บทที่4 คริสต์ศตวรรษที่18 ยุคทองของบราซิล
by C.R. Boxer (แปลโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร / ร่างรอขัดเกลาสำนวน อ้างอิง แก้ไขเทคนิคการนำเสนอ ภาพประกอบและกำกับภาษาต่างประเทศ)
by C.R. Boxer (แปลโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร / ร่างรอขัดเกลาสำนวน อ้างอิง แก้ไขเทคนิคการนำเสนอ ภาพประกอบและกำกับภาษาต่างประเทศ)
ในช่วงทศวรรษ1530นั้น การตั้งอาณานิคมที่บราซิลเริ่มประสบกับความยุ่งยาก เนื่องจากถูกจำกัดพื้นที่ให้มีรูปร่างแคบเพรียวลงเป็นช่วง ๆ ตามแนวชายฝั่งทะเล สถานที่ซึ่งอาจเป็นที่ตั้งหลักแหล่งได้อย่างเพียงพอนั้น มีไม่กี่แห่ง ข้อจำกัดประการหนึ่งในการตั้งถิ่นฐาน คือ จะขยายหลักแหล่งออกไปบนผืนแผ่นดินใหญ่ได้ไม่เกิน 50 ไมล์ ในบราซิล น้ำตาล คือ สินค้าออกสำคัญ รองลงมา คือ ยาสูบซึ่งโดดเด่นถัดมา ในระยะหลังโรงงานน้ำตาลมักจะตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งจะสามารถเดินทางไปยังท่าเรือได้ง่าย ศูนย์กลางสำคัญในการผลิตน้ำตาลของบราซิลมี 3 แห่ง คือ เปอร์นัมบูโก( ) ทางทิศเหนือ บาเฮีย( )ตอนกลาง และริโอ เดอ จาเนโร( ) อยู่ทางทิศใต้ ทั้งสามเมืองเป็นศูนย์กลางสำคัญทางด้านประชากร กล่าวคือ แรงงานทาสในไร่อ้อยกับทาสผู้รับใช้ในบ้านส่วนใหญ่จะถูกนำมาจากแอฟริกาตะวันตก แหล่งทาสสำคัญในระยะแรกอยูแถบกินี เมื่อโปรตุเกสตั้งเมืองลวนดา( ) เป็นเมืองท่าการค้าในค.ศ.1575 ทาสก็ถูกนำมาจากอังโกลาและเบงกูเอลลามากขึ้น บางครั้งผู้ตั้งถิ่นฐานในบราซิลก็จับชาวอเมรินเดียนไปเป็นทาสด้วย เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นว่าขณะที่ชนเผ่าอะบอริจินีส( )ยังคงมีวิถีชีวิตอยู่ในวัฒนธรรมยุคหิน แต่พวกเขาก็มิได้พิสูจน์ให้เห็นว่า มีประโยชน์มากกว่าหรือมีภูมิต้านทานสูงเท่าพวกนิโกร
การด้นดั้นสู่ดินแดนซึ่งอยู่ลึกเข้าไปจากชายฝั่งทะเลระยะแรก เริ่มขึ้นบริเวณตอนใต้สุดอันเป็นที่ซึ่งกลุ่มชนแห่งที่ราบสูงเซา เปาโล( ) ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความยากจนข้นแค้นเกินกว่าจะสามารถซื้อทาสผิวดำมาไว้ใช้งานได้ พวกเขาจึงจู่โจมเข้าไปใน (ดินแดนซึ่งอยู่ลึกเข้าไปห่างจากชายฝั่งทะเล) เพื่อค้นหาชาวอเมรินเดียนและจับชาวอเมรินเดียนเหล่านั้นไปเป็นทาสภายในฟาร์มและที่พักของตน พวกเขาดั้นด้นเข้าไปตั้งแต่แถบคอร์ดิลเลอรา ( ) ในเทือกเขาแอน ( ) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก จนถึงลุ่มแม่น้ำอะเมซอนซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ แต่การรุกเข้าไปในดินแดนเหล่านี้ มีเป้าหมายเพื่อการโจมตีค้นหาทาสซึ่งทิ้งถิ่นฐานจากไปเมื่อพวกเขาเดินทางเข้าไปถึงเท่าชาวปอลลิสตาส์ ( ) พลเมืองแห่งที่ราบสูงเซา เปาโลเป็นกลุ่มชนที่มีเปอร์เซนต์เลือดอเมรินเดียนสูงมาก พวกเขามักจะใช้ภาษาตูปี ( )ภายในกลุ่มของตนมากกว่าจะใช้ภาษาโปรตุเกส ชาวปอลลิสตาลยอมรับหรือปรับปรุงประเพณีและวิถีการดำเนินชีวิตแบบพื้นเมืองของตนหลายอย่าง ด้วยการผสมผสานกันอย่างเป็นอิสระ คล้าย ๆ กับกรณีของพวกเมติส( ) 1 ซึ่งเป็นชาวแคนาเดียนเชื้อสายฝรั่งเศส( )ในคริสต์ศตวรรษที่14
ในระยะครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อสงครามกับดัทช์สิ้นสุดลงไปแล้วเหตุการณ์รุนแรงต่าง ๆ ก็แทบจะไม่เกิดขึ้นเลย แต่ผลประโยชน์ในบราซิลมีมากเพียงใด คนเลี้ยงวัว( หรือ หรือ ) ก็ยิ่งอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานมากขึ้นเท่านั้นคนเหล่านี้เดินทางไปเพื่อแสวงหาทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงฝูงวัว พวกเขาส่วนใหญ่เป็นคนครึ่งชาติ ( ) ที่ถูกว่าจ้างโดยเจ้าของที่ดินรายใหญ่ ๆ พวกเขาอพยพไปทางทิศตะวันตกของบาเฮียและเปอร์บูโก และมุ่งหน้าเขาสู่ดินแดนตอนในของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำเชา ฟรานซิสโก( ) ซึ่งอยู่ในภาคกลางของบราซิล ในกรณีนี้ การอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานของพวกเขาเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการยึดครองบราซิล อย่างไรก็ตาม ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณทุ่งหญ้าดังกล่าวมีน้อยมาก การดำรงชีวิตจึงกระจัดกระจายอยู่ภายในเขตทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์เท่านั้น
(เริ่มพิสูจน์อักษรต่อ)ในช่วง 25 ปี สุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 17 นั้น โปรตุเกสมีสินค้าออกสำคัญคือ น้ำตาล ยาสูบ ไวน์ ผลไม้ และเกลือ สินค้าเหล่านี้เป็นปัจจัยที่โปรตุเกสใช้ในการนำเข้าสินค้าจำพวกพืชพันธ์ธัญญาหารและสินค้าหัตถกรรม สินค้าขาออกของโปรตุเกสมีมูลค่าต่ำกว่าอัตราของสินค้าขาเข้า จึงก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุลย์ทางการค้า โธมัส เมนาร์ด( ) กงศุลผู้เชี่ยวชาญชาวอังกฤษ ณ ลิสบอน ได้รายงานไว้เมื่อ ค.ศ.1671 ว่า :“น้ำตาลทั้งหมดของโปรตุเกสที่ถูกนำเข้ามาในปีนี้ พร้อมด้วยสินค้าจำพวกพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ซึ่งโปรตุเกสพยายามจะส่งเป็นสินค้าออกนั้นมีมูลค่าไม่ถึงครึ่งหนึ่งของสินค้าเข้าจึงมีแนวโน้มว่าเงินตราของโปรตุเกสกำลังจะหมดไปในไม่ช้านี้ ”
สำหรับอีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติกนั้นก็มีสภาวการณ์แห่งความมืดมนทางเศรษฐกิจไม่แพ้กัน บาทหลวงอันโตนิโย วิเยรา( ) แห่งคณะเจซูอิต ได้บันทึกสถานการณ์ต่าง ๆ ที่บาเฮีย( ) เมื่อ ค.ศ.1689 ว่า :“ภายในระยะเวลาสั้น ๆ นี้ เราจะหวนกลับไปอยู่ในสภาพของการเป็นชนเผ่าอินเดียน( ) และกลายไปเป็นชาวบราซิลเลียน( ) แทนที่จะเป็นชาวโปรตุเกส ”
สถานการณ์ต่าง ๆ อาจจะไม่เลวร้ายไปเสียทุกอย่างดัง เช่น การคาดหมายของนักสังเกตุการณ์ชาวต่างชาติและชาวโปรตุเกส เพราะไม่ว่าจะเนื่องด้วยเหตุผลใด ๆ และแม้พวกเขาจะอยู่ในสภาพอันเลวร้ายสักปานใด แต่สถานการณ์ก็ได้คลี่คลายไปในทางที่ดีจากองค์ประกอบสองประการคือ การเกิดสงครามวิลเลียม( ) ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส และ(อุบัติการณ์ใหญ่ซึ่งบังเอิญเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน) และการค้นพบทองคำในบราซิล สงครามวิลเลียมทำให้การส่งเหล้าไวน์ของฝรั่งเศสไปยังประเทศอังกฤษต้องถูกสั่งห้าม หรือมิฉะนั้นก็ถูกเก็บภาษีขาเข้าในอัตราที่สูงมาก ส่งผลให้ปริมาณการบริโภคไวน์ของโปรตุเกสในตลาดอังกฤษถีบตัวสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้ปัญหาการขาดดุลย์ทางการค้าของโปรตุเกสได้รับการแก้ไขด้วยดี และนอกจากนี้ สิ่งที่ส่งผลให้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของโปรตุเกสมีความมั่นคงยิ่งขึ้นก็คือ สัญญาทางการค้าสำคัญฉบับหนึ่งชื่อ “The Treaty of Methieu” เมื่อ ค.ศ.1703 และสำหรับทองคำที่บราซิลนั้น ปรากฏว่าถูกค้นพบครั้งแรกเป็นจำนวนมากเมื่อกลางทศวรรษ 1690 โดยกลุ่มนักแสวงโชคจากโปลิสตา( ) พวกเขาเหล่านี้ได้บากบั่นเข้าไปในป่าซึ่งดินแดนดังกล่าวนี้ ปัจจุบันคือ อมินาส์ แจแรส์( ) เพื่อการค้นหาและกวาดต้อนอเมรินเดียนกับค้นหาแร่เงิน อันเป็นโลหะมีค่าที่ชาวสเปนเคยค้นพบมาแล้วในเม็กซิโกและเปรู มากกว่าจะต้องการแสวงหาทองคำ
หลังการสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 17 แล้ว บรรดาผู้คนที่ยังข้องใจต่อข่าวการค้นพบทองคำในดินแดนที่อยู่ลึกเข้าไปทางทิศเหนือของริอู ดึ ชไนรู ( ริโอ เดอ จาเนโร-Rio de Janeiro) ต่างก็เดินทางออกไปพิสูจน์ข้อเท็จจริงของการค้นพบทองคำจำนวนมหาศาลอย่างที่ไม่เคยปรากฏในภูมิภาคใดมากก่อนข่าวการค้นพบทองคำในพื้นที่กว้างใหญ่ ตามแม่น้ำลำธารและหุบห้วยทุกแห่งทั้งในเหมืองธรรมชาติ( ) และเหมืองขุด( ) แพร่สบัดออกไปสู่โลกภายนอกทุกวัน ดินแดนแห่งนี้จึงถูกเรียกว่า “เหมืองใหญ่ ( หรือ )” นักแสวงโชคแห่งโปลิสตาผู้ค้นพบและบุกเบิกเหมืองทองคำได้กลายเป็นเจ้าของเหมืองทองคำไปโดยปริยาย และปราศจากการถูกรบกวนท้าทายด้วย ในเวลาต่อมา นักแสวงโชคจำนวนมากจากโปรตุเกสและดินแดนอาณานิคมทุกแห่งของโปรตุเกสต่างก็โคจรมาพบกับที่มินาส์ แจแรส์ โดยอาศัยเส้นทางสำคัญสามสายผ่านป่าดงดิบคือ จากบาเฮีย( ) ริโอ เดอ จาเนโน และเซา เปาโล ( ) มินา แจแรส์ จึงกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรมและผิดจริยธรรมแหล่งใหญ่ ส่วนผู้คนในมินาส์ แจแรส์ก็ล้วนแต่เป็นพวกที่ “คึกคะนองและขาดระเบียบแบบแผนที่สุดเท่าที่เคยปรากฏมา” ข้อความดังกล่าวอยู่ในบันทึกที่น่าเชื่อถือเมื่อ ค.ศ.1701 ของข้าหลวงใหญ่แห่งบราซิล หลักฐานซึ่งมีอคติเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับการค้นพบทองคำครั้งยิ่งใหญ่หนแรกในประวัติศาศตร์สมัยใหม่บันทึกไว้ว่า : แต่ละปีฝูงชนชาวโปรตุเกสและชาติอื่นได้ทางไปยังเหมืองทองคำโดยเรือสินค้าประจำปีพวกเขาเดินทางมาจากทั้งเมืองใหญ่ เมืองเล็ก ผืนไร่( )และชนบทล้าหลังของบราซิล ฝูงชนเหล่านี้มีทั้งคนผิวขาวผิวสีและผิวดำ รวมทั้งชาวอเมรินเดียนจำนวนมากซึ่งถูกนักแสวงโชคแห่งโปลิสตาจับมาเป็นทาส การผสมผสานกันเกิดจากประเภทและสภาวะต่าง ๆ ของผู้คน : ชายกับหญิงเยาว์วัยกับชราภาพ : รวยกับจน และศาสนาหลายนิกาย ฝูงชนเหล่านี้ล้วนแต่เป็นผู้ที่มิได้มีบ้านเรือน หรือแหล่งพักพิงในบราซิลเลย
ความลำบากยากแค้นบนเส้นทางสู่เหมืองทองคำเกิดขึ้นกับนักแสวงโชคจำนวนมากที่ขาดประสบการณ์ชีวิต ความตายเนื่องจากการอดอาหารและการได้รับอาหารไม่เพียงแก่ความต้องการของร่างกายมักจะเกิดขึ้นกับนักแสวงโชคผู้มีเพียงไม้เท้าและเครื่องหลังเป็นสมบัติติดตัว เมื่อนักบุกเบิกเหล่านี้เดินทางไปถึงดินแดนแห่งเหมืองทองคำ พวกเขาต่างก็ดำเนินชีวิตไปโดยปราศจากการควบคุมของกฎหมาย เจ้าหน้าที่ของทางการและการใช้อำนาจตามกฎหมายของรัฐบาลในเวลาต่อมาก็จำกัดขอบเขตอยู่เพียงในพื้นที่ของการตั้งถิ่นฐานตามชายฝั่งทะเลใกล้ ๆ กับไร่น้ำตาลเท่านั้น
