โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
ภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์
เมื่อวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2555 ผู้เขียนได้รับเชิญจากโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพื่อเข้าร่วมเป็นวิทยากรหัวข้อ “บ้าน โปรตุเกส บ้านญี่ปุ่น บ้านฮอลันดา” วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2555 ในงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง “500 ปี ความสัมพันธ์สยามประเทศกับโปรตุเกสและชาติตะวันตกในอุษาคเนย์ 2054-2554(24-25มกราคม 2555)” จัดโดยโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย จำกัด มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยาและหน่วยงานต่างๆ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา วิทยากรร่วม คือ ผศ. ดร.พลับพลึง คงชนะและภัทรพงษ์ เก่าเงิน(สำนักศิลปากรที่ 2 ) โดยมี รศ. ดร. ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ผู้ดำเนินรายการ และนำอภิปราย
แม้เนื้อหาและเทคนิคการอ้างอิงค่อนข้างห้วน แต่เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อคิดเห็นทางประวัติศาสตร์และข้อมูลการค้นพบใหม่ตามหัวข้อดังกล่าว จึงขอนำมาเผยแพร่ในที่นี้อีกครั้งครับ
การเดินทางของคำเรียกชื่อชนชาติโปรตุเกสในเอกสารไทย
ชื่อชนชาติโปรตุเกสในเอกสารฝ่ายไทย (ปตุกรร ปัตุกัน ปัศตุกัล บางยุคลากเข้าหาภาษาไทย.............พุทเกต ปอตุกัล ปอร์ตุเกศ โปรตุเกส
ปัจจุบันนักวิชาการฝรั่งเรียกคนเชื้อสายโปรตุเกสในไทยว่า Protuget-ชาวโปรตุเกต ราวกับต้องการจะจำแนกออกจากความเป็นPortuguese ? ทั้งๆ ที่ความเป็นโปรตุเกส(Portuguese) เป็นความภาคภูมิใจของพวกเขาที่มีต่อบรรพบุรุษของตน
บรเทศเป็นใคร?
พศด.กรุงสยาม ฉ.บริติชมิวเซียม : “จึ่งชาวประเทศชื่ออมราวดี แฝงต้นโพธิ์ยังปืนนกสับ ไปต้องญาณพิเชียนซบลงกับคอช้าง”
พศด. ฉ. หลวงประเสริฐ :
“ศักราช 943 มะเส็งศก ญาณประเชียร เรียนศาสตราคมและคิดเป็นขบถ คนทั้งปวงสมัครเข้าด้วยกันมาก และยกมาจากเมืองลพบุรี และยืนช้างอยู่ตำบลหัวตรี และบรเทศคนหนึ่ง อยู่ในเมืองนั้นยิงปืนออกไป ต้องญาณประเชียรตายกับคอช้าง...”
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ในบทความชื่อ กบฏไพร่สมัยอยุธยา กับแนวคิดผู้มีบุญ- พระศรีอาริย์- พระมาลัย. ว.ธรรมศาสตร์ ฉ.1 (2522)ระบุว่า “ชาวบรเทศ ชาวประเทศ น่าจะ หมายถึง ชาวโปรตุเกส”
เห็นด้วยกับ ประเด็น บรเทศ น่าจะหมายถึง โปรตุเกส แต่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอว่า ญาณประเชียรเป็น..ไพร่...เพราะพฤติกรรมขี่ช้าง เรียนศาสตราคม ระดมพล มิใช่วิสัยข้าไพร่
ขบถในพม่าเวลาใกล้เคียง 100% เป็นเชื้อพระวงศ์ ! ผีบุญในอีสานก็เป็นผู้ดีจากลาว สายเจ้าอนุวงศ์ ? ขบถญาณประเชียรน่าจะเป็นตัวอย่างวูบอารมณ์ของมูลนายหรือ elites เมื่อถูกแย่งของรัก...ของหวงมากกว่า !
