วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คำเรียกประเทศต่างๆในแผนที่ยูรบ(ยุโรป)สมัยรัตนโกสินทร์

ภาพจากดร.พีระศรี โพทาวงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง)




โดยพิทยะ ศรีวัฒนสาร



เมื่อวันที่27กรกฎาคม 2554 ดร.พีรศรี โพวาทอง ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอบทความจากงานวิจัย เรื่อง Building Siwilai : Civilizational Discourse, Semi-Colonialism, and the Transformation of Architecture in Siam, 1868 - 1882 ในที่ประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่11 ที่โรงแรมสยามซิตี้ จัดโดย มหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนหนึ่งของบทความมีภาพประกอบเป็นแผนที่ทวีปยุรบ(ยุโรป) อายุประมาณสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็นการออกเสียงคำเรียกชื่อประเทศต่างๆในทวีปยุโรป จึงขออนุญาตทำสำเนาจากเจ้าของบทความและขอนำลงเผยแพร่ในที่นี้ต่อไปเนื่องจากเป็นที่น่าเสียดายที่มีบางท่านมิได้เข้าร่วมในที่ประชุมดังกล่าว

ทวีปยุโรป - ยูรบ ทวีปเอเชีย-ทวีปเอเซีย
ทะเลเมดิเตอเรเนียน -ชะเลเมดิทะเรเนีย
ทะเลดำ - ชะเลดำ ทะเลขาว -ชะเลขาว ทะเลสาบแคสเปียน- ชะเลคัศะเพีย ทะเลบอลติก-ชะเลบอละทิก
มหาสมุทรแอตแลนติก - มหาสมุทอัดลานทิก
เนเธอแลนด์(ฮอลแลนด์)- วิลันดา
เบลเยียม -เบลเชยิม
Republic of Venetian? / Venezia? (ตอนใต้ของฝรั่งเศสและเยอรมนี ตอนเหนือของอิตาลี)- ขึ้นแกพรูเทีย
สวิตเซอร์แลนด์-ซะวิศะลันดา
กรีซ-คิรเซีย
ไอ๊ซ์แลนด์- ไอซะลันดา
ไอร์แลนด์-ไอระลันดา
อังกฤษ-อิงลันดา
สกอตแลนด์-สะกตลันดา
เยอรมนี- อาละมาน
ปรัสเซีย-พรูเซีย
เดนมาร์ก-เดนมาก
สเปน-ซะเพน
โปรตุเกส-พะโทดา
อิตาลี-อิทาเลีย
ออสเตรีย-ออซะเตรีย
โปแลนด์-โพลันดา
นอรเวย์-นอเว
สวีเดน-ซเวเดน
แลปแลนด์-ลับลันดา
รัสเซีย-เมืองรูเซีย
ตุรกี-เทอเค
ดูเหมือนจะมีเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่ไม่ทราบว่าเป็นประเทศอะไรในปัจจุบัน คือ ประเทศ "ขึ้นแกพรูเทีย"
แผนที่ทวีปยูรบ


หลังจากเผยแพร่ออกไปไม่นานนัก ก็มีนักวิชาการแสดงความคิดเห็นอันทรงคุณค่า จึงขอขอบคุณและขออนุญาตนำมา "ขยาย" เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาต่อไป ดังนี้


