บทที่2. ความขัดแย้งเรื่องผิว ชนชั้นและศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16
by C.R. Boxer (แปลโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร / ร่างรอขัดเกลาสำนวน พิสูจน์อักษร อ้างอิง แก้ไขเทคนิคการนำเสนอ ภาพประกอบและกำกับภาษาต่างประเทศ)
ความขัดแย้งทางผิว ชนชั้นและศาสนาเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่อาจเลี่ยงได้ เนื่องจากการอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมากของชาวโปรตุเกสและการเผยแพร่ศาสนาจักรโรมันคาธอลิกในทวีปแอฟริกา เอเชียและอเมริกาใต้ ความขัดแย้งดังกล่าวมีสภาวการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ในโมรอคโค(Morocco)นั้น อุดมการณ์เกี่ยวกับสงครามครูเสด(The Crusading Spiritual)ยังคงตกค้างอยู่อีกนาน หลังจากการต่อสู้กันประปรายเป็นระยะๆ ผลส่วนใหญ่จากการยึดเมืองซีทตา(Ceata) ตันกิเยร์(Tangier)และที่มั่นอื่นๆตามชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก(Atlantic)ของโปรตุเกส คือ การส่งกำลังทหารเข้าไปยังดินแดนที่โดดเดี่ยวตนเองและเกลียดชังคนต่างชาติอย่างรุนแรงของชาวมุสลิม การต่อต้านชาวโปรตุเกสผู้รุกรานเกิดจากการยุยง ตระเตรียมและชี้นำของพวกมาราบูตส์(The Marabouts)ก่อให้เกิดสงครามตามมา ความพยายามของโปรตุเกสในการรุกรานสิ้นสุดลงจากความหายนะในสมรภูมิอัลคาเซอร์ เคบีร์(Alcacer Kebir) เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ.1578 ผลของสงคราม คือ กษัตริย์เซบาสติอาว (King D. Sebastiao) สิ้นพระชนม์ ทหารที่รอดตายต่างก็ถูกจับเป็นเชลยศึกทั้งหมด ในรัชสมัยของกษัตริย์ ด.จูอาวที่ 3(King D.João III ) ทำให้ป้อมปราการหลายแห่งของโปรตุเกสในโมร็อคโคถูกทอดทิ้ง ครั้นสิ้นสุดศตวรรษที่16 ป้อมปราการของโปรตุเกสก็เหลืออยู่ในเมืองซีตา ตันกิเยร์และมาซากัน(Mazagan)เท่านั้น กองทหารประจำป้อมทั้ง 3 แห่ง มักจะได้รับค่าจ้างไม่ครบ นอกจากนี้ยังขาดแคลนเสบียงและกำลังพล ทหารโปรตุเกสเหล่านี้จึงมีความสามารถในการต่อสู้ป้องกันตัวเล็กน้อยๆ การลาดตระเวนและการตรวจค้นพื้นที่รอบเมือง ทำได้แค่ในเวลากลางวันเท่านั้น พวกเขาไม่กล้าเสี่ยงออกไปลาดตระเวนจนไกลลับตาจากแนวกำแพงป้อม เพราะถ้าพลั้งพลาดหรือคล้อยหลังเมื่อใดก็อาจจะถูกโจมตีด้วยกำลังที่เหนือกว่าได้ทันที การรบฉาบฉวยเช่นนี้ บางครั้งลดลงไปบ้างในช่วงที่พ่อค้าชาวมัวร์(Moorish)และยิว(Jewish)นำสินค้าเข้ามาแลกเปลี่ยน กษัตริย์โปรตุเกสทรงห่วงใยป้อมปราการทั้ง 3 แห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดให้เสริมกำลังทหารและให้การสนับสนุนอย่างรวดเร็วเมื่อป้อมแห่งใดแห่งหนึ่งถูกพวกมัวร์ปิดล้อม
[1](เริ่มการพิสูจน์อักษรต่อ)สำหรับภูมิภาคซึ่งอยู่ลัดลงไปทางใต้ของชายฝั่งอาฟริกาตะวันตกจนถึงมอริตาเนีย(Mauretania) และต่ำลงไป การค้นหาทองคำที่กินี(Guinea)ถูกแทรกแซงจากความต้องแรงงานทาส การค้าทาสกลาย เป็นกิจการสำคัญของโปรตุเกสตามดินแดนแถบชายฝั่งทะเลหลังจากมีการพัฒนาไร่อ้อย (The development of sugar plantation)ในมาเดอิรา(Madeira) เซา โตเม(Sao Tome)และบราซิล(Brazil) ตามลำดับ อาณานิคมของสเปนในแถบทะเลแคริบเบียน(The Spanish Carribbean Colonies) และอาณานิคมที่กระจัดกระจายในเม็กซิโก(Mexico)และเปรู(Peru) ต่างก็เป็นแหล่งระบายทาสที่ให้กำไรมากมายแก่พ่อค้าโปรตุเกส แม้ว่าความป่าเถื่อนจะเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำเพื่อให้ได้ทาสมาเป็นสินค้า แต่ชาวโปรตุเกสก็พบว่าการค้าทาสโดยสันติกับนายหน้าชาวอาหรับ(Arub) เบอร์เบอร์(Berber) และนิโกร (Negro)แห่งดินแดนเร้นลึกเข้าไปจากชายฝั่ง(Hinterland) ให้กำไรมากกว่าการจู่โจมเข้าไปในหมู่บ้านโล่งๆบนชายฝั่งที่ไม่มีการป้องกันตนเอง โรงสินค้าแห่งแรกถูกตั้งขึ้นที่อาร์กีม(Argium) เมื่อค.ศ.1445 การตั้งโรงงานหรือโรงสินค้าเช่นนี้ เป็นแบบฉบับซึ่งชาวอังกฤษ ชาวดัทซ์(Dutch) ชาวฝรั่งเศส(French) ได้นำเอาไปใช้และประยุกต์ใช้ต่อๆกันมา และ ณ ที่อาร์กีมนี้เองที่สินค้าชาวยุโรปจำพวกผ้า(textiles) โลหะภัณฑ์(Hardware) หนังสัตว์(Hides) กระจกเงา(Looking-glass)ฯลฯ ต่างถูกนำมาแลกเปลี่ยนกับทองคำผง(Gold-dust) ทาสผิวดำ(Negro-slave) ครั่ง(Gumlac) ชะมด(Civet) เครื่องเทศ(Malagueta) ชนิดที่เรียกว่า ”Grain of paradise”
จากเคปเวิร์ด(Cape Verde) จนถึงโกลด์โคสท์(Gold Coast) ระบบที่ค่อนข้างแตกต่างกันถูกนำมาใช้เมื่อเกาะเคปเวิร์ด(Cape Verde Is.) ถูกยึดครองเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสในช่วงทศวรรษ 1460 บรรดาพ่อค้าเอกชนและผู้ถูกเนรเทศ ชาวโปรตุเกสซึ่งขึ้นล่องตามลำน้ำและหุบห้วยสายต่างๆแถบเซเนแกมเบีย(Senegambia)และตอนเหนือของกินี(Upper Guinea)เป็นประจำ มักจะตั้งหลักแหล่งในหมู่บ้านของพวกนิโกร(Negro) อันเป็นสถานที่ซึ่งพวกเขาและทายาทเลือดผสมผิวดำ-ขาว(Mulatto)ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการค้าขายแลกเปลี่ยนทองคำและทาสระหว่างคนผิวขาวกับผิวดำ J.W.Blake
[2] ชาวอังกฤษ คนผิวขาวที่ใช้ชีวิตแบบพื้นเมือง ถูกเรียกว่าพวกแทนโกมาโอส(Tangomaos)หรือแลนซาโดส(Lancados) คนเหล่านี้ได้แก่ผู้ลี้ภัย ผู้ถูกเนรเทศในความผิดมหันต์ และผู้ร่วมประเวณีในสายเลือดเดียวกัน(Incestuouse acts)สำหรับคนกลุ่มนี้ แม้แต่การดำรงชีวิตและการสนทนาของพวกเขา ก็เป็นที่ยอมรับแต่เพียงในสถานที่เช่นนี้ ถึงกระนั้นพวกเขาก็มิได้หมดกำลังใจหรือความบากบั่นอุตสาหพยายาม บางคนเดินทางลึกเข้าไปห่างจากชายฝั่งทะเล จนถึงตลาดใหญ่ของชาวซูดานแห่งทิมบักตู (The great Sudanese mart of Timbuktu) ซึ่งทูตบางคณะของกษัตริย์ดอม จูอาวที่2 (King D. Joao2nd) ก็เคยเดินทางไปถึงเช่นกันสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ พวกเขาทำให้การใช้ภาษาโปรตุเกสแบบลิงกัว ปรังกา (Lingua franca)
[3] แพร่ไปในวงการค้าตลอดแนวชายฝั่งทะเล