การพิสูจน์ที่มาของคำว่า “บรเทศ”
เทียบกับภาษาอังกฤษ Portuguese ไม่พบความเชื่อมโยงมากเท่ากับคำว่า Português- Portuguesa ในภาษาโปรตุเกส
ฟังผ่าน ลิ้นคนกลาง(แขก...?) เข้าหูมูลนายสยาม จาก Português- Portuguesa กลายเป็น Port(ugu)esa = Portesa อ่านว่า บะระเด๊ช ปะระเด๊ชะ ปะระเต๊ชะ ในที่สุดก็เป็น บรเทศ
วาทกรรมของคำว่า “บรเทศ”
พระไอยการตำแหน่งนาทหารในกฎหมายตราสามดวง ปรากฏร่องรอยของคำว่า “ชาวบรเทศ -ชาวประเทศ –แขกประเทศ - แขกเทศ”
ทำนองเพลงต้นบรเทศ ต้นวรเชษฐ์ (ใส่เนื่อเพลงกินอะไรถึงสวย ....บอกนิดเถิดนะคนดี บอกพี่สักคำ งามขำทีบ้านของเจ้า กินข้าวกับอะไร)
สถานะทางประวัติศาสตร์ของบ้านโปรตุเกส
จดหมายเหตุของ M. de La Loubère) “ค่ายโปรตุเกส-Camp of Portuguese” ตรงกับภาษามาเลย์ว่า “Campong”
ดร.ธีรวัติ ณ ป้อมเพชรใช้ “Campo” แปลว่า “บ้าน”หรือ“หมู่บ้าน” แปลว่า “Camp-ค่าย”
แผนที่สยาม หรือ ยุทิยา (Siam ou Iudia) ของกูร์โตแลง (Courtaulin, 1686) เรียกว่า “อำเภอโปรตุเกส-Quartier des Portuguais”
หลักฐานไทยที่ระบุถึงนายอำเภอจีน มีฐานะเป็นหัวหน้าชุมชน ฯลฯ
การเรียกบ้านโปรตุเกสว่า อำเภอโปรตุเกส ทำให้เชื่อว่า หัวหน้าชุมชนโปรตุเกส มีฐานะเป็นนายอำเภอโปรตุเกสเช่นเดียวกับนายอำเภอจีนและนายอำเภออังกฤษ
หลักฐานโปรตุเกส
บันทึกของราชทูตPero Vaz de Siqeira (1684-1686) ชุมชนโปรตุเกสที่อยุธยาว่า “The Bandel”
จารึกคำประกาศเกียรติคุณของชาวโปรตุเกสที่ร่วมศึกพระยาตากขับไล่พม่าออกจากสยามพ.ศ.2310 (Teixeira, P. Manuel, Portugal na Tailândia) เรียกชุมชนโปรตุเกสที่บางกอกว่า“Bandel หรือ Bamdel dos Portuguezes” แปลว่า “บ้านของพวกโปรตุเกส”
ข้อเสนอเกี่ยวกับที่ตั้งของโบสถ์นักบุญเปาโล คณะเยซูอิต
หลักฐานของหมอแกมป์เฟอร์ ระบุถึง โบสถ์ 3 หลัง ในชุมชนโปรตุเกส
โบสถ์เซนต์โดมิงโก เป็นคณะบาทหลวงชาวโดมินิกัน ด้านหลังมีโบสถ์เล็กๆ ชื่อ เซนต์ออสติน เป็นของบาทหลวง ๒ ท่าน โบสถ์เยซูอิต ชื่อ เซนต์พอล เลียนแบบมาจากโบสถ์ใหญ่ในเมืองกัว (ภาพโบสถ์เซนต์ปอลที่กัว)
แผนผังโดย ดร. เจากิง ดึ กัมปุช ใกล้เคียงข้อเสนอของ Patrick Dumont
ภาษาโปรตุเกส ภาษาลิงกัว ฟรังกา
Lingua Franca – คือ อะไร
ภาษาลูกผสมที่มีคำส่วนใหญ่เป็นภาษาอิตาเลียนประมาณ 80 % ส่วนที่เหลือยืมมาจากภาษาเตอรกี
ฝรั่งเศส กรีก อาระบิก โปรตุเกสและสเปน ใช้ทั่วไปทางชายฝั่งด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ถือ
เป็นภาษาทางการค้าและการทูตตลอดสมัยเรอแนสซองส์ ซึ่งชาวอิตาเลียนมีอิทธิพลเหนือเส้นทางการค้าขายทางทะเลของเมืองท่าต่างๆในจักรวรรติออตโตมัน Franca หมายถึง ชาวแฟรงค์(Frankish)
lingua franca มาจากภาษาอาระบิกและภาษากรีกตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามครูเสดและระหว่างยุคกลาง
ชาวตะวันตกทั้งหมดถูกเรียกว่า พวก "Franks" หรือ Faranji” ในภาษาอาระบิก และPhrankoi ในภาษากรีก ตั้งแต่ปลายสมัยจักรวรรดิโรมันตะวันออก คำว่า lingua franca ถูกบันทึกเป็นครั้งแรกเมื่อค.ศ. 1678. Lingua Franca รากศัพท์แท้ๆ แปลว่า ภาษาฝรั่ง!
