วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

รายงานด่วน การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ยุทธศาสตร์ประเทศไทยในมิติการเมืองเศรษฐกิจ สังคมและการบริหารราชการ

เก็บความและรายงาน

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
สถาบันพระปกเกล้า สถาบันพระปกเกล้าร่วมกับกพร. ทีดีอาร์ไอ และสสส. ได้จัดสัมมนาวิชาการเผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์ประเทศไทยในมิติการเมืองเศรษฐกิจ สังคมและการบริหารราชการ เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชาธิปก สถาบันพระปกเกล้า ปรากฏว่าในระดับของการนำเสนอในที่ประชุมรายงานผลการวิจัยและในส่วนของการแสดงความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมรับฟังการสัมมนา นักวิชาการเน้นเฉพาะในส่วนของภาพรวมทางการเมือง ระบบราชการ แนวโน้มของรัฐสวัสดิการ และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

แต่น่าเสียดายที่(ยัง)ไม่มีท่านใดกล่าวถึงการเข้าถึงโอกาสที่จะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างมีคุณภาพ อาทิ การได้รับยาลดเบาหวาน-ความดัน และยาลดคลอเรสสเตอรอลของประชาชนในภาคส่วนของการประกันสังคม รวมถึงโอกาสในการรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตา อาทิ โรคต้อกระจก ต้อหิน โรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งปัจจุบันนอกเหนือจากการได้รับยากลับไปหยอดครั้ง ๑-๒ ขวด แล้วผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินเพิ่มในส่วนของยาเบาหวาน ความดัน คลอเรสเตอรอล ฯลฯ

อย่างไรก็ดี ในที่นี้ ผู้รายงานขอนำเนื้อหาของการสัมมนาในส่วนของภาคเช้ามาเผยแพร่ เพื่อให้องค์กรและผู้สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับ สยาม-โปรตุเกสศึกษา ซึ่งมีอยู่หลายประเทศทั่วโลก(ได้แก่ กัลยาณมิตรชาวลัตเวีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ออสเตรเลีย เบลเยียม โปรตุเกส สหราชอาณาจักร และมาเลเซีย ตามลำดับ) ได้แลเห็นและเข้าใจต่อภาพรวมและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้ และจะทำให้สามารถกำหนดนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างสอดคล้องและกลมกลืนกับทิศทางของประเทศไทย


เวลา ๐๙.๑๐ น. ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัย สถาบันพระปกเกล้า กล่าวรายงาน จากนั้น ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวเปิดการสัมมนา ดังมีใจความต่อไปนี้

ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยที่ผ่านมาตั้งแต่ก่อน ๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดความพยายามในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังทุกระดับ โดยเฉพาะสถาบันพระปกเกล้าได้เก็บข้อมูลและนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยมาแก้ไขปัญหา เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นแก่สังคมไทย จึงเกิดการวิจัยด้านการเมือง รัฐสภา ปัญหาการเลือกตั้ง พื้นฐานขององค์การปกครองท้องถิ่น ประชาธิปไตยภาคพลเมือง ฯลฯ โดยได้รับความสนับสนุนจากสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI)กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ( กพร.) ภายใต้ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งของสังคมไทย

ประเด็นของปัญหาเริ่มต้นจากความขัดแย้งทางการเมืองโดยการประท้วงกลุ่มพันธมิตรประชาธิปไตย (สีเหลือง) ส่งผลให้มีการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ การเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี การประท้วงของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ(สีแดง) ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวมีการจัดกิจกรรมสานเสวนาตั้งแต่ปี ๒๕๕๐

จากการวิจัยพบว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมิได้เกิดจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง แต่เป็นความขัดแย้งในเรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม จึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรมสานเสวนาครั้งที่๒ ในปี ๒๕๕๑

ในช่วงที่ความขึ้นแย้งทางควาคิดในสังคมไทยก่อตัวขึ้นใหม่ๆ ศาสตราจารย์ .ประเวศ วะศี ก็ได้ร่วมกับนักวิชาการทั่วไปประชุมปรึกษาหารือกันที่ศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์เพื่อทำความเข้าใจและแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ และได้พบว่าจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางการเมืองในแก้ปัญหาเฉพาะหน้า จึงต้องวิเคราะห์และพบว่า เรื่องความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรในประเทศไทยเป็นปัญหาสำคัญ อันทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนสองกลุ่ม คือ กลุ่มเสื้อเหลืองในเมืองผู้มีฐานะปานกลางถึงมั่งมีและกลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งมีฐานะยากจนในชนบท ด้วยเหตุนี้ TDRI จึงร่วมกับนักวิชาการได้ร่วมกันออกแบบการแก้ปัญหาในการจัดสรรทรัพยากร และการตั้งต้นในการขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และความเหลื่อมล้ำทางสังคม ต้องปรับที่ระบบการเมืองและระบบราชการเป็นอันดับแรก

ในปีพ.ศ.๒๕๔๐ เคยมีการปรับปรุงระบบราชการครั้งใหญ่มาแล้ว แต่เป็นการปรับแต่ระบบราชการเท่านั้น ปัจจุบันต้องปรับเศรษฐกิจ

