วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เปรียบเทียบคำแปลจารึกพระราชทานที่ดินโบสถ์ซางตาครูซ ภาษาโปรตุเกส พบที่โบสถ์ซางตา ครูซ (ธนบุรี)

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

Asemto
Na era de 1768, Vierão o Rey Piya Thac. De Chantabunt, p.a secrestar o Rei no Sião com Cristaons de Bamdel, dos Portugueses, o Rey Fundio huma bombarda pôs o nome Lagarto, pr. Bombardeiro António Henrique, quem Ajat, Ambrozio Carvalho, Luão Sizot, Manoel Gomess, Kun rep Samdeng, Dom João Kunt Sãotha Ackane, Francisco Soares, Ulbano Roiz. Emtrerão Valerozan te. Vencedor nesta Cide de Bamcok conquistando toda provincial, e asim o Rey pr. O seu Palaco, no Baluarte(กำแพง) Portugueses , nanduncios de mesmo Rey , mandou Rey q os Cristaons procurace o lugar para ser nosso, povoassão. O Rey diz melhor tera outrabanda entres os baluarte dos Francezes, conssiderando os cristaons q nos temos a nossa Irmida q era dos Portuguezes, E destrito nosso, q he debaixo do Baluarte Português, O Rey mandou u botar fora algum q esta neste lugar, e assim mandou buscar sua Familia, e mais cristãos q estão perd. O e assim entretanto, vão pwlejando E conquistando mais alguns Provincais, morrendo alguns cristãos, nesta peleja, costou muitos a vida delles, e asim o Rey mandou que buscase o p.e q tras bistido branco, o que o Rey conhece q hé Pe. Jos tem provoado nossos cristaons com Irmido. os nossos Cristaons de bandel dos Portuguezes, q foram fugidos, pr. cauza dos Inimigos, pellas terras estranhas e tornarão a vir, no anno de 1768>>

ผู้เขียนแปลแบบเก็บความ เผยแพร่ในวิทยานิพนธ์ เรื่อง ชุมชนโปรตุเกสสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2059-2310(พ.ศ.2541) ดังนี้
บันทึก (เกียรติคุณ)
ในปี พ.ศ.2311 รัชสมัยพระยาตากสินแห่งจันทบูรณ์ได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งสยามด้วยความช่วยเหลือจากชาวคริสตัง (cristãos) แห่งหมู่บ้านโปรตุเกส สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้หล่อปืนใหญ่ขึ้นให้ชื่อว่า ลาการ์ตู (Lagarto) เพื่อเป็นเกียรติแก่ อันตอนิอู เอนริก (António Henrique) อาจารย์ ? (Ajat) อังบรอชิอู คาร์วัลญู (Ambrósio Carvalho) จูอาว? (Luão - Juão?) ชิซุต (Sizot) มานูเอล กูมึช (Manuel Gumes) ขุนฤทธิ์สำแดง (Kunrep Samgend**) ดอง จูอาว ขุนเสาธาอัคนี (Don João Kunt Saotha Achane ) อูร์บานู รูดริเกช (Urbarno Rodrigues) ผู้ได้ช่วยเหลือด้วยความกล้าหาญจนได้รับชัยชนะเหนือเมืองบางกอก ยึดครองเมืองไว้ได้ทั้งหมด และได้ช่วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสร้างพระราชวัง...สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานให้พวกเขาตั้งบ้านเรือนให้อยู่ใกล้กับป้อมของฝรั่งเศส พร้อมกับสร้างโบสถ์พระราชทานแก่พวกเขาทางด้านใต้ของค่ายโปรตุเกสแห่งนี้ และมีพระราชโองการให้สืบหาครอบครัวของโปรตุเกสและชาวคริสต์อื่นๆที่สูญหายไปจากการออกทำศึกหลายแห่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์จะทำนุบำรุงบาทหลวงซึ่งนุ่งห่มชุดขาว เนื่องด้วยพระองค์ทรงตระหนักดีว่าชาวคริสต์จะต้องมีบาทหลวงประจำอยู่ที่โบสถ์ บรรดาชาวคริสต์ของหมู่บ้านโปรตุเกส (bandel dos Portugueses) ที่หนีศัตรูไปยังที่ต่างๆได้ย้อนกลับมาในปี พ.ศ.2311

วิจารณ์ เป็นการแปลแบบเก็บความ เนื่องจากมีความรู้ภาษาโปรตุเกสเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงแปลแบบเก็บความและคำนึงถึงบริบททางประวัติศาสตร์เป็นสำคัญ

Asemto ภาษาอังกฤษ แปลโดย ดร.จอร์จึ มอร์ไบย์ ( Jorge Morbey) อดีตทูตวัฒนธรรมโปรตุเกส เผยแพร่เมื่อ 2554

“It was in 1768, King Piya Thac (General Taksin) came from Chamtabunt to kidnap the Kingdom of Siam, with Christians from the Portuguese Bandel (Quarter). The King blew a canon that he put the name Lizard to bombard. Antonio Henrique, Ajat, Ambrozio Carvalho, Luão Sayot…, Manoel Gomes, Kunteop Samdeng[1], Dom João Kunt São That ackane(?), Francisco Soares, Albano Roia. They entered valiantly winners in this city of Bangkok conquering the entire province, and so the King to his palace. In the Portuguese fortress, at the hearing of the same King, the King ordered Christians to seek the place to be your village. The king said it is better in the other river-side near the bulwark of the French. Whereas the Christian that we have our chapel which belonged to the Portuguese, and our district which is under the Portuguese fortress, the King sent someone to drive away those who were there, and so he sent for families, and more Christians who are lost and so however, are fighting, and winning some more provinces, some Christians dying in this wars (that) cost many of their lives, and so the King ordered to seek for the priest using white dress (Dominican), because the King knows he is our Priest that already have lived in the Chapel with our Christians;…”

คำแปลจารึกจากบทแปลภาษาอังกฤษของ จอร์จึ มอร์ไบย์ (พิทยะ แก้ไขเมื่อ 27 กพ 55)

