อักษรตัวเอียงประมาณ46 องศาที่1 จากซ้ายเกือบกึ่งกลางภาพคือปากแม่น้ำประแสร์(Passay R.) ห่างจากเมืองจันทบูรไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเล็กน้อย
แผนที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของสถานที่ซึ่งถูกอ้างถึงในบันทึกของนักเดินทางต่างชาติ หนังสือจดหมายเหตุการเดินทางของบาทหลวงตาชารด์ ค.ศ. 1687-1688 มีการกล่าวถึงสถานที่หลายแห่งทางภาคตะวันออกของสยาม บ้างก็สามารถติดตามหาหลักฐานอ้างอิงกับชื่อในปัจจุบันได้ บ้างก็เป็นสถานที่ซึ่งเลือนหายไปจากความทรงจำของคนในปัจจุบัน บาทหลวงกีย์ ตาชารด์ (Guy Tachard) เดินทางเข้าสยาม 3 ครั้ง
ครั้งที่ 3 สมัยสมเด็จพระเพทราชา ปรากฏเรื่องราวในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 36 จดหมายเหตุบาทหลวงโลเน
การเดินทางบนเรือพ่อค้าโปรตุเกส
จดหมายฉบับดังกล่าว เริ่มต้นตั้งแต่หน้า 63-104 เล่าถึงสถานการณ์ บรรยากาศและเคราะห์กรรมที่ได้ประสบมาอย่างน่าสนใจ ส่วนหนึ่งของเนื้อหากล่าวถึงเมืองบางกอกในฐานะเมืองสวนผลไม้รสเยี่ยมของสยาม[5] และที่ตั้งของสันดอนสยามซึ่งมีร่องน้ำลึกเพียง12ฟุต มีเรือ 12 ใบเตรียมจะกางใบเพื่อมุ่งหน้าสู่จีน ญี่ปุ่นหรือมะนิลา[6]
บาทหลวงฟองเตอเน บันทึกว่า
“ตอนเย็นวันที่ 13 เราทำระยะทางได้เกือบ 6 ลิเออ เราเพิ่งสังเกตเห็นสภาพอันเลวร้ายของพวกลูกเรือในวันนี้เอง มีอยู่เพียง 5 คน เท่านั้นเองที่ขึ้นเพลาใบเรือได้ ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยเป็นงาน บางคนยังฟังภาษาที่เขาพูดกับตนไม่ออกเอาเสียด้วยซ้ำ จนกระทั่งต้องใช้ภาษาใบ้พูดจากัน หรือไม่ก็ต้องจูงมือไปยังตำแหน่งแห่งที่ที่เขาต้องการให้ไปประจำอยู่...”[9]
บาทหลวงฟองเตอเน เล่าต่อว่า เช้าวันที่ 14 กรกฏาคม มีลมดีพัดมาให้เดินทางต่อไปได้ “เราใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมงเพื่อถอนสมอ โดยเหตุที่เรารู้ดีว่า พวกลูกเรือของเรือรบหลวงนั้น ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างขมีขมันเพียงไร เราจึงประหลาดใจที่ได้มาเห็นความเฉื่อยชาในการปฏิบัติงานของพวกลูกเรือของเรายิ่งนัก เมี่อถูกเรียกให้ไปปฏิบัติหน้าที่ก็แทบไม่อยากโผล่หน้าออกมาให้เห็นทีเดียว นายเรือได้เรียกประชุมเทศนาสั่งสอนกันครั้งหนึ่งว่า ‘ไอ้หนูทั้งหลายเอ๋ย พวกเจ้าจะต้องไปทำงานเมื่อเขาเรียกขาน พวกเจ้าก็รู้อยู่แล้วว่าข้าได้ให้แก่พวกเจ้าทั้งทรัพย์สินและเลือดเนื้อของข้า และข้าต้องดึงอาหารจากปากลูกหลานของข้ามาให้พวกเจ้าได้กินกัน’ [10]
จดหมายยังระบุถึงความหย่อนสมรรถภาพของบรรดาลูกเรือส่งผลให้พ่อค้าโปรตุเกสหลายรายจมน้ำตาย กล่าวคือ
“...เขาว่ากันว่า จะต้องปฏิบัติเช่นนี้กับพวกกลาสีเรือชาวปอร์ตุเกส เพื่อที่จะได้ตัวเอาไปทำงาน อย่างไรก็ตาม การเจรจาหว่านล้อมให้ลงใจด้วยอาการที่ปวกเปียกดังนี้ ทำให้ข้าพเจ้าวินิจฉัยได้อีกว่า เป็นการยากที่จะเดินทางไปได้โดยปลอดภัย ในเรือชาวปอร์ตุเกส และความไม่ค่อยตั้งใจปฏิบัติงานนี้เองเป็นสาเหตุสำคัญด้วยประการฉะนี้แลนายพาณิชที่มั่งคั่งแห่งเมืองมาเก๊าหลายต่อหลายรายจึงมาเรือแตกจมน้ำตายในทะเลย่านนี้” [11]