ตลอดแนว150ไมล์ลึกเข้าไปในดินแดนชายฝั่งทะเลโกลด์ โคสท์ รัฐบาลโปรตุเกสติดต่อกับชาวพื้นเมืองโดยสันติวิธีน้อยกว่าการใช้กำลังทหารและการบีบบังคับซึ่งอันที่จริงแล้วก็แทบจะไม่ต้องออกกำลังมากมายเท่าใดเลย ภูมิภาคแถบนี้มีความสำคัญมากกว่าแห่งอื่น เพราะเป็นดินแดนที่อุดมไปด้วยทองคำ และเป็นแหล่งรวบรวมทองคำ ซึ่งถูกนำมาจากดินแดนเร้นลับในซูดานตะวันตกเพื่อส่งไปยัง เคป เวิร์ดและเซเนแกมเบีย ในค.ศ.1481พระเจ้าดอม จูอาวที่2 กษัตริย์ผู้ทรงกระตือรือร้นและมองการณ์ไกลได้โปรดให้จำลองแผนผังและโครงสร้างของปราสาทที่แข็งแรง-มั่นคง-สง่างามในยุโรปมาเป็นแม่แบบในการสร้างป้อมปราการที่บริเวณเรียกว่า เซา จอร์ช ดา มินา (Sao Jorge da Mina or St. George of the Mine or Elmina) ป้อมเซา จอร์ช ดา มินา ที่เมืองมินา จะเป็นป้อมปราการแห่งแรกของโปรตุเกสในเขตร้อน ซึ่งจะทำให้โปรตุเกสสามารถเข้าปกครองพวกนิโกรพื้นเมือง และใช้คุ้มครองแหล่งทองคำให้พ้นจากการคุกคามของสเปนและยุโรปชาติอื่นด้วย เมื่อโปรตุเกสสร้างป้อมแห่งนี้ในค.ศ.1482 ทำให้บรรดาผู้นำชนเผ่าพื้นเมืองเกิดความไม่พอใจ ต่อมาพลเมืองของชนเผ่าเหล่านี้บางกลุ่มหันมานับถือศาสนาโรมันคาธอลิกและจงรักภักดีต่อชาวโปรตุเกสสืบมาจนกระทั่งป้อมแห่งนี้ถูกชาวดัทช์ยึดครองไปใน ค.ศ.1637
จูอาว ดึ บารูช (Joao de Barros) นักจดหมายเหตุสำคัญของโปรตุเกส ซึ่งเคยเดินทางไปยังเมืองมินาเมื่อยังเยาว์วัย ได้เล่าถึงฐานะของชาวโปรตุเกสที่เมืองกินี (Guinea) ในหนังสือชื่อ เดกาดา ปรีเมอิรา (Decada Primeira) ตีพิมพ์เมื่อค.ศ.1552 ว่า
[4]“นอกจากเรื่องการเพิ่มจำนวนของพระราชทรัพย์ที่ตกสืบกันมาในประเทศโปรตุเกสแล้ว ข้าพเจ้าไม่ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดิน(Land-tax) อากร(Toll) ภาษีหนึ่งชักสิบ(Tith) ภาษีการขน ส่งสินค้า(Transfer-tax) หรือภาษีอื่นๆรวมทั้งการเสียภาษีเงินได้รายปีที่สูงกว่ารายได้ประจำ โดยไม่บ่นถึงความแห้งแล้งและการขาดทุนมากไปกว่าการเสียภาษีทางการค้าที่กินี ณ ที่นี้ ถ้าหากเรารู้จักลู่ทางในการทำมาหากินและเก็บเกี่ยวพืชผลอย่างเหมาะสมแล้ว เราก็จะได้รับผลกำไรตอบแทนอย่างคุ้มค่า มาก กว่าการยึดครองของราชอาณาจักรและทุ่งหญ้าแห่งหุบเขาซานตาเร็ม(The vale of Santarem) ยิ่งไปกว่านั้น ภายในดินแดนอันสงบสุขปราศจากความน่ากลัวและการฆ่าฟันแห่งนี้ เราสามารถจะแสวงหาทองคำ งาช้าง ขี้ผึ้ง หนังสัตว์ น้ำตาล พริกไทย ฯลฯ ได้อย่างมากมาย หากเดินทางไปถึงดินแดนลึกเข้าไป (Hinterland) เช่นเดียวกับที่เราเคยดั้นด้นไปถึงญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ห่างออกไปสุดมุมโลกแล้ว เราจะได้รับผลตอบแทนมากกว่านี้ ประการสุดท้ายคือ กินีมีพลเมืองที่ซื่อสัตย์และมีคนรับใช้จำนวนมากที่ขยันขันแข็ง สามารถทำงานให้เราได้ทุกอย่าง พวกเขาต่างก็มั่นใจว่า ไม่ว่าดินแดนแห่งใดก็ตามที่เราได้ครอบครอง ล้วนไม่อาจจะให้สิ่งตอบแทนแก่เราได้มากมายขนาดนี้อีก หากข้าพเจ้าได้รับการฝึกหัด-อบรมทางด้านยุทธศิลป์(Military Art) มาก่อนละก็ ข้าพเจ้าจะขอสมัครมาเป็นทหารที่กินีมากกว่าจะขอไปยังดินแดนของชาวสวิส(The Land of Swiss) ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ขณะนี้พวกมุสลิมแห่งอาฟริกา(The Muslim of Africa) โดยเฉพาะผู้ครองนครแห่งมอร็อคโค(The Sherif of Morrocco) มักจะชอบแสวงหาโดยการทำสงครามบ่อยครั้งกว่าการทำสงครามของโปรตุเกสเสียอีก”
วิถีชีวิตประจำวันที่เรียบง่ายของชาวเอเชียนั้น ในอดีต อาจเปรียบเทียบได้กับการที่ซัลยูส(Salust)
[5] ได้ประณามว่า การใช้ชีวิตที่หละหลวมและขาดความกระตือรือร้นของชาวโรมัน (Roman People) เป็นสาเหตุแห่งการคดโกงทุจริตซึ่งกันและกันอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างดังกล่าวคือสิ่งที่โปรตุเกสกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ แต่ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งดินแดนแห่งเอธิโอเปียมอบให้แก่เรา ทำให้ดินแดนแห่งนี้ได้ชื่อว่าแผ่นดินแห่งความอุดมสมบูรณ์อย่างแท้จริง กินีไม่เพียงแต่จะมอบปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตเท่านั้น แต่ยังประทานสำนึกแห่งการดำรงเผ่าพันธุ์อันบริสุทธิ์ งดงามและใกล้ชิดกับพระเจ้าอีกด้วยนอกจากดึ บารูชเรื่องราวเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์และความซื่อสัตย์ของชาวเมืองกินีแล้ว เขายังบันทึกคำเตือนสำคัญเอาไว้ว่า“แต่จะเป็นด้วยบาปของมวลมนุษย์หรือพระประสงค์อันสุดหยั่งรู้ของพระเจ้าก็ไม่ทราบที่ทำให้เส้นทางการเดินเรือไปยังดินแดนเอธิโอเปียเต็มไปด้วยคมดาบแห่งความตายและโรคภัยไข้เจ็บ ถ้าหากพระเจ้าทรงคุ้มครองให้เราเดินทางไปถึงดินแดนอันเปรียบเสมือนอุทยานแห่งพระองค์ได้ เมื่อนั้น สายธารแห่งทองคำจะไหลท้วมท้นไปยังทุกๆภูมิภาคที่อำนาจของเราครอบคลุมไปถึง”
ในแถบอาฟริกาตะวันตกนั้น ไข้มาลาเรียและโรคเมืองร้อนต่างๆเป็นอุปสรรคสำคัญที่คร่าชีวิตของคนผิวขาวจำนวนมากในศตวรรษที่16และระยะเวลาต่อๆมา อย่างไรก็ตาม จากบันทึกของบารอสปรากฏว่า แม้ชาวโปรตุเกสจะสามารถหาทองคำจำนวนมากได้จากดินเดนแถบชายฝั่งทะเลของอาฟริกา แต่พวกเขาก็ตระหนักดีว่า พวกเขามิอาจจะดั้นด้นบุกเข้าไปในป่าดงดิบเขตร้อนชื้นอันกว้างใหญ่ ที่คั่นระหว่างดินแดนแถบชายฝั่งทะเลกับดินแดนที่อยู่เร้นลึกตอนใน ซึ่งเป็นแหล่งทองคำแห่งมาลี(The golden field of Mali or Wangara) ได้อย่างพวกมัวร์ ที่ข้ามมาจากทะเลทรายสะฮาราอันทุรกันดาร (The Sahara)
แม้ว่าบารอสจะกล่าวถึงพวกคาธอลิกนิโกรที่กินีด้วยความชื่นชม แต่แท้ที่จริงแล้ว นิโกรที่เขารีตมีจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง นิโกรเหล่านี้เป็นมิตรกับชาวโปรตุเกสที่อาศัยอยู่ในมิน่า(Mina)อาซิม(Axim)และป้อมอื่นๆอย่างวางใจได้ อย่างไรก็ตาม ระยะทางตั้งแต่เคปเวอร์จนถึงคองโก มีมีชันนารีชาวโปรตุเกสเข้าไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ไม่เกิน2-3คนเท่านั้น และมิชชันนารีที่เดินทางเข้ามายังดินแดนแห่งนี้ ส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิตหรือเจ็บป่วยจนไม่สามารถจะทำงานได้ เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บอันชุกชมและสภาพวิปริตอย่างรุนแรงของอากาศ สำหรับทางทิศใต้ของลุ่มแม่น้ำแชร์(Southern of The river Zaire)ก็เช่นเดียวกัน ความตายเนื่องจากสภาพอากาศเช่นนี้ คืออุปสรรคสำคัญอย่างยิ่งต่อการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ จนกระทั่งมีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แผนใหม่ ในคริสต์ศตวรรษที่19