“ในค.ศ.1768 สมเด็จพระยาตาก (พระยาตากสิน) เสด็จฯจากเมืองจันทบูรณ์เพื่อแย่งชิง (kidnap) พระราชอาณาจักรสยามพร้อมด้วยชาวคริสต์จากหมู่บ้านโปรตุเกส พระราชาองค์นี้ทรงทำลาย(blew)ปืนใหญ่กระบอกหนึ่ง ซึ่งได้พระราชทานนามว่า จิ้งจก(Lizard)เพื่อใช้ยิง อันตอนิอู เอนริก (Antonio Henrique), อายัต (Ajat), อังบรอชิอู คาร์วัลญู (Ambrozio Carvalho), ลูอาว ซายุต(Luão Sayo)…, มานูเอล กูมึช(Manoel Gomes), คุนเทป สำเดง(Kuntep Samdeng)[2], ดอง จุง คุนตึ เซิว ธาต อักคานี(Dom João Kunt São That ackane) ? , ฟรานซิสกูส วารึช(Francisco Soares), อัลบานู รูเยีย(Albano Roia). พวกเขาเข้าไปในเมืองบางกอกและมีชนะอย่างกล้าหาญจนสามารถครอบครองพื้นที่ได้ทั้งหมด เช่นเดียวกับพระราชา พระองค์ประทับ ณ พระราชวังของพระองค์ ส่วนภายในป้อมของชาวโปรตุเกส เมื่อครั้งที่ได้เข้าเฝ้าพระราชาองค์นี้ พระองค์ทรงมีพระราชโองการให้จัดหาที่ดินพระราชทานแก่ชาวคริสเตียนเพื่อเป็นหมู่บ้านของพวกท่าน (to be your village) พระราชาองค์นี้ตรัสว่า ควรจะอยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำใกล้ๆกับกำแพงของฝรั่งเศส นับแต่นั้นมา ในฐานะที่เป็นชาวคริสเตียนเราก็ได้มีโบสถ์ของเราที่เป็นของชาวโปรตุเกส และมีถิ่นฐานของเราอยู่ภายใต้ป้อมของโปรตุเกส พระราชาองค์นี้ได้ส่งพนักงานไปขับไล่บรรดาคนที่เคยอยู่บริเวณนั้นออกไป และพระองค์โปรดให้ติดตามหาครอบครัวและชาวคริสเตียนที่ได้รับความสูญเสียให้มาอยู่กันมากขึ้น เพื่อจะได้ทำการต่อสู้และได้รับชัยชนะเหนือพื้นที่ต่างๆ ให้มากขึ้น มีคริสเตียนบางคนตายในสงครามที่แลกมาด้วยชีวิตจำนวนมากของพวกเขา และด้วยเหตุนี้พระราชาจึงทรงมีพระราชโองการให้ตามหาพระสงฆ์ที่สวมชุดสีขาว(คณะโดมินิกัน) รูปหนึ่ง เนื่องจากทรงทราบว่า พระสงฆ์รูปนั้น พำนักอยู่ในโบสถ์ร่วมกับชาวคริสเตียนของเราอยู่แล้ว…”

ข้อสังเกต
ผู้เขียนให้เกียรติ ดร.จอร์จึ มอร์ไบ ในฐานะทูตวัฒนธรรมโปรตุเกส อย่างไรก็ดี บริบททางประวัติศาสตร์ก็เป็นสิ่งสำคัญจึงมีข้อสังเกต ด้วยอักษรตัวหนา ดังนี้
1. คำแปล...พระราชาองค์นี้ทรงทำลาย(blew ทำลาย หรือ ยิง ?) ปืนใหญ่กระบอกหนึ่ง ซึ่งได้พระราชทานนามว่า จิ้งจก(Lizard) เพื่อใช้ยิง. อันตอนิอู เอนริก (Antonio Henrique), อายัต (Ajat), อังบรอชิอู คาร์วัลญู (Ambrozio Carvalho), ลูอาว ซายุต(Luão Sayo)…, มานูเอล กูมึช(Manoel Gomes), คุนเทป สำเดง(Kuntep Samdeng)[2], ดอง จุง คุนตึ เซิว ธาต อักคานี(Dom João Kunt São That ackane) ? , ฟรานซิสกูส วารึช(Francisco Soares), อัลบานู รูเยีย(Albano Roia). etc.

-1. กริยา secrestar อาจแปลว่า kidnap ได้ ในความหมายเดียวกับคำว่า raped ซึ่งในอดีตหมายถึง การกำลังฉุดคร่า หรือแย่งชิง เพื่อเอามาเป็นของตน เช่นชื่อภาพของ "the raped of Proserpina" และจากการสนทนากับดร.ชัยวัฒน์ บุนนาค, อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งสถานทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพฯ เมื่อ 25 กพ.55 ทำให้ผู้เขียนทราบว่า กริยา kidnap อาจหมายถึง usurp( the kingdom, หรือ the throne )ได้เช่นกัน
-2.ข้อความ o Rey Fundio huma bombarda pôs o nome Lagarto, pr. Bombardeiro António Henrique, quem Ajat,...etc. จอร์จึ มอร์ไบย์ แปลว่า The King blew a canon that he put the name Lizard to bombard. พระราชาองค์นี้ทรงทำลาย(-หรือ ยิง? blew)ปืนใหญ่กระบอกหนึ่ง ซึ่งได้พระราชทานนามว่า จิ้งจกLizard เพื่อใช้ยิง. ผู้เขียนเสนอโต้แย้งว่า ในเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงให้ทำลายปืนไปแล้ว จะพระราชทานชื่อปืนอีกทำไม และชื่อปืนใหญ่น่าจะเป็นชื่อภาษาไทยที่น่ากลัว หรือ น่าเกรงขามอย่างชื่อปืนใหญ่โบราณทั้งหลาย อาทิ ขอมดำดิน จีนสาวไส้ ไทใหญ่เล่นหน้า ชวารำกริช มุหงิดทะลวงฟัน มักกะสันแหกค่าย ฝรั่งร้ายแม่นปืนแมนแทงทวน ยวนง่าง้าว ลาวตีคลี พลีอารักษ์ ยักขิณีใจหาญ มหากาลพิฆาต พรหมศาสตรปราบมาร จักรวาลหล่อลม ลมประไลยกัลป์ คนธรรพ์แผลงฤทธิ์ พระอาทิตย์แสงกล้า มหาจักรกรด บรรพตบดสัตว์ ฯลฯ ไม่ใช่ชื่อภาษาโปรตุเกสที่แปลว่า "จิ้งจก!"


