ท่ามกลางความทุกข์ยากของชาวอิสราเอล พระคริสต์แสดงปาฏิหาริย์ให้มีขนมปังและไวน์ในงานเลี้ยงอย่างอุดมสมบูรณ์
บันทึกการเดินทางของทูตโปรตุเกสซึ่งเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ คือเปรู วาซ ด ึ ซิไกร่า (Pero vaz de Siqeira) กล่าวถึงชื่อและบทบาทของพนักงานจัดเลี้ยงแบบตะวันตกในราชสำนักสยามว่า เป็นข้าราชการสังกัดค่ายโปรตุเกส ชื่อ โยเซฟ คาร์ดูซู (Jozeph Cardozo) เขามีผู้ช่วยชื่อ อันต๊อนิอู ลูบาตู ( Antonio Lobato) หลังกรุงแตกปรากฏว่า ลูกหลานของเขา ชื่อ ฟรานซิสกู คาร์ดูซู (Fr.co / Francisco Cardoso) หนีภัยสงครามไปพำนักที่ “Kamkam (เขื่อนขัณฑ์? ขอนแก่น? )” ระยะหนึ่ง ก่อนจะกลับมาอยู่ที่ชุมชนโบสถ์ซางตาครูซ ในเมืองบางกอกอีกครั้ง เมื่อ ค.ศ.1768 ดังปรากฏหลักชื่อดังกล่าวในจารึกซึ่งกล่าวถึงการพระราชทานที่ดิน ณ โบสถ์ซางตาครูซ แก่ชาวโปรตุเกสที่ร่วมขับไล่พม่าออกจากเมืองบางกอกเมื่อค.ศ.1768
สื่อให้เห็นความทันสมัยและการเข้าถึงวัฒนธรรมตะวันตกของสยามภายใต้การดูแลของคนในค่ายโปรตุเกส
หนังสือฟื้นความหลังของพระยาอนุมานราชธน ซึ่งถือเป็นคนไทยเชื้อสายจีนกลุ่มแรกๆ ที่เคยประกอบอาชีพเป็นเสมียนโรงแรม ท่านได้กล่าวถึงพนักงานโรงแรมโอเรียนเต็ล เมื่อแรกตั้งว่า ระหว่างที่ท่านทำงานในโรงแรมแห่งนี้นั้น ท่านเคยเห็นคนไทยเชื้อสายโปรตุเกสทำงานเป็นพ่อครัวในโรงแรมด้วย
ทุกครั้งของการเดินทางเยี่ยมชมโบสถ์ซางตาครูซ ตามโครงการIn the Footsteps of The Portuguese 3 ครั้ง ที่ผ่านมา คุณพ่อ ดร.วิทยา คูวิรัตน์ เจ้าอาวาสโบสถ์ ซางตาครูซ จะเป็นผู้อำนวยการจัดเลี้ยงคณะเยี่ยมชมด้วยอัธยาศัยไมตรีอันงดงามอย่างสม่ำเสมอ อาหารพื้นเมืองแบบโปรตุเกสซึ่งถูกนำมาจัดเลี้ยงได้แก่ มัสมั่นไก่ เนื้อแซนโม ต้มมะฝ่า สตูว์ลิ้นวัวไวน์รสกลมกล่อม และขนมหวานสายพันธ์โปรตุเกส
จานเด็ดน่าจะอยู่ที่สตูว์ลิ้นวัว ซึ่งหากได้ลิ้มลองแล้ว เชื่อว่า ท่านจะเป็นผู้ที่สมควรได้รับพรอันวิเศษจากพระเจ้าจนสามารถก้าวขึ้นเป็น “นายภาษา” ได้อย่างล่ามโปรตุเกสในอดีตทุกคนเลยทีเดียว
ประมาณว่า ... ภาพศิลปะกระจกสีแผ่นหนึ่งในโบสถ์ซางตาครูซ หรือ ที่โบสถ์กัลหว่าร์ .... แสดงปาฏิหาริย์ของพระเจ้าให้เห็นเป็นรูปลิ้นจำนวนมากปรากฏอยู่บนท้องฟ้าเหนือบรรดาสาวกของพระคริสต์ ปริศนาธรรมนี้เสมือนหนึ่งเป็นการอำนวยพรจากพระเจ้าให้สาวกของพระคริสต์ประสบความสำเร็จในการเดินทางไปประกาศศาสนา โดยให้สามารถสื่อสารกับผู้คนชนเผ่าต่างภาษาต่างวัฒนธรรมได้ทั่วโลก
ลองไปชิมสตูว์ลิ้นวัวนุ่มๆกับเนื้อแซนนโมสูตรโบราณแกล้มไวน์ที่กุฎีจีนกันสักครั้งมั๊ยครับ