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอาณานิคมได้เฝ้าดูการตื่นทองคำของฝูงชนในระยะแรกด้วยความรู้สึกสับสน และปรากฎว่าข้าหลวงใหญ่แห่งบาเฮียได้บันทึกในหนังสือโต้ตอบจากบาเฮียเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ.1701 เพื่อแสดงความยินดีหลังจากที่ได้ทราบข่าวล่าสุดจากบรรดาเหมืองต่าง ๆ ที่ได้ฤกษ์เปิดศตวรรษใหม่ร่วมกัน และให้สัญญาที่จะมอบความร่ำรวยและความเจริญรุ่งเรืองให้แก่โปรตุเกสซึ่งเป็นประเทศแม่ แต่ถึงกระนั้นเขาก็ได้กล่าวเสริมว่า นับเป็นการล่อแหลมอย่างยิ่งต่อปรากฎการณ์ดังกล่าว เนื่องจากในที่สุดแล้วทองคำของบราซิลที่โปรตุเกสได้รับจะมีน้อยกว่าเงินเม็กซิกันและเงินเปรูที่สเปนหามาได้ เพราะทองคำที่ส่งมาจากเตกัสนั้น จะต้องหลุดมือไปจากชาวโปรตุเกสเพื่อจ่ายเป็นค่าสินค้าขาเข้าจากอังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์และอิตาลีอยู่แล้ว และข้าหลวงผู้นี้ได้บันทึกไว้ว่า “ประเทศดังกล่าวเหล่านี้ได้เสพย์ผลกำไรจากเราในขณะที่พวกเราต้องใช้แรงงาน” โดยข้อเท็จจริงแล้วปรากฏว่า ทองคำจากบราซิลจำนวนหนึ่งในสองส่วนและสามในสี่ส่วน ของทองคำทั้งหมดที่ส่งไปถึงลิสบอน (เฉลี่ยจากปีที่มีผลผลิตดีที่สุด) เมื่อปี ค.ศ.1733 มีมูลค่าประมาณ 38,400 ปอนด์ คือ ส่วนแบ่งที่โปรตุเกสต้องจ่ายไปเป็นค่าสินค้าขาเข้าจากยุโรปเหนือโดยเฉพาะอังกฤษซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่
ฝูงชนซึ่งหลั่งไหลเข้าไปเพื่อขุดทองที่มินาส แจแรส์ด้วยความหวังอย่างเปี่ยมล้มต่อการสร้างความมั่งคั่งให้แก่ตนเองอย่างขาดระเบียบวินัยได้แตกแยกเป็นสองฝ่ายอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ ฝ่ายแรกประกอบด้วยนักบุกเบิกกลุ่มเปาลิสตา และทาชาวอเมริกาเดียนของพวกเขาฝ่ายหลังคือ พวกเอมบัวบาสซึ่งประกอบด้วยฝูงชนกลุ่มใหมที่เดินทางมาจากประเทศโปรตุเกสและดินแดนส่วนต่างของบราซิลพร้อมด้วยหมู่ทาสนิโกรของพวกตน ซึ่ส่วนใหญ่เป็นทาสที่ถูกนำมาจากชายฝั่งของอาฟริกาตะวันตก ความขัดแย้งดังกล่าวนำไปสู่การสู้รบกันของฝูงชนทั้งสองพวกเมื่อ ค.ศ.1709 การนองเลือดได้สิ้นสุดลงภายในระยะเวลาเพียง 2-3 สัปดาห์ โดยพวกเอมบัวบาสซึ่งเป็นเป็นกลุ่มที่เดินทางเข้ามาทีหลังเป็นผู้ที่ได้รับชัยชนะอย่างสมบูรณ์ นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาชาวโปรตุเกสที่อยู่ในมินาส์ แจแรสก็เป็นชนผิวขาวที่มีอิทธิพลมากที่สุด แต่ทว่ากลุ่มทาสจากอาฟริกาตะวันตกกลับมีจำนวนมากกว่า และพลเมืองเลือดผสมมูแลตโตส่วนใหญ่ได้พัฒนาวิถีชีวิตจากการสมรสกับชาวเหมืองด้วยกันไปสู่การอยู่กินกับผู้หญิงนิโกรอย่างรวดเร็ว
“สงครามเอ็มบัวบาส์” ในปี ค.ศ.1709 ทำให้กษัตริย์โปรตุเกสทรงเข้ามาใช้อำนาจเหนือชุมชนเหมืองที่ตกอยู่ในสภาพสับสนวุ่นวายแห่งนี้เป็นครั้งแรก สาเหตุของการยื่นมือเข้ามาของทางการโปรตุเกสเกิดขึ้นเนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างก็ร้องของการสนับสนุนจากกรุงลิสบอน กษัตริย์โปรตุเกสจึงทรงฉวยโอกาสส่งข้าหลวงเข้ามาสร้างแกนอำนาจในการปกครองชุมชนขึ้นในมินาส แจร์แรส สำหรับพวกปอลิสตาส์ ซึ่งถูกพวกเอ็มบัวบาสขับไล่ออกไปนั้นก็ได้บุกป่าฝ่าดงเข้าไปทางทิศตะวันตก และได้ค้นพบแหล่งเหมืองทองแห่งใหม่ในเขตติดต่อกับคิวอาบา กัวยาสและมาโต กรอสโซ ระหว่างทศวรรษ 1720 ได้มีการค้นพบเพชรในมินาส แจร์แรส และใน ค.ศ.1740 มณฑลไดมอนด์ก็ถูกก่อตั้งขึ้นมาภายใต้การปกครองอย่างเคร่งครัดเป็นกรณีพิเศษโดยกษัตริย์โปรตุเกส การปกครองภายในมณฑลไดมอนด์ถูกแยกออกมาจากระบบปกครองของบราซิลอย่างเด่นชัด การสัญจรเข้า-ออก ภายในมณฑลแห่งนี้จะต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครองหรือเจ้าเมืองเป็นราย ๆ ไป การค้นพบทองคำและเพชรในแต่ละพื้นที่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญ ๆ หลายประการ ต่ออาณานิคมทั้งหมดของโปรตุเกส ผลกระทบที่เกิดขึ้นประการแรกคือ การอพยพของพลเมืองในอาณานิคมชายฝั่งทะเลทุกแห่งของโปรตุเกสเข้าสู่บราซิล การอพยพขนานใหญ่ครั้งนี้แตกต่างไปจากการแทรกซึมเข้าสู่อาณานิคมแห่งอื่น ๆ ของบรรดานักปศุสัตว์ในอดีต ซึ่งเป็นไปอย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอ ผลกระทบประการที่สองคือ การเกิดปัญหายุ่งยากทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและยืดเยื้อเนื่องจากกรรมกรไร่อ้อยและไร่ยาสูบตามเมืองท่าชายฝั่งได้ทิ้งงานไปรับจ้างในเหมืองทองคำเพื่อการได้รับค่าจ้างแพง ๆ (ซึ่งก็เป็นเพียงความหวังเท่านั้น) นอกจากนี้ปัญหาทางเศรษฐกิจยังเกิดจากการถีบตัวสูงของค่าจ้างแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแคลนแรงงานเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นควบคู่กับการถีบตัวขึ้นสูงของราคาทองคำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลกระทบประการที่สามคือ การถีบตัวขึ้นสูงของอุปสงค์ที่มีต่อทาสชาวอัฟริกันตะวันตกเพื่อนำไปใช้แรงงานในเหมืองทองคำและไร่ในบราซิลทำให้การค้าทาสในภูมิภาคแถบอัฟริกาตะวันตกเกิดความตื่นตัวด้วยเช่นกัน