ประการสำคัญนั้น คำว่า Bombardeiro นั้น ต้องแปลว่า ทหารปืนใหญ่ มากกว่า " to bombard-ยิง" เนื่องจากชื่อที่ตามมา(ดูเหมือนจะ)เป็นชื่อของทหารฝรั่งแม่นปืนทั้งสิ้น


-3. กริยา Fundio น่าจะมีคำแปลที่สอดคล้องกับ คำว่า หล่อ หรือ ยิง มากกว่า ทำลาย

[1] ต้นฉบับของจารึก Asemto คือ Kunrep Samdeng ซึ่งคลาดเคลื่อนมาจากราชทินนามของขุนฤทธิ์สำแดง เจ้ากรมซ้าย นา 400 กรมทหารฝรั่งแม่นปืน

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Das Parte du Sião… หลักฐานเกี่ยวกับสยาม

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เมื่อวันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ผู้เขียนได้รับอภินันทนาการพัสดุไปรษณีย์ ชื่อ “Das Parte du Sião(หลักฐานเกี่ยวกับสยาม) ” ผู้จัดส่งให้ คือ ดร. มิเกล คัสเตลลู บรังกู (Migel Castelo Branco) นักประวัติศาสตร์และบรรณารักษ์อาวุโส หอสมุดแห่งชาติโปรตุเกส ดุษฎีบัณฑิตสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากสถาบันชั้นสูงด้านสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาการแห่งลิสบัว (Instituto Superior de Ciências Sociais e Políticas da Universidade Técnica de Lisboa) ด้วยผลงานวิทยานิพนธ์เรื่อง “ ความสัมพันธ์ระหว่างโปรตุเกสกับสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2525-2482) จึงขอแสดงความขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งมา ณ ที่นี้

“Das Parte du Sião”เป็นหนังสือประกอบการจัดนิทรรศการที่ระลึกความสัมพันธ์ 500 ปีระหว่างชาวลูโซ (โปรตุเกส) กับชาวไทย พ.ศ.2054-2554 หนา 118 หน้า บวกกับภาพประกอบพิเศษอีก 10 หน้า (ไม่ระบุเลขหน้า) รวมเป็น 128หน้า ภายในประกอบด้วยเนื้อหาสังเขปดังนี้
- 500 ปี แห่งความสัมพันธ์ระหว่างชาวลูโซกับชาวสยาม โดย ศาสตราจารย์ อันตอนิอู วาชกงเซลูช ดึ ซาดันญา(António Vasconcelos de Sadanha) มหาวิทยาลัยวิทยาการแห่งลิสบัว เป็นบทความสั้นๆ ยาว 3 หน้า กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดนิทรรศการ
-ยุคทองของชาวโปรตุเกสในสยาม(A Época de Ouro dos Protukét do Sião) โดย ดร. มิเกล คัสเตลลู บรังกู (Migel Castelo Branco) เป็นบทความมาตรฐานยาว 20 หน้า
-รายการเอกสารโบราณที่เกี่ยวข้องกับสยาม(Catálogo) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่16-20 โดยระบุรายการอ้างอิง คำย่อที่ใช้ในหนังสือและแหล่งค้นคว้าเอกสารโบราณ รวมถึงหนังสือประวัติศาสตร์นิพนธ์และบทความวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่16, 20 และ21

ในส่วนบทความของดร. มิเกล คาสเตลลู บรังกู เรื่อง ยุคทองของชาวโปรตุเกสในสยามนั้น ดร.บรังกู คงต้องการจะเรียกคนไทยเชื้อสายโปรตุเกสว่า “ชาวโปรตุเกต” (Protuget) ตามแบบอย่างคำไทยที่เรียกชาวโปรตุเกสโดยไม่การออกเสียงเน้น(accent)ตัวสะกด ส.เสือ อันเป็นลักษณะของการออกเสียงแบบไทย แต่เมื่อคำดังกล่าวถูกถ่ายกลับไปเป็นภาษาโปรตุเกส คือ “Protukét” เมื่ออ่านแล้วกลับต้องออกเสียงเป็น “โปรตุแคต” ไม่ใช่ “โปรตุเกต(Protuket” ตามเสียงในภาษาไทย
ผู้เขียนเคยเสนอในงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ 500 ปี ความสัมพันธ์สยามประเทศกับโปรตุเกสและชาติตะวันตกในอุษาคเนย์ 2054-2554(25มกราคม 2555) ” จัดโดยโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย จำกัด มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยาและหน่วยงานต่างๆ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยาว่า คนไทยเชื้อสายโปรตุเกสมีความภาคภูมิใจในความเป็นคนเชื้อสายโปรตุเกสมาอย่างเหนียวแน่นและยาวนาน คุณศานติ สุวรรณศรี เคยเล่าให้ฟังถึงคำสอนของมารดาเมื่อครั้งยังเด็กอันชวนให้ตื้นตันใจว่า “ลูกต้องจำไว้ว่าเรามันพวกโปรตุเกสนะลูก”

การที่นักประวัติศาสตร์โปรตุเกสบันทึกคำเรียกคนไทยเชื้อสายโปรตุเกส ว่า “ชาวโปรตุเกต หรือ โปรตุแกต” อาจถือเป็นการแบ่งแยกพวกเขาออกจากความเป็น “โปรตุเกส” แบบขาดการเข้าถึงจิตใจของกลุ่มชนที่เคยร่วมวัฒนธรรมโปรตุเกสด้วยกันมาก่อน แม้ในปัจจุบันความเป็น“โปรตุเกส”ทางด้านกายภาพ ความเป็นอยู่ ภาษาและวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายโปรตุเกสจะเจือจางลงไปมากแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่เชื่อมโยงความเป็นโปรตุเกสของพวกเขาไว้อย่างเหนียวแน่นและมั่นคง คือ ความเป็นชาวคริสตัง

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บ้านโปรตุเกสกับบริบททางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร ภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2555 ผู้เขียนได้รับเชิญจากโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพื่อเข้าร่วมเป็นวิทยากรหัวข้อ “บ้าน โปรตุเกส บ้านญี่ปุ่น บ้านฮอลันดา” วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2555 ในงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง “500 ปี ความสัมพันธ์สยามประเทศกับโปรตุเกสและชาติตะวันตกในอุษาคเนย์ 2054-2554(24-25มกราคม 2555)” จัดโดยโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย จำกัด มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยาและหน่วยงานต่างๆ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา วิทยากรร่วม คือ ผศ. ดร.พลับพลึง คงชนะและภัทรพงษ์ เก่าเงิน(สำนักศิลปากรที่ 2 ) โดยมี รศ. ดร. ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ผู้ดำเนินรายการ และนำอภิปราย แม้เนื้อหาและเทคนิคการอ้างอิงค่อนข้างห้วน แต่เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อคิดเห็นทางประวัติศาสตร์และข้อมูลการค้นพบใหม่ตามหัวข้อดังกล่าว จึงขอนำมาเผยแพร่ในที่นี้อีกครั้งครับ 