Anthony Reid (in Michael Smithies, Portuguese as a Language of Communication in SEA.
“In SEA the most valuable of lingua franca was Malay”
บางแห่งชี้ว่า ภาษาจีนเป็นภาษา lingua franca (ภาษาฝรั่ง)ในเอเชียตะวันออก
อย่างไรก็ดี ถ้าจะระบุว่า ภาษาจีน มาเลย์ เป็นภาษาทางธุรกิจ หรือ ภาษาในการต่อรอง ก็ควรใช้คำว่า Lingua negocio หรือ Lingua(gem) da negociação” เหมาะกว่า
ภาษาและวัฒนธรรมอิตาเลียน สเปน โปรตุเกส เป็น ภาษาและวัฒนธรรมโรมัน
จดหมายภาษาโปรตุเกสของคอนสแตนติน ฟอลคอน กราบทูลสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 1
พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่1 ตอบจดหมายของฟอลคอนเป็นภาษาอิตาเลียน
ฝอยทอง(Fios de Ovus) ของโปรตุเกส คล้ายกับฝอยไข่ (ฝอยทอง- Huevo hilado).ของสเปน และทั้ง 3 ชาติก็นับถือศาสนาเดียวกันด้วย
ในราชสำนักสยามภาษาโปรตุเกสถูกใช้อย่างมีแบบแผน
1 มีนาคม พ.ศ.2240 เมื่อทราบว่า บาทหลวงตาชารด์จะเดินทางมาถึง ทางการสยามมีท่าทีไม่เต็มใจต้อนรับ ออกญาพระคลังถามหลวงวรวาที (แวงซัง แปงเฮโร) ว่า จะให้บาทหลวงตาชารด์พักที่ห้างฝรั่งเศสเก่าหรือไม่ บาทหลวง เดอ ลาเบรย์ ส่งจดหมายขอให้จัดที่พักในเมือง อย่าให้อยู่ในเขตมิชชันนารีฝรั่งเศสพัก หรือ ในค่ายโปรตุเกส และขอให้พักที่บ้านเก่าของคอนสแตนติน ฟอลคอน (ประชุมพงศาวดาร เล่ม21, หน้า154-155.)
ออกญาพิพัฒน์สั่ง ฟรังซัว แปงเฮโรบุตรหลวงวรวาที ให้แปลจดหมายของเจ้าพระยาพระคลังถึงตาชารด์เป็นภาษาโปรตุเกส มีล่ามฮอลันดาชื่อมาทิว(Matheos /มะเตวส์-โปรตุเกส, มะเตโอส-ดัทช์, มะทิว/ ฝรั่งเศส) และล่ามโปรตุเกส ชื่อ โอกุสแตง โรซาดา คอยแก้ไขและตรวจสอบเนื้อหา (ประชุมพงศาวดาร เล่ม21, หน้า156-157.)
การแปลชื่อโปรตุเกสเป็นไทยในพระราชสาส์นพระบาทสมเด็จพระเอกทศรถถึงพระยาวิชเรห
พระราชสาส์นนี้ไม่ระบุวัน เดือนและศักราช ศ.ดร.ขจร สุขพานิช ระบุเป็นของสมเด็จพระเอกาทศรถ
อ.ภูธร ภูมะธน ระบุว่าเป็นของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
António Bocarro ใน Década xiii, da História da índia, pt.i , 1876. อ้างใน Teixeira, Portugal na Tailandia ระบุว่า Dom Jerónimo d’Azevedo มอบหมายให้บาทหลวงอะนูนซิยาเซา “ซึ่งคุ้นเคยกับพื้นที่ดี” เดินทางร่วมมากับทูตโปรตุเกสถึงสยาม 3 มีนาคม 2158
พระราชหัตถเลขากษัตริย์โปรตุเกสลง วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2161 กล่าวถึงคณะทูตสยามที่เดินทางไปกัว พ.ศ.2160 จึงสันนิษฐานว่าพระราชสาส์นเขียนขึ้นประมาณ พ.ศ.2159 สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
ใครเป็นใครในพระราชสาส์นข้างต้น
ทอง ฝีหลีบ (Dom Filip)
พระยาวิชเรห (Vico Rei = Dom Jerónimo d’Azevedo )
บาตรีผเรผรันสีสกุอนุสียาสัง ( Padre Vrei Francisco Anunçiação)
กะปิตันมล เวร รีเบน Capitão – mor Christovam Rebelo)
Capitão – mor เป็นใคร
แชร์แวส ระบุว่า พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงแต่งตั้งหัวหน้าราษฎรแต่ละสังกัดชาติให้ปกครองกันเองตามประเพณีนิยม
ลาลูแบร์ ชี้ว่า ประชาคมแต่ละชุมชนเป็นผู้เลือกหัวหน้า หรือ นายของตนขึ้นมาปกครองกันเองภายใต้การควบคุมของทางการสยามผ่านออกญาพระคลัง
2 แนวทางนี้ขัดแย้งกัน หลักฐานร่วมสมัยชิ้นหนึ่ง เมื่อทูตโปรตุเกสจากมาเก๊า ชื่อ Pero Vaz de Sequeira มาถึงก็ได้อ้างบัญชาผู้สำเร็จราชการแห่งกัวให้ Francisco Barretto de Pinna (Capitão – mor ) เข้าพบทันที !