ในการปรับโครงสร้างของระบบราชการครั้งนี้ มีการตั้งคำถามว่าพันธะกิจบางเรื่องที่ทางฝ่ายราชการเคยทำมาก่อนเป็นเวลานานอาจจะปรับเปลี่ยนให้ชุมชนหรือเอกชนทำแทนได้หรือไม่ ไม่จำเป็นต้องให้ราชการทำเสมอไป จากนั้นก็พิจารณาข้อเสนอเรื่องการปรับโครงสร้างรัฐสภา ซึ่งอ.นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการวิจัย เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน เรื่องวัฒนธรรม และฯลฯ ทำอย่างไรผลการวิจัยจะถูกนำไปปรับใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างของประเทศด้วยอย่างประสบความสำเร็จ วันนี้แม้จะเป็นการพูดแค่เรื่อง what to do คือ จะทำอะไรได้บ้าง แต่วันข้างหน้าจะต้องคำนึงถึงประเด็น How to do คือ จะเอาไปปรับใช้กันอย่างไร

ในประเทศญี่ปุ่น การเปลี่ยนแปลงของระบบโครงสร้างเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมเกิดขึ้นเพราะการแพ้สงครามและถูกกดดันจากภายนอก แต่ในยุโรปหลายประเทศและเกาหลีการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายเป็นผลมาจากแรงกดดันภายในประเทศ วันนี้เราจะแบ่งสรรผลประโยชน์อย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมแก่คนส่วนใหญ่ของประเทศได้ เพื่อไม่ให้ความขัดแย้งเกิดประทุขึ้นมาอีกครั้งในอนาคต

วันนี้กลุ่ม “คนมีมาก (ฐานะร่ำรวย)”กลับอยู่นั่งในสภา ในอดีตเราเคยผ่านการเลิกทาสโดยไม่เสียเลือดเนื้อ เราเคยมีการออกพระราชบัญญัติภาษีที่ดินปี ๒๔๗๕ แล้วก็เลิกล้มไป เราเคยจำกัดการถือครองที่ดินให้แต่ละคนมีได้ไม่เกิน ๕ ไร่ ในปีพ.ศ.๒๕๐๕ เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น มาตรการดังกล่าวอาจถูกอาจนำมาใช้อีกหรือไม่


ปาฐกถาพิเศษ ศ.นพ.ประเวศ วะศี ประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป


คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปเคยประชุมทุก ๒ สัปดาห์ เรื่อง การปฏิรูปประเทศไทย ที่ศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์ ทุก ๒ สัปดาห์ ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เคยมีการเสนอปฏิรูปทางด้านการเมืองการปกครองแต่ไม่ได้รับการยอมรับ ทำให้ต้นสมัย ร.๖ เกิดกบฏร.ศ.๑๓๐ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ คณะราษฎรมีอำนาจเพียง ๑๘ ปี จากนั้นการเมืองก็ก้าวสู่ภาวะเดิม ทำให้แม้จะผ่านมาแล้วเกือบ ๘๐ ปี แต่ยังเกิดความขัดแย้งทางความคิดรุนแรงถึงขั้นนองเลือดเมื่อพ.ศ.๒๕๕๓


รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ยังไม่สามารถทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็ง จึงต้องปฏิรูปโครงสร้าง ในช่วงที่ผ่านมาเราคิดแต่เรื่องบุคคล ไม่คิดถึงโครงสร้างหลักของประเทศ มีคนเคยพูดเปรียบเปรยไว้ว่า คนไทยเหมือนไก่ในเข่งที่แต่จิกกันจนตาย แต่ก็ไม่สามารถออกจากเข่งได้ เข่งเปรียบเหมือนโครงสร้างทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ สื่อมวลชนก็คาดหวังสูงอยากเห็นสำเร็จเร็วๆ โดยไม่คำนึงว่า การปรับโครงสร้างของประเทศเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ต้องช่วยกันทุกฝ่าย


คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปเคยเสนอนายอานันท์ ปันยารชุนว่า ในอดีตเคยมีการริเริ่มให้เกิดความเป็นธรรมเรื่องการจัดสรรทรัพยากรมาแล้ว อาทิ สมัยจอมพลป. พิบูลสงครามเคยจำกัดการถือครองที่ดินไม่เกินรายละ ๕๐ ไร่ ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร พลเอกแสวง เสนาณรงค์ขณะดำรงตำแหน่งในสำนักนายกรัฐมนตรีก็เคยเสนอจอมพลถนอม กิตติขจรให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดิน แต่ปรากฏว่ามีคนชั้นสูงบางคนกราบทูลฯว่า มีผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์แฝงตัวอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี ๒ คน ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนั้น นายแพทย์ ประเวศ วะศี เคยถวายฎีกาเรื่องการปฏิรูปที่ดิน เช่นกัน