การเดินทางของคำเรียกชื่อชนชาติโปรตุเกสในเอกสารไทย ชื่อชนชาติโปรตุเกสในเอกสารฝ่ายไทย (ปตุกรร ปัตุกัน ปัศตุกัล บางยุคลากเข้าหาภาษาไทย.............พุทเกต ปอตุกัล ปอร์ตุเกศ โปรตุเกส ปัจจุบันนักวิชาการฝรั่งเรียกคนเชื้อสายโปรตุเกสในไทยว่า Protuget-ชาวโปรตุเกต ราวกับต้องการจะจำแนกออกจากความเป็นPortuguese ? ทั้งๆ ที่ความเป็นโปรตุเกส(Portuguese) เป็นความภาคภูมิใจของพวกเขาที่มีต่อบรรพบุรุษของตน บรเทศเป็นใคร? พศด.กรุงสยาม ฉ.บริติชมิวเซียม : “จึ่งชาวประเทศชื่ออมราวดี แฝงต้นโพธิ์ยังปืนนกสับ ไปต้องญาณพิเชียนซบลงกับคอช้าง” พศด. ฉ. หลวงประเสริฐ : “ศักราช 943 มะเส็งศก ญาณประเชียร เรียนศาสตราคมและคิดเป็นขบถ คนทั้งปวงสมัครเข้าด้วยกันมาก และยกมาจากเมืองลพบุรี และยืนช้างอยู่ตำบลหัวตรี และบรเทศคนหนึ่ง อยู่ในเมืองนั้นยิงปืนออกไป ต้องญาณประเชียรตายกับคอช้าง...” ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ในบทความชื่อ กบฏไพร่สมัยอยุธยา กับแนวคิดผู้มีบุญ- พระศรีอาริย์- พระมาลัย. ว.ธรรมศาสตร์ ฉ.1 (2522)ระบุว่า “ชาวบรเทศ ชาวประเทศ น่าจะ หมายถึง ชาวโปรตุเกส” เห็นด้วยกับ ประเด็น บรเทศ น่าจะหมายถึง โปรตุเกส แต่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอว่า ญาณประเชียรเป็น..ไพร่...เพราะพฤติกรรมขี่ช้าง เรียนศาสตราคม ระดมพล มิใช่วิสัยข้าไพร่ ขบถในพม่าเวลาใกล้เคียง 100% เป็นเชื้อพระวงศ์ ! ผีบุญในอีสานก็เป็นผู้ดีจากลาว สายเจ้าอนุวงศ์ ? ขบถญาณประเชียรน่าจะเป็นตัวอย่างวูบอารมณ์ของมูลนายหรือ elites เมื่อถูกแย่งของรัก...ของหวงมากกว่า ! 

การพิสูจน์ที่มาของคำว่า “บรเทศ” 
เทียบกับภาษาอังกฤษ Portuguese ไม่พบความเชื่อมโยงมากเท่ากับคำว่า Português- Portuguesa ในภาษาโปรตุเกส ฟังผ่าน ลิ้นคนกลาง(แขก...?) เข้าหูมูลนายสยาม จาก Português- Portuguesa กลายเป็น Port(ugu)esa = Portesa อ่านว่า บะระเด๊ช ปะระเด๊ชะ ปะระเต๊ชะ ในที่สุดก็เป็น บรเทศ วาทกรรมของคำว่า “บรเทศ” พระไอยการตำแหน่งนาทหารในกฎหมายตราสามดวง ปรากฏร่องรอยของคำว่า “ชาวบรเทศ -ชาวประเทศ –แขกประเทศ - แขกเทศ” ทำนองเพลงต้นบรเทศ ต้นวรเชษฐ์ (ใส่เนื่อเพลงกินอะไรถึงสวย ....บอกนิดเถิดนะคนดี บอกพี่สักคำ งามขำทีบ้านของเจ้า กินข้าวกับอะไร) สถานะทางประวัติศาสตร์ของบ้านโปรตุเกส จดหมายเหตุของ M. de La Loubère) “ค่ายโปรตุเกส-Camp of Portuguese” ตรงกับภาษามาเลย์ว่า “Campong” ดร.ธีรวัติ ณ ป้อมเพชรใช้ “Campo” แปลว่า “บ้าน”หรือ“หมู่บ้าน” แปลว่า “Camp-ค่าย” แผนที่สยาม หรือ ยุทิยา (Siam ou Iudia) ของกูร์โตแลง (Courtaulin, 1686) เรียกว่า “อำเภอโปรตุเกส-Quartier des Portuguais” หลักฐานไทยที่ระบุถึงนายอำเภอจีน มีฐานะเป็นหัวหน้าชุมชน ฯลฯ การเรียกบ้านโปรตุเกสว่า อำเภอโปรตุเกส ทำให้เชื่อว่า หัวหน้าชุมชนโปรตุเกส มีฐานะเป็นนายอำเภอโปรตุเกสเช่นเดียวกับนายอำเภอจีนและนายอำเภออังกฤษ หลักฐานโปรตุเกส บันทึกของราชทูตPero Vaz de Siqeira (1684-1686) ชุมชนโปรตุเกสที่อยุธยาว่า “The Bandel” จารึกคำประกาศเกียรติคุณของชาวโปรตุเกสที่ร่วมศึกพระยาตากขับไล่พม่าออกจากสยามพ.ศ.2310 (Teixeira, P. Manuel, Portugal na Tailândia) เรียกชุมชนโปรตุเกสที่บางกอกว่า“Bandel หรือ Bamdel dos Portuguezes” แปลว่า “บ้านของพวกโปรตุเกส” ข้อเสนอเกี่ยวกับที่ตั้งของโบสถ์นักบุญเปาโล คณะเยซูอิต หลักฐานของหมอแกมป์เฟอร์ ระบุถึง โบสถ์ 3 หลัง ในชุมชนโปรตุเกส โบสถ์เซนต์โดมิงโก เป็นคณะบาทหลวงชาวโดมินิกัน ด้านหลังมีโบสถ์เล็กๆ ชื่อ เซนต์ออสติน เป็นของบาทหลวง ๒ ท่าน โบสถ์เยซูอิต ชื่อ เซนต์พอล เลียนแบบมาจากโบสถ์ใหญ่ในเมืองกัว (ภาพโบสถ์เซนต์ปอลที่กัว) แผนผังโดย ดร. เจากิง ดึ กัมปุช ใกล้เคียงข้อเสนอของ Patrick Dumont ภาษาโปรตุเกส ภาษาลิงกัว ฟรังกา 

