วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

A Study and Dating of Cannons at the Villa of the Ambassador of Portugal to Bangkok and the Andaman Cannon recently Found

Bidya Sriwattanasarn
Faculty of Arts and Sciences,
Dhurakij Pundit University.

History  and Physical Analysis
Last month, the author was in touch with by an anonymous  who owned the ancient cannon  accidentally discovered  from the fishery in the Andaman Sea, not far from Ranong Province, the  upper Southern Thailand:  part of the ancient  sea route of the Portuguese during  16-19 Centuries.  
Fundamentally,  the mentioning cannon is classified as  the Cast Bronze Verso type. The Cast Bronze Versos were generally  used by  Spaniard and Portuguese bombardiers in their  forts and ships. Below the mount of the muzzle, there are the coat of arms of Portuguese and the symbol of the  armillary sphere (celestial sphere).  The one that found in the Andaman sea   is reportedly 437 kilograms of weight with 2.5 meters  of length. Depending on my own study and comparison, the method is based on photos and documents approaching from many sources,   the author believed  that  the Andaman cannon might be casted in the lately period of the  16th  century.
In Thailand, There are at least 2 the Cast Bronze Versos has been positioned in front of the Villa of the Ambassador of Portugal to Bangkok at the  similar size  of the Andaman cannon.
Result of the physical analysis, traces of deterioration on the muzzle, especially, over the edge of the coat of arms  of Portugal and the armillary sphere could be viewed rather clearly deep intoits texture.

Succinct chronology of the Portuguese Cannon
Type and development of  Spain and Portuguese cannons comparison with western cannons in the Mediterrenean.(http://www.angelfire.com/ga4/guilmartin.com/Weapons.html)














1. (From left to right) The Spain- Portuguese Wrought-iron Versowith Removable wrought-iron Chamber.
2. (From left to right) Spain -Portuguese Wrought-Iron Verso  in the 15th century, similar to the Falconetes.
3. (From left to right) Spain -Portuguese Cast bronze Verso in early the 16th century.

Reconstruction of half bronze cast cannon of  western Mediterranean from archives of the 16th century. 

The sketch of the Esmeril of Spain, its muzzle was similar to the Farangi of Turkey and the Moschetti of Venice.

The Morterete of Spain in the middle of the 16th Century looked very similar to the Bombardelle of  Venice and  Darbezy of Turkey.

The Portuguese swivel verso at the British Museum.

Below the mouth of the muzzle, the coat of arms of Portugal and the symbol of the Armillary sphere with the longitude began from the upper left to the lower right.



An armillary sphere is a model of the celestrial sphere. The drawing is from Christoph Clavius commentary on the book De Sphaera from 1581.
(http://eat-a-bug.blogspot.com/2009/10/armillary-sphere.html)


The opened chamber verso found at Dhlo, Dambarare, Portuguese Settlement in Zimbabwe.  ( Market , Feira and Fort in Zimbabwe1693.)

One of the Portuguese cannon (verso) in front of the villa of the ambassador of Portugal to Bangkok has been conserved  to protect any further deterioration.


The symbol of the  coat of arms of Portugal and the armillary sphere on the muzzle of a  Portuguese cannon in front of the villa of the ambassador of Portugal to Bangkok.  The cross line  that represent the global longitude  mostly  began   from the upper  left to the lower  right, for this one, it drew from the right to the left instead.

The Portuguese opened chamber cannon (verso)  from the Andaman,
437 kg. Weight  with 2.50 meters length .

Movable chamber of the Andaman cannon.
The pivots over the opened chamber to place on the basement or a swivel- post mount to the right direction.

The edge of the mouth of the muzzle is 1.5 inches.

Diameter of the muzzle of the Andaman cannon is 4 inches.

Coat of arm of Portugal and the symbol of the armillary sphere (  The cross line  drew from the left to the right as usual.)

The Armillary sphere or  the celestial sphere  represent the power of the Kingdom of  Portugal.

Deterioration of the coat of arm of Portugal and the Armillary sphere (the celestial sphere).

Rough sketching  of the coat of arms of Portugal and the armillary sphere on the muzzle of the cannon of the 17th century of the fort of Diu (India) , former colony of Portugal ( the longitude lined from the left to the right )




Armillary sphere diagram

Coat of Arms of the Kingdom of Portugal (1640-1910)


Coat of arms of Portugal on the present day Portugal flag are composed of  red escutcheons decorated with 7 golden closed castles[1] and symbol of 5  silver bezants, represented the authority of the Portuguese suzerain to issue currency. Beneath the coat of arms is the symbol of power of Portugal over the world, the armillary sphere.