อังโกลาและเบงกูเอลลา เป็นแหล่งป้อนความต้องการทางชาวอัฟริกันอย่างเพียงพอ แต่เมื่อพ่อค้าทาสชาวโปรตุเกสได้ถูกชาวดัทช์ขับไล่ออกไปจากอังโกลาและเบงกูเอลาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 บรรดาพ่อค้าทาสชาวโปรตุเกส (หรือแท้ที่จริงคือ ชาวลูโซ-บราซิเลียนส์) จึงมุ่งความสนใจไปที่ตลาดค้าทาสแห่งกินีอีกครั้ง พ่อค้าทาสชาวโปรตุเกสประสบความสำเร็จในการค้าทาสที่กินีด้วยดีร แม้ว่าจะถูกต่อต้านและแทรกแซงจากพ่อค้าชาวดัทช์อยู่เสมอ บางครั้งบางคราวพ่อค้าทาสชาวโปรตุเกสจะถูกแทรกแซงจากพ่อค้าทาสชาวอังกฤษ ซึ่งพยายามจะสร้างความมั่งคั่งให้แก่ตนเองด้วยการติดต่อค้าทาสกับราชอาณาจักรดาโฮมี การค้าทาสในแถบนี้ทำให้พ่อค้าทาสชาวโปรตุเกสสามารถจัดหาทาสชาวซูดานซึ่งบึกบึนและเหมาะสำหรับงานในเหมืองมากกว่าทาสชาวบันตูจากอังโกลา นอกจากทาสชาวซูดานจะเหมาะสำหรับงานในเหมืองแล้ว ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวเพิ่มเติมถึงหลักฐานรายงานชิ้นหนึ่งของข้าหลวงแห่งริโอ เดอ จาเนโร ถวายแด่กษัตริย์แห่งโปรตุเกสในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1726 ได้ระบุว่า “ไม่มีเจ้าของเหมืองชาวผิวขาวรายใดเลยที่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากการใช้แรงงานของทาส อย่างน้อยพวกเขานะต้องมีทาสหญิงนิโกรสักคนจากอาณาจักรดาโฮเมียเอาไว้ใช้สอย บรรดาเจ้าของเหมืองต่างก็ยอมรับว่าพวกเขาร่ำรวยขึ้นมาได้ก็เพราะทาสพวกนี้นั่นเอง” นักเดินทางชาวฝรั่งเศสที่เดินทางไปถึงบาเฮียเมื่อแปดปีก่อนหน้านั้น ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า แม้ชายหนุ่มชาวโปรตุเกสจะสามารถหาภรรยาเป็นคนผิวขาวได้ แต่พวกเขาก็มักอยากจะใช้ชีวิตอยู่กินผู้หญิงชาวอัฟริกันหรือหญิงเลือดผสมอัฟริกันมากกว่าชาวบราซิเลียนมีคำกล่าวติดปากอยู่ประโยคหนึ่งว่า “ “ ร่องรอยดังกล่าวนี้ยังคล้ายกับข้อสังเกตของนักเดินทางต่างชาติที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในภายหลังที่บราซิลด้วยแนวโน้มในการอยู่กินกับหญิงสาวชาวมูแลตตาส์ดังกล่าวมิได้สะท้อนออกมาให้เห็นในกฎหมายต่าง ๆ ของอาณานิคม ซึ่งยังคงต่อต้านพลเมืองเชื้อสายอัฟริกันอย่างเด่นชัด ดังข้าพเจ้าจะกล่าวถึงต่อไปแต่ถึงกระนั้นกฎหมายกีดผิวเหล่านี้ก็มักจะถูกเลี่ยงหรือถูกมองข้ามไป ดังจะเห็นว่าในระยะแรกของกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 นั้น บราซิลเป็นดินแดนที่ได้ชื่อ “นรกของคนผิวดำ ดินแดนแห่งการไถ่บาปของคนผิวขาว และสวรรค์สำหรับชาวมูแลตโต”การขยายตัวออกไปตั้งถิ่นฐานทางตะวันตกของบราซิลในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นเหตุให้เกิดการกระทบกระทั่งครั้งใหม่ขึ้นกับดินแดนของสเปนในอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดนทางเหนือของลุ่มแม่น้ำอเมซอนและทางตอนใต้ของริโอ เดอ ลา ปลาตา ความขัดแย้งดังกล่าวสงบลงด้วยการทำข้อตกลงและการแลกเปลี่ยนดินแดนซึ่งกันและกันตามมติของสนธิสัญญาที่กรุงมาดริด เมื่อ ค.ศ.1750 อันเป็นปีสุดท้ายแห่งการครองราชย์ของกษัตริย์ดอง จูอาวที่ 5 ผู้ทรงสร้างความประหลาดใจให้แก่ยุโรปด้วยการกระจายผลกำไรจากทองคำและเพชรที่ทรงได้รับจากบราซิลอย่างฟุ่มเฟือย หลังจากนั้นไม่นานนักเมื่อสเปนยกเลิกสัญญามาดริดไป จึงเกิดการต่อสู้กันขึ้นระหว่างโปรตุเกสกับสเปนในอเมริกาใต้ แต่ความขัดแย้งระหว่างชาติทั้งสองก็ยุติลงได้ด้วยสัญญาซาน อิลเดฟองโซ ในอีกยี่สิบเจ็ดปีต่อมา สัญญาดังกล่าวจึงทำให้บราซิลมีเส้นเขตแดนที่คดเคี้ยวดังเช่นปัจจุบัน
พัฒนาการที่เต็มไปด้วยความน่าทึ่งของบราซิลในรัชสมัยของกษัตริย์ดอง จูอาวที่ 5 มีลักษณะตรงกันข้ามกับความเป็นอยู่ในระยะหลัง ๆ ของอาณานิคมของโปรตุเกสในเอเซียและอัฟริกาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่โปรตุเกสไม่อาจจะหลีกพ้นได้ กล่าวคือ ระหว่าง ค.ศ.1650 –1760 พลเมืองของประเทศโปรตุเกสได้เพิ่มขึ้นประมาณสองล้านสองแสนห้าหมื่นคนถึงสองล้านห้าแสนคน โปรตุเกสจึงไม่สามารถนำเอาทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปใช้ในการพัฒนาอาณานิคมของตนทั้งในตะวันออกและตะวันตกได้ อย่างไรก็ตาม ความเสื่อมของอาณานิคมโปรตุเกสในอัฟริกาได้ถูกกดให้ตกต่ำลงยิ่งขึ้น เนื่องจากอาณานิคมเหล่านี้ถูกจัดให้เป็นเพียงแหล่งรวบรวมทาสเท่านั้น ประกอบกับผลแห่งการละเลยต่อความต้องการทางเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม และการสูญเสียความสำคัญของการเป็นตลาดค้าทาสของอัฟริกาไปโดยปริยายนั่นเอง มาควิสแห่งคัสเตลโล โนโว ได้ชี้ให้เห็นความแตกต่างอย่างเด่นชัดระหว่างความล้าหลังและความเฉื่อยชาของอาณานิคมแห่งโมแซมบิก กับพัฒนาการที่เจริญรุดหน้าในหมู่เกาะเฟร้นช์ของฝรั่งเศสและราชวงศ์บูร์บองภายใต้การบริหารงานอย่างทุ่มเทของมาเย เดอ ลา บูร์ดองเนส์ อังโกลามีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นภายใต้การปกครองของ ฟรานซิสโก อินโนเซนซิโอ เดอ ชูซา กูตินโฮ (ค.