การตรวจสอบชื่อบ้านนามเมืองบนเส้นทางผจญภัยของบาทหลวงฟองเตอเน
จดหมายของบาทหลวงฟองเตอเนกล่าวถึงชื่อของเกาะเสม็ด(Cossomet) และเมืองจันทบูร(Chantaboun) แต่เมื่อกล่าวถึงบ้านลำพารี(Lamparie)[12] บ้านสามไห้ (Samhay)[13] และบ้านเพชรทราย(Pessay)[14] ก็เริ่มทำให้รู้สึกสับสน
ชื่อบ้านสามไห้(Samhay) หากเป็นภาษาโปรตุเกสจะออกเสียงตรงตัวว่า “บ้านเสาไห้” โดยเทียบกับคำว่า Pérégrinaçam ซึ่งเป็นพหูพจน์ของคำว่า Pérégrinação อันเป็นชื่อหนังสือบันทึกการเดินทางของแฟร์เนา เมนเดช ปินตู (Fernão Mendes Pinto) แต่ในแถบจังหวัดจันทบุรีนั้นไม่ปรากฏชื่อที่ใกล้เคียงกับคำดังกล่าว นอกจากบ้านเสาไห้ ตำบลเสาไห้ อำเภอเสาไห้ในเขตจังหวัดสระบุรีเท่านั้น ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ติดกับทะเลดังคำบรรยายในจดหมายข้างต้น ส่วนชื่อบ้านบ้านลำพารี(Lamparie) นั้น คิดไม่ออกว่าตรงกับสถานที่ใด
สำหรับบ้านเพชรทราย(Pessay) ทีแรกก็แทบจะหมดหวัง แต่เมื่อลองศึกษาดูจากแผนที่สยามและประเทศราชพ.ศ.2400(Map of Siam and Its Dependencies, 1857) โดย เซอร์ จอห์น เบาริ่ง (John Bowring)[15] ตีพิมพ์ในหนังสือประมวลแผนที่: ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์ -การเมืองกับลัทธิอาณานิคมในอาเซียน (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ) ก็พบว่า หมู่บ้านดังกล่าว น่าจะอยู่บริเวณย่านปากแม่น้ำประแสร์ (Passay R.) ในเขตจังหวัดจันทบุรีนั่นเอง
การอ้างอิง
[1] สันต์ ท. โกมลบุตร, จดหมายเหตุการเดินทางครั้งที่2 ของ บาทหลวงลาลูแบร์ ค.ศ. 1687-1688(กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว, 251) , คำนำ หน้า ก-จ
[2] สันต์ ท. โกมลบุตร, เรื่องเดิม, น.71
[3] สันต์ ท. โกมลบุตร, เรื่องเดิม, น.68
[4] สันต์ ท. โกมลบุตร, เรื่องเดิม, หน้า73
[5] สันต์ ท. โกมลบุตร, เรื่องเดิม, น.66
[6] สันต์ ท. โกมลบุตร, เรื่องเดิม, น.67-68
[7] 1 lieue หรือ 1 league เท่ากับประมาณ 3 ไมล์ทะเล หรือประมาณ 5.556 กิโลเมตร ขอขอบคุณวิกิพีเดีย
[8] สันต์ ท. โกมลบุตร, เรื่องเดิม, หน้า68-69
[9] สันต์ ท. โกมลบุตร, เรื่องเดิม, หน้า70
[10] สันต์ ท. โกมลบุตร, เรื่องเดิม, หน้า70-71
[11] สันต์ ท. โกมลบุตร, เรื่องเดิม, หน้า71
[12] สันต์ ท. โกมลบุตร, เรื่องเดิม, หน้า84
[13] สันต์ ท. โกมลบุตร, เรื่องเดิม, หน้า86
[14] สันต์ ท. โกมลบุตร, เรื่องเดิม, หน้า90
[15] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ, ประมวลแผนที่: ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์ -การเมืองกับลัทธิอาณานิคมในอาเซียน (กรุงเทพฯ: จัดพิมพ์โดยมูลนิธิโตโยต้า, 2555) , หน้า 184
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น