[6] ปัญหาดังกล่าวจึงคลี่คลายไปในปีเดียวกันกับการสร้างป้อมเซา จอร์ช ดา มินาที่โกลด์ โคสท์นั้นเอง โปรตุเกสก็ได้ค้นพบอาณาจักรเก่าแก่แห่งคองโก(The old Kingdom of Congo)ความสำเร็จก้าวแรกของชาวโปรตุเกสจึงเป็นแรงบันดาลใจในการเผยแพร่ศาสนามากยิ่งขึ้น ทำให้กษัตริย์ชาวบันตูแห่งอาณาจักรคองโกหลายพระองค์หันมาเข้ารีตนับถือศาสนาคาธอลิก พระเจ้าดอม อัฟฟองโซ(King Dom Affonso)ก็ทรงเป็นชาวคาธอลิกที่ดียิ่งกว่าผู้สอนศาสนา(teachers)ของพระองค์อีกหลายๆคน พระองค์ทรงมีความสนใจต่อการให้ความสนับสนุนศาสนาและอารยธรรมของยุโรป สิ่งที่พระองค์ทรงเรียกร้องอยู่ตลอดเวลาคือ คณะทูตรุ่นแรกๆที่จะเดินทางเข้าไปในอาณาจักรคองโก ไม่เพียงจะเป็นบาปหลวง(friars)
[7]และผู้สอนศาสนา(priests)
[8]อื่นๆเท่านั้น หากจะต้องเป็นแรงงานฝีมือ(skillworkers)และช่างฝีมือ(artisans)อาทิ ช่างตีเหล็ก(blacksmiths) ช่างก่อสร้าง(masons) ช่างเรียงอิฐ(bricklayers) และเกษตรกร(ahricultural labours)อีกด้วย ในค.ศ.1492ช่างพิมพ์(printers)ชาวเยอรมนีสองคนได้อาสาเข้าไปทำงานในคองโก ต่อมา มีผู้หญิงผิวขาวจำนวนหนึ่งถูกส่งเข้าไปสอนสตรีชั้นสูงชาวพื้นเมืองให้รู้จักประดิษฐ์งานเศรษฐศิลปกรรมในครัวเรือน(The art of domestic economy)ตามแบบอย่างของชาวโปรตุเกส นอกจากนี้ยังมีบุตรหลานของขุนนางชาวคองโกจำนวนมากถูกส่งไปรับการศึกษาทีกรุงลิสบอนและภายหลังนักเรียนผู้หนึ่งในจำนวนนี้ ได้รับการแต่งตั้งจากพระสันตะปาปาให้ดำรงตำแหน่งบิชอป(bishop)โดยการเสนอของพระเจ้ามานูเอล(King Manuel)กษัตริย์แห่งราชวงศ์แอฝิช(The House of Aviz)องค์ต่อๆมา มิได้พยายามควบคุมการปกครองหรือยึดครองอาณาจักรคองโก โดยใช้กำลังทหาร หากแต่ทรงอนุเคราะห์กษัตริย์แห่งคองโก ราวกับพระญาติวงศ์ และในลักษณะของพันธมิตร มิใช่แบบประเทศราช เมื่อพระเจ้าดอม อาฟฟองโซที่1(King Dom Affonso 1)สิ้นพระชนม์ นโยบายนี้ก็เลิกล้มไปโดยปริยาย เนื่องจากโปรตุเกสสามารถติดต่อกับเอเชีย-และ อาฟริกาได้แล้ว นอกจากนี้ ความต้องการแรงงานทาส”The Black Ivory” ได้ถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวด เร็ว ทำให้ชาวยุโรปจำนวนมากเดินทางเข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้าทาสในอาฟริกาตะวันตก โดยเฉพาะ ชาวโปรตุเกสเป็นพวกแรกที่ได้รับผลประโยชน์จากการค้าทาสอย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลานานหลายร้อยปี ทำให้วัฒนธรรมของชาวลูซิตาเนียนทิ้งร่องรอยไว้ในอาณาจักรคองโกอยู่เป็นเวลานาน ศาสนพิธีของศาสนาคริสต์นิกายโรมัน-คาธอลิก ยังคงได้รับการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนถึงคริสต์ศตวรรษที่18 หรืออย่างน้อยที่สุดบุคคลชั้นสูงในอาณาจักรคองโก ยังสามารถพูด-อ่าน-เขียน-ภาษาโปรตุเกสได้อย่างคล่อง แคล่วจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่17
ชาวโปรตุเกสแสดงท่าทีของตนต่อชาวพื้นเมืองในแองโกลาและเบงเกลลา(Angola and Benguela) อย่างตรงกันข้ามกับการปฏิบัติต่อชาวคองโก พลเมืองแห่งดินแดนทางตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำเบงโก(The Bengo River) ไม่ค่อยจะยินดียินร้ายต่อการยอมรับนโยบายสันติวิธีซึ่งชาวโปรตุเกสหยิบยื่นให้ดังเช่นชาวคองโก และสาเหตุที่โปรตุเกสติดต่อกับชาวคองโกด้วยสันติวิธีก็เพราะว่า คองโกมีผล ประโยชน์ให้โปรตุเกสตักตวงอย่างคุ้มค่านั่นเอง ในค.ศ.1568 บาทหลวงคณะเจซูอิตรุ่นแรกๆที่เข้าไปอยู่ในแองโกลา ได้สนับสนุนแนวความคิดของบาทหลวงที่เข้าไปเผยแพร่ศาสนาในบราซิลที่เสนอว่าโปรตุเกสควรจะเผยแพร่ศาสนาคริสต์ด้วยวิธีการที่รุนแรงหรือ ”Preaching with the sword and rod of iron” บาทหลวงฟรานซิสโก เดอ กูเวยา (Francisco de Gouveia) ผู้อุทิศตนแก่การเผยแพร่ศาสนาคริสต์เป็นเวลาหลายปีในแองโกลาหรือโงลา(Hgola)ตามที่หัวชนเผ่าพื้นเมืองนิยมเรียก ได้กล่าวว่า ชาวบันตูเป็นคนป่าเผ่าดุร้ายที่ไม่อาจจะทำให้หันมานับถือพระเจ้าได้ ด้วยวิธีการอันละมุนละม่อม อย่างที่เคยใช้ได้ผลกับชาวจีนและญี่ปุ่น การทำให้ชาวบันตูเปลี่ยนมาเป็นคริสเตียนที่ดีได้ มีวิธีการเดียวคือการบังคับด้วยกำลังเท่านั้น
การสนับสนุนให้ชาวคริสเตียนรวมตัวกันต่อสู้กับความชั่วร้ายดังกล่าว สอดคล้องกับความต้องการของเปาโล ไดแอส เดอ โนแวส(Paulo Dias de Novais) ผู้ซึ่งได้ยัดเยียดนโยบายในการยึดครองแองโกลาต่อกษัตริย์โปรตุเกสเมื่อค.ศ.1571 แม้กษัตริย์โปรตุเกสจะทรงลังเลพระทัย แต่ในที่สุดก็ได้ทรงอนุญาตอย่างไม่เต็มพระทัย ดังที่ปรากฏรายละเอียดอยู่ในผลงานการค้นคว้าของศาสนตราจารย์ซิลวา เรโก(Silva de Rego) จึงไม่จำเป็นจะต้องนำจินตภาพแห่งการก่อตั้งอาณานิคมของครอบครัวเกษตรกรจากประเทศโปรตุเกส ในดินแดนของแองโกลา โดยมีเป้าหมายว่าครอบครัวของเกษตรกรโปรตุเกสเหล่านั้น จำดำรงชีพด้วย “พืชพันธ์ธัญญาหารทั้งหมดที่พวกเขาจะเสาะแสวงหาได้ในแองโกลา และจากเกาะเซา โตเม” แต่เมื่อคณะสำรวจของเปาโล ไดแอส เดอ โนแวส เดินทางไปถึงลวนดา(Launda) ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1575 ปรากฏว่า การค้าทาสที่ลวนดาได้ดำเนินการไปอย่างเต็มที่แล้ว นอกจากนี้ สภาพอากาศอันวิปริตอย่างรุนแรงยังเป็นอุปสรรคต่อการตั้งถิ่นฐานของชนผิวขาว ทำให้โครงการตั้งอาณานิคมที่แองโกลาจึงต้องล้มเลิกอย่างรวดเร็ว เพราะรัฐบาลโปรตุเกสไม่สามารถจัดหาแรงงานทาส นิโกร(Negro slaves หรือ Pecas หรือ Pieces) มาสนับสนุนการตั้งอาณานิคมที่แองโกลาอย่างเพียงพอได้ความต้องการแรงงานทาสที่พุ่งขึ้นอย่างรุนแรง เป็นสาเหตุของสงครามระหว่างชนพื้นเมือง (The-inter-tribal)อย่างดุเดือดในดินแดนที่อยู่ลึกเข้าไปในพื้นทวีป โดยมีมนุษย์กินคนเผ่ายักกัส (The cannibal Jagas)เป็นตัวการสำคัญ แต่เดิมนั้น โปรตุเกสเคยให้ความช่วยเหลือแก่กษัตริย์คองโก ในการต่อสู้กับผู้รุกรานที่มีแต่ความป่าเถื่อนแห่งชนเผ่ายักกัส ซึ่งพยายามจะบุกเข้าปล้นเมืองหลวงของคองโก แต่กลับถูกทหารโปรตุเกสแห่งป้อมเซา โตเมขับไล่ออกไปได้ทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ชนเผ่ายักกัสส่วนใหญ่ในแองโกลานั้น มีความเป็นมิตรต่อชนผิวขาวด้วยดี โปรตุเกสได้จัดตั้งกองทหารอาสาพื้นเมืองขึ้น เรียกว่า”The gurra preta” ทหารอาสากองนี้เป็นผู้ช่วยของชาวโปรตุเกสในการปกครองชนพื้นเมืองเผ่าอื่นๆ ซึ่งมักจำก่อความไม่สงบบ่อยๆ โปรตุเกสจึงมักส่งทหารอาสาเผ่ายักกัสซึ่งตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะ ออกไปปราบชนเผ่าที่ก่อให้เกินความยุ่งยากทางการปกครอง การปราบปรามดำเนินไปอย่างโหดเหี้ยมทารุณ จึงเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกินความไม่สงบขึ้นมาอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างน่าเวทนา แต่การลุกฮือของทาสและกิจการค้าทาสก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 200ปี
พฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้น เป็นที่มาของเสียงวิพากษ์วิจารณ์ภายในประเทศโปรตุเกสโดยบาทหลวงมานูเอล เซเวริม เดอ เฟเรีย(Manuel Severim de Faria) แห่งมหาอาสนวิหารเดอะ แคนนอน ออฟ เอโวรา (The Canon of Evora Cathedral) ผู้ซึ่งเฝ้าติดตามสังเกตสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความเอน็จอนาถใจ ได้บันทึกไว้ว่า
“ไม่มีชาวโปรตุเกสคนใดเลยที่เห็นพ้องกับพฤติกรรมอันโหดร้ายทารุณ ความโหดร้ายมิใช่หนทางที่จะทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางการค้า และความสำเร็จในการเผยแพร่ศาสนาซึ่งมีความสำคัญเป็นอันมากต่อดินแดนแห่งนั้น”
ชาวโปรตุเกสส่วนใหญ่ มิได้ยอมรับต่อทัศนะดังกล่าวอย่างทันทีทันใดในขณะนั้นเลย ดังจะเห็นจากงานเขียนชิ้นสำคัญของอันโตนิโย เดอ โอลิเวอีรา เดอ คาดอร์เนากา(Antonio de Oliveiva de Cadornega) ชื่อ ”Historia des Guerras Angolanas” ซึ่งเขียนในลวนดาเมื่อค.ศ.1680 หลังจากที่เขาได้ใช้ประสบการณ์ในอาณานิคมมาแล้วถึงสี่สิบปี คาดอร์เนกาได้กล่าวเตือนอย่างไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อยว่า ”พวกนอกศาสนาเหล่านี้ มิอาจถูกปกครองหรือถูกทำให้อ่อนโยนได้ด้วยความรัก นอกจากการใช้กำลังบังคับเท่านั้น” คาดอร์เนกาได้อ้างถึงคำแนะนำของอันโตนิโย เดอ อาบริว เดอ มิรันดา แห่งป้อมอัมบากา ซึ่งได้เสนอแก่ข้าหลวงแห่งอังโกลาเมื่อค.ศ.1640 โดยคาดอร์เนกาได้เสนอว่า การใช้มาตรการรุนแรงต่อชนเผ่านิโกรนั้น มีแต่จะให้ประโยชน์แก่โปรตุเกสอย่างไม่สิ้นสุด“สิ่งที่เราจะต้องปฏิบัติกับคนนอกศาสนาเหล่านี้ยิ่งกว่าชนชาติอื่นๆ คือการใช้หลัก-ผู้พิชิตจงเจริญเท่านั้น การลงโทษเฆี่ยนตีและการกักขัง เป็นสิ่งที่พวกนิโกรหวาดหวั่นที่สุด ดังเช่นชาวลิเบอร์ไทน์ เคยถูกชาวโรมันลงโทษเฆี่ยนตี เนื่องจากชาวโรมันไม่สามารถจะฝึกให้ชาวลิเบอร์ไทน์เชื่อฟังด้วยดีได้ มาตรการนี้ เป็นวิธีเดียวที่ชนชั้นปกครองและผู้ชนะใช้กับคนในบังคับ และเป็นหนทางเดียวที่เราควรจะกระทำ เพื่อความมีชัยในอาณาจักรเหล่านี้”
อีกฟากหนึ่งของทวีปอาฟริกา สถานการณ์ต่างก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอีกเช่นกัน นักบุกเบิกชาวโปรตุเกสได้พบว่า ดินแดนชายฝั่งตะวันออกตั้งแต่โซฟาลาถึงโซมาเลียนั้นถูกชาวอาหรับสวาฮิลียึดครองเป็นถิ่นอาศัยตลอดแนวชายฝั่งทะเลทั้งหมด ชาวพื้นเมืองเหล่านี้มีความเป็นอยู่แบบอาฟริกันอย่างมั่นคง เป็นเวลานานหลายร้อยปีแล้ว จากการแต่งงานและอยู่กินกับชนเผ่าบันตูภายใต้อารายธรรมอิสลามอย่างภาคภูมิใจ ชาวโปรตุเกสได้ติดต่อค้าขายกับชนเผ่าบันตูที่อาศัยอยู่ลึกเข้าไปในพื้นทวีป โดยใช้ลูกปัดและผ้าฝ้ายที่มาจากอินเดียเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนกับทองคำ งาช้างและทาสนิโกร ชาวโปรตุเกสเกือบจะเข้า ใจว่า โซฟาลาเป็นดินแดนแห่งเรื่องราวใบคัมภีร์ไบเบิล และพยายามจะผูกขาดการค้าทองคำกับโซฟาลาแต่เพียงผู้เดียว โดยได้สร้างป้อมปราการขึ้นที่โซฟาลาในค.ศ.1505 โปรตุเกสพยายามขับไล่พ่อค้าชาวสวาฮิลีออกจากโซฟาลา โดยการใช้ทั้งกำลังทหารและกลอุบาย เพื่อจะได้เป็นคู่ค้าโดยตรงกับชนเผ่านิโกร ซึ่งนำทองคำออกมาจากดินแดนในพื้นทวีป ความพยายามของโปรตุเกสประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะชาวสวาฮิลีได้ลงหลักปักฐาน ดำเนินชีวิตอยู่แทบทุกพื้นที่ในอาฟริกาตะวันออก ไม่ว่าตามริมน้ำลำธารและในป่าที่อยู่ลึกเข้าไปไม่กี่แห่งในพื้นทวีป ซึ่งกองทหารหน่วยเล็กๆของโปรตุเกสสามารถยึดครองเอาไว้ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการเดินทางเข้าไปในโซฟาลาของโปรตุเกส ได้ก่อให้เกิดความแตกแยกภายในชนพื้นเมืองเผ่ามากาลังกาขึ้นมาด้วย ดินแดนของชาวมากาลังกานี้ ชาวโปรตุเกสเรียกอย่างหรูหราว่า” ” โดยเชื่อว่าบัดนี้พวกเขาค้นพบ” เมืองซึ่งเต็มไปด้วยทองคำแห่งอาฟริกา” แล้ว การรบราฆ่าฟันกันเองภายในเผ่า ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า โดยที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่ยอมลดราวาศอกให้แก่กัน จึงเป็นอุปสรรคต่อชาวโปรตุเกสในการเดินทางเข้าไปติดต่อกับชาวพื้นเมืองในดินแดนพื้นทวีป ซึ่งมีความลำบากยากเย็นมาก และยังเป็นอุปสรรคต่อชาวพื้นเมืองในการนำเอาทองคำออกมายังเมืองท่าชายฝั่งทะเลด้วย และในที่สุดโรคภัยไข้เจ็บในเขตร้อนอันร้ายแรงในแถบดินแดนชายฝั่ง(และในแถบลุ่มแม่น้ำแซมเบซี) ซึ่งมีความรุนแรงพอๆกับโรคภัยในดินแดนชายฝั่ง อาฟริกาตะวันตก ก็ได้คร่าชีวิตพ่อค้าและนักแสวงโชคชาวโปรตุเกสจำนวนมากดังที่เคยเป็นมาแล้วอย่างไรก็ตาม แม้จะมีอุปสรรคอื่นๆอีกมากมายซึ่งข้าพเจ้ามิได้กล่าวถึง แต่ชาวโปรตุเกสก็สามารถหาทองคำได้มากมายเช่นเดียวกัน แม้ว่าทองคำที่ได้มาจะมีจำนวนไม่มากเท่าทองคำที่เขาได้จากเซา จอร์ช ดา มินา ทองคำจากอาฟริกาตะวันออกเที่ยวแรกที่ส่งไปยังลิสบอนเมื่อค.ศ.1506นั้น ถูกใช้ทำกระถางบูชาที่เบเลม( )
[9] โดยฝีมือของกิล วีซองเต( )
[10]กวี-ช่างทอง( )ผู้มีชื่อเสียงที่สุดในขณะนั้น แต่ทองคำเที่ยวหลังๆซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย และอย่างน้อยที่สุด ทองคำในส่วนที่เป็นราชทรัพย์ของกษัตริย์โปรตุเกส ถูกนำไปจากดินแดนแห่งลุ่มแม่น้ำทากัส( ) เพื่อใช้จ่ายในการซื้อสินค้าจำพวกพริกไทยจากดินแดนชายฝั่งมะละบาร์ โดยกองเรือที่เดินทางกลับจากการค้าขายในอินเดีย เจ้า หน้าที่ผู้หนึ่งซึ่งรับผิดชอบในการเดินเรือขณะนั้น ได้แสดงความข้องใจอย่างสุดซึ้งว่า การลงทุนค้าขายเพื่อการแลกเปลี่ยนทองคำที่โซฟาลานั้น “มิได้ช่วยให้กษัตริย์โปรตุเกสประหยัดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดนอกจากการขาดทุน” (จากบันทึกของอัลบูเคิร์กเมื่อค.ศ.1510) เนื่องจากข้าหลวงและเจ้าหน้าที่จำนวนมากของโปรตุเกสต่างก็พากันลักลอบค้าทองคำเพื่อตักตวงผลประโยชน์ส่วนตัว เจ้าหน้าที่โปรตุเกสบางกลุ่มได้นำผลกำไรจากการลักลอบค้าทองคำ ส่งไปซื้อพริกไทยในอินเดีย บางกลุ่มซึ่งมีจำนวนไม่มากนักส่งกำไรกลับไปยังลิสบอน นอกจากนี้ ในป่าแถบโซฟาลายังมีนักแสวงโชคชาวโปรตุเกสจำนวนมาก เข้าไปใช้ชีวิตและทำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจำพวกทองคำและงาช้างกับชาวบันตู นักแสวงโชคเหล่านี้มีจำนวนมากพอๆกับพวกแลงซาโดส( )และพวกตันโกมาโอส( )