กระบวนการแปลพระราชสาส์น
เมื่อบาทหลวงตาชารด์ถวายพระราชสาส์นแล้ว เย็นนั้นเจ้าพนักงานได้มาตามคณะบาทหลวงและล่ามฝรั่งเศสไปยังพระราชวัง เพื่อแปลพระราชสาส์นเป็นภาษาไทย
ม.โบร์ด ไปพร้อมกับ ม. ยาโรเซีย และ ม.ฟรังซัว แปงเฮโร บุตรหลวงวรวาทีล่ามฝรั่งเศส ในหอแปลราชสาส์น มีขุนนางสูงวัยหลายคน นั่งบนพรมเปอร์เซียตามลำดับยศ เจ้าพนักงานนำโต๊ะเล็กคลุมด้วยแผ่นเงินมาตั้งแล้วบอกให้คณะบาทหลวงนั่งลงข้างๆ จากนั้นจึงเชิญพระราชสาสน์มาวางบนโต๊ะ มีกลองและมโหรีนำมาด้วย
คณะบาทหลวงฝรั่งเศสแปลเสร็จ เจ้าพนักงานนำข้อความย่อที่ตาชารด์ให้ไว้มาตรวจทานจนถ้อยความตรงกัน จึงแสดงความยินดีและเชิญพระราชสาส์น กลับไป มีกลองและมโหรีประโคมเช่นกัน (ประชุมพงศาวดาร เล่ม21, หน้า 241-242.)
ขุนวรวาที (แวงซัง แปงเฮโร) หรือ Vincent Pinheiro(วินเซนตึ ปิไญรู - ต้นสน) ล่ามฝรั่งเศส(เป็นชาวโปรตุเกส) นา ๓๐๐ ฟรังซัว แปงเฮโร - François Pinheiro (บุตรชาย) ล่าม(ฝรั่งเศส) สมัยพระเพทราชา
ลูกหลานของขุน(หลวง)วรวาที มีชื่ออยู่ในประกาศพระราชทานที่ดินสร้างโบสถ์ซางตาครูซ ค.ศ.1768ด้วย (รายชื่อชาวP.ใน Sião ค.ศ.1768 Estévão Pinheiro S.a Mulher e filhos 6)
ขุนรักษาสมุทร ล่ามแปลนายสำเภาปากน้ำ นา ๔๐๐ ก็เป็นชาวโปรตุเกส
ขุนรักษาสมุทร เป็นผู้อธิบายคำตัดสินโทษ Burot ขโมยกล่องศีลในค่ายP. ของพระคลังเป็นภาษาP (ซิไกรา น.215)ให้ตัดแขนBurot แล้วเฆี่ยนจนตาย แต่กะปิเตา มอร์ Francisco Barretto de Pinna ลงโทษโดยการตัดแค่ 2 นิ้ว เท่านั้น ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์โดยการจัดการของฟอลคอนได้มีคำสั่งให้
เจ้าหน้าที่ยึดตราตั้งคืนจาก Francisco Barretto de Pinna และสั่งจำคุก เมื่อทูตซิไกรามาถึงสยามก็ได้เจรจาและขอนำตัว Francisco Barretto de Pinna ไปลงโทษเอง
กะปิเตาร์ มูร์ Francisco Barretto de Pinna รับราชการในราขสำนักสยามมานานกว่า 30 ปี ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง เขาถูกกล่าวหาว่าพัวพันเรื่องทุจริตหลายเรื่อง เช่น การ “อม” หมาก 50 picos ซึ่งพ่อค้จากมาเก๊านำมาฝากไว้
ขุนนางสยามกับภาษาโปรตุเกส
เดอ ชัวซีย์ อ้างตาชารด์ว่า เสนาบดีไทยพูดภาษาโปรตุเกสเป็นทุกคน ( ประชุมพงศาวดาร เล่ม24, 17-18)