Conclusion
            From the photos analysis,  the  severe deteriorated condition, especially,  over  the coat of arms and the armillary sphere of the Andaman  Portuguese cannon,  indicates itself as the  age of the positioning ones at the villa of the ambassador of Portugal to Bangkok, Thailand, in the exactly  lately the 16th century. 

References
-Bidya Sriwattanasarn, ตราแผ่นดินโปรตุเกสที่หน้าจั่วของจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ(Portuguese Coat of Arms at the Villa of the Ambassador of Portugal in Bangkok),  in http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2011/05/portuguese-coat-of-arms-at-villa-of.html May 17 , 2011
.......................................................ปืนใหญ่หน้าสถานทูตโปรตุเกส2 (Cannons in the Embassy of Portugal in Bangkok ii) in http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2011/03/2.html,  March 2, 2011
-JOHN FRANCIS GUILMARTIN JR., THE WEAPONS OF SIXTEENTH CENTURY WARFARE AT SEA, http://www.angelfire.com/ga4/guilmartin.com/Weapons.html
-DIU FORT CANNONS AND HOWITZER GUNS.wmv





[1] Symbol of  7 castles have been used since the reign of  Sebastião I,  1557-1578. (http://en.wikipedia.org/wiki/Sebastian_I)

การศึกษาเปรียบเทียบและกำหนดอายุของ ปืนใหญ่หน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯและปืนใหญ่อันดามัน

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
http://siamportuguesestudy.blogspot.com
ผู้เขียนได้รับการประสานขอให้ช่วยศึกษาตรวจสอบและกำหนดอายุปืนใหญ่กระบอกหนึ่ง พบจากการทำประมงในน่านน้ำของเขตจังหวัดระนอง  อันเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอันดามัน ซึ่งเรือโปรตุเกสเคยสัญจรค้าขายระหว่างคริสต์ศตวรรษที่16-19  ในเบื้องต้นนี้ทราบว่าเป็นปืนใหญ่แบบมีรางปืนเปิดท้ายของโปรตุเกส มีตราแผ่นดิน(Coat of Arm) และสัญลักษณ์ลูกโลก (?) หล่ออยู่เหนือลำกล้องใกล้ปากกระบอกปืน น้ำหนักชั่งได้ 437 กิโลกรัม  ยาว 2.5 เมตร
จากการศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบข้อมูลเพื่อกำหนดอายุของโบราณวัตถุดังกล่าวด้วยความสนใจ ผู้เขียนได้พบว่า รูปแบบของปืนดังกล่าวเป็นอาวุธที่หล่อขึ้นประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่16  ในประเทศไทยมีจัดแสดงไว้ที่หน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ จำนวน 2 กระบอก  โดยมีรูปแบบ ขนาด น้ำหนักและความยาวไล่เลี่ยกัน
ผลวิเคราะห์การเสื่อมสภาพจากภาพถ่ายจำนวนหนึ่งที่เจ้าของมอบให้ สามารถแลเห็นร่องรอยของการกัดกร่อนที่ตำแหน่งของตราแผ่นดินโปรตุเกส(Coat of Arm of Portuguese) ลึกลงไปในเนื้อโลหะ ส่งผลให้รอยนูนบนขอบตราดังกล่าวถูกลบจนเลือนไป นอกจากนี้รูปปราสาทห้าหลังของโปรตุเกสในตราแผ่นดินก็เริ่มจะกร่อนหายไปเช่นกัน ลักษณะการเสื่อมสภาพดังกล่าวค่อนข้างสอดคล้องกับอายุสมัยของอาวุธปืนกระบอกนี้

 
ภาพเปรียบเทียบจำแนกรูปแบบและวิวัฒนาการปืนใหญ่สเปน โปรตุเกสและชาติตะวันตกในย่านเมดิเตอร์เรเนียน ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.angelfire.com/ga4/guilmartin.com/Weapons.html