ศ.1764 – 1772 ) แต่ความเจริญดังกล่าวเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงสั้น ๆ เท่านั้น อำนาจของโปรตุเกสในเอเชียเสื่อมทรามลงอย่างรวดเร็วจากความก้าวหน้าของแคว้นมาราธาส์ที่สามารถช่วงซิงเอา......ซึ่งเป็นมณฑลแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของอินเดียไปจากโปรตุเกส หลังจากที่ได้ต่อสู่ขับเคี่ยวกันมาแล้วอย่างรุนแรงระหว่าง ค.ศ.1737 – 1740 มณฑลดังกล่าวนี้ประกอบด้วยถิ่นฐานของชาวโปรตุเกสซึ่งทอดเป็นแนวกว้างประมาณ 66 ไมล์ ตามแนวชายฝั่งทะเลจากบอมเบย์ถึงดาเมา มณฑลนี้เป็นดินแดนที่ให้ผลประโยชน์แก่แคว้นมาราตาส์มากที่สุดเท่าที่จะเหลือไว้ให้หลังความหายนะจากสงครามกับดัทช์และสงครามกับชาวอาหรับแห่งโอมานตามลำดับ นับตั้งแต่โมแซมบิกประกาศแยกตัวเป็นเอกราช เมื่อ ค.ศ.1752 อาณานิคมแห่งอินเดีย ซึ่งเคยเป็นความภาคภูมิใจของโปรตุเกสในอดีตจึงมีเพียงกัว ดาเมาและดิอิวบนดินแดนชายฝั่งตะวันตกของอินเดีย มาเก๊าในจีนและเกาะติมอร์ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกเท่านั้น
แม้จะประสบความปราชัยในเอเซียและความไม่ก้าวหน้าในอัฟริกา แต่รัชสมัยของกษัตริย์ดอง จูอาวที่ 5 ก็นับเป็นยุคทองสำหรับชาวโปรตุเกส โดยเฉพาะอย่างเป็นที่เชื่อกันว่าความมั่งคั่งดังกล่าวนี้บราซิลมีส่วนช่วยอย่างมากมายทีเดียว จอห์น เวสลีย์ ได้เขียนไว้เมื่อ ค.ศ.1755 ว่า : พวกพ่อค้าในประเทศโปรตุเกสแจ้งให้เราทราบว่า กษัตริย์โปรตุเกสทรงมีเพชรอยู่เต็มอาคารที่ทรงสร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังทรงมีทองคำ เงินบริสุทธิ์และเหรียญเงินมากยิ่งกว่าพระราชทรัพย์ของกษัตริย์ทั้งหมดในยุโรปเสียอีก อย่างไรก็ตาม คำกล่าวข้างต้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เหรียญทองคำโปรตุเกส ในเวสต์ คัทรีของอังกฤษยังดูจะมีมากกว่าเหรียญทองคำทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศโปรตุเกสเสียอีก ข้อสังเกตของเวสลีย์สะท้อมให้เห็นถึงความเข้าใจที่ผิด ๆ เกี่ยวกับความมั่งคั่งเรื่องทองคำในรัชสมัยของกษัตริย์ดอง จูอาวที่ 5กษัตริย์ที่ครองราชย์ต่อมาคือ กษัตริย์ดอม โจเซ่ที่หนึ่ง ในรัชสมัยนี้ได้เกิดการปกครองแบบเผด็จการขึ้นในโปรตุเกสภายใต้การนำของมาดวิสแห่งปอมบัล ค.ศ.1755 - 1777 ผลแห่งการปกครองของเขาได้ส่งมาถึงโปรตุเกสในปัจจุบันด้วย แต่ข้าพเจ้าจะขอกล่าวถึงนโยบายในการปกครองอาณานิคมโดยสังเขปเพียง 4 ประการใหญ่ ๆ ดังนี้ คือ ( ) เน้นการขยายอำนาจของกษัตริย์โปรตุเกสให้ครอบคลุมการดำเนินชีวิตในอาณานิคมทุก ๆ แห่งอย่างเข้มงวด ( ) ดำเนินการเพื่อให้ความอุปถัมภ์แก่อาณานิคม โดยการตั้งบริษัทที่ได้รับสิทธิพิเศษและเอกสิทธิ์ทางการค้าขึ้นหลายบริษัท ( ) ยกเลิกระบบการกีดกันผิว ( ) หรืออย่างน้อยก็ได้ทำให้ระบบนี้ผ่อนคลายลง ( ) สนับสนุนการดำเนินการของบาทหลวงคณะเจซูอิตในจักรวรรดิโปรตุเกส
ความพยายามของปอมบัลในการรวมอำนาจมาไว้ที่กษัตริย์โปรตุเกสส่งผลกระทบต่อระบบราชาการโปรตุเกสเป็นอย่างยิ่ง กษัตริย์โปรตุเกสทรงเป็นผู้นำและมีการส่วนร่วมในการอุปถัมภ์การค้นพบและการพิชิตดินแดนต่างๆ เสมอ ซึ่งแตกต่างกับกรณีของการขยายอำนาจของอังกฤษไปยังดินแดนโพ้นทะเล ไม่ว่าจะกรณีใด ๆ ก็ตาม ทั้งโดยทฤษฎีและการปฏิบัติ การตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะเป็นของกษัตริย์โปรตุเกส อาทิ คำถวายฏีกาอันน่าสลดใจนิรนามจากดินแดนล้าหลังแห่งบราซิล คำฏีกาจากหุบเขาที่เต็มไปด้วยไข้ป่าแห่งแซมเบซี หรือจากแหล่งเสื่อมโทรมในมาเก๊า ปัญหาการผลิตเหรียญเงินตราสำหรับใช้ในอังโกลา การออกกฏเกณฑ์ในสัญญาการล่าปลาวาฬที่บาเฮีย การดูแลนางระบำชาวอินเดียแห่งแมืองกัว การจัดการกับผู้ลักลอบขนทองคำและเพชรเถื่อนในมินาส แจร์แรส เรื่องยุ่งยากในศาลศาสนาเกี่ยวกับจารีตทางศาสนาของชาวจีนในมาเก๊าและปักกิ่ง การเลื่อนตำแหน่งของเจ้าหน้าที่และการเลื่อนยศของนายทหารชั้นประทวนในกองทหารของอาณานิคมแห่งต่าง ๆ ภาระต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นอาจเปรียบได้กับเมล็ดข้าวที่ถูกส่งเข้าไปยังโรงสีข้าวของกษัตริย์ และการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในเรื่องเหล่านี้เป็นของกษัตริย์โปรตุเกสแต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ครั้นปอมบัลยื่นมือเข้ามาควบคุมการบริหารราชการต่าง ๆ ภายใต้พระปรมาภิไธยแห่งกษัตริย์โปรตุเกสแล้ว จึงไม่ต้องประหลาดใจเลยว่าข้าราชาการโปรตุเกสจะต้องทำงานเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอีกมากมาย การตัดสินปัญหาบางอย่างจึงต้องใช้เวลานานตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และฏีกาหลายเรื่องที่ถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่กษัตริย์โปรตุเกสนั้น ปรากฎว่าไม่เคยได้รับคำตอบกลับคืนมา