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เสนอว่า บันทึกของ เดอ ชัวซีย์ไม่ค่อยน่าเชื่อถือ เพราะเป็นรายงานของบุคคลที่รู้จักกรุงศรีอยุธยาไม่ดีนัก ( การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์, หน้า34)
หลักฐานของบาทหลวงตาชารด์
“ ในบรรดาเสนาบดีสยาม มีอยู่ท่านหนึ่งที่พูดภาษาโปรตุเกสได้ดี และมีสติปัญญาไหวพริบว่องไว คงจะเป็นเสนาบดีคนนี้เอง ที่นาย เดอ ลาลูแบร์ กล่าวถึง เขาเรียกเสนาบดีท่านนั้นเข้ามาดื่มกาแฟในห้องนอนของเขาแล้วนั่งคุยอยู่ตลอดวันทั้งวัน เป็นเวลาหลายวัน เขาต้องการให้เสนาบดีท่านนั้นตอบคำถามนับเป็นพันๆข้อของเขา เกี่ยวกับพระเจ้ากรุงสยาม เกี่ยวกับพระราชสำนัก และเรื่องราชการภายในพระราชอาณาจักรนี้…”(หน้า135)
บันทึกของลาลูแบร์
“ ธรรมเนียมในซีกโลกตะวันออก ถือกันว่าการลงโทษนั้นคือเครื่องแสดงความรักใคร่ใยดี พวกเราได้เห็นขุนนางผู้หนึ่งถูกคุมขังไว้เพื่อที่จะนำตัวไปลงโทษ โดยชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งรับจะไปขอให้ผู้บังคับบัญชาของเขายกโทษให้ ขุนนางผู้นั้นกลับตอบเป็นภาษาโปรตุเกสว่า... ผมอยากจะทราบว่า ท่านจะกรุณาผมถึงเพียงไหน..” (ลาลูแบร์, น.470.)
สำนวนดังกล่าวคล้ายกับการลงท้ายจดหมายอย่างนอบน้อมถ่อมตัวของบาทหลวงอันตอนิอู ดึ ฟองเซกา(António de Fonseca) ถึงอุปราชแห่งอินเดีย เมื่อ 2 ธค.1684 (Siqueira, p. 117) ว่า
“If I deserve to be punished, I hope for your Excellency’s benevolence
and that you may deal with me as appropriate.”
“Basta! Basta! Basta! (พอแล้วๆๆ)” คำร้องห้ามภาษาโปรตุเกส...แบบปลื้มๆ...ของเดอ ชัวซีย์
“เครื่องราชบรรณาการถูกลำเลียงเข้ามาเรื่อยๆ โดยคำสั่งของคอนสแตนติน ฟอลคอน ซึ่งสั่งให้นำออกมาจากท้องพระคลังตามอำเภอใจ” ทำให้เดอ ชัวซีย์ละอายใจ จนต้องร้องเป็นภาษาโปรตุเกสมากกว่า 4 ครั้ง ทั้งๆ ที่เรียนภาษาไทยมาแล้ว
เห็นได้ชัดเจนว่า แม้แต่พนักงานลำเลียงเครื่องราชบรรณาการก็ยัง“เดิ้น-Modernize”เลย !
ความรู้จากการสนทนาและความอดทนทำให้ลาลูแบร์สามารถเก็บเกี่ยวและไต่สวนเรื่องราวของสยามมาถ่ายทอดให้คนชั้นหลังทราบอย่างมากมาย ไม่ควรมองข้ามเมื่อขุนนางสยามคนหนึ่งตั้งปณิธานเป็นภาษาโปรตุเกส ทั้งๆที่กำลังจะถูกนายลงโทษอยู่แล้ว !
