Portuguese swivel verso at the British Museum.

Below the mouth of the muzzle, the coat of arms of Portugal and the symbol of the Armillary sphere with the longitude began from the upper left to the lower right.



An armillary sphere is a model of the celestrial sphere. The drawing is from Christoph Clavius commentary on the book De Sphaera from 1581.
(http://eat-a-bug.blogspot.com/2009/10/armillary-sphere.html)


The opened chamber verso found at Dhlo, Dambarare, Portuguese Settlement in Zimbabwe.  ( Market , Feira and Fort in Zimbabwe1693.)

One of the Portuguese cannon (verso) in front of the villa of the ambassador of Portugal to Bangkok has been conserved  to protect any further deterioration.


The symbol of the  coat of arms of Portugal and the armillary sphere on the muzzle of a  Portuguese cannon in front of the villa of the ambassador of Portugal to Bangkok.  The cross line  that represent the global longitude  mostly  began   from the upper  left to the lower  right, for this one, it drew from the right to the left instead.

The Portuguese opened chamber cannon (verso)  from the Andaman,
437 kg. Weight  with 2.50 meters length .

Movable chamber of the Andaman cannon.
The pivots over the opened chamber to place on the basement or a swivel- post mount to the right direction.

The edge of the mouth of the muzzle is 1.5 inches.

Diameter of the muzzle of the Andaman cannon is 4 inches.

Coat of arm of Portugal and the symbol of the armillary sphere (  The cross line  drew from the left to the right as usual.)

The Armillary sphere or  the celestial sphere  represent the power of the Kingdom of  Portugal.

Deterioration of the coat of arm of Portugal and the Armillary sphere (the celestial sphere).

Rough sketching  of the coat of arms of Portugal and the armillary sphere on the muzzle of the cannon of the 17th century of the fort of Diu (India) , former colony of Portugal ( the longitude lined from the left to the right )




Armillary sphere diagram

Coat of Arms of the Kingdom of Portugal (1640-1910)


Coat of arms of Portugal on the present day Portugal flag are composed of  red escutcheons decorated with 7 golden closed castles[1] and symbol of 5  silver bezants, represented the authority of the Portuguese suzerain to issue currency. Beneath the coat of arms is the symbol of power of Portugal over the world, the armillary sphere.


Conclusion
            From the photos analysis,  the  severe deteriorated condition, especially,  over  the coat of arms and the armillary sphere of the Andaman  Portuguese cannon,  indicates itself as the  age of the positioning ones at the villa of the ambassador of Portugal to Bangkok, Thailand, in the exactly  lately the 16th century. 

References
-Bidya Sriwattanasarn, ตราแผ่นดินโปรตุเกสที่หน้าจั่วของจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ(Portuguese Coat of Arms at the Villa of the Ambassador of Portugal in Bangkok),  in http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2011/05/portuguese-coat-of-arms-at-villa-of.html May 17 , 2011
.......................................................ปืนใหญ่หน้าสถานทูตโปรตุเกส2 (Cannons in the Embassy of Portugal in Bangkok ii) in http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2011/03/2.html,  March 2, 2011
-JOHN FRANCIS GUILMARTIN JR., THE WEAPONS OF SIXTEENTH CENTURY WARFARE AT SEA, http://www.angelfire.com/ga4/guilmartin.com/Weapons.html
-DIU FORT CANNONS AND HOWITZER GUNS.wmv





[1] Symbol of  7 castles have been used since the reign of  Sebastião I,  1557-1578. (http://en.wikipedia.org/wiki/Sebastian_I)

การศึกษาเปรียบเทียบและกำหนดอายุของ ปืนใหญ่หน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯและปืนใหญ่อันดามัน

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
http://siamportuguesestudy.blogspot.com
ผู้เขียนได้รับการประสานขอให้ช่วยศึกษาตรวจสอบและกำหนดอายุปืนใหญ่กระบอกหนึ่ง พบจากการทำประมงในน่านน้ำของเขตจังหวัดระนอง  อันเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอันดามัน ซึ่งเรือโปรตุเกสเคยสัญจรค้าขายระหว่างคริสต์ศตวรรษที่16-19  ในเบื้องต้นนี้ทราบว่าเป็นปืนใหญ่แบบมีรางปืนเปิดท้ายของโปรตุเกส มีตราแผ่นดิน(Coat of Arm) และสัญลักษณ์ลูกโลก (?) หล่ออยู่เหนือลำกล้องใกล้ปากกระบอกปืน น้ำหนักชั่งได้ 437 กิโลกรัม  ยาว 2.5 เมตร
จากการศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบข้อมูลเพื่อกำหนดอายุของโบราณวัตถุดังกล่าวด้วยความสนใจ ผู้เขียนได้พบว่า รูปแบบของปืนดังกล่าวเป็นอาวุธที่หล่อขึ้นประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่16  ในประเทศไทยมีจัดแสดงไว้ที่หน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ จำนวน 2 กระบอก  โดยมีรูปแบบ ขนาด น้ำหนักและความยาวไล่เลี่ยกัน
ผลวิเคราะห์การเสื่อมสภาพจากภาพถ่ายจำนวนหนึ่งที่เจ้าของมอบให้ สามารถแลเห็นร่องรอยของการกัดกร่อนที่ตำแหน่งของตราแผ่นดินโปรตุเกส(Coat of Arm of Portuguese) ลึกลงไปในเนื้อโลหะ ส่งผลให้รอยนูนบนขอบตราดังกล่าวถูกลบจนเลือนไป นอกจากนี้รูปปราสาทห้าหลังของโปรตุเกสในตราแผ่นดินก็เริ่มจะกร่อนหายไปเช่นกัน ลักษณะการเสื่อมสภาพดังกล่าวค่อนข้างสอดคล้องกับอายุสมัยของอาวุธปืนกระบอกนี้