Lingua Franca – คือ อะไร ภาษาลูกผสมที่มีคำส่วนใหญ่เป็นภาษาอิตาเลียนประมาณ 80 % ส่วนที่เหลือยืมมาจากภาษาเตอรกี ฝรั่งเศส กรีก อาระบิก โปรตุเกสและสเปน ใช้ทั่วไปทางชายฝั่งด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ถือ เป็นภาษาทางการค้าและการทูตตลอดสมัยเรอแนสซองส์ ซึ่งชาวอิตาเลียนมีอิทธิพลเหนือเส้นทางการค้าขายทางทะเลของเมืองท่าต่างๆในจักรวรรติออตโตมัน Franca หมายถึง ชาวแฟรงค์(Frankish) lingua franca มาจากภาษาอาระบิกและภาษากรีกตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามครูเสดและระหว่างยุคกลาง ชาวตะวันตกทั้งหมดถูกเรียกว่า พวก "Franks" หรือ Faranji” ในภาษาอาระบิก และPhrankoi ในภาษากรีก ตั้งแต่ปลายสมัยจักรวรรดิโรมันตะวันออก คำว่า lingua franca ถูกบันทึกเป็นครั้งแรกเมื่อค.ศ. 1678. Lingua Franca รากศัพท์แท้ๆ แปลว่า ภาษาฝรั่ง! Anthony Reid (in Michael Smithies, Portuguese as a Language of Communication in SEA. “In SEA the most valuable of lingua franca was Malay” บางแห่งชี้ว่า ภาษาจีนเป็นภาษา lingua franca (ภาษาฝรั่ง)ในเอเชียตะวันออก อย่างไรก็ดี ถ้าจะระบุว่า ภาษาจีน มาเลย์ เป็นภาษาทางธุรกิจ หรือ ภาษาในการต่อรอง ก็ควรใช้คำว่า Lingua negocio หรือ Lingua(gem) da negociação” เหมาะกว่า ภาษาและวัฒนธรรมอิตาเลียน สเปน โปรตุเกส เป็น ภาษาและวัฒนธรรมโรมัน จดหมายภาษาโปรตุเกสของคอนสแตนติน ฟอลคอน กราบทูลสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 1 พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่1 ตอบจดหมายของฟอลคอนเป็นภาษาอิตาเลียน ฝอยทอง(Fios de Ovus) ของโปรตุเกส คล้ายกับฝอยไข่ (ฝอยทอง- Huevo hilado).ของสเปน และทั้ง 3 ชาติก็นับถือศาสนาเดียวกันด้วย 

ในราชสำนักสยามภาษาโปรตุเกสถูกใช้อย่างมีแบบแผน 
1 มีนาคม พ.ศ.2240 เมื่อทราบว่า บาทหลวงตาชารด์จะเดินทางมาถึง ทางการสยามมีท่าทีไม่เต็มใจต้อนรับ ออกญาพระคลังถามหลวงวรวาที (แวงซัง แปงเฮโร) ว่า จะให้บาทหลวงตาชารด์พักที่ห้างฝรั่งเศสเก่าหรือไม่ บาทหลวง เดอ ลาเบรย์ ส่งจดหมายขอให้จัดที่พักในเมือง อย่าให้อยู่ในเขตมิชชันนารีฝรั่งเศสพัก หรือ ในค่ายโปรตุเกส และขอให้พักที่บ้านเก่าของคอนสแตนติน ฟอลคอน (ประชุมพงศาวดาร เล่ม21, หน้า154-155.) ออกญาพิพัฒน์สั่ง ฟรังซัว แปงเฮโรบุตรหลวงวรวาที ให้แปลจดหมายของเจ้าพระยาพระคลังถึงตาชารด์เป็นภาษาโปรตุเกส มีล่ามฮอลันดาชื่อมาทิว(Matheos /มะเตวส์-โปรตุเกส, มะเตโอส-ดัทช์, มะทิว/ ฝรั่งเศส) และล่ามโปรตุเกส ชื่อ โอกุสแตง โรซาดา คอยแก้ไขและตรวจสอบเนื้อหา (ประชุมพงศาวดาร เล่ม21, หน้า156-157.) 

การแปลชื่อโปรตุเกสเป็นไทยในพระราชสาส์นพระบาทสมเด็จพระเอกทศรถถึงพระยาวิชเรห 
พระราชสาส์นนี้ไม่ระบุวัน เดือนและศักราช ศ.ดร.ขจร สุขพานิช ระบุเป็นของสมเด็จพระเอกาทศรถ อ.ภูธร ภูมะธน ระบุว่าเป็นของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง António Bocarro ใน Década xiii, da História da índia, pt.i , 1876. อ้างใน Teixeira, Portugal na Tailandia ระบุว่า Dom Jerónimo d’Azevedo มอบหมายให้บาทหลวงอะนูนซิยาเซา “ซึ่งคุ้นเคยกับพื้นที่ดี” เดินทางร่วมมากับทูตโปรตุเกสถึงสยาม 3 มีนาคม 2158 พระราชหัตถเลขากษัตริย์โปรตุเกสลง วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2161 กล่าวถึงคณะทูตสยามที่เดินทางไปกัว พ.ศ.2160 จึงสันนิษฐานว่าพระราชสาส์นเขียนขึ้นประมาณ พ.ศ.2159 สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม 