         ลำดับที่1 (จากซ้ายไปขวา)
ปืนแวร์ซูแบบสเปน-โปรตุเกส ตีขึ้นจากเหล็ก(Wrought-iron Verso) มีช่องรังเพลิงแบบถอดประกอบได้(Removable wrought-iron Chamber) ตีจากเหล็กเช่นกัน และมีแผ่นเหล็กเสียบกันรังเพลิงเคลื่อนที่ขณะยิง ตรงจุดศูนย์กลางของปืนมีแกนสำหรับหมุนยิง ส่วนท้ายปืนมีด้ามจับหมุนส่ายหาเป้า
        ลำดับที่2 (จากซ้ายไปขวา)
ปืนแวร์ซูแบบสเปน-โปรตุเกส ตีขึ้นจากเหล็ก(Wrought-Iron Verso)  มีอายุปลายคริสต์ศตวรรษที่15 ลักษณะคล้ายปืนแบบ Falconetes แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีช่องรังเพลิงแบบถอดประกอบได้ตีจากเหล็กเช่นกัน ยาวประมาณ 4.5 ฟุต ด้ามจับพัฒนาเป็นแท่งยาว
        ลำดับที่3 (จากซ้ายไปขวา)
ปืนแวร์ซูแบบสเปน-โปรตุเกส หล่อด้วยโลหะสำริด(Cast bronze Verso)แบบสเปน –โปรตุเกส ต้นคริสต์ศตวรรษที่16 รูปร่างค่อนข้างเทอะทะ มีรังเพลิงหล่อจากสำริด ครั้นถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่16 ก็พัฒนารูปทรงให้เพรียวยิ่งขึ้น


          ภาพสันนิษฐานจากเอกสารโบราณของปืนกึ่งปืนใหญ่สำริด (Half bronze cast Cannon) ของย่านเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก อายุสมัยต้นคริสต์ศตวรรษที่16 
 
           ตรงกลางปืนแบบเอสเมอริล (Esmeril) ของสเปน ลักษณะปากกระบอกปืน คล้ายปืนแบบฟาลังกี ( Farangi ) ของตุรกีและปืนมอสเชตตี ( Moschetti )ของชาวเวนิส 
 
ปืนของสเปนแบบมอเตเรตตี(Morterete) กลางคริสต์ศตวรรษที่16 คล้ายกับปืนแบบบอมบาเดลเล (Bombardelle) ของเวนิสและดาร์เบซี(Darbezy)ของตุรกี
 
ปืนใหญ่ขนาดย่อมของโปรตุเกสมีแกนหมุนยิงได้รอบทิศ(swivel gun)
อยู่ที่พิพิธภัณฑ์อังกฤษ(The British Museum)
 ตราแผ่นดินโปรตุเกสและเครื่องคำนวณหาระยะทาง (armillary sphere) ด้านล่างของปากกระบอกปืน(ลายเส้นบนสัญลักษณ์ลูกโลกไขว้จากซ้ายมาขวา)

ปืนใหญ่โปรตุเกส พบที่Dhlo, Dambarare, Portuguese Settlement จากหนังสือ Market , Feira and Fort in Zimbabwe1693.

ปืนใหญ่หน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ
ได้รับการอนุรักษ์โดยการเคลือบสารกันการกัดกร่อนแล้ว


ภายขยายตราแผ่นดินโปรตุเกสและสัญลักษณ์ armillary sphere ของปืนใหญ่หน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ (ลายเส้นบนสัญลักษณ์ลูกโลกไขว้จากขวามาซ้าย)

ปืนใหญ่โปรตุเกสบรรจุท้ายพบจากการทำประมงในน่านน้ำอันดามัน
ปัจจุบันอยู่ที่ จ.ระนอง น้ำหนัก 437 กิโลกรัม

 ท้ายปืน


เดือยท้ายปืนสำหรับวางบนฐานยิง หรือ หมุนหาเป้า
ขอบปากกระบอกปืนอันดามัน หนา 1.5 นิ้ว

เส้นผ่าศูนย์กลางของปากกระบอกปืนอันดามันกว้าง 4 นิ้ว

ปากกระบอกปืนและภาพขยายสัญลักษณ์ตราแผ่นดินโปรตุเกส เหนือ armillary sphere บนปืนใหญ่จากน่านน้ำอันดามัน(ลายเส้นบนสัญลักษณ์ลูกโลกไขว้จากซ้ายมาขวา)