การพัฒนาประเทศควรริเริ่มจากระดับพื้นฐานของประเทศ ไม่ควรมาจากส่วนบน เกือบร้อยปีมาแล้วที่การพัฒนาประเทศเกิดจากส่วนบนของประเทศ ทำให้การพัฒนาประเทศยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการพัฒนามาจากเบื้องบน ท้องถิ่นจึงอ่อนแอ จากรากฐานดั้งเดิมที่ทุกหมู่บ้านมีสภาชุมชนดูแลอยู่แล้ว การพัฒนาด้านต่างๆ อาทิ เศรษฐกิจ จิตใจ ประชาธิปไตย การศึกษา สังคม การเมืองและเศรษฐกิจจึงควรมาจากท้องถิ่น จะทำให้เกิดสวรรค์ขึ้นในชุมชนอย่างแท้จริง แนวทางดังกล่าวเป็นลักษณะของประชาธิปไตยชุมชน


การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ไม่มีฐานมาจากชุมชน ทำให้ระบอบประชาธิปไตยล้มลุกคลุกคลาน ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อตัวขึ้นจากการรวมกันของท้องถิ่น จึงมีความเข้มแข็งในการสร้างประเทศ ชื่อของประเทศ คือ The United of America บ่งบอกถึงรากฐานของชุมชน


การปฏิรูปประเทศต้องเริ่มจากระดับกรม ในอดีตอธิบดีเป็นผู้สั่งได้หมดทั้งประเทศทำให้เกิดการรวมศูนย์อำนาจและทุจริต(Corruption) ในประเทศญี่ปุ่นสมัยนายพลโตโจมีอำนาจ ญี่ปุ่นตัดสินใจเข้าสงครามโดยไม่ฟังเสียงทัดทานจากนักวิจัย ภายหลังสงครามรัฐบาลญี่ปุ่นจึงกระจายอำนาจออกไปเพื่อป้องกันการผูกขาดอำนาจและการรัฐประหาร เช่นเดียวกับประเทศอินเดีย


ศาสตราจารย์ ประเวศ วะสี เสนอว่า การปฏิรูปประเทศไทย ควรทำแบบฐานเจดีย์ คือ มีฐานกว้างใหญ่ แข็งแรง เชื่อมยอดเข้ากับฐาน พัฒนาวิถีชีวิตพื้นบ้าน ปรับปรุงเศรษฐกิจ พัฒนาการศึกษา และสร้างสรรค์ให้เกิดความเป็นธรรมที่มั่นคงแบบฐานเจดีย์


ความเจ็บช้ำของประชาชนเกิดขึ้นเพราะการเข้าไม่ถึงความเป็นธรรม เนื่องจากรัฐใช้วิธีปฏิบัติตามกฎหมายโดยให้ตำรวจจับ ให้อัยการฟ้อง แล้วศาลเป็นฝ่ายตัดสิน เมื่อไปถึงศาลผู้พิพากษาศาลชั้นต้นก็ปัดไปให้ศาลอุทธรณ์และฎีกาตัดสิน ทำให้เกิดการคั่งค้างของคดีความมากมาย ดังนี้ ระบบอำนาจรัฐต้องเชื่อมให้เกิดความเป็นธรรม


ชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ รองศาสตราจารย์ ดร.นรนิติ เศรษฐบุตรกำลังศึกษาเรื่องของท้องถิ่น เทศบาล และเห็นว่าขณะนี้ต้องมีสถาบันดูแลเรื่องท้องถิ่นทุกจังหวัด


ครูสน รูปสูง คนเสื้อแดงขอนแก่น เคยชี้นำว่า ประชาชนจะเป็นคนปฏิรูปด้านต่างๆเอง ประชาชนรู้ดีเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การปฏิรูปองค์กรกันเองจะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนได้ การเข้าร่วมมีส่วนกำหนดนโยบายการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ อย่างยิ่ง


กลุ่มแพทย์ส่วนหนึ่งมีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อผลักดันแนวคิดในการแก้ปัญหาของประเทศประจำทุกเดือน ๒๐ กว่าปีมาแล้ว แต่ไม่เคยประกาศคุณความดีของตนถ้าการประชุมตรงนี้ริเริ่มจากนักวิชาการ ๒๐ คน เชื่อมโยงเป็นการประชุมใหญ่ระดับองค์กร จะส่งผลอย่างเป็นนัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ และสำหรับประชาชนแล้วการติดอาวุธปัญญาและการแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี จะทำให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนและพัฒนาบ้านเมืองต่อไปได้มากกว่าการใช้ความรุนแรง ซึ่งมีโอกาสจะถูกปราบได้ง่าย


(ร่างรอตรวจสอบขัดเกลาภาษา)ยุทธศาสตร์ประเทศไทยในมิติการเมืองเศรษฐกิจ สังคมและการบริหารราช


อ.ถวิลวดี บุรีกุล ดำเนินการอภิปราย


รศ. ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ( กพร.) แผนงานการสร้างเสริมภาคีรัฐเพื่อสร้างเสริม....