ใครเป็นใครในพระราชสาส์นข้างต้น 
ทอง ฝีหลีบ (Dom Filip) พระยาวิชเรห (Vico Rei = Dom Jerónimo d’Azevedo ) บาตรีผเรผรันสีสกุอนุสียาสัง ( Padre Vrei Francisco Anunçiação) กะปิตันมล เวร รีเบน Capitão – mor Christovam Rebelo) Capitão – mor เป็นใคร แชร์แวส ระบุว่า พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงแต่งตั้งหัวหน้าราษฎรแต่ละสังกัดชาติให้ปกครองกันเองตามประเพณีนิยม ลาลูแบร์ ชี้ว่า ประชาคมแต่ละชุมชนเป็นผู้เลือกหัวหน้า หรือ นายของตนขึ้นมาปกครองกันเองภายใต้การควบคุมของทางการสยามผ่านออกญาพระคลัง 2 แนวทางนี้ขัดแย้งกัน หลักฐานร่วมสมัยชิ้นหนึ่ง เมื่อทูตโปรตุเกสจากมาเก๊า ชื่อ Pero Vaz de Sequeira มาถึงก็ได้อ้างบัญชาผู้สำเร็จราชการแห่งกัวให้ Francisco Barretto de Pinna (Capitão – mor ) เข้าพบทันที ! กระบวนการแปลพระราชสาส์น เมื่อบาทหลวงตาชารด์ถวายพระราชสาส์นแล้ว เย็นนั้นเจ้าพนักงานได้มาตามคณะบาทหลวงและล่ามฝรั่งเศสไปยังพระราชวัง เพื่อแปลพระราชสาส์นเป็นภาษาไทย ม.โบร์ด ไปพร้อมกับ ม. ยาโรเซีย และ ม.ฟรังซัว แปงเฮโร บุตรหลวงวรวาทีล่ามฝรั่งเศส ในหอแปลราชสาส์น มีขุนนางสูงวัยหลายคน นั่งบนพรมเปอร์เซียตามลำดับยศ เจ้าพนักงานนำโต๊ะเล็กคลุมด้วยแผ่นเงินมาตั้งแล้วบอกให้คณะบาทหลวงนั่งลงข้างๆ จากนั้นจึงเชิญพระราชสาสน์มาวางบนโต๊ะ มีกลองและมโหรีนำมาด้วย คณะบาทหลวงฝรั่งเศสแปลเสร็จ เจ้าพนักงานนำข้อความย่อที่ตาชารด์ให้ไว้มาตรวจทานจนถ้อยความตรงกัน จึงแสดงความยินดีและเชิญพระราชสาส์น กลับไป มีกลองและมโหรีประโคมเช่นกัน (ประชุมพงศาวดาร เล่ม21, หน้า 241-242.) ขุนวรวาที (แวงซัง แปงเฮโร) หรือ Vincent Pinheiro(วินเซนตึ ปิไญรู - ต้นสน) ล่ามฝรั่งเศส(เป็นชาวโปรตุเกส) นา ๓๐๐ ฟรังซัว แปงเฮโร - François Pinheiro (บุตรชาย) ล่าม(ฝรั่งเศส) สมัยพระเพทราชา ลูกหลานของขุน(หลวง)วรวาที มีชื่ออยู่ในประกาศพระราชทานที่ดินสร้างโบสถ์ซางตาครูซ ค.ศ.1768ด้วย (รายชื่อชาวP.ใน Sião ค.ศ.1768 Estévão Pinheiro S.a Mulher e filhos 6) ขุนรักษาสมุทร ล่ามแปลนายสำเภาปากน้ำ นา ๔๐๐ ก็เป็นชาวโปรตุเกส ขุนรักษาสมุทร เป็นผู้อธิบายคำตัดสินโทษ Burot ขโมยกล่องศีลในค่ายP. ของพระคลังเป็นภาษาP (ซิไกรา น.215)ให้ตัดแขนBurot แล้วเฆี่ยนจนตาย แต่กะปิเตา มอร์ Francisco Barretto de Pinna ลงโทษโดยการตัดแค่ 2 นิ้ว เท่านั้น ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์โดยการจัดการของฟอลคอนได้มีคำสั่งให้ เจ้าหน้าที่ยึดตราตั้งคืนจาก Francisco Barretto de Pinna และสั่งจำคุก เมื่อทูตซิไกรามาถึงสยามก็ได้เจรจาและขอนำตัว Francisco Barretto de Pinna ไปลงโทษเอง กะปิเตาร์ มูร์ Francisco Barretto de Pinna รับราชการในราขสำนักสยามมานานกว่า 30 ปี ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง เขาถูกกล่าวหาว่าพัวพันเรื่องทุจริตหลายเรื่อง เช่น การ “อม” หมาก 50 picos ซึ่งพ่อค้จากมาเก๊านำมาฝากไว้ 

ขุนนางสยามกับภาษาโปรตุเกส เดอ ชัวซีย์ อ้างตาชารด์ว่า เสนาบดีไทยพูดภาษาโปรตุเกสเป็นทุกคน ( ประชุมพงศาวดาร เล่ม24, 17-18) ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เสนอว่า บันทึกของ เดอ ชัวซีย์ไม่ค่อยน่าเชื่อถือ เพราะเป็นรายงานของบุคคลที่รู้จักกรุงศรีอยุธยาไม่ดีนัก ( การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์, หน้า34) หลักฐานของบาทหลวงตาชารด์ “ ในบรรดาเสนาบดีสยาม มีอยู่ท่านหนึ่งที่พูดภาษาโปรตุเกสได้ดี และมีสติปัญญาไหวพริบว่องไว คงจะเป็นเสนาบดีคนนี้เอง ที่นาย เดอ ลาลูแบร์ กล่าวถึง เขาเรียกเสนาบดีท่านนั้นเข้ามาดื่มกาแฟในห้องนอนของเขาแล้วนั่งคุยอยู่ตลอดวันทั้งวัน เป็นเวลาหลายวัน เขาต้องการให้เสนาบดีท่านนั้นตอบคำถามนับเป็นพันๆข้อของเขา เกี่ยวกับพระเจ้ากรุงสยาม เกี่ยวกับพระราชสำนัก และเรื่องราชการภายในพระราชอาณาจักรนี้…”(หน้า135) บันทึกของลาลูแบร์ “ ธรรมเนียมในซีกโลกตะวันออก ถือกันว่าการลงโทษนั้นคือเครื่องแสดงความรักใคร่ใยดี พวกเราได้เห็นขุนนางผู้หนึ่งถูกคุมขังไว้เพื่อที่จะนำตัวไปลงโทษ โดยชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งรับจะไปขอให้ผู้บังคับบัญชาของเขายกโทษให้ ขุนนางผู้นั้นกลับตอบเป็นภาษาโปรตุเกสว่า... ผมอยากจะทราบว่า ท่านจะกรุณาผมถึงเพียงไหน..” (ลาลูแบร์, น.470.) สำนวนดังกล่าวคล้ายกับการลงท้ายจดหมายอย่างนอบน้อมถ่อมตัวของบาทหลวงอันตอนิอู ดึ ฟองเซกา(António de Fonseca) ถึงอุปราชแห่งอินเดีย เมื่อ 2 ธค.1684 (Siqueira, p. 117) ว่า “If I deserve to be punished, I hope for your Excellency’s benevolence and that you may deal with me as appropriate.” 

“Basta! Basta! Basta! (พอแล้วๆๆ)” คำร้องห้ามภาษาโปรตุเกส...แบบปลื้มๆ...ของเดอ ชัวซีย์ 
 “เครื่องราชบรรณาการถูกลำเลียงเข้ามาเรื่อยๆ โดยคำสั่งของคอนสแตนติน ฟอลคอน ซึ่งสั่งให้นำออกมาจากท้องพระคลังตามอำเภอใจ” ทำให้เดอ ชัวซีย์ละอายใจ จนต้องร้องเป็นภาษาโปรตุเกสมากกว่า 4 ครั้ง ทั้งๆ ที่เรียนภาษาไทยมาแล้ว เห็นได้ชัดเจนว่า แม้แต่พนักงานลำเลียงเครื่องราชบรรณาการก็ยัง“เดิ้น-Modernize”เลย ! 