 
ภาพเปรียบเทียบจำแนกรูปแบบและวิวัฒนาการปืนใหญ่สเปน โปรตุเกสและชาติตะวันตกในย่านเมดิเตอร์เรเนียน ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.angelfire.com/ga4/guilmartin.com/Weapons.html


         ลำดับที่1 (จากซ้ายไปขวา)
ปืนแวร์ซูแบบสเปน-โปรตุเกส ตีขึ้นจากเหล็ก(Wrought-iron Verso) มีช่องรังเพลิงแบบถอดประกอบได้(Removable wrought-iron Chamber) ตีจากเหล็กเช่นกัน และมีแผ่นเหล็กเสียบกันรังเพลิงเคลื่อนที่ขณะยิง ตรงจุดศูนย์กลางของปืนมีแกนสำหรับหมุนยิง ส่วนท้ายปืนมีด้ามจับหมุนส่ายหาเป้า
        ลำดับที่2 (จากซ้ายไปขวา)
ปืนแวร์ซูแบบสเปน-โปรตุเกส ตีขึ้นจากเหล็ก(Wrought-Iron Verso)  มีอายุปลายคริสต์ศตวรรษที่15 ลักษณะคล้ายปืนแบบ Falconetes แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีช่องรังเพลิงแบบถอดประกอบได้ตีจากเหล็กเช่นกัน ยาวประมาณ 4.5 ฟุต ด้ามจับพัฒนาเป็นแท่งยาว
        ลำดับที่3 (จากซ้ายไปขวา)
ปืนแวร์ซูแบบสเปน-โปรตุเกส หล่อด้วยโลหะสำริด(Cast bronze Verso)แบบสเปน –โปรตุเกส ต้นคริสต์ศตวรรษที่16 รูปร่างค่อนข้างเทอะทะ มีรังเพลิงหล่อจากสำริด ครั้นถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่16 ก็พัฒนารูปทรงให้เพรียวยิ่งขึ้น


          ภาพสันนิษฐานจากเอกสารโบราณของปืนกึ่งปืนใหญ่สำริด (Half bronze cast Cannon) ของย่านเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก อายุสมัยต้นคริสต์ศตวรรษที่16 
 
           ตรงกลางปืนแบบเอสเมอริล (Esmeril) ของสเปน ลักษณะปากกระบอกปืน คล้ายปืนแบบฟาลังกี ( Farangi ) ของตุรกีและปืนมอสเชตตี ( Moschetti )ของชาวเวนิส 
 
ปืนของสเปนแบบมอเตเรตตี(Morterete) กลางคริสต์ศตวรรษที่16 คล้ายกับปืนแบบบอมบาเดลเล (Bombardelle) ของเวนิสและดาร์เบซี(Darbezy)ของตุรกี
 
ปืนใหญ่ขนาดย่อมของโปรตุเกสมีแกนหมุนยิงได้รอบทิศ(swivel gun)
อยู่ที่พิพิธภัณฑ์อังกฤษ(The British Museum)
 ตราแผ่นดินโปรตุเกสและเครื่องคำนวณหาระยะทาง (armillary sphere) ด้านล่างของปากกระบอกปืน(ลายเส้นบนสัญลักษณ์ลูกโลกไขว้จากซ้ายมาขวา)

ปืนใหญ่โปรตุเกส พบที่Dhlo, Dambarare, Portuguese Settlement จากหนังสือ Market , Feira and Fort in Zimbabwe1693.