ภาครัฐใหญ่แค่ไหน ดูที่ปริมาณจีดีพี ขรก.หนึ่งล้านสองแสนคน ขีดความสามารถรับเข้าทำงานน้อยลง อายุเฉลี่ยเข้าทำงานอายุ๒๗ ครึ่งหนึ่งเข้าเอกชน ร้อยละ๕ มากจากมหาวิทยาลัยที่แข่งขันสูง ๕ อันดับ ฉ้อราษฎร์ ๗๘% ความน่าลงทุน อันดับ ๖๒? ด้านธรรมาภิบาลต้องปรับปรุง
-ผลวิจัยพบว่าระบบราชการและภาครัฐมีภาวะไม่สมดุล เดิมภาครัฐเป็นผู้นำในการพัฒนา ปัจจุบัน เอกชน ชุมชนและท้องถิ่นเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ความไม่สมดุลเป็นปัญหาสำคัญของการพัฒนาประเทศ
-วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย จัดความเหมาะสมในด้านความสัมพันธ์แต่ละภาคส่วนให้เกิดความสมดุลทั้งด้านการดำเนินงาน ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ ระบบราชการ ภาคการเมือง และภาคประชาชน
-หลังจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองพ.ศ. ๒๔๗๕ ภาคการเมืองยังมีสภาพอ่อนแอต้องอาศัยภาคราชการประคับประคอง ในสมัยร.๕ ภาคราชการใช้ระบบคุณธรรมป้องกันการแทรกแซง ภาคราชการเป็นตัวหลัก แต่เกิดปัญหา คือ แทนที่จะทำงานเพื่อประชาชนกลับแสวงหาอำนาจ มีการออกกฎหมายระดับรองที่เอื้ออำนวยให้อำนาจข้าราชการประจำและระบบราชการสะสมอำนาจ มองในด้านดีระบบราชการทำให้บ้านเมืองก้าวต่อไปได้ แต่ในภาคราชการกลับเกิดอำนาจนิยมจากการเสพอำนาจมาเป็นเวลานาน


หลังจากปีพ.ศ.๒๕๓๒ ในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุนหะวัน ฝ่ายการเมืองเริ่มเข้มแข็งในขณะที่ภาคราชการกลับถดถอย จึงเกิดการขัดแย้งของทั้งสองฝ่าย ระหว่างพ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๔๐ ฝ่ายการเมืองเป็นผู้ผลักดันนโยบายด้านการเมืองแต่ผู้ปฏิบัติ คือ ข้าราชการ


-ต้องออกแบบใหม่ เรื่อง รัฐสวัสดิการ เคยทำสูตรการรักษาพยาบาลกำหนดเหมาจ่ายหัวละ ๒,๐๐๐ บาท ก็ดำเนินและพัฒนาต่อไป แต่ต้องป้องกันการเมืองเข้ามาแทรก ในอดีตการปรับระบบราชการปฏิเสธการเข้ามาของคนฝ่ายการเมือง ปัจจุบันต้องเปิดทางให้คนของการเมืองเข้ามา โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปี ชัดเจน คนของฝ่ายการเมืองมาพร้อมกับการออกไปตามวาระและต้องรับผิดชอบความผิดทางการเมืองความผิดทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นด้วย
-ส่วนราชการต้องพัฒนาความสามารถให้เข้มแข็งระดับหนึ่งแต่ไม่ใช่ชี้นำ เข้มแข็งในด้านการทำงานร่วมกับภาคอื่น บางเรื่องซ่อมไม่ไหว ก็ยุบทิ้ง ลด โอนถ่ายภาระแก่ภาคอื่นของสังคม เข้ามามีส่วนร่วม
-จัดความสัมพันธ์ ๓ ยุทธศาสตร์ใหญ่ ๑. จัดกลไกราชการให้สมดุล ลดขนาดราชการ จัดความสัมพันธ์ ส่วนกลาง ภูมิภาค ส่วนกลาง หากจะทำ “เทศาภิวัตน์” ราชการส่วนกลางจะเสริมตรงไหน เอกชน ชุมชน จะร่วมอย่างไร
-เดิมส่วนกลางเป็นตัวตั้ง ต้องถอยออกมา ตั้งองค์กรพิเศษให้มากขึ้น มอบอำนาจ


ภาครัฐต้องมีการกระจายออกสู่อำเภอ อปท. เอกชนร่วมลงทุน privatize, out sources มีเครื่องมือในการแข่งขัน กับภาครัฐหากไม่ปล่อยมือ
การซื้อบริการจากรัฐเอกชน และทำไมไม่ซื้อบริการจากชุมชน เป็นรูปแบบcompact จากอังกฤษ การfunding ส่งผลให้มีทางเลือกมากขึ้น
วันนี้ โจทย์ใหญ่ คือ ต้อง join up ภาครัฐมาร่วมกัน ถ้าไม่ทำ ต้อง มีฝ่ายอื่นมาแข่งขัน