Thavatchai Tangsirivanich "แผนที่ทวีปยูรบ" นี้น่าสนใจมาก เพราะน่าจะเป็นแผนที่แผ่นแรกที่พิมพ์ขึ้นในสยาม รวมอยู่ใน "หนังสือ, เรื่องแผนที่ทวีบยุรบ. เล่มต้น." (สะกดตามต้นฉบับ) แต่งโดย เอ. เฮเมนเวย์ (A. Hemenway) พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ โดยสำนักพิมพ์ A.B.C.F.M. Press เป็นหนังสือหายากมากๆ เพราะพิมพ์เพียง ๕๐๐ เล่ม ผมเห็นหนังสือและแผนที่เล่มนี้ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพในเชียงใหม่เมื่อราวห้าปีก่อน ตื่นเต้นมาก หนังสือ(และแผนที่) พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2386 (ค.ศ. 1843) หรือ 168 ปีมาแล้ว ตรงกับกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
Thavatchai Tangsirivanich "แผนที่ทวีปยูรบ" นี้ยังน่าสนใจอีกประการหนึ่งหากมองในบริบททางประวัติศาสตร์ เพราะช่วงนั้น (สมัย ร.3) ทางชนชั้นนำสยามเริ่มเข้าถึงและสนใจวัฒนธรรมตะวันตก เหตุผลคือ หากเราย้อนกลับไปตั้งแต่สมัย ร.1 เมื่ออังกฤษเริ่มแผ่ขยายลัทธิอาณานิคมเข้ามาในย่านนี้ เริ่มด้วยการขอเช่าเกาะปีนัง พ.ศ. 2329 เช่าเกาะสิงคโปร์ พ.ศ. 2362 ทำศึกชนะพม่า(คู่ปรับเก่าของเรา) พ.ศ. 2368 ชนชั้นนำเริ่มตระหนักว่า เขตอิทธิพลทางการเมืองและผลประโยชน์ทางการค้าของอังกฤษเริ่ิมเข้ามาประชิดและพัวพันกับสยาม และในขณะเดียวกัน พวกมิชชันนารีอเมริกันก็ได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในราชอาณาจักร พร้อมนำแท่นพิมพ์อักษรไทยจากสิงคโปร์เข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2378 จุดประสงค์หลักของการพิมพ์หนังสือไทยขณะนั้นก็เพื่อเผยแผ่ศาสนาแก่ชาวสยาม แต่พวกเขายังได้พิมพ์เอกสารตำราต่างๆ มากมาย อาทิ พจนานุกรม วรรณคดี รวมถึงนสพ.ฉบับแรกของสยาม และตำราภูมิศาสตร์เล่มที่กล่าวถึงนี้ ขอเสริมเกร็ดอีกนิดว่า ในสมัย ร.3 กรมขุนเดชาดิศร (พระราชโอรสใน ร.2) ได้พยายามสอบถามหมอบรัดเลย์ มิชชันนารีอเมริกัน เกี่ยวกับขนาดและอำนาจของประเทศต่างๆ ในยุโรป และขอให้หมอบรัดเลย์เรียงลำดับความยิ่งใหญ่ของประเทศเหล่านี้ให้ด้วย เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศ์ก็ได้เข้ามาถามเกี่ยวกับประวัติศาสตร์รัสเซีย ตำราภูมิศาสตร์และแผนที่ฉบับนี้น่าจะให้คำตอบกรมขุนเดชาฯ และท่านเจ้าอาวาส ได้เป็นอย่างดี ... หนังสือและแผนที่เก่า หากศึกษาอย่างพินิจพิเคราะห์ จะช่วยให้เราเข้าใจในอดีต ได้เรียนรู้ถึงรากเหง้าความเป็นมาของตัวเอง

Pirasri Povatong หนังสือนี้มาจาก Hemenway Collection ที่เก็บรักษาอยู่ที่ห้องสมุด Clements มหาวิทยาลัยมิชิแกนครับ มีทั้งหนังสือ จดหมาย สมุดบันทึก ตลอดจนสิ่งของต่างๆ เช่น ผ้า ธงช้าง ภาพถ่าย แมลงทับ ฯลฯ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมิชิแกนซื้อจากร้านหนังสือหายากแห่งหนึ่งในอเมริกา น่าจะนานสักสิบปีแล้วครับ มีของไทยๆ ไม่มาก แต่น่าสนใจมาก เพราะ Hemenway เป็นมิชชันนารีรุ่นแรก ประมาณว่ามาไล่ๆ กับหมอบรัดเล เลยมีสิ่งพิมพ์ยุคแรกๆ ของสยามที่เขาเก็บไว้ สภาพดีมากทั้งสิ้นครับ โดยมากเป็นหนังสือสอนศาสนา (religious tracts) แต่ก็มีเรื่องอื่นๆ บ้าง เช่น หนังสือคำประกาษพรรณาว่าด้วยโทษฝิ่น (ค.ศ. 1840) หนังสือเรื่องแผนที่ทวีปยุรบ (ค.ศ. 1843) A Companion to Elementary Lessons (ค.ศ. 1845) และ Bangkok Recorder ค.ศ. 1844 ครับ

พิทยะ ศรีวัฒนสาร Khun Jan, would you mind to identify what is(was ) the real name of the state "ขึ้นแกพรูเทีย/ พรูเชีย" in the present day (or at that time)?

Jan Dresler well... I think the Thai map is very small, and as far as I can see there is no date... the problem is that this area in Germany was institutionally instable, and small areas could be handed over from one noble family to another by marriage inheritance or warfare. But in this special case it probably refers to an area under traditional Prussian controll. I guess it refers to an area called Rhine Province
Jan Dressler even more curious is the expression อาละมาน, and the explaination above that this should be Germany... ^-^ Actually the German state of today grew out of the Prussian state, bound together with an assembly of smaller political units, etc. I cannot see the Republic of Venice on the Thai map, but that was an interesting state too:
พิทยะ ศรีวัฒนสาร According to my assumption that "ขึนแพรูเทีย", may be the meaning of "depending on the nation state of Prussia" , I agree with you at all for the first comment.

2 ความคิดเห็น:

  1. ขึ้นแพรูเทีย เป็นส่วนเดียวกันกับปรัสเซียครับ
    ส่วนที่เห็นในแผนที่เป็นไรน์แลนด์และเวสต์ฟาเลียครับ

    ตอบลบ