ความรู้จากการสนทนาและความอดทนทำให้ลาลูแบร์สามารถเก็บเกี่ยวและไต่สวนเรื่องราวของสยามมาถ่ายทอดให้คนชั้นหลังทราบอย่างมากมาย ไม่ควรมองข้ามเมื่อขุนนางสยามคนหนึ่งตั้งปณิธานเป็นภาษาโปรตุเกส ทั้งๆที่กำลังจะถูกนายลงโทษอยู่แล้ว ! 

สับปะรดในภาษาโปรตุเกส Ananás เป็นคำเรียก สับปะรดในภาษาโปรตุเกส สเปน อิตาลี ในภาคใต้เรียกสับปะรดว่า ญานัด ภาคอีสานเรียกว่า บักนัด ขณะที่ภาคเหนือห่างขึ้นไปก็ยังเรียกว่า บะขะหนัด
หลักฐานของชาวตะวันตกกลับบันทึกภาษาไทยแบบBroken Thai เป็นส่วนใหญ่ หนังสือรวมบันทึกประวัติศาสตร์ของฟานฟลีต (วันวลิต) -ตำแหน่ง “เจ้าพนักงาน” เขียนเป็น “Jaew penninghans” จึงถูกแปลเป็น “อยู่เป็นนิ่งอัน”(น.232) ภาพลักษณ์ของชาวค่ายโปรตุเกสในสายตาของชาติคู่แข่ง นิโคลาส แชแวส ระบุ ภาพลักษณ์ของชาวโปรตุเกสที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองพระนครศรีอยุธยาจำนวน 700-800 ครอบครัวว่า ส่วนมากยากจน ยอมตายดีกว่าจะประกอบอาชีพหรือทำมาหากินเลี้ยงตัวเอง พ่อค้าฝรั่งเศสบางคนระบุว่า ชาวโปรตุเกสล้วนมีนิสัยเกียจคร้าน เย่อหยิ่ง และชอบอ้างว่าทุนรอนไม่มี จึงเอาแต่นอนขึงอยู่บนเสื่อ ผู้เขียนกลับมองว่า ชุมชนโปรตุเกสเป็นชุมชนของคนทันสมัยที่สุดในสยาม.... คล้ายยุคห้างหันแตร(Hunter)ที่กุฏีจีน ในเมืองบางกอก! 

 หลักฐานระหว่างบรรทัดสะท้อนอาชีพหลากหลายในค่ายโปรตุเกส นอกจากอาชีพทหารรักษาพระองค์ ทหารฝรั่งแม่นปืน ช่างเพชรทอง คนนำร่อง พ่อค้าสำเภา นักร้อง-นักดนตรี(ซึ่งหลักฐานฝรั่งเสสเรียกว่า นักเลงในค่ายโปรตุเกส) จิตรกร มิชชันนารี แพทย์. ช่างหล่อปืนใหญ่ สถาปนิก-วิศวกรเสมียน บริษัท อินเดียตะวันออกของอังกฤษ ล่ามอังกฤษ ล่ามฝรั่งเศส ล่ามฮอลันดา ล่ามนายสำเภา และนายประกันแล้ว ยังมีช่างทาสีและพนักงานจัดเลี้ยงแบบตะวันตกแก่คณะราชทูต ช่างทาสี คนหนึ่งเป็นญาติของดอนญา มารี ดึ ปินา หรือ ท้าวทองกีบม้า ภรรยาของ ออกญาวิไชเยนทร์(คอนสแตนติน ฟอลคอน) พนักงานจัดเลี้ยงแบบตะวันตก Jozeph Cardozo (Seqeira, p.279) มีผู้ช่วยชื่อ Antonio Lobato(Seqeira, p.233) หลังกรุงแตกลูกหลานของ Jozeph Cardozo คือ Fr.co(Francisco) Cardoso.. หนีไปเมืองพุทไธมาส หรือคังเคา(  Cam Cão, Can Camในจารึกโบสถ์ซางตาครูซ) หรือ ขึ้งโข่ว ในภาษาจีน ) แล้วกลับมาอยู่บางกอกอีกครั้งค.ศ.1768 

โปรตุเกสหยิ่งจริงหรือเปล่า? 
ราชทูตเปรู วาซ ดึ ซิไกรา แต่งตัวหรูหรา เปลี่ยนรองเท้าใหม่ก่อนจะเข้าเฝ้า เจรจาขอสวมหมวก คาดดาบ ใส่รองเท้าและไม่ยอมหมอบกราบถวายบังคมตอนเข้าเฝ้า ท่านทูตจะไม่ทำตามทูตชาติอื่น จะทำตามเกียรติยศของโปรตุเกสเท่านั้น(น.199) พระคลังไม่อยากทำลายไมตรีและไม่ต้องการทำลายจารีตเช่นกัน(น.238) จึงต่อรองให้ทูตพกดาบได้ แต่ถอดรองเท้า คำนับต่ำๆ (น.241) 

 ในระหว่างการพิจารณาข้อเสนอของทูตซิไกรานั้น สมเด็จพระนารายณ์ ทรงมีพระราชปรารภ(ดูในซิไกร่า)ว่า “กฎหมายอาจทำให้ไมตรีถูกทำลายมากกว่าสร้างไมตรี” 

 นายทหารติดตามคณะราชทูตคนหนึ่ง แม้จะรู้ว่ากำลังเดินตัดผ่านขบวนเสด็จฯโดยบังเอิญ กระชั้น แต่ไม่ยอมวิ่งหลบออกนอกเส้นทาง เกรงจะไม่สง่างาม เรียกว่าหยิ่งได้หรือไม่... ผลลัพธ์ คือ ถูกฟอลคอนสั่งจับ และขอให้ทูตซิไกราลงโทษ 

คารมของฟอลคอนเกลี้ยกล่อมทูตซิไกราให้ยอมรับจารีตการเข้าเฝ้าแบบสยาม(ซิไกรา, น.200) 

ทูตซิไกรายืนกรานว่า ถ้าตนยอมปฏิบัติตามธรรมเนียมการเข้าเฝ้าของสยามแล้ว จะเป็นการเสื่อมเสียเกียรติยศในสายตาของVR แห่งอินเดียและLord Prince เนื่องจากตนได้รับคำสั่งจากVRซึ่งต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด ฟอลคอน กล่าวว่า คณะทูตทำเหมือนไม่สนใจสัตยาบันที่มีต่อสัมพันธไมตรีอันยาวนาน นอกจากนี้ยังเรียกร้องแบบแผนและนโยบายใหม่ๆ เหมือนอยากเข้าบ้านผู้อื่นแล้วกลับทำให้กฎเกณฑ์ที่เขาปฏิบัติมานานเสียหาย ขณะที่ผู้อื่นอยากเข้ามาด้วยความเคารพและคำนึงถึงไมตรี ไม่มีกษัตริย์องค์ใดในโลกจะคิดว่ากฎหมายของตนไม่ยุติธรรม เมื่อมิตรคนใดคิดจะละเมิด ผู้นั้นก็ไม่ใช่มิตรอีกต่อไป เป็นได้เพียงคนทำลายสันติภาพเท่านั้น 