ในอังกฤษ มีคอมมิชชันเนอร์ ดูแลคนจะเข้ามาสู่ภาครัฐ นิวซีแลนด์ก็มีคณะกรรมการ คอยดูแล โดยมืออาชีพมาพิจารณา ต้องการคนแบบไหน ในการสรรหาคนเข้าดำรงตำแหน่ง เกิดวิชาชีพในการจัดสรรคน มีใบประกาศ ทำงานเปิดเผย แพร่ในเว็บไซต์
-ต้องเปิดพื้นที่ให้ทางการเมืองมีบทบาทแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งระดับสูง(Political ) อังกฤษตั้งที่ปรึกษา
-เบลเยียมใช้ระบบHibrid System คือ ยืมตัวข้าราชการไปแล้วก็สามารถกลับมาทำงานที่เดิมได้
-ในอดีตการมีอธิบดีในระดับทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ต้องแก้ด้วยการตั้งTribunal (คณะกรรมการ) มาพิจารณาจัดสรรทรัพยากรของชาติ
-การพัฒนาระบบราชการภายใน มี E-government แก้ทุจริต
-ภาคราชการต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ที่น่านยินดีที่ได้หมู ปลา ข้าวโพด แต่ไม่ได้ต่อยอด ปลาป็นหมัน ข้าวโพดปลูกได้ครั้งเดียว หมูเป็นหมัน ต้องเป็นหนี้ ราชการก็เป็นผู้เปิดประมูลให้เอาหมู ไก่ มาแจก แล้วหายไป ปัญหา ทางแก้ มี ๒๒ เรื่อง ควรแก้โดยเอาเงินให้แต่มีโจทย์ให้คิดว่า จะต่อยอดอย่างไร


รศ. ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-งานวิจัยชิ้นนี้มี ๓ ทีม ร่วมกันทำงาน คือ นักวิจัยจากจุฬา ธรรมศาสตร์ และทีดีอาร์ไอ
-ดร.นครินทร์สนใจการปฏิรูประบบราชการ การปฏิรูปด้านการเมืองซึ่งมีนักการเมืองทั้งระดับชาติ-ระดับท้องถิ่นรวมกันประมาณ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ คน ทำยาก เพราะนักการเมืองมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ปฏิรูปพลเมือง ๖๐ ล้าน ก็ยากมากยิ่งขึ้น
-compact คืออะไร ชุมชน เอ็นจีโอ ส่วนหนึ่งวิจารณ์รัฐอย่างเดียว NGO บางส่วนทำงานร่วมกับภาครัฐ จึงต้องยอมรับกันและกัน เป็นพันธมิตรกันบางลักษณะ ต้องลงทะเบียนยอมรับการถูกตรวจสอบ ในอังกฤษมีระบบcompact สวัสดิการ คนแก่ คนพิการ การซ่อมบ้าน ดุแลหมด เก็บขยะ เทศบาลบางแห่งไม่มีความสามารถในการเก็บขยะ ต้องให้เงินชุมชนขนขยะมากองแล้วเทศบาลขน แต่ไม่มีการทำสัญญา รับงานไปต้องตรวจสอบ แยกขยะหรือไม่ ถ้าชุมชนไม่แยกขยะเป็นเรื่องยาก งานหนัก การซ่อมสาธารณูปโภคบางงานบริษัทไม่รับทำงานเล็กๆ ต้องรับเป็นล้าน ก่อนหน้านี้ชุมชนเคยรับงานจากภาคราชการ แต่ไม่มีรูปแบบเป็นสัญญาที่สามารถตรวจสอบได้ จึงต้องปรับตัว มูลนิธิเด็กต้องรับงานจากรัฐ NGO ทำงานพวกนี้ดีกว่า แต่ไม่มีระบบสัญญา และการตรวจสอบ ปัจจุบันมีร่องรอยอยู่ควรพัฒนาต่อไป
-Contestability ถ้ารัฐไม่ทำ ให้เอกชนทำ สำนักอื่นทำ เช่น การถ่ายโอนคลองชลประทาน แต่ท้องถิ่นไม่มีเครื่องจักร ต้องทำคอนเทสต์ และกลับมาจ้างชลประทานภาครัฐ
-อาจจ้างใครก็ได้ที่ทำแล้วประหยัด บรรลุผลสำเร็จด้วยดี
-Central Government ต้องมีรูปแบบการตัดสินใจใหม่ ไม่รวมอำนาจ ภาคเอกชนมีแล้ว เช่น กรรมการจากเสียงส่วนน้อย เปิดให้ใครมาร่วมเพียงใด
-รัฐตัดสินใจไม่ได้ ต้องตั้งกรรมการแห่งชาติมาทำงาน ต้องให้นายกฯเป็นประธาน ยิ่งทำงานไม่ได้ เขียนกฎหมายมาให้ตัวเองทำงานไม่ได้ บางเรื่องอาจตัดสินใจเชิงอนุญาโตตุลาการ ซึ่งทำงานได้ดีขึ้น


รศ. ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์
บทเรียน เมื่อก่อนลงแรงทำฝาย เมื่อฝายทรุดพังก็ช่วยกันซ่อมด้วยดี เดี๋ยวนี้บอกว่าเป็นฝายของ อบต. เมื่อพังแล้วก็รอ อบต. เข้ามาซ่อม
อ.ถวิลวดี
ขรก. ต้องปรับปรุงตัว ด้วย ทั้งด้าน compact และ contestability


ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานนท์
ศึกษาเรื่องระบบรัฐสภา เราทำส่วนเล็กๆ ระบบพรรค ท้องถิ่น
-ผมทำที่มาของสมาชิกรัฐสภา ถกกันเรื่องจำนวนสส. เลือกตั้งกับปาร์ตี้ลิสต์
-เราดู รัฐธรรมนูญ(รธน.)พ.ศ.๒๕๔๐และพ.ศ.๒๕๕๐
-รธน. ๔๐ ไม่มีระบบตรวจสอบ การเข้าสู่ตำแหน่งก็หลากหลาย สส.ไทยเล่นเรื่องประชาชนฝากลูก แก้ปัญหากดขี่ ของต่างประเทศออกกฎหมาย
-พัฒนาการเรื่องทุจริต กินจอบ กินเสียบ พอมีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผุ้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีการลงโทษ
-นักการเมืองไม่แก้ปัญหาที่แท้จริง โครงการประชานิยมทำให้ชาวบ้านแบมือรับอย่างเดียว ต้องแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
-การปรับโครงสร้างรัฐสภา ตอบสนองคนหลายประเภท คนเข้าการเมืองต้องมีฐานอำนาจ ฐานการเงิน เขียนกฎหมายเพื่อประโยชน์ตนเอง
-รบ.นี้พูดเรื่องกฎหมายทรัพย์สิน แต่เงียบไปแล้ว
-ในฝรั่งเศสเสียภาษี ๗๐ % ต้องใช้วิธีโอนให้ลูกหลาน
-ในสภาบ้านเรามีแต่คนรวย ทำอย่างไรจะให้คนจนเข้าสภา มาออกกฎหมายตอบสนองคนทุกระดับ ในการวิจัย ดูหลายส่วน
-มีการถกเถียงเรื่องสส.ต้องสังกัดพรรค หรือ เปล่า เราเห็นว่าไม่ควรสังกัดเพราะพรรคครอบงำสส. ที่สั่งซ้ายหัน ขวาหัน
-ในงานวิจัยดูเรื่องที่มาของ สส. สว. เช่นกัน ซึ่งเถียงวนเวียน แต่ไม่เคยถามว่าระบบใดดีที่สุด จึงต้องลองไปเรื่อยๆ
-สว.ในรธน. ๔๐ วุฒิสภา ตรวจสอบด้วย กกต.สีเทา ศาลรธน.สีเทา ถูกการเมืองครอบงำ เพราะการเมืองเลือกเข้ามา เลยไม่ตรวจสอบจริงจัง
-โจทย์อ.บวรศักดิ์ว่า การปล่อยให้พรรคทำประชานิยม เป็นนโยบายพรรค แต่ใช้เงินประเทศ ต้องเอามาใส่ รธน.เสียเลย จะได้ไม่ต้องอ้างเอาเป็นงานของตน
-รบ.นี้ไม่ทำเรื่องภาษีมรดก ทำไมไม่ริเริ่มเรื่องภาษี การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ทำงานเหมือนองค์กรกระจายอำนาจด้านสวัสดิการ
-เรื่องสส. สว. เราตั้ง ๓๙๙ กับ๑๐๑ น่าจะเหมาะกว่าปัจจุบัน การนับคะแนน กลับใช้รธน.๔๐ เอาทุกหน่วยมารวมกันแล้วนับคะแนน
-การหาเสียง ถ้าต้องการลดบทบาทหัวคะแนน ก็ต้องเปิดเสรี และยกเลิกการสังกัดพรรคการเมือง ซึ่งมี สส.ขายตัว จึงต้องกำหนดให้ถ้าไม่สังกัดพรรคก็ต้องไม่เข้าพรรคเลย
-การตรวจสอบของสว. การถอดถอนสว.ให้ศาลรธน.ดำเนินการ ให้วุฒิสภาดูกฎหมายหรือตั้งคนเท่านั้น
-วุฒิสภา โดยตำแหน่ง ให้สัดส่วนคนในระบบรัฐเข้าม เช่น ปลัดกระทรวง เหล่าทัพ ผู้แทน อปท . สภาทนายความ ส่วนที่เหลือให้สรรหาจากวิชาชีพรัฐวิสาหกิจ เกสร พาณิชยกรรม มูลนิธิ NGO สรรหาเข้ามาจำนวน ๕ เท่า แล้วให้คณะกก.สรรหา คัด โดยมาจาก การเมือง นิติ บริหาร องค์กรตามรธน. จำนวน ๒๐๐ คน
-เรื่องการตั้งสว.โดยตำแหน่งลองพิจารณษดู
-นายกฯ และรมต. ต้องเป็นสส. เถียงกันมานาน จะให้ขรก. คนมีบารมีเข้ามาหรือ งานวิจัยเสนอให้นายกมาจากการเลือกตั้ง
-ปัญหาฝ่ายนิติบัญญัติไม่ควรมาเป็นฝ่ายบริหาร อาจใช้โครงสร้างรธน. ๔๐
-เสนอให้นายกฯห้ามเป็นต่อกัน ๒ สมัย อาจโต้แย้งว่า ลาออกก่อน ครบวาระแล้วเข้าใหม่ หรือ อาจเอาเด็กในคาถามาเป็นนายกฯ จึงต้องปล่อย
-รัฐสวัสดิการ ต้องปรับระบบภาษี และรูปแบบสวัสดิการ
-ฝรั่งเศสทำงบ ๒ ชุด งบสวัสดิการ และงบบริหารราชการแผ่นดิน
-รัฐต้องกำหนดประเภทสวัสดิการ กำหนดภาษี กำหนดคณะกรรมการดูแลคล้ายคณะกรรมการกำหนดแผนกระจายอำนาจ