สัญลักษณ์ armillary sphere ใต้ตราแผ่นดินโปรตุเกส
สัญลักษณ์ armillary sphere ใต้ตราแผ่นดินโปรตุเกส

ภาพลายเส้นหยาบๆ สัญลักษณ์ armillary sphere ซึ่งหล่อนูนขึ้นมาจนเห็นได้ชัดเจนใต้ตราแผ่นดินของปืนใหญ่โปรตุเกสศตวรรษที่17 ที่ป้อมเมืองดิว(Diu) อดีตอาณานิคมโปรตุเกสที่อินเดียตอนใต้(ลายเส้น สัญลักษณ์ลูกโลกไขว้จากซ้ายมาขวา)



ตัวอย่างเครื่องวัดระยะทางแบบ “armillary sphere”
เครื่องวัดระยะทางแบบ “armillary sphere” ชิ้นนี้มีลูกศรระบุทิศด้วย
 (http://crabapplelandscapexperts.blogspot.com/2012/06/sundials-and-armillary-spheres-as.html)

เครื่องมือคำนวณระยะทาง ( armillary sphere )ชิ้นนี้มีนาฬิกาดาราศาสตร์ประกอบมาด้วย
(Armillary sphere with astronomical clock http://en.wikipedia.org/wiki/Armillary_sphere)

การกัดกร่อนตราแผ่นดินโปรตุเกสจนขอบด้านข้างเสียรูป ขณะที่ดวงตรารูปปราสาทและสัญลักษณ์ความมั่งคั่งด้านในกรอบเลือนหายไปจนเกือบมองไม่เห็นด้านล่างเป็นสัญลักษณ์ armillary sphere ก็ถูกกัดกร่อนเช่นกัน

ตราแผ่นดินโปรตุเกส(Coat of arms of Portugal) ที่ใช้บนธงชาติโปรตุเกสปัจจุบันประกอบด้วยโล่พื้นแดงมีดวงตรารูปปราสาทสีทอง(ปิดประตู)ตั้งอยู่ 7 หลัง(Escutcheons)[1] ภายในกรอบพื้นสีขาวทำเป็นสัญลักษณ์รูปเหรียญ 5 อันบนพื้นโล่สีน้ำเงิน 5 โล่ อันหมายถึงสิทธิของกษัตริย์ในการผลิตเงินตราออกมาใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย  ด้านล่างของตราแผ่นดินมีสัญลักษณ์รูปเครื่องวัดมุมบนท้องฟ้า (the Armillary sphere หรือ the celestrial sphere ) ซึ่งใช้ในการคำนวณระยะทางระหว่างการเดินเรือ และกลายเป็นทั้งตัวแทนความสำคัญของโปรตุเกสในยุคแห่งการค้นพบ(the Age of Discovery ต้นคริสต์ศตวรรษที่15-17) และแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโปรตุเกสซึ่งมีดินแดนอยู่ทุกภูมิภาคในโลก[2]

 สรุป
          จากสภาพการสึกกร่อนที่ค่อนข้างรุนแรงนี้ ผู้เขียนเชื่อว่า ปืนใหญ่โปรตุเกสจากอันดามันกระบอกนี้ มีอายุร่วมสมัยกับปืนใหญ่ที่หน้าจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ คือ ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16

การอ้างอิง
-พิทยะ ศรีวัฒนสาร, ตราแผ่นดินโปรตุเกสที่หน้าจั่วของจวนเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ(Portuguese Coat of Arms at the Villa of the Ambassador of Portugal in Bangkok) อ้างใน http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2011/05/portuguese-coat-of-arms-at-villa-of.html วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
.......................................................ปืนใหญ่หน้าสถานทูตโปรตุเกส2 http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2011/03/2.html วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554
-JOHN FRANCIS GUILMARTIN JR., THE WEAPONS OF SIXTEENTH CENTURY WARFARE AT SEA, http://www.angelfire.com/ga4/guilmartin.com/Weapons.html
-DIU FORT CANNONS AND HOWITZER GUNS.wmv


[1] รูปปราสาท 7 หลัง บนตราแผ่นดินโปรตุเกสใช้มาตั้งแต่สมัยกษัตริย์เซบัสเตียนที่1 (Sebastiao I,  1557-1578) ดู http://en.wikipedia.org/wiki/Sebastian_I
[2] http://en.wikipedia.org/wiki/Coat_of_arms_of_Portugal