เมื่อพิจารณาความพยายามของปอมบัลในการฟื้นฟูสภาพทางการค้าและเศรษฐกิจของโปรตุเกสแล้วจะพบว่า ความพยายามดังกล่าวประสบความสำเร็จในระดับมากบ้างน้อยบ้างรัฐบาลโปรตุเกสได้พยายามที่จะนำเอาแบบอย่างแห่งความสำเร็จจากบริษัทอีสต์อินเดียของดัทช์และบริษัทอีสต์ อินเดียของอังกฤษมาใช้โดยได้ก่อตั้งบริษัทซึ่งมีรูปแบบการดำเนินการที่คล้ายคลึงกับบริษัทอีสต์อินเดียของดัทช์และอังกฤษขึ้นเพื่อการค้าแถบอินเดียตะวันออก การค้าทาสในแถบอัฟริการตะวันตกและการค้าในบราซิลแต่การปฏิรูปดังกล่าวมิได้ทำให้โปรตุเกสประสบความสำเร็จทางการค้าเลย บริษัทที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาบางแห่งประสบกับความล้มเหลวเสียตั้งแต่ยังไม่ทันจะเริ่มดำเนินการ หรือประสบความล้มเหลวภายในระยะเวลาอันสั้น ยกเว้นบริษัทบราซิลซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1649 บริษัทบราซิลสามารถดำเนินกิจการมาจนถึง ค.ศ.1720 แต่ทว่าในช่วงเวลา 71 ปี แห่งการดำเนินการนั้น บริษัทบราซิลสามารถดำเนินการนั้น บริษัทบราซิลจ่ายเงินปันผลได้เพียงสองหรือสามปีต่อครั้งเท่านั้นปอมบัลผู้ซึ่งเริ่มอาชีพเป็นนัการฑูตในราชสำนักเซนต์ เจมส์ เมื่อปลายทศวรรษ 1730 เขาประทับใจต่อความมั่งคั่งร่ำรวยของบริษัทอีสต์ อินเดียของอังฤษเป็นอย่างยิ่งปอมบัลได้ก่อตั้งบริษัททางการค้าขึ้นมาจำนวนมากระหว่างที่เขาปกครองโปรตุเกสแบบเผด็จการ บริษัทเหล่านี้ต่างก็ได้รับการสนับสนุนและสิทธิพิเศษจำนวนมากจากรัฐบาลโปรตุเกส ซึ่งปรากฏว่าบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่ประสบความล้มเหลวในการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม บริษัทดูโร ไวน์ และบริษัทแห่งบราซิลของปอมบัลทั้งสองบริษัท (คือ บริษัท ) กลับประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างดีในช่วง 20 - 30 ปี นอกจากบริษัททางการค้าดังกล่าวข้างต้นแล้ว ปอมบัลยังได้ก่อตั้งกระทรวงการคลังขึ้นมา เพื่อผูกขาดการควบคุมภาษีในบราซิลให้เป็นระบบและมีขอบเขตกว้างขวาง แต่สภาพการติดค้างเป็นหนี้ค่าแรงราคาถูก ๆ ของเจ้าหน้าที่จำนวนมากตามอาณานิคมแห่งต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาการลักลอบค้าของหนีภาษีเป็นอัตราสูงมาก การลักลอบค้าสินค้าต้องห้ามในอาณานิคมบางแห่งจึงกลับมีความสำคัญมากกว่าการค้าอย่างถูกต้องตามกฎหมายเสียอีก
จากการพิจารณาปัญหาการแบ่งแยกหรือการรังเกียจผิวแล้วจะพบว่า คำสั่งบางอย่างของปอมบัลได้เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการใช้คำขวัญว่า "เสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดภาพ" ในการปฏิวัติฝรั่งเศสเสียอีก ปอมบัลได้ประกาศยกเลิกการมีทาสในประเทศโปรตุเกส ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบทันทีจากคนส่วนใหญ่ เนื่องจากชาวโปรตุเกสได้เฝ้ามองการเลิกทาสในอังกฤษและฝรั่งเศสด้วยใจริษยาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คำประกาศของปอมบัลเป็นกฎหมายที่รุนแรงมาก ทำให้ชาวเอเซียในบังคับของกษัตริย์โปรตุเกสมีสถานภาพเท่าเทียมกับคนผิวขาวที่เกิดในประเทศโปรตุเกสสถานภาพดังกล่าววางอยู่บนพื้นฐานที่ว่า "กษัตริย์โปรตุเกสมิได้ทรงจำแนกพสกนิกรของพระองค์ที่สีผิว หากแต่ทรงพิจารณาพวกเขาจากคุณงามความดีและความสามารถเป็นหลัก" กฎหมายดังกล่าวมิได้ถูกนำไปใช้กับอาณานิคมของโปรตุเกสในอัฟริกา เนื่องจากพวกนิโกรยังเป็นกลุ่มชนที่ถูกมองว่ามีพื้นฐานชีวิตความเป็นอยู่ต่ำต้อย แต่สำหรับชาวอเมรินเดียนในบราซิลนั้นปอมบัลได้ประกาศใช้กฏหมายดังกล่าวกับพวกเขาในเวลาต่อมา ปอมบัลไม่เพียงแต่จะลบล้างร่องรอยสุดท้ายของการกดขี่แรงงาน (บนแผ่นกระดาษ) เท่านั้น เขาได้สนับสนุนให้ผู้ตั้งถิ่นฐานในอาณานิคมแห่งต่าง ๆ ของโปรตุเกสทั้งชายและหญิง หันมาแต่งงานกับชาวอเมรินเดียน โดยมิได้รังเกียจต่อพื้นฐานความล้าหลังทางวัฒนธรรมของอีกฝ่ายแต่อย่างใด
ความพยายามของปอมบัลเพื่อทำลายการรังเกียจผิวในอินเดียและบราซิล (ยกเว้นนิโกร) ประสบความสำเร็จไม่มากนัก ความพยายามในการเลิกล้มค่านิยมดังกล่าวทั้งในอินเดียและบราซิลมิได้รับการตอบสนองจากข้าหลวงและเจ้าหน้าที่ระดับสูงส่วนใหญ่ของอาณานิคมเลย แม้ว่าพวกเขาจะมิได้คัดด้านนโยบายของปอมบัลในระหว่างที่เขายังมีชีวิตอยู่ แต่ภายหลังมรณกรรมของเขาแล้วปรากฏว่าสถานการณ์ต่าง ๆ กลับพลิกไปสู่ "สภาวะแห่งการต่อต้าน- " ซึ่งย่อมหมายความว่าเจ้าหน้าที่ผิวสีชาวเอเชียนหรือยูเรเชียนของรัฐบาลโปรตุเกสจะไม่สามารถเลื่อนตำแหน่งของตนขึ้นไปสูงเกินกว่าตำแหน่งกัปตัน ( ) ได้ พวกเขาไม่ได้รับการยอมรับให้บวชเป็นบาทหลวงอีกต่อไป หลังจากที่เคยมีการอนุญาตให้คามาเรา ( ) และเฮนริก ไดแอส( ) บวชเมื่อหนึ่งศตวรรษก่อนหน้านี้ แต่ทั้งสองก็มีสมณศักดิ์ไม่สูงนักในซานติเอโก ( )พระราชหัตถเลขาของกษัตริย์โปรตุเกสลงวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ.1761 ทรงแต่ตั้งบาทหลวงชาวพื้นเมืองที่โมแซมบิก ( ) โดยไม่มีผลบังคับใช้ในทางปฏิบัติ แม้ว่าในอาณานิคมของโปรตุเกสแถบอัฟริกาตะวันตกของโปรตุเกสจะมีบาทหลวงเลือดผสมนิโกรเป็นจำนวนมากก็ตาม ในปี ค.ศ.1704 กษัตริย์โปรตุเกสทรงบัญชาให้มหาวิทยาลัยกวมบรา ( ) รับนักเรียนผิวสีชาวบราซิล ( คือผู้ที่ไม่ใช่เลือดนิโกรบริสุทธิ์) เข้าไปศึกษาได้เท่าเทียมกับสามัญชนที่มีการศึกษาค่อนข้างสูง แม้ว่าทางมหาวิทยาลัยจะไม่เต็มใจรับก็ตาม ครั้นสิ่งต่าง ๆ ผ่านพ้นไปปรากฎว่ามีนักเรียนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่ได้รับประโยชน์จากคำสั่งดังกล่าวในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18