อ.ณรงค์เดช
เรามีการยุบพรรค ๑๔๓ พรรค เกิดปัญหาลดความหลากหลายทางการเมือง ทำลายโอกาสการมีส่วนร่วม การยุบพรรคถูกใช้จัดการคู่แข่งทางการเมือง ทำลายโอกาสการพัฒนาเป็นสถาบันการเมือง คือ แยกพรรคออกจากบุคคล ไม่มีเจ้าของ การยุบพรรคทำให้สถาบันไม่เกิดป ประชาธิปัตย์มีคดี
-ปัญหาเชิงกฎหมาย การยุบพรรค ทางสากลมี ๔ ข้อ ปฏิปักษ์ต่อรัฐ ประชาธิปไตย อัตลักษณ์รัฐธรรมนูญ(สาธารณรัฐ ราชอาณาจักร รัฐศาสนา) ไม่ส่งเลือกตั้งต้องสลายตัว แต่ในไทย เหตุยุบพรรคขัดต่อนิติรัฐหลายข้อ เช่น กรรมการทำผิด มีการรู้เห็นเป็นใจ ถูกยุบ
-กระบวนการยุบพรรคการเมืองเยอรมนี ต้องเปิดให้โต้แย้ง นายพงษ์ศักดิ์ รักตะพงศ์ไพศาลและพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ไม่มีโอกาสเข้าต่อสู้ให้การในชั้นศาล แต่ ศาลรธน.กลับบอกไม่เป็นไร
-การเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งในต่างประเทศ ต้องเป็นโทษทางอาญา
-ปัญหาการบังคับใช้ เช่น หัวหน้าพรรคไม่ยื่นรายวานประจำปี ยุบพรรค ทำไมไม่ถอดถอน
-บ้านเรายุบเสร็จตั้งใหม่ แต่ต่างประเทศห้ามมีองค์กรทดแทนแบบนอมินี


อ.ไมเคิล เนลสัน
๑.ไม่มีใครพูดถึงผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง สื่อเห็นว่า Voters โง่ ยากจน สังกัดพรรค ซื้อเสียงได้ ผมเห็นว่า ความรู้ทางการเมืองของVoters ในไทย USA Germany หรือ France ก็เหมือนกัน คือ ต่ำ คล้ายกัน ขอให้ที่เห็นว่าผู้ออกเสียงโง่ เลิกคิดได้เลย
-ประเด็นการนับคะแนนที่อำเภอตามรธน.๔๐ เคยมีประสบการณ์สังเกตการนับคะแนนที่อำเภอแปดริ้ว ปรากฏว่าใช้กระบวนการยาวนานกว่า ๔๐ ชั่วโมง กรรมการเลือกตั้งเหนื่อย ความโปร่งใสหายไป เห็นว่า มีการจัดการมากปัญหาเป็นแรงกดดัน ตอนเช้าไม่มีใครนับคะแนน จึงควรนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งเลยดีกว่านับที่อำเภอ ง่ายกว่า เร็วกว่า ผลออกมาเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะนับที่หน่วยหรืออำเภอ
-คะแนนเสียงขั้นต่ำ รธน.๔๐ ถ้าคิด ๕% พรรคมหาชนไม่ได้สส.แม้แต่คนเดียว ทั้งๆที่มีสส. ๒ คน ปัญหาส่วนใหญ่มาจากเรื่องสส.บัญชีรายชื่อ การมีสส.คนเดียว ของ ๔-๕ พรรค จะมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด ถ้าลดจาก ๕% เหลือ ๑ % จะเหมาะสมกว่า


อ.ถวิลวดี
อปท.ช่วยเสนออะไรเล็กน้อย เชิญอ.ตระกูล


อ.ตระกูล
ผมทำเรื่องการเข้าสู่อำนาจขององค์กรปกครองท้องถิ่น พิการ อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ที่ฝ่ายราชการ การตรวจสอบมีน้อย เป็นระบบซ้ำซ้อนกับสภาองค์กรชุมชน(ปี๕๐) มหาดไทยกำลังจะผลักดันสภาท้องถิ่นมาซ้อน
-อปท.ไม่สะท้อนปัญหาชุมชน สภาท้องถิ่น ค่าใช้จ่ายสูงมาก คนละ ห้าพัน ปีละหกหมื่น แต่ละคนทำงานน้อย ไม่สะท้อนความต้องการที่หลากหลายของชุมชน มีกลุ่มในชุมชนหลายหลายมาก
-สภาท้องถิ่นต้องร่วม ตัดสิน และเสนอความคิดเห็น ในการพัฒนา ระบบ๒ ลู่ คือระบบเลือกตั้งกับระบบตัวแทนของภาคประชาสังคมในหมู่บ้านมาทำงานด้วยกัน
-ฝ่ายเลือกตั้งทำงานไป ฝ่ายตัวแทนชุมชนมาถ่วงดุล(ไม่มีเงินเดือน) เป็นลักษณะสังคมชนบท ร่วมตัดสินใจมีเหตุผล ตอบสนองชุมชน