ร่องรอยกฎหมายศักดินาของโปรตุเกสในบันทึกของราชทูตเปรู วาซ ดึ ซึไกรา p.290 “Some of his vassals live in Siam and serve the King, should not be subjected to (the control of) other nation.” พวกเขาถูกปกครองโดยอุปราชแห่งอินเดีย ในระดับจิตวิญญาณ พวกเขาก็ถูกปกครองโดย The Premate Archbishop of India แห่งกัว สังฆราชและมิชชันนารีฝรั่งเศสมิพึง dare to interfere with the governance of those vassals! ฝรั่งเศสหยิ่งบ้างไหม....? ราชทูตโกษาปานไปฝรั่งเศสก็รู้สึกลึกๆ ว่า ชาวฝรั่งเศสมาดูตนเหมือน...ดูเสือ ดูหมี! หลักฐานข้อความย่อจากจดหมาย ม.เวเร่ต์ (12และ23ธันวาคม 1685) ปชพ. ล.24 น.255 พอเห็นพระเจ้าแผ่นดินแต่ไกลก็ต้องหมอบลงทันทีแล้วคลานสี่เท้า จึงเอามือประสานขึ้นเหนือศีรษะ ถ้าจะพูดกับพระเจ้าแผ่นดินก็ต้องพนมมือ ต้องเอาศอกและหน้าซบลงติดกับดิน การประพฤติเช่นนี้ผิดด้วยทางศาสนา และเป็นการเสียเกียรติยศต่อชาติฝรั่งเศส พวกชาวบ้านนอกอย่างเลวในประเทศฝรั่งเศส ก็ยังมีบ้านอยู่ดีกว่าเจ้านายใหญ่โตในประเทศสยาม ทั้งหยิ่ง ทั้งเหยียดหยามชาวพื้นเมือง! 

ชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งซึ่งไม่พิถีพิถันตอนเข้าเมืองอยุธยา...................แต่หยิ่งมาก! 
เขามาบ่อยมาก.....มาสยามบ๊อยบ่อย(3ครั้ง) 
ครั้งสุดท้ายเรือแตก อาศัยเรือพ่อค้าเข้ามา เสื้อก็เก่า รองเท้าก็เหม็น......!? มีผู้ติดตามเพียง 2-3 คน 

ยืนกรานให้สยามจัดการต้อนรับเทียบเท่าเดอ โชมองต์ 
มีการแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว เด็ดเดี่ยว โผงผาง 
เขา คือ บาทหลวง Guy Tachard 

ชีวิตชีวาของชุมชนโปรตุเกสจากโบราณวัตถุบางชิ้น ชิ้นส่วนขวดแก้วที่บ้านโปรตุเกส ดื่มเฉลิมฉลองทั้งค่าย หรือ เป็นเพียงไวน์ในพิธีมิสซา? งานเลี้ยงพระราชทานราชทูตPero Vaz de Siqeirra ค.ศ.1684 สมัยสมเด็จพระนารายณ์ (ผู้ติดตาม 90 คน) พระราชทานเลี้ยงไวน์ 70 ขวด อาหารไม่อั้น เพลงบรรเลง rhythmic Musketry salute งานเฉลิมฉลองวันนักขัตฤกษ์ในค่าย + โบสถ์ รวมถึงการดื่มอวยพรในงานสำคัญๆ คงมีบรรยากาศไม่ต่างกันเท่าใดนัก 

หลักฐานการเสพฝิ่นที่บ้านโปรตุเกส การห้ามเสพฝิ่นสมัยอยุธยาปรากฏในกฎหมายตราสามดวง ภาพกล้องสูบยาแดง(ฝิ่นผสมยาเส้น) กระเบื้องดินเผาแบบกาบกล้วยอิทธิพลของโปรตุเกส? La Loubere’s “A new Historical Relation of the Kingdom of Siam”, 1986, p. 31) “The King of China’s Palace is still of wood; and this persuades me that brick buildings are very modern at Siam, and that the Europeans have there introduced the practice and use thereof.” So also de La Loubère speculated that the use of bricks (and tiles) was a practice brought from the western world. ดร. ยงธนิศร์ พิมลเสถียรเสริมว่า ในอเมริกาใต้ เรียกกระเบื้องมุงหลังคาแบบนี้ว่า “กระเบื้องแบบมิชชันนารี” 

การพิสูจน์อักษร: พิมพ์ผิด ... อ้างผิด! หลักฐานรายงานการปฏิบัติงานของศาลกระทรวงทหารเรือ ที่เมืองฮูกห์ลี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน และ 12 ธันวาคม พ.ศ.2230 พิจารณาคดีตัดสินคดี เรือดูเรีย ดอลลัท (Doorea Dallat) ของพระเจ้ากรุงสยาม ซึ่งถูกยึดโดยกัปตันจอห์น คอนเซทท์ แห่งเรือเบิร์คลีย์ คาสเซิล (Berkley Castle) เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2230 ขณะทอดสมออยู่ในเส้นทางไปเมืองอะชิน ไกรฤกษ์ นานา ให้เกียรติอ้างเอกสารประกอบการสัมมนา “อาชีพของชาวโปรตุเกสในสยาม(ค.ศ.๑๔๑๑– ๑๗๖๗)” ความสัมพันธ์ ไทย ยุโรป จากอดีตสู่ปัจจุบัน เยอรมนี โปรตุเกส รัสเซีย, พรสรรค์ วัฒนางกูร (บรรณาธิการ) กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2546 เป็น เรือดูก้า ดัลลา( Doorca Dalla) 

 บทส่งท้าย กระตุ้นยอดขายของกัลยาณมิตร หนังสือชุด 500 ปี ความสัมพันธ์ สยาม- โปรตุเกส ของ ยุวดี วัชรางกูร ปกแข็ง หน้า 218 ย่อหน้าที่ 1 ข้อความที่ตีพิมพ์ว่า “ท่าน ดงกิม ดึ คัมโปส” คลาดเคลื่อนไป ที่ถูก คือ “ดร. เจากิง ดึ กัมปุช” ย่อหน้าที่2 หน้าเดียวกันต้องการระบุว่า เพลงต้นวรเชษฐ์ หรือ ต้นบรเทศ นั้น มีทำนองคล้ายเนื้อเพลง “กินอะไรถึงสวย” ของพุ่มพวง ดวงจันทร์