บันทึกการเดินทางของทูตโปรตุเกสซึ่งเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ คือเปรู วาซ ด ึ ซิไกร่า (Pero vaz de Siqeira) กล่าวถึงชื่อและบทบาทของพนักงานจัดเลี้ยงแบบตะวันตกในราชสำนักสยามว่า เป็นข้าราชการสังกัดค่ายโปรตุเกส ชื่อ โยเซฟ คาร์ดูซู (Jozeph Cardozo) เขามีผู้ช่วยชื่อ อันต๊อนิอู ลูบาตู ( Antonio Lobato) หลังกรุงแตกปรากฏว่า ลูกหลานของเขา ชื่อ ฟรานซิสกู คาร์ดูซู (Fr.co / Francisco Cardoso) หนีภัยสงครามไปพำนักที่ “Kamkam (เขื่อนขัณฑ์? ขอนแก่น? )” ระยะหนึ่ง ก่อนจะกลับมาอยู่ที่ชุมชนโบสถ์ซางตาครูซ ในเมืองบางกอกอีกครั้ง เมื่อ ค.ศ.1768 ดังปรากฏหลักชื่อดังกล่าวในจารึกซึ่งกล่าวถึงการพระราชทานที่ดิน ณ โบสถ์ซางตาครูซ แก่ชาวโปรตุเกสที่ร่วมขับไล่พม่าออกจากเมืองบางกอกเมื่อค.ศ.1768
สื่อให้เห็นความทันสมัยและการเข้าถึงวัฒนธรรมตะวันตกของสยามภายใต้การดูแลของคนในค่ายโปรตุเกส
หนังสือฟื้นความหลังของพระยาอนุมานราชธน ซึ่งถือเป็นคนไทยเชื้อสายจีนกลุ่มแรกๆ ที่เคยประกอบอาชีพเป็นเสมียนโรงแรม ท่านได้กล่าวถึงพนักงานโรงแรมโอเรียนเต็ล เมื่อแรกตั้งว่า ระหว่างที่ท่านทำงานในโรงแรมแห่งนี้นั้น ท่านเคยเห็นคนไทยเชื้อสายโปรตุเกสทำงานเป็นพ่อครัวในโรงแรมด้วย
ทุกครั้งของการเดินทางเยี่ยมชมโบสถ์ซางตาครูซ ตามโครงการIn the Footsteps of The Portuguese 3 ครั้ง ที่ผ่านมา คุณพ่อ ดร.วิทยา คูวิรัตน์ เจ้าอาวาสโบสถ์ ซางตาครูซ จะเป็นผู้อำนวยการจัดเลี้ยงคณะเยี่ยมชมด้วยอัธยาศัยไมตรีอันงดงามอย่างสม่ำเสมอ อาหารพื้นเมืองแบบโปรตุเกสซึ่งถูกนำมาจัดเลี้ยงได้แก่ มัสมั่นไก่ เนื้อแซนโม ต้มมะฝ่า สตูว์ลิ้นวัวไวน์รสกลมกล่อม และขนมหวานสายพันธ์โปรตุเกส
จานเด็ดน่าจะอยู่ที่สตูว์ลิ้นวัว ซึ่งหากได้ลิ้มลองแล้ว เชื่อว่า ท่านจะเป็นผู้ที่สมควรได้รับพรอันวิเศษจากพระเจ้าจนสามารถก้าวขึ้นเป็น “นายภาษา” ได้อย่างล่ามโปรตุเกสในอดีตทุกคนเลยทีเดียว
ประมาณว่า ... ภาพศิลปะกระจกสีแผ่นหนึ่งในโบสถ์ซางตาครูซ หรือ ที่โบสถ์กัลหว่าร์ .... แสดงปาฏิหาริย์ของพระเจ้าให้เห็นเป็นรูปลิ้นจำนวนมากปรากฏอยู่บนท้องฟ้าเหนือบรรดาสาวกของพระคริสต์ ปริศนาธรรมนี้เสมือนหนึ่งเป็นการอำนวยพรจากพระเจ้าให้สาวกของพระคริสต์ประสบความสำเร็จในการเดินทางไปประกาศศาสนา โดยให้สามารถสื่อสารกับผู้คนชนเผ่าต่างภาษาต่างวัฒนธรรมได้ทั่วโลก
ลองไปชิมสตูว์ลิ้นวัวนุ่มๆกับเนื้อแซนนโมสูตรโบราณแกล้มไวน์ที่กุฎีจีนกันสักครั้งมั๊ยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น