อ.นิยม รัฐอมฤต
ผมติดตามองค์กรอิสระและองค์การติดตามการบังคับใช้ในรธน. จากการศึกษา ปัญหามีมากถึง๑๐ องค์กร พบปัญหาที่องค์อิสระไม่ประสบความสำเร็จหลายองค์กรเพราะถูกแทรกแซงจากพรรคการเมือง ต้องยุบหลายองค์กร
-การมีวาระ ๖-๘ ปี เป็นช่องว่างถูกแทรกแซงจากการเมือง คุณสมบัติกรรมการก็กำหนดไว้กว้างๆ บางคนไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริง เช่น องค์กรจัดการเลือกตั้ง องค์กรออกกฎหมาย เช่น กำหนดว่าเป็นศาสตราจารย์ อธิบดี ฯลฯ
-เจ้าหน้าที่ขององค์กรก็มีปัญหา จนท.ไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ ก็เกิดปัญหาได้เช่นกัน โดยสรุป พบว่า ๙ องค์กร ไม่ประสบความสำเร็จ จากปัจจัยข้สงต้น


วรัญชัย โชคชนะ
ประสบการณ์ตรง คือ ยุทธศาสตร์ด้านการเมือง ด้านรธน. ควรจับตาตาการแก้ไข อย่าดูว่าแค่ที่ม่าของสส. ดูสว.ด้วย จำนวนควรเป็น รธน.๔๐ รัฐบาลควรเสริมสร้างประชิปไตย ไม่ใช่หน้าที่ของสถาบันพระปกเกล้า การเมืองนอกสภา สถาบันพระปกเกล้าต้องดูด้วย สุดท้าย สื่อและนักวิชาการ สื่อ ๒ ค่าย นักวิชาการ ๒ ค่าย
-การเลือกตั้ง นับที่หน่วยเลือกแบบเขต พรรคตั้งได้ ล้มได้ถ้าไม่ส่งสมัคร การยุบพรรค พรรคเป็นของประชาชน องงค์กรอิสระ ลำเอียง ผู้บริหารท้องถิ่นควรให้คนท้องถิ่นเลือกผุ้ว่าได้ ยุบอบจ.เลือกตั้งผู้ว่าแทน


ประเสริฐ เลิศยะโส อดีตสส.บุรีรัมย์ พรรคสังคมนิยม อาสาสมัครอบรมความรู้ประชาธิปไตยของรัฐสภา เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่
-การต่างประเทศเราอ่อน ปัญหาประเทศไทยมีทั้งโครงสร้างและบุคคล
-ปัญหาเรามีศก. การเมือง สังคม ต้นเหตุ ปลายเหตุ ไม่มีการวิจัย แบบคอมมิวนิสต์แล้วออกแบบรัฐธรรม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมไม่ใช่แค่ประเวศ อานันท์มาแก้เพียงข้อสองข้อ
-การสร้างอำนาจรัฐใหม่มาจากประชาชน


วิชิต อินทะประสบ ผู้แทนหน่วยงานการติดตามการใช้อำนาจในภาครัฐต่อประชาชนขององค์การสหประชาชาติ
เห็นด้วยจะกี่คนผลก็เหมือนกัน ไม่เห็นด้วยที่สว.ออกก่อนวาระ อยู่ให้ครบ อย่าให้การเมืองชะงัก
-อปท. อบต. สจ.จะย่อยสลาย ไปตั้งสอบจ.มาทำงานเดียวกัน แบ่งเค้ก งานมางบไม่ให้ แก้ปัญหา


อนุชา บุญญสาสี สส.กทม. ปชป.
-ออกรายการรู้ทันประเทศไทยของ ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ผู้เสวนาพูดเรื่อง จำนวน สส.เขต ๒๐๐ เขต สส.สัดส่วน ๒๐๐ คน (มีนายกฯอยู่ในนี้) มีการเสนอแนวคิดว่า ต่อไปนายกฯไม่มีอำนาจยุบสภา และสส.ไม่มีอำนาจในการยื่นญัตติไว้วางใจ


อ.นครินทร์
การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน แต่ปรากฏเอาเข้าจริงการเมืองกลับเป็นเรื่องของคนบางกลุ่ม การแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องต้องทำไปแก้ไป เคยเสนอในการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ.๒๕๕๐ ว่าที่มาของสว.อาจต้องใช้วิธีการสรรหาโดยไม่คิดว่าจะเป็นวิธีการสรรหาแบบถาวร (๗๔-๗๖) ไปๆมาๆที่มาของสว.จะกลายเป็นการสรรหาถาวร


อ.ถวิลวดี
ประชาชนต้องปฏิรูปตัวเอง ปัจจุบันเรายึดตัวเองเป็นที่ตั้งมานาน ดังนั้นจึงต้องปฏิรูปตัวเองเป็นอันดับแรก
ภาคบ่าย ยุทธศาสตร์ประเทศไทยในมิติการปฏิรูประบบเศรษฐกิจเพื่อลดความขัดแย้งทางการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น