[11] ในแถบกินีและเซเนแกมเบียของอาฟริกาตะวันตก โดยทั่วไปแล้วเรายังไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับชื่อและพื้นเพของคนเหล่านี้ จนกระทั่ง คณะสำรวจของเอริก อาเซลสัน( ) ฮัก ตราซีย์( ) และอาเลซางเดรอ โลบาโต( )ได้ค้นพบเรื่องราวบางอย่างเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้ โดยได้เปิดเผยเรื่องราวของอันโตนิโย เฟอร์นานโด( )นักโทษอดีตช่างไม้ประจำเรือผู้ซึ่งดั้นด้นเข้าไปจนถึงชนเผ่าบันตูผู้กระหายสงครามราวกับเทพเจ้า
[12]ตรงกันข้ามกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในดินแดนชายฝั่งอาฟริกาตะวันตก กล่าวคือ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่16 ชาวโปรตุเกสยังไม่ให้ความสนใจในการค้าทาสที่ดินแดนชายฝั่งอาฟริกาตะวันออก แม้โปรตุเกสจะเกี่ยวข้องกับการค้าทาสมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม แต่เป็นเพียงการค้าทาสเพื่อส่งไปรับใช้ภายในบ้าน หรือเป็นองครักษ์ การค้าทาสในลักษณะนี้ แตกต่างกับการส่งทาสจำนวนมากจากอาฟริกาตะวันตก ไปสนับสนุนความต้องการแรงงานทาสจำนวนมากจากอาฟริกาตะวันตกไปสนับสนุนความต้องการแรงงานทาส ซึ่งมีอย่างไม่รู้จักเพียงพอ เพื่อการเพิ่มผลิตผลในไร่น้ำตาลและเหมืองแร่เงินในอเมริกาใต้และอเมริกากลาง ในศตวรรษที่16ทองคำและงาช้างเป็นสินค้าสำคัญจากอาฟริกาตะวันตก และภายหลังจากประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการลงทุนที่โซฟาลา นับตั้งแต่ค.ศ.1530เป็นต้นมา โปรตุเกสก็มุ่งหน้าใช้ความพยายามทางการค้าส่วนใหญ่ในลุ่มแม่น้ำแซมเบซี
ระหว่างค.ศ.1498-1499 เมื่อวาสโก ดา กามาเดินทางไปถึงบริเวณที่ตั้งถิ่นฐานของชาวสวาฮิลี ปรากฏว่าชาวสวาฮิลีได้กลายเป็นพันธมิตรที่ซื่อสัตย์ของกษัตริย์โปรตุเกสมาเป็นเวลากว่าหนึ่งร้อยปี(ตามความหมายปัจจุบันคือประเทศบริวาร- )แต่สำหรับชาวสวาฮิลีที่มอมบาซา คิลวา( )และเมืองท่าอื่นๆอีกหลายแห่ง ต่างก็เรียกร้องหรือต่อต้านโปรตุเกสในเวลาต่อมาอย่างเปิดเผยบ่อยๆ และการกระทำของโปรตุเกสที่ตอบโต้แก่ชาวพื้นเมืองฝ่ายตรงข้ามกับตน ได้ถูกบันทึกโดยทูตชาวสเปน ผู้หนึ่ง ซึ่งเดินทางไปยังราชสำนักชาห์แห่งเปอร์เซีย( )หลังจากเหตุการณ์ได้ผ่านพ้นไปประมาณ 100 ปีเศษว่า
“ หลังจากชาวโปรตุเกสส่งกองเรือประจำปีเดินทางไปค้าขายกับอินเดียแล้ว ทหารและกลาสีโปรตุเกสได้บุกเข้าปล้น-ฆ่า-เผา-ทำลายถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของชาวมุสลิมอย่างโหดเหี้ยมทารุณโดยไม่ละเว้นแม้แต่ผู้หญิง เด็ก และคนชรา ด้วยความเกลียดชังอย่างลึกซึ้งต่อชาวมุสลิม ทุกวันนี้ชาวเกาะเลือดผสมอาหรับ-กาฟเฟอร์( ) ยังจดจำเหตุการณ์สยดสยองที่เกิดจากคมดาบของชาวโปรตุเกสได้ดี”ทูตสเปนผู้นี้ยังได้บันทึกเพิ่มเติมว่า ชาวโปรตุเกสบางคนต้องมนต์ขลังแห่งการค้าทองคำและการค้าทาสอย่างล้ำลึก จนต้องลงหลักปักฐานอาศัยทำมาหากินตามดินแดนชายฝั่งสวาฮิลีและตามหมู่เกาะแถบอาฟริกาตะวันออก ชาวโปรตุเกสเหล่านี้ได้แต่งงานอยู่กินกับหญิงพื้นเมืองชนเผ่าบันตูและชนเผ่าสวาฮิลี กิจกรรมของชาวโปรตุเกสในอาฟริกาตะวันออกนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า ประกอบด้วยการต่อสู้-การค้าขายและเปลี่ยนสินค้า-การผิดประเวณี( )กับหญิงพื้นเมืองสลับกันไป การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของบาทหลวงชาวโปรตุเกสหลายคณะมีขึ้นตลอดแนวดินแดนชายฝั่งทะเลและในที่ราบลุ่มแม่น้ำแซมเบซี การเผยแพร่ศาสนาแก่ชาวบันตู ประสบความสำเร็จบ้างเล็กน้อย แต่การเผยแพร่ศาสนาแก่ชาวสวาฮิลีนั้น ประสบกับความล้มเหลว เนื่องจากอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้หยั่งรากชอนไชลงไปในภูมิภาคแถบนี้ ตั้งแต่มอรอคโคไปจนถึงมินดาเนา อย่างมั่นคงและยาวนาน จึงนับเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการเผยแพร่ศาสนาคริสต์
ลัดขึ้นไปทางตอนเหนือของดินแดนชายฝั่งอาฟริกาตะวันออก ชาวโปรตุเกสได้ละเลยถิ่นฐานของชาวโซมาลี( )ผู้กระหายสงครามและคลั่งศาสนาไว้ตามลำพังอย่างชาญฉลาด ครั้นโปรตุเกสทำการติดต่อกับกษัตริย์เนกัสแห่งอบิสิเนีย( )เรียบร้อยในค.ศ.1520 โปรตุเกสจึงตระหนักด้วยความผิดหวังเมื่อได้ทราบว่า เพรสเตอร์ จอห์น ซึ่งพวกเขาได้เพียรพยายามในการค้นหามาเป็นเวลา นานนั้น มีสภาพเป็นเพียงอาณาจักรของกษัตริย์ที่มีวัฒนธรรมค่อนข้างล้าหลัง( )และยากจนแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบสูง แต่ถึงกระนั้น กองทหารของโปรตุเกสที่เข้าไปติดต่อกับอบิสสิเนียระหว่าง ค.ศ. 1541-1543 ก็ได้ช่วยป้องกันให้อาณาจักรอบิสสิเนียพ้นจากการรุกรานของชาวเตอรกี และได้ช่วยให้อบิสสิเนียรอดพ้นจากการถูกยึดครองของชาวมุสลิม ต่อมา เมื่อบาทหลวงคณะเจซูอิตเข้าไปเผยแพร่ศาสนาที่อบิสสิเนีย ปรากฏว่าได้รับความสำเร็จชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และในระหว่างนั้นมีบาทหลวงหลายคนส่งงานเขียนอันทรงคุณค่ากลับไปยังยุโรปจำนวนมาก
[13] แต่ในค.ศ.1633 บาทหลวงคณะเจซูอิตก็ถูกขับออกไป สิ่งที่ยังหลงเหลือทิ้งไว้คือการตอกย้ำหลักความเชื่อเก่าแก่ทางศาสนาและความเกลียดชังของชาวอบิสสิเนียน ที่มีต่อศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก อันเป็นผลมาจากการทำงานของบาทหลวงคณะเยซูอิตโปรตุเกสไม่เคยยึดครองปากทางเข้าทะเลแดง การควบอ่าวเปอร์เซียนั้น โปรตุเกสดำเนินการโดยใช้วิธียึดครองเฮอร์มุซเมื่อค.ศ.1587 เพื่อใช้รักษาอำนาจของตน นับตั้งแต่อัลบูเคอร์กเดินทางมาถึง ซาห์แห่งเฮอร์มุซก็ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของโปรตุเกส แต่อิทธิพลของศาสนาอิสลามในเกาะเฮอร์มุซมีสูงมาก จนโปรตุเกสไม่สามารถจะทำลายล้างสุเหร่าและมัสยิดของชาวมุสลิมให้หมดสิ้นไปได้ ดังที่เคยกระทำทุกครั้งเมื่อมีโอกาสในดินแดนที่อยู่ใต้อำนาจของตน