สับปะรดในภาษาโปรตุเกส
Ananás เป็นคำเรียก สับปะรดในภาษาโปรตุเกส สเปน อิตาลี ในภาคใต้เรียกสับปะรดว่า ญานัด ภาคอีสานเรียกว่า บักนัด ขณะที่ภาคเหนือห่างขึ้นไปก็ยังเรียกว่า บะขะหนัด
หลักฐานของชาวตะวันตกกลับบันทึกภาษาไทยแบบBroken Thai เป็นส่วนใหญ่
หนังสือรวมบันทึกประวัติศาสตร์ของฟานฟลีต (วันวลิต) -ตำแหน่ง “เจ้าพนักงาน” เขียนเป็น “Jaew penninghans” จึงถูกแปลเป็น “อยู่เป็นนิ่งอัน”(น.232)
ภาพลักษณ์ของชาวค่ายโปรตุเกสในสายตาของชาติคู่แข่ง
นิโคลาส แชแวส ระบุ ภาพลักษณ์ของชาวโปรตุเกสที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองพระนครศรีอยุธยาจำนวน 700-800 ครอบครัวว่า ส่วนมากยากจน ยอมตายดีกว่าจะประกอบอาชีพหรือทำมาหากินเลี้ยงตัวเอง
พ่อค้าฝรั่งเศสบางคนระบุว่า ชาวโปรตุเกสล้วนมีนิสัยเกียจคร้าน เย่อหยิ่ง และชอบอ้างว่าทุนรอนไม่มี จึงเอาแต่นอนขึงอยู่บนเสื่อ
ผู้เขียนกลับมองว่า ชุมชนโปรตุเกสเป็นชุมชนของคนทันสมัยที่สุดในสยาม.... คล้ายยุคห้างหันแตร(Hunter)ที่กุฏีจีน ในเมืองบางกอก!
หลักฐานระหว่างบรรทัดสะท้อนอาชีพหลากหลายในค่ายโปรตุเกส
นอกจากอาชีพทหารรักษาพระองค์ ทหารฝรั่งแม่นปืน ช่างเพชรทอง คนนำร่อง พ่อค้าสำเภา นักร้อง-นักดนตรี(ซึ่งหลักฐานฝรั่งเสสเรียกว่า นักเลงในค่ายโปรตุเกส) จิตรกร มิชชันนารี แพทย์. ช่างหล่อปืนใหญ่ สถาปนิก-วิศวกรเสมียน บริษัท อินเดียตะวันออกของอังกฤษ ล่ามอังกฤษ ล่ามฝรั่งเศส ล่ามฮอลันดา ล่ามนายสำเภา และนายประกันแล้ว ยังมีช่างทาสีและพนักงานจัดเลี้ยงแบบตะวันตกแก่คณะราชทูต
ช่างทาสี คนหนึ่งเป็นญาติของดอนญา มารี ดึ ปินา หรือ ท้าวทองกีบม้า ภรรยาของ ออกญาวิไชเยนทร์(คอนสแตนติน ฟอลคอน)
พนักงานจัดเลี้ยงแบบตะวันตก Jozeph Cardozo (Seqeira, p.279) มีผู้ช่วยชื่อ Antonio Lobato(Seqeira, p.233) หลังกรุงแตกลูกหลานของ Jozeph Cardozo คือ Fr.co(Francisco) Cardoso.. หนีไปเมืองพุทไธมาส หรือคังเคา( Cam Cão, Can Camในจารึกโบสถ์ซางตาครูซ) หรือ ขึ้งโข่ว ในภาษาจีน ) แล้วกลับมาอยู่บางกอกอีกครั้งค.ศ.1768
โปรตุเกสหยิ่งจริงหรือเปล่า?
ราชทูตเปรู วาซ ดึ ซิไกรา แต่งตัวหรูหรา เปลี่ยนรองเท้าใหม่ก่อนจะเข้าเฝ้า เจรจาขอสวมหมวก คาดดาบ ใส่รองเท้าและไม่ยอมหมอบกราบถวายบังคมตอนเข้าเฝ้า ท่านทูตจะไม่ทำตามทูตชาติอื่น จะทำตามเกียรติยศของโปรตุเกสเท่านั้น(น.199) พระคลังไม่อยากทำลายไมตรีและไม่ต้องการทำลายจารีตเช่นกัน(น.238) จึงต่อรองให้ทูตพกดาบได้ แต่ถอดรองเท้า คำนับต่ำๆ (น.241)
ในระหว่างการพิจารณาข้อเสนอของทูตซิไกรานั้น สมเด็จพระนารายณ์ ทรงมีพระราชปรารภ(ดูในซิไกร่า)ว่า “กฎหมายอาจทำให้ไมตรีถูกทำลายมากกว่าสร้างไมตรี”
นายทหารติดตามคณะราชทูตคนหนึ่ง แม้จะรู้ว่ากำลังเดินตัดผ่านขบวนเสด็จฯโดยบังเอิญ กระชั้น แต่ไม่ยอมวิ่งหลบออกนอกเส้นทาง เกรงจะไม่สง่างาม
เรียกว่าหยิ่งได้หรือไม่...