สำหรับการปราบปรามบาทหลวงคณะเจซูอิต ( ) ในอาณานิคมแห่งต่าง ๆ ของโปรตุเกสนั้น นับเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่คณะเจซูอิตในสเปนและฝรั่งเศสถูกกวาดล้างไปไม่นานนัก แม้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นเพียงนโยบายชั่วครามของพระสันตปาปา แต่ผลที่ตามมาแทบจะเป็นความหายนะโดยสิ้นเชิง ปอมบัลเป็นผู้หนึ่งที่หวั่นเกรงว่า พวกเจซูอิตจะมีพฤติกรรมคลั่งศาสนาและพวกอัลตรามองตาน คาธอลิ ( ) แห่งคณะฟรีมาซองส์ ( ) หรือรังเกียจพวกยิว ( ) ซึ่งศรัทธาต่อสัญญาแห่งการกลับคืนสู่ไซออน ( ) ความปราชัยของพวกเจซูอิตล้วนเกิดจากการที่พวกเขาเป็นนักการศึกษาที่ดีที่สุด เป็นครูที่ดีที่สุดและเป็นนักสอนศาสนาที่ดีที่สุดในอาณานิคมแห่งต่าง ๆ ของโปรตุเกส การกำจัดพวกเจซูอิตอย่างฉับพลันรุนแรงทำให้เกิดปัญหาการสูญเปล่าทางปัญญาไปอย่างไม่มีสิ่งใดทดแทนได้เป็นเวลานานหลายร้อยปี แม้ในปัจจุบันจะมีพวกเจซูอิตกลับเข้าไปตั้งมั่นอีกครั้งแล้วก็ตามสิ่งที่พิเศษยิ่งไปกว่านั้นก็คือ อิทธิพลของโปรตุเกสในเอเซียได้ถูกก่อกวนเสียจนไม่อาจจะฟื้นฟูให้กลับคืนได้อีกเลย ความสูญเสียของโปรตุเกสถูกตอยย้ำมากยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีการส่งบาทหลวงคณะอื่น ๆ หรือแม้แต่นักบวชเข้าไปแทนที่พวกเจซูอิต มีครูจำนวนเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ปอมบัลแต่งตั้งขึ้นมาทำหน้าที่ในโรงเรียนอย่างเร่งด่วนข้าพเจ้าได้กล่าวไปตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า บาทหลวงทั่วไปอาณานิคมต่าง ๆ มีมาตรฐานทางศีลธรรมค่อนข้างต่ำ ยกเว้นบาทหลวงคณะเจซูอิต ( ) และคณะคาปูชิน ( ) หลักฐานร่วมสมัยหลายชิ้นของโปรตุเกสบันทึกไว้ว่า สาเหตุของการตกต่ำทางศีลธรรมดังกล่าวเกิดจาก ( ) การไม่ให้การศึกษาแก่เด็กชายในครอบครัวทาสซึ่งแวดล้อมไปด้วยหญิงผิวสีที่นุ่งห่มกึ่งเปลือย ( ) และพร้อมที่จะให้ความสุขแก่พวกเขาได้ตามความพึงพอใจการเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตแบบฆราวาสไปสู่ชีวิตแบบบาทหลวง ( ) ผู้บำเพ็ญพรหมจรรย์จึงเป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้ และก็มีน้อยรายเหลือเกินที่พยายามจะทำให้ได้ ( ) การไม่เต็มใจเรียนรู้ภาษาพื้นเมืองทำให้บาทหลวงชาวโปรตุเกสต้องพึ่งพาอาศัยล่ามชาวพื้นเมืองในการถ่ายทอดศาสนาแบบปุจฉา - วิสัชนา ( ) ในขณะที่บาทหลวงคณะเจซูอิตมักจะตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้ภาษาพื้นเมืองเสมอ พวกเขาถึงกับห้ามมิให้ชาวอเมรินเดียนที่นับถือศาสนาโรมันคาธอลิกในมารันเยา ( ) เรียนภาษาโปรตุเกส ( ) บาทหลวงและนักบวช ( ) คณะต่าง ๆ ขาคความกระตือร้นในการเผยแพร่ศาสนาอย่างจริงจัง ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับชาวโปรตุเกส ดอม ฟรานซิสโก มานูเอล เอด เมลโล ( ) ระบุอย่างตรงไปตรงมาในงานเขียนชื่อ" " ว่า ผู้ที่เป็นบิดาไม่ควรจะเลี้ยงดูบุตรชายสารเลวของตนเอาไว้ในชายคา ควรจะส่งพวกเขาโดยสารเรือไปยังอินเดียหรือไม่ก็จับพวกเขาปลงผมบวชเสีย ( ) บาทหลวงในอาณานิคมบางแห่งได้รับเงินเดือนไม่พอเพียงแก่การดำรงชีวิต อาณานิคมบางแห่งจ่ายค่าตอยแทนแก่บรรดาบาทหลวงเป็นสินค้าหรือสิ่งของ สถานการณ์ดังกล่าวจึงกดดันให้บาทหลวงจำนวนมากรับจ้างทำงานให้กิจการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าในอาณานิคมต่างเพื่อความอยู่รอดของตน
แทบจะไม่ต้องประหลาดใจเลยว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นทำให้มีการบันทึกตำหนิติเตียนการกระทำของบาทหลวงเหล่านี้ในหนังสือโต้ตอบของทางการ( ) เกี่ยวกับความไม่สำรวมของบาทหลวง การให้สินบนเพื่อให้ได้สมณศักดิ์ของบาทหลวงและความทะเยอทะยานในสมณศักดิ์ของบรรดาบาทหลวงทั้งหลาย ชาวต่างชาติที่เดินทางไปยังโปรตุเกสหรืออาณานิคมของโปรตุเกสในคริสติศตวรรษที่ 18 ไม่ว่าจะนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกหรือโปรเตสแตนต์ ต่างก็มีความเห็นว่าบาทหลวงในอาณานิคมแห่งต่าง ๆ ของโปรตุเกสมีพฤติกรรมน่าตำหนิติเตียน ยกเว้นบาทหลวงคณะเจซูอิตและคณะคาปูชินเท่านั้นกลุ่มบาทหลวงนักเทศน์ชาวกัว ( ) เป็นแบบอย่างของการบำเพ็ญตนอย่างเสียสละและประสบความสำเร็จในการเผยแพร่ศาสนา บาทหลวงเหล่านี้ได้ช่วยปกป้องให้ชุมชนคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาธอลิกแห่งศรีลังการอดพ้นจากการถูกทำลายภายใต้การปกครองของดัทช์ ( )แม้ว่าในโมแซมบิกนั้น มาตรฐานทางศีลธรรมของคริสต์ศาสนิกชนและมิชชันนารีคณะโดมินิกันจะตกต่ำมากในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 รายงานของทางการฉบับหนึ่งเมื่อ ค.