นับตั้งแต่อัลบูเคอร์กเข้าไปรับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการที่เมืองกัว นโยบายอันดับแรกของโปรตุเกสคือ การสร้างความนิยมที่มีต่อชาวโปรตุเกสให้เกิดขึ้นในหมู่ของชาวฮินดูหรือการแสดงความอดกลั้นให้มากที่สุดต่อชาวฮินดู ในขณะเดียวกันก็จัดการกับชาวมุสลิมอย่างเด็ดขาด ต่อมานโยบายนี้ได้เปลี่ยนแปลงเมื่อชาวโปรตุเกสพบว่า การดำเนินการต่างๆหากปราศจากคนรับใช้ชาวมุสลิมหรือการมีส่วนช่วยในการดำเนินการหลายๆด้าน อาทิ การจ้างกะลาสีเรือชาวกุจราชและชาวอาหรับประจำในเรือโปรตุเกส การว่าจ้างนายหน้าชาวสวาฮิลีให้ทำงานในสาขาบางแห่งแถบอาฟริกาตะวันออก การเดินทางเข้าไปในอินเดียของบาทหลวงคณะเจซูอิต เมื่อค.ศ.1542 และการตั้งศาลพิจารณาไต่สวนคดีทางศาสนา ( ) เมื่อค.ศ.1560 ได้สร้างความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นแก่ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธเป็นอันมาก เนื่องจากโปรตุเกสได้ทำลายโบสถ์และวิหารของชาวฮินดูและชาวพุทธที่อยู่ในเขตอิทธิพลของตนจนเกือบไม่เหลือซาก ยกเว้นวิหารของชาวฮินดูในเมืองดิอิว( )เท่านั้นที่ได้รับให้ใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจต่อไปได้ และสามารถซ่อมแซมได้ตามความเหมาะสม แต่ห้ามมิให้ชาวฮินดูสร้างศาสนสถานขึ้นมาใหม่แม้แต่แห่งเดียว สิทธิพิเศษของชาวฮินดูที่เมืองดิอิวนี้ ถูกบาทหลวงที่เคร่งศาสนามากๆว่ากล่าวโจมตีอยู่เสมอ แต่ก็ไม่อาจทำให้ข้อยกเว้นดังกล่าวถูกเพิกถอนไป เนื่องจากครั้งหนึ่ง บรรดาพ่อค้าชาวเมืองดิอิวเคยให้ความช่วยเหลือแก่บาทหลวงดอม อัฟฟองโซ เมนเดส( ) ซึ่งเป็นบาทหลวงอาวุโสของคณะเจซูอิตแห่งเอธิโอเปีย( ) เมื่อบาทหลวงผู้นี้ถูกชาวเตอรกีจับขังไว้ หลังจากที่คณะเจซูอิตถูกขับไล่ออกมาจากอบิสสิเนีย ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณดังกล่าว บาทหลวงดอม อาฟฟองโซ เมนเดสจึงช่วยให้วิหารของชาวฮินดูแห่งเมืองดิอิวพ้นจากการถูกโปรตุเกสทำลายในคราวนั้น
[14] อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่ขึ้นในอินเดียนั้น แตกต่างกับปัญหาที่เกิดขึ้นในตะวันออกไกล กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ของจีนที่เมืองกวางตุ้ง ได้ปฏิเสธความต้องการของโปรตุเกสที่จะทำลายวัดของชาวจีน และปฏิเสธคำสั่งของโปรตุเกสที่ห้ามมิให้ชาวจีนในมาเก๊าประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ ทำให้ชาวโปรตุเกสจำต้องอดทนต่อการปฏิบัติทางศาสนกิจของชาวจีนในมาเก๊าต่อไปแม้โปรตุเกสจะอ้างอยู่เสมอว่าไม่เคยใช้วิธีการบีบบังคับเพื่อให้ชาวพื้นเมืองหันมานับถือศาสนาคริสต์ แต่ในทางตรงกันข้าม รัฐบาลโปรตุเกสได้ให้ความอุปถัมภ์แก่ศาสนาคริสต์เป็นอย่างยิ่ง โดยการออกกฎหมายที่มีลักษณะกดขี่และลำเอียงบังคับใช้ต่อชาวพื้นเมือง การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวในเวลาต่อมาทำให้ชาวพื้นเมืองจำนวนมากตามภูมิภาคต่างๆในเขตอิทธิพลของโปรตุเกสทิ้งศาสนาเดิมของตนและเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกอย่างไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ กฎหมายที่สร้างความโกรธแค้นให้แก่ชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่คือ กฎหมายที่ว่าด้วยการกำหนดให้เด็กกำพร้าถูกพรากจากญาติพี่น้องเพื่อนำไปเลี้ยงดูในครอบครัวของชาวคริสเตียนและเด็กๆจะถูกนับเป็นเด็กกำพร้าทันทีเมื่อบิดาของเขาถึงแก่กรรม แม้ว่ามารดาจะยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม กฎหมายนี้ สร้างความเดือดร้อนและความสะเทือนใจแก่ชาวพื้นเมืองอย่างกว้างขวาง ต่อมา การประชุมสังคายนาว่าด้วยบทบัญญัติทางศาสนาครั้งที่1 ที่เมืองกัวเมื่อค.ศ. 1567 ได้ห้ามชาวคริสเตียนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นชนผิวขาวหรือผิวสี มิให้ติดต่อกับชาวมุสลิม ชาวฮินดูและชาวพุทธ รวมทั้งพวกนอกศาสนาลัทธิอื่น การแต่งงานกับพวกที่นับถือศาสนาดังกล่าวถือเป็นสิ่งต้องห้าม การติดต่อกับผู้ที่ไม่ใช่คริสเตียนถูกจำกัดตามความจำเป็นทางการค้าเท่านั้นในทางปฏิบัติแล้ว คำสั่งซึ่งเปรียบเสมือนนโยบายแบ่งแยกกีดกันผิวในปัจจุบัน กลับถูกละเลยอย่างกว้างขวาง แม้ว่าการประชุมสังคายนาทางศาสนาที่เมืองกัวในเวลาต่อมาระหว่างคริสต์ ศตวรรษที่16-17 จะกระตุ้นให้รัฐบาลในอาณานิคมของโปรตุเกสสนับสนุนผลการสังคายนาเมื่อค.ศ. 1567 ก็ตาม
การประชุมสังคายนาทางคริสต์ศาสนาทีเมืองกัวในช่วงเวลาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อตอกย้ำให้ตระหนักถึงกฎหมายทีรัฐบาลโปรตุเกสบัญญัติออกมาใช้ และเจาะจงบังคับต่อชาวคริสต์เตียนพื้นเมืองมากกว่าจะต้องการใช้บังคับแก่ชาวฮินดูและชาวมุสลิม การออกกฎหมายดังกล่าวเป็นนโยบายของกษัตริย์ของโปรตุเกส กฎหมายเหล่านี้เป็นสิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความเลวร้ายอันเกิดจากการกระทำของโปรตุเกส โดย โปรตุเกสมักจะแต่งตั้งให้ชาวฮินดูเป็นผู้ผูกขาดทางการเก็บค่าเช่านาและภาษีในอาณานิคมของตน เนื่องจากชาวฮินดูมีความสามารถทางการเงินและมีไหวพริบสูง เช่นเดียวกับชาวยิวส่วนใหญ่ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการิเงินอย่างถูกกฎหมายในยุโรป ในทางตรงกันข้าม กฎหมายเหล่านี้มีลักษณะบีบบังคับต่อชาวฮินดู ชาวพุทธ ติ๊หม่าม และนักเทศน์มุสลิม รวมทั้งยังต่อต้านการใช้คัมภีร์ของศาสนาเหล่านี้อีกด้วย โปรตุเกสได้บังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด ทำให้วัด โบสถ์ สุเหร่าและสถานที่สำคัญทางศาสนาของชาวพื้นเมือง ถูกชาวโปรตุเกสทำลายอยู่เสมอ การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ของศาสนาอื่นๆนอกเหนือจากศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิค จึงดำเนินไปด้วยความยากลำบาก และการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของลัทธิอื่นๆแทบจะไม่เกิดขึ้นเลยในอาณานิคมของโปรตุเกส ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่ากระบวนการสนับสนุนการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ด้วยวิธีการต่างๆนั้น ทำให้อัตราการเข้ารีตของชาวพื้นเมืองเพิ่มสูงขึ้นมามาก แม้ในปัจจุบันก็ยังมีชุมชนของชาวคาธอลิคตั้งหลักแหล่งอยู่ตามดินแดนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกประเทศอินเดีย ศรีลังกาและมะละกา
[15]