ปืนใหญ่หน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ
ได้รับการอนุรักษ์โดยการเคลือบสารกันการกัดกร่อนแล้ว


ภายขยายตราแผ่นดินโปรตุเกสและสัญลักษณ์ armillary sphere ของปืนใหญ่หน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ (ลายเส้นบนสัญลักษณ์ลูกโลกไขว้จากขวามาซ้าย)

ปืนใหญ่โปรตุเกสบรรจุท้ายพบจากการทำประมงในน่านน้ำอันดามัน
ปัจจุบันอยู่ที่ จ.ระนอง น้ำหนัก 437 กิโลกรัม

 ท้ายปืน


เดือยท้ายปืนสำหรับวางบนฐานยิง หรือ หมุนหาเป้า
ขอบปากกระบอกปืนอันดามัน หนา 1.5 นิ้ว

เส้นผ่าศูนย์กลางของปากกระบอกปืนอันดามันกว้าง 4 นิ้ว

ปากกระบอกปืนและภาพขยายสัญลักษณ์ตราแผ่นดินโปรตุเกส เหนือ armillary sphere บนปืนใหญ่จากน่านน้ำอันดามัน(ลายเส้นบนสัญลักษณ์ลูกโลกไขว้จากซ้ายมาขวา)

สัญลักษณ์ armillary sphere ใต้ตราแผ่นดินโปรตุเกส
สัญลักษณ์ armillary sphere ใต้ตราแผ่นดินโปรตุเกส

ภาพลายเส้นหยาบๆ สัญลักษณ์ armillary sphere ซึ่งหล่อนูนขึ้นมาจนเห็นได้ชัดเจนใต้ตราแผ่นดินของปืนใหญ่โปรตุเกสศตวรรษที่17 ที่ป้อมเมืองดิว(Diu) อดีตอาณานิคมโปรตุเกสที่อินเดียตอนใต้(ลายเส้น สัญลักษณ์ลูกโลกไขว้จากซ้ายมาขวา)



ตัวอย่างเครื่องวัดระยะทางแบบ “armillary sphere”
เครื่องวัดระยะทางแบบ “armillary sphere” ชิ้นนี้มีลูกศรระบุทิศด้วย
 (http://crabapplelandscapexperts.blogspot.com/2012/06/sundials-and-armillary-spheres-as.html)

เครื่องมือคำนวณระยะทาง ( armillary sphere )ชิ้นนี้มีนาฬิกาดาราศาสตร์ประกอบมาด้วย
(Armillary sphere with astronomical clock http://en.wikipedia.org/wiki/Armillary_sphere)

การกัดกร่อนตราแผ่นดินโปรตุเกสจนขอบด้านข้างเสียรูป ขณะที่ดวงตรารูปปราสาทและสัญลักษณ์ความมั่งคั่งด้านในกรอบเลือนหายไปจนเกือบมองไม่เห็นด้านล่างเป็นสัญลักษณ์ armillary sphere ก็ถูกกัดกร่อนเช่นกัน

ตราแผ่นดินโปรตุเกส(Coat of arms of Portugal) ที่ใช้บนธงชาติโปรตุเกสปัจจุบันประกอบด้วยโล่พื้นแดงมีดวงตรารูปปราสาทสีทอง(ปิดประตู)ตั้งอยู่ 7 หลัง(Escutcheons)[1] ภายในกรอบพื้นสีขาวทำเป็นสัญลักษณ์รูปเหรียญ 5 อันบนพื้นโล่สีน้ำเงิน 5 โล่ อันหมายถึงสิทธิของกษัตริย์ในการผลิตเงินตราออกมาใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย  ด้านล่างของตราแผ่นดินมีสัญลักษณ์รูปเครื่องวัดมุมบนท้องฟ้า (the Armillary sphere หรือ the celestrial sphere ) ซึ่งใช้ในการคำนวณระยะทางระหว่างการเดินเรือ และกลายเป็นทั้งตัวแทนความสำคัญของโปรตุเกสในยุคแห่งการค้นพบ(the Age of Discovery ต้นคริสต์ศตวรรษที่15-17) และแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโปรตุเกสซึ่งมีดินแดนอยู่ทุกภูมิภาคในโลก[2]

 สรุป
          จากสภาพการสึกกร่อนที่ค่อนข้างรุนแรงนี้ ผู้เขียนเชื่อว่า ปืนใหญ่โปรตุเกสจากอันดามันกระบอกนี้ มีอายุร่วมสมัยกับปืนใหญ่ที่หน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ คือ ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16

การอ้างอิง
-พิทยะ ศรีวัฒนสาร, ตราแผ่นดินโปรตุเกสที่หน้าจั่วของจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ(Portuguese Coat of Arms at the Villa of the Ambassador of Portugal in Bangkok) อ้างใน http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2011/05/portuguese-coat-of-arms-at-villa-of.html วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
.......................................................ปืนใหญ่หน้าสถานทูตโปรตุเกส2 http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2011/03/2.html วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554
-JOHN FRANCIS GUILMARTIN JR., THE WEAPONS OF SIXTEENTH CENTURY WARFARE AT SEA, http://www.angelfire.com/ga4/guilmartin.com/Weapons.html
-DIU FORT CANNONS AND HOWITZER GUNS.wmv


[1] รูปปราสาท 7 หลัง บนตราแผ่นดินโปรตุเกสใช้มาตั้งแต่สมัยกษัตริย์เซบัสเตียนที่1 (Sebastiao I,  1557-1578) ดู http://en.wikipedia.org/wiki/Sebastian_I
[2] http://en.wikipedia.org/wiki/Coat_of_arms_of_Portugal