ผลลัพธ์ คือ ถูกฟอลคอนสั่งจับ และขอให้ทูตซิไกราลงโทษ
คารมของฟอลคอนเกลี้ยกล่อมทูตซิไกราให้ยอมรับจารีตการเข้าเฝ้าแบบสยาม(ซิไกรา, น.200)
ทูตซิไกรายืนกรานว่า ถ้าตนยอมปฏิบัติตามธรรมเนียมการเข้าเฝ้าของสยามแล้ว จะเป็นการเสื่อมเสียเกียรติยศในสายตาของVR แห่งอินเดียและLord Prince เนื่องจากตนได้รับคำสั่งจากVRซึ่งต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด
ฟอลคอน กล่าวว่า คณะทูตทำเหมือนไม่สนใจสัตยาบันที่มีต่อสัมพันธไมตรีอันยาวนาน นอกจากนี้ยังเรียกร้องแบบแผนและนโยบายใหม่ๆ เหมือนอยากเข้าบ้านผู้อื่นแล้วกลับทำให้กฎเกณฑ์ที่เขาปฏิบัติมานานเสียหาย ขณะที่ผู้อื่นอยากเข้ามาด้วยความเคารพและคำนึงถึงไมตรี ไม่มีกษัตริย์องค์ใดในโลกจะคิดว่ากฎหมายของตนไม่ยุติธรรม เมื่อมิตรคนใดคิดจะละเมิด ผู้นั้นก็ไม่ใช่มิตรอีกต่อไป เป็นได้เพียงคนทำลายสันติภาพเท่านั้น
ร่องรอยกฎหมายศักดินาของโปรตุเกสในบันทึกของราชทูตเปรู วาซ ดึ ซึไกรา p.290
“Some of his vassals live in Siam and serve the King, should not be subjected to (the control of) other nation.”
พวกเขาถูกปกครองโดยอุปราชแห่งอินเดีย
ในระดับจิตวิญญาณ พวกเขาก็ถูกปกครองโดย The Premate Archbishop of India แห่งกัว
สังฆราชและมิชชันนารีฝรั่งเศสมิพึง dare to interfere with the governance of those vassals!
ฝรั่งเศสหยิ่งบ้างไหม....?
ราชทูตโกษาปานไปฝรั่งเศสก็รู้สึกลึกๆ ว่า ชาวฝรั่งเศสมาดูตนเหมือน...ดูเสือ ดูหมี!
หลักฐานข้อความย่อจากจดหมาย ม.เวเร่ต์ (12และ23ธันวาคม 1685) ปชพ. ล.24 น.255 พอเห็นพระเจ้าแผ่นดินแต่ไกลก็ต้องหมอบลงทันทีแล้วคลานสี่เท้า จึงเอามือประสานขึ้นเหนือศีรษะ ถ้าจะพูดกับพระเจ้าแผ่นดินก็ต้องพนมมือ ต้องเอาศอกและหน้าซบลงติดกับดิน การประพฤติเช่นนี้ผิดด้วยทางศาสนา และเป็นการเสียเกียรติยศต่อชาติฝรั่งเศส
พวกชาวบ้านนอกอย่างเลวในประเทศฝรั่งเศส ก็ยังมีบ้านอยู่ดีกว่าเจ้านายใหญ่โตในประเทศสยาม
ทั้งหยิ่ง ทั้งเหยียดหยามชาวพื้นเมือง!
ชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งซึ่งไม่พิถีพิถันตอนเข้าเมืองอยุธยา...................แต่หยิ่งมาก!
เขามาบ่อยมาก.....มาสยามบ๊อยบ่อย(3ครั้ง)
ครั้งสุดท้ายเรือแตก อาศัยเรือพ่อค้าเข้ามา เสื้อก็เก่า รองเท้าก็เหม็น......!? มีผู้ติดตามเพียง 2-3 คน
ยืนกรานให้สยามจัดการต้อนรับเทียบเท่าเดอ โชมองต์
มีการแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว เด็ดเดี่ยว โผงผาง
เขา คือ บาทหลวง Guy Tachard
ชีวิตชีวาของชุมชนโปรตุเกสจากโบราณวัตถุบางชิ้น
ชิ้นส่วนขวดแก้วที่บ้านโปรตุเกส ดื่มเฉลิมฉลองทั้งค่าย หรือ เป็นเพียงไวน์ในพิธีมิสซา?