การสถาปนาอำนาจของโปรตุเกสในดินแดนสามทวีปดำเนินไปอย่างราบรื่น ด้วยวิธีการทำให้เกิดสงครามภายในระหว่างเผ่าพันธุ์ สงครามระหว่างเชื้อชาติหรือผิวพรรณ และการแข่งขันชิงดีระหว่างชาติและยึดครองดินแดนหรือขยายอำนาจไปถึง เพื่อรักษาสถานภาพของโปรตุเกสนั่นเอง ทางด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกา โปรตุเกสได้สนับสนุนให้บรรดาสุลต่านแห่งมาลินดีทำการต่อต้านผู้ปกครองแห่งมอมบาซาซึ่งมีอำนาจเหนือกว่าในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่16 ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่17โปรตุเกสได้ช่วยเหลือให้บรรดาเจ้าชายแห่งฟาซาต่อสู้กับเพื่อนบ้านชาวเพทผู้ก้าวร้าว ส่วนในดินแดนชายฝั่งแห่งมะละบาร์นั้น โปรตุเกสได้สนับสนุนให้ราชาห์แห่งโคชินต่อสู้กับกษัตริย์ซาโมรินแห่งคาลิกัตซึ่งเข้มแข็งกว่า และในค.ศ. 1683โปรตุเกสได้ทำให้เมืองกัวรอดพ้นจากการรุกรานของกษัตริย์ราชวงศ์โมกุลซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของชาวมารตะ สำหรับในลังกานั้น การแบ่งแยกชิงดีชิงเด่นกันระหว่างชาวสิงหลกับชาวทมิฬซึ่งมีมาโดยตลอด ทำให้โปรตุเกสสามารถเผยแพร่ศาสนาได้อย่างกว้างขวาง ชาวพื้นเมืองที่เข้ารีตส่วนใหญ่เป็นชาวทมิฬแห่งราชอาณาจักรจัฟฟนาปาตัม ทำให้ชาวสิงหลชาตินิยมสมัยใหม่กล่าวหาชาวทมิฬอยู่เสมอต่อการที่ชาวทมิฬให้ความร่วมมือกับโปรตุเกส ดัทซ์และอังกฤษอย่างเต็มใจ เมื่อชนชาติดังกล่าวเข้าไปยึดครองศรีลังกา และสิ่งที่ชาวทมิฬไดรับเป็นการตอบแทนคือ ผลประโยชน์ต่างๆและตำแหน่งหน้าที่ในรัฐบาล อย่างไรก็ตามแม้ข้อกล่าวหาดังกล่าวจะเกินเลยไปบ้าง แต่สิ่งที่สะท้อนออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัดประการหนึ่งก็คือ ชาวทมิฬยอมรับศาสนาและอารยธรรมของชาวยุโรปมากกว่าชาวสิงหล
ต่อมาอำนาจและอิทธิพลของชาวโปรตุเกสในมลายา อินโดจีนและอินโดนีเซียมีความอ่อนแอกว่าในอาณานิคมแถบแอฟริกาและอนุทวีปอินเดียถ้าหากไม่นับชุมชนขนาดใหญ่ของชาวคาธอลิคในตังเกี๋ยและอันนัมแล้วอาจจะกล่าวได้ว่าทั้งชาวพุทธในอินโดจีนกับ ชาวมุสลิมในมลายาและอินโดนีเซีย ต่างก็มิได้มีส่วนช่วยให้การเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิคประสบกับความเจริญก้าวหน้า ระยะแรกๆนั้นการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในอินโดจีน มลายาและอินโดนีเซียถูกดำเนินการโดยบาทหลวงคณะเจซิอิตแห่งมิสซังคาธอลิคญี่ปุ่น ซึ่งถูกปิดลงนื่องจากการขับไล่ชาวโปรตุเกสออกไปจากญี่ปุ่นเมื่อค.ศ.1693 ส่วนชาวมุสลิมในมลายาและอินโดนีเซียนั้น ได้ต่อสู้ขัดขวางการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกโดยโปรตุเกสอย่างรุนแรง ทำให้ศาสนาอิสลามขยายตัวและมั่นคงยิ่งขึ้น การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในภายหลังโดยบาทหลวงชาวโปรตุเกสที่แอมบัวนาและดินแดนบางส่วนของหมู่เกาะซุนดาน้อย(ได้แก่ โซเลอร์ ติมอร์ ฟลอเรส เอนเด) นั้น ประสบความสำเร็จด้วยดี เนื่องจากแถบนี้อิทธิพลของศาสนาอิสลามยังครอบงำเข้าไปในพื้นที่อันจำกัดดังกล่าวไม่มากเท่าใดนัก ส่วนที่มั่นของโปตุเกสในมะละกาและเขตที่ยึดครองได้ในเวลาต่อมาซึ่งมักจะเป็นดินแดนที่มีอันตรายเสมอ เนื่องจากการต่อสู้แข่งขันกันระหว่างสุลต่านแห่งเทอร์เนตกับสุลต่านแห่งทิดอร์ และการชิงดีชิงเด่นกันระหว่างเชื้อพระวงศ์ในราชตระกูลเดียวกันแห่งแอมบวนและฮัลมาเฮลา
ในทางตรงกันข้าม อิทธิพลทางวัฒนธรรมของโปรตุเกสในหมู่เกาะเครื่องเทศ มีมากกว่าอิทธิพลทางวัฒนธรรมของดัทช์ ซึ่งครอบครองหมู่เกาะเครื่องเทศในเวลาต่อมาถัดจากโปรตุเกส ดัทช์เป็นชนชาติที่มีอิทธิพลอย่างกว้างขวางในเหมู่เกาะเครื่องเทศ จากการครอบครองดินแดนแถบนี้เป็นเวลานานร่วม350ปี โดยใช้เวลาไม่ถึง 100ปีในการชิงอำนาจจากโปรตุเกส ชาวยุโรปทุกคน นับตั้งแต่วิลเลียม วอลเลส นักธรรมชาตินิยมคนสำคัญเมื่อประมาณหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา ต่างก็เห็นพ้องกันว่า โปรตุเกสได้ทิ้งร่องรอยทางวัฒนธรรมได้เด่นชัดและลึกซึ้งมากกว่าอิทธิพลทางวัฒนธรรมของดัทช์เสียอีก
สำหรับในตะวันออกไกลนั้น โปรตุเกสไม่เคยนำนโยบายการใช้อำนาจกดขี่บังคับมาปฏิบัติเลย แต่การค้าและศาสนาของโปรตุเกสในภูมิภาคนี้ก็มีความเจริญรุ่งเรืองชั่วระยะเวลาหนึ่ง ความเจริญทางด้านการค้าของโปรตุเกสในย่านทะเลจีน เกิดขึ้นในช่วงค.ศ.1543-1640 ซึ่งนับเป็นเวลานานเกือบหนึ่งร้อยปี ความเจริญทางการค้าของโปรตุเกส เกิดจากการที่จักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์หมิงทรงห้ามมิให้ชาวจีนทำการค้าทางทะเล และห้ามมิให้มีการติดต่อกับประเทศราช ที่อยู่ภายใต้จักรวรรดิจีน รวมทั้งห้ามติดต่อกับญี่ปุ่นด้วย เนื่องจากในระยะเวลาที่ผ่านมานั้น จีนต้องประสบกับปัญหาการรบกวนจากโจรสลัดตามดินแดนชายฝั่งทะเลอยู่ตลอดเวลา คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลบังคับทางการปฏิบัติเท่าใดนัก หากแต่มีผลอย่างเพียงพอ ต่อการทำให้โปรตุเกสสามารถผูกขาดทางการค้าระหว่างจีนกับญี่ปุ่นในช่วงนี้ได้ ดังนั้นเมื่อดัทช์กับอังกฤษพยายามจะเข้ามามีส่วนร่วมในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางการค้าแถบทะเลจีน ในช่วงยี่สิบห้าปีแรกของคริสต์ศตวรรษที่17 จึงถูกโปรตุเกสดำเนินการขัดขวางอย่างเต็มที่ การค้าสามเศร้าระหว่างกวางตุ้ง มาเก๊า และนางาซากิ และการค้าระหว่างมนิลากับมาเก๊านั้นขึ้นอยู่กับการแลกเปลี่ยนผ้าไหมและทองคำของจีนกับเงินและทองแดงของญี่ปุ่น
นอกจากทรัพย์สินจำนวนมากมายเหล่านี้แล้ว สิ่งสำคัญที่โปรตุเกสนำเข้าไปยังเอเชียตะวันออกคือศาสนาคริสต์และเป็นใหญ่ แม้ว่าทั้งสองสิ่งดังกล่าวนี้จะไม่เป็นที่ยอมรับเท่ากับยาสูบ ซึ่งโปรตุเกสนำเข้าไป ในภายหลังก็ตามผู้ริเริ่มก่อตั้งมิสซังคาธอลิกแห่งญี่ปุ่นคือนักบุญ ฟรังซิส เซเวีย การดำเนินการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของมิสซังคาธอลิกญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จด้วยดีในคริสต์ศตวรรษที่17 จึงเป็นแรงกระตุ้นให้บาทหลวงคณะเจซูอิตเกิดความหวังขึ้นมาว่า จะมีชาวญี่ปุ่นเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกเป็นจำนวนมาก ทดแทนการเอาใจออกห่างจากความเชื่อของชาวเกาะอังกฤษ แต่ความหวังนี้ก็พังทลายไปเมื่อโชกุนโตกูงาวะ ได้ประกาศใช้มาตรการขับไล่และปราบปรามชาวโปรตุเกสในค.ศ.1613 ทำให้เกิดเหตุการณ์ฆ่าฟันชาวคาธอลิกในญี่ปุ่นอย่างนองเลือดในช่วงก่อนจะถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่17 แต่ถึงกระนั้น ก็ยังคงมีการประกอบพิธีกรรมทางคริสต์ศาสนาอย่างลับๆกันในเกาะฮอนชู จนกระทั่งญี่ปุ่นเปิดการติดต่อกับต่างประเทศอีกครั้งในอีกสองร้อยปีต่อมา ส่วนมิสซังคาธอลิกในจักรวรรดิจีนรอดพ้นจากการถูกทำลายมาได้ ด้วยการหยั่งรากแทรกซึมทีละน้อยๆแต่มีความมั่นคงกว่า จากการดำเนินการเผยแพร่ศาสนาในช่วงเวลาอันยาวนานของบาทหลวงคณะเจซูอิต แม้ว่าการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในจีน ส่วนใหญ่จะเป็นผลงานของบาทหลวงเจซูอิตชาวอิตาเลียน เยอรมัน เฟรมมิช และฝรั่งเศสมากกว่าบาทหลวงชาวโปรตุเกส
ชาวโปตุเกสมักจะอ้างอยู่เสมอว่า จักรวรรดิโปรตุเกสไม่มีระบบการแบ่งแยกหรือกัดกันผิว คำกล่าวนี้ ไม่มีหลักฐานสนับสนุนเด่นชัด แต่สิ่งที่น่าเชื่อถือได้มากก็คือ โปรตุเกสให้เสรีภาพแก่ชาวพื้นเมืองในการประกอบศาสนากิจมากกว่าผู้ปกครองชาวดัทช์ ชาวฝรั่งเศสและชาวอังกฤษ ศาสนจักรของโปรตุเกสมีหลักการคล้ายกับศาสนจักรสเปนต่อการไม่ยินยอมให้บาทหลวงผิวสีหรือบาทหลวงที่เป็นคนครึ่งชาติได้มีโอกาสเลื่อนสมณศักดิ์อยู่เป็นเวลานานโดยการแสดงความอยุติธรรมออกมาอย่างเห็นได้เด่นชัด บาทหลวงคณะเจซูอิต เป็นนักบวชคณะแรกที่วางรากฐานของทฤษฎีแห่งการไม่แบ่งแยกกีดกันผิวพรรณ แนวความคิดในการยกเลิกการกีดกันผิวนี้ถูกยอมรับอย่างรวดเร็วในเอเชียและแอฟริกา ภายใต้แรงกดดันจากโปรตุเกส สำหรับในสถานที่ซึ่งมีการผ่อนปรนปัญหาการรังเกียจผิวนั้น คณะทำงานมักประกอบด้วยบาทหลวงชาวอิตาเลียน โดยไม่มีบาทหลวงชาวโปรตุเกสร่วมงานด้วยเลย บาทหลวงอเลกซานเดอร์ วาลินาโนชาวอิตาเลียน ตำแหน่ง “ “ เป็นผู้หนึ่งที่ได้ยืนกรานให้มีการเปิดประตูรับชาวญี่ปุ่นเข้าเป็นบาทหลวงในคณะสงฆ์ เมื่อค.ศ.1582 แนวความคิดนี้ทำให้มีการยอมรับสถานภาพของบาทหลวงพื้นเมืองชาวจีนและเกาหลีในภายหลังด้วย ส่วนชาวอินเดียกว่าจะไดรับการรับรองสถานภาพก็กินเวลานานมากสำหรับชาวนิโกรและอเมรินเดียนนั้น แทบจะไม่ถูกยอมรับสถานภาพเลยก็ว่าได้ตลอดสมัยอาณานิคมครั้นสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่17 บาทหลวงคณะเจซูอิตชาวโปรตุเกสผู้หนึ่ง ซึ่งเกิดในบราซิลแต่ได้ปฏิบัติหน้าที่เผยแพร่ศาสนาคริสต์ ในมิสซังคาธอลิกที่อินเดียเป็นเวลานาน เขาได้กล่าวด้วยความชื่นชมถึง “ลักษณะของชาวโปรตุเกสซึ่งชิงชังเชื้อชาติทั้งหมดของชาวเอเชียเหล่านี้อย่างลึกซึ้ง”สำหรับมิสซังคาธอลิกคณะฟรานซิสกันนั้น มีการบัญญัติข้อห้ามมิให้ยอมรับนักบวชที่มีเชื้อสายดั้งเดิมเป็นชาวมุสลิม หรือมีบรรพบุรุษเป็นพวกนอกศาสนาย้อนหลังไปประมาณสี่ชั่วอายุคน จึงมีลูกครึ่งบางคนเท่านั้นที่หลีกเลียงบัญญัติข้อนี้ได้สำเร็จ โดยการประกาศว่าตนมีบรรพบุรุษเป็นชนผิวขาวแท้ๆ ส่วนบาทหลวงที่มีบิดามารดาเป็นชาวยุโรปแต่เกิดในเอเชีย ก็ถูกรังเกียจเหยียดหยามเช่นกันจากบาทหลวงผู้ร่วมงานซึ่งถือกำเนิดในประเทศโปรตุเกส โดยเรียกพวกเขาว่า “นิโกร” อย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ เพื่อเป็นการยืนยันว่าคนเหล่านี้ไม่มีคุณค่าแต่อย่างใดเลย ในทศวรรษค.ศ.1630 มิสซังคาธอลิกฟรานซิสกันได้พยายามดำเนินการเพื่อกีดกันมิให้บาทหลวงที่มีบิดามารดาเป็นชาวยุโรป แต่ถือกำเนิดในเอเชีย มีโอกาสดำรงตำแหน่งระดับสูงในคณะสงฆ์ นโยบายดังกล่าวประสบความล้มเหลว เมื่อมีการส่งมอบบัญชีรายชื่อของบาทหลวงที่เกิดในอินเดีย(แต่มิใช่ชาวอินเดีย)ไปยังกรุงโรม เพื่อยื่นเสนอต่อพระสันตะปาปา เพื่อให้ทรงทราบถึงความแตกต่างทางผิวพรรณเละกิริยาท่าทางของชนผิวขาวที่เกิดในอินเดียและชาวอินเดีย จากบุรุษผู้นำบัญชีรายชื่อบาทหลวงในอินเดียไปเปิดเผยที่โรมได้รับความสมหวังตามเป้าหมายที่วางไว้และได้รับคำวินิจฉัยว่า นักบวชทีมีเชื้อสายของชนผิวขาวบริสุทธิ์แต่เกิดในอินเดียนั้น ก็มีสิทธิ์ได้รับความเอื้อเฟื้อจากกฎหมายเลือกที่รักมักที่ชังของรัฐบาลโปรตุเกสด้วย แต่ผลลัพธ์อันเกิดจากความพยายามของเขามีขึ้นภายหลังจากได้ดำเนินการชักนำ ที่ราชสำนักแห่งกรุงแมดริด(ขณะนั้นโปรตุเกสถูกปกครองโดยกษัตริย์สเปน)และกรุงโรม ท่ามกลางการถูกคัดค้านอย่างรุนแรงจากบาทหลวงผู้ร่วมงานที่เกิดในประเทศโปรตุเกส ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากท่านเคานท์แห่งลินฮาร์ส ผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งอินเดียระหว่างค.ศ.1629-1637
[16].
กษัตริย์โปรตุเกสไม่ทรงเคยมีนโยบายเกี่ยวกับการกีดกันและแบ่งแยกทางผิวสีที่ชัดเจนและมั่นคงเลย กษัตริย์โปรตุเกสในอดีตที่ผ่านมาก่อนหน้านั้นเคยบัญญัติไว้ว่า ศาสนาและสีผิวมิใช่บรรทัดฐานแห่งการเป็นพลเมืองของโปรตุเกส และชาวเอเชียทั้งหมดที่เข้ารีตเป็นคริสเตียนแล้วจะได้รับการปฏิบัติจากรัฐบาล อย่างเท่าเทียมเยี่ยงเดียวกับชาวโปรตุเกส พระราชประสงค์ดังกล่าวของกษัตริย์โปรตุเกสดูเหมือนว่าจะมิได้รวมความไปถึงการปฏิบัติต่อชาวอเมรินเดียนหรือชาวนิโกร แม้ว่าชาวอเมรินเดียนจะได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษให้รอดพ้นจากการถูกจับไปเป็นทาสซึ่งโดยแท้ที่จริงแล้วนั้น การค้าทาสเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งแห่งอาณาจักรลูซิตาเนียน ไร่น้ำตาลในบราซิล คนรับใช้ในบ้านของชาวโปรตุเกสในอาณานิคมทั้งสามทวีปและแม้แต่การปกป้องคุ้มครองถิ่นฐานของชาวโปรตุเกสในดินแดนบางแห่ง ก็ยังต้องอาศัยเรี่ยวแรงจากทาส(โดยเฉพาะทาสชาวอาฟริกัน)เป็นสำคัญิ
[1] R.Ricard,Etudes sur I’histoire des Portugais au Maroc (Coimbra,1955)
[2] J.W. Blake, European in West Africa, 1450-1560, (London,1942),2vols.,vol1,p.312quoting Richard Rainold’s account of 1591
[3] คือภาษาลูกผสมระหว่างโปรตุเกส สเปน อิตาลี กรีกและฝรั่งเศส ปนเปกันจนกลายเป็นอีกภาษาหนึ่ง
[4] Joao de barros,Dacada 1,Livro 3,cap.7…Buletim da Socidas de Geografia de Lisboa,Ser.77,Nos.1-3,pp.27-55,1959.
[5] ไกอุส ซาลุสติอุส คริสปุส( Gaius Sallustius Crispus) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ซอลุสต์(Sallust, 86-34 BC) นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันซึ่งเกิดในครอบครัวสามัญชน(ชนชั้นเพลเบียน, Plebeian) ที่เมืองซาบีนส์(Sabines) ตลอดชีวิตของการเป็นนักประวัติศาสตร์ เขายึดหลักประชานิยม(Popularis) ต่อต้านพรรคของปอมปีย์(Pompey)และบรรดาชนชั้นปกครองเดิมซึ่งอยู่ในกรุงโรม (ผู้แปล : ขอขอบคุณ Wikipedia ที่สนับสนุนข้อมูล)
[6] Cf. Antonio Brasio,C.S.Sp.,Monumenta MissionnaryAfricana. Africa Ocidental 1471-1646(Lisboa,1952-60),9 vols
[7] หมายถึงบาปหลวงนิกายโรมันคาธอลิก ที่มักเดินทางจาริกเผยแพร่ศาสนา4คณะคือ Gray Friars(Franciscan),Austin Friars(Augustines),White Friars(Carmelites)
[8] หมายถึงบาทหลวงทั่วไป
[9][10] กิล วีซองเต (ประมาณค.ศ.1465-1537) กวี-ช่างฝีมือและนักแต่งบทละครคนสำคัญชาวโปรตุเกส
[11] คำเรียกชาวโปรตุเกสที่เป็นผู้ลี้ภัย อาชญากร พวกผิดประเวณีในสายเลือดเดียวกัน คนกลุ่มนี้พยายามใช้ชีวิตโดยการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบพื้นเมือง มีอาชีพเป็นพ่อค้าคนกลางระหว่างคนผิวขาวกับผิวดำ พวกเขาถูกชาวโปรตุเกสที่มาจากประเทศแม่ดูถูกเหยียดหยามมาก
[12][13][14][15][16]