งานเลี้ยงพระราชทานราชทูตPero Vaz de Siqeirra ค.ศ.1684 สมัยสมเด็จพระนารายณ์ (ผู้ติดตาม 90 คน) พระราชทานเลี้ยงไวน์ 70 ขวด อาหารไม่อั้น เพลงบรรเลง rhythmic Musketry salute
งานเฉลิมฉลองวันนักขัตฤกษ์ในค่าย + โบสถ์ รวมถึงการดื่มอวยพรในงานสำคัญๆ คงมีบรรยากาศไม่ต่างกันเท่าใดนัก
หลักฐานการเสพฝิ่นที่บ้านโปรตุเกส
การห้ามเสพฝิ่นสมัยอยุธยาปรากฏในกฎหมายตราสามดวง ภาพกล้องสูบยาแดง(ฝิ่นผสมยาเส้น)
กระเบื้องดินเผาแบบกาบกล้วยอิทธิพลของโปรตุเกส?
La Loubere’s “A new Historical Relation of the Kingdom of Siam”, 1986, p. 31)
“The King of China’s Palace is still of wood; and this persuades me that brick buildings are very modern at Siam, and that the Europeans have there introduced the practice and use thereof.”
So also de La Loubère speculated that the use of bricks (and tiles) was a practice brought from the western world.
ดร. ยงธนิศร์ พิมลเสถียรเสริมว่า ในอเมริกาใต้ เรียกกระเบื้องมุงหลังคาแบบนี้ว่า “กระเบื้องแบบมิชชันนารี”
การพิสูจน์อักษร: พิมพ์ผิด ... อ้างผิด!
หลักฐานรายงานการปฏิบัติงานของศาลกระทรวงทหารเรือ ที่เมืองฮูกห์ลี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน และ 12 ธันวาคม พ.ศ.2230 พิจารณาคดีตัดสินคดี เรือดูเรีย ดอลลัท (Doorea Dallat) ของพระเจ้ากรุงสยาม ซึ่งถูกยึดโดยกัปตันจอห์น คอนเซทท์ แห่งเรือเบิร์คลีย์ คาสเซิล (Berkley Castle) เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2230 ขณะทอดสมออยู่ในเส้นทางไปเมืองอะชิน
ไกรฤกษ์ นานา ให้เกียรติอ้างเอกสารประกอบการสัมมนา “อาชีพของชาวโปรตุเกสในสยาม(ค.ศ.๑๔๑๑– ๑๗๖๗)” ความสัมพันธ์ ไทย ยุโรป จากอดีตสู่ปัจจุบัน เยอรมนี โปรตุเกส รัสเซีย, พรสรรค์ วัฒนางกูร (บรรณาธิการ) กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2546
เป็น เรือดูก้า ดัลลา( Doorca Dalla)
บทส่งท้าย กระตุ้นยอดขายของกัลยาณมิตร
หนังสือชุด 500 ปี ความสัมพันธ์ สยาม- โปรตุเกส ของ ยุวดี วัชรางกูร ปกแข็ง หน้า 218 ย่อหน้าที่ 1 ข้อความที่ตีพิมพ์ว่า “ท่าน ดงกิม ดึ คัมโปส” คลาดเคลื่อนไป ที่ถูก คือ “ดร. เจากิง ดึ กัมปุช”
ย่อหน้าที่2 หน้าเดียวกันต้องการระบุว่า เพลงต้นวรเชษฐ์ หรือ ต้นบรเทศ นั้น มีทำนองคล้ายเนื้อเพลง “กินอะไรถึงสวย” ของพุ่มพวง ดวงจันทร์
ข้อความที่ว่า หลังกรุงศรีอยุธยาแตกในปีคศ.1767เหลนของพนักงานจัดเลี้ยงแบบตะวันตก(Jozeph Cardozo, Seqeira, p.279) คือ Fr.co(Francisco) Cardoso.. หนีไปขอนแก่น แล้วกลับมาอยู่บางกอกอีกครั้งค.ศ.1768นั้น ขอแก้เป็น หนีไปอยู่เมืองคิงเคา(Kan Kam) หรือ พุทไธมาศของกัมพูชา ปัจจุบันเป็นดินแดนของเวียตนาม)
ตอบลบ