ศ.1770 ระบุว่า มีข้อยกเว้นบางอย่างทางศีลธรรมจรรยา ( ) ในการปกครองโมแซมบิกการปราบปรามคณะเจซูอิตของปอมบัลประสบความสำเร็จเพียงด้านเดียว คือ เขาสามารถทำลายอิทธิพลทางการศึกษาที่บาทหลวงคณะนี้ครอบงำอยู่ การปฏิรูปมหาวิทยาลัยกวมบรา ( ) และการยุบมหาวิทยาลัยเจซูอิตแห่งเอโวรา ( ) และวิทยาลัยเยซูอิตแห่งโพ้นทะเล ( ) นับเป็นการเริ่มต้นในการลดอิทธิพลของศาสนจักรโปรตุเกสที่เคยครอบงำวัฒนธรรมโปรตุเกสอย่างลึกซึ่งมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานนักประวัติศาสต์ต่างก็มีความเห็นก้ำกึ่งกันว่า อิทธิพลทางศาสนจักรที่ครอบงำวัฒนธรรมโปรตุเกสแต่สิ่งที่เราพึงตระหนักถึงก็ คือ ระบบการศึกษาของสามัญชน ( ) เป็นผลงานสุดท้ายจากการปฏิรูปของปอมบัล และเป็นผลงานอันหนึ่งที่ปูพื้นฐานไปสู่การยกเลิกศาสนจักร ( ) ในปี ค.ศ.1834
ในระยะครึ่งหลังแห่งการมีอำนาจเผด็จการอันยาวนานของปอมบัล อาณานิคมทุกแห่งของโปรตุเกสได้เผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจกันถ้วนหน้า ปัจจัยซึ่งเป็นสาเหตุแห่งความยุ่งยากดังกล่าวคือ ระดับความมั่นคงและความตกต่ำของผลิตผลจากทองคำ เพชร และน้ำตาลของบราซิล ด้วยเหตุนี้สัดส่วนทางการค้าของบราซิลจึงอยู่ระหว่างร้อยละ 80 - 90 ของการค้าในอาณานิคมทุกแห่งของโปรตุเกส การค้าของบราซิลจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญทางเศรษฐกิจของโปรตุเกส นับเป็นความโชคดีของประเทศโปรตุเกสเนื่องจากสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีระหว่างการครองราชย์ของสมเด็จพระราชินีมาเรียที่ 1 ( ค.ศ.1777-1792) โดยเป็นผลมาจากการวางตัวเป็นกลางของโปรตุเกสระหว่างสงครามประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกา ( ) อย่างน้อยที่สุดความเป็นกลางของโปรตุเกส ก็มีส่วนช่วยให้สภาพการค้าในอาณานิคมของโปรตุเกสฟื้นตัวขึ้นมาได้ ทำให้บริษัททางการค้าของโปรตุเกสซึ่งได้รับสิทธิพิเศษภายใต้การสนับสนุนของปอมบัล สามารถหาตลาดระบายผลผลิตจำพวกข้าว ฝ้าย และโกโก้จากบราซิลในยุโรปได้ด้วยสงครามประกาศเอกราชของชาวอเมริกันส่งอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อความคิดเรื่องเสรีภาพให้แก่ดินแดนส่วนต่าง ๆ ของโลกใหม่ และบราซิลก็ได้รับอิทธิพลดังกล่าวเช่นกัน แผนการประกาศเอกราชของมินาส แจแรส์ ( ) ให้หลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสประสบความล้มเหลวเมื่อ ค.ศ.1789 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นความไม่พอใจกต่อการปกครองโปรตุเกสโดยมีแรงบัลดาลใจจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ( )ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติขึ้นทั่วโลก ลอร์ด แมกคาร์ทนีย์ ( ) ทูตอังกฤษคนแรกแห่งอาณาจักรจีนผู้ซึ่งเคยผ่านเข้าไปในริโอ เดอ จาเนโร ระหว่างการเดินทางไปยังปักกิ่งได้คาดหมายเหตุการณ์เอาไว้ล่วงหน้าว่า : ถ้าริโอไม่ถูกกดดันและบีบคั้นด้วยความหวงแหนอย่างรุนแรงจากประเทศโปรตุเกสซึ่งเป็นประเทศแม่ ( ) แล้วละก็ ริโอจะต้องเติบโตก้าวหน้าขึ้นเป็นประเทศที่มั่งคั่งและอุดมสมบูรณที่สุดประเทศหนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัยเลยทีเดียวแต่ความรู้สึกตื่นตัวและการลุกฮือของพลเมืองในมินาส แจแรส์ ประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ ด้วยแล้ว นับเป็นสิ่งบอกเหตุประการสำคัญให้ราชสำนักแห่งกรุงลิสบอนทราบถึงแนวโน้มว่าโปรตุเกสกำลังจะได้รับความเดือดร้อนและอดหยาก แทนที่จะได้รับการทะนุบำรุงและค้ำจุนจากอาณานิคมของตนต่อไป สิ่งเหล่านี้ จะบีบบังคับให้เยาวชนของโปรตุเกสต้องจมปลักอยู่กับชีวิตความเป็นอยู่อันแร้นแค้นเลวร้ายเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่แต่สิ่งดังกล่าวคงจะไม่มีความหมายใด ๆ ในเมื่อกษัตริย์โปรตุเกสมิได้ทรงยินยอมมอบเอกราชหรือถอนตัวออกจากบราซิล เพื่อให้โอกาสแก่ชาวบราซิลในการตัดสินใจเลือกในช่วงครึ่งหลังแห่งการมีอำนาจเผด็จการอันยาวนานของปอมบัล ปรากฎว่าอาณานิคมทุกแห่งของโปรตุเกสได้เผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจกันถ้วนหน้า ปัจจัยที่เป็นสาเหตุแห่งวิกฤตการณ์ดังกล่าว อนาคตด้วยตนเอง แม้จะมีการกำหนดระเบียบและกฎเกณฑ์ทางการปกครองเอาไว้แล้วก็ตาม แต่อีกไม่ช้าพลังของชาวพื้นเมืองจะระเบิดออกมาเพื่อเพื่อปลอแรงกดดันและการบงการจากอิทธิพลของโปรตุเกสคำทำนายของแมกคาร์ทนีย์กลายเป็นความจริงในเวลาต่อมา แม้ว่าจะถูกต้องเพียงเล็กน้อยก็ตาม เป็นที่เข้าใจกันดีว่า ความคิดเกี่ยวกับเสรีภาพและเอกราชในแบบของชาวอเมริกันหรือชาวฝรั่งเศสเป็นที่ยอมรับกันในหมู่ของผู้มีการศึกษากลุ่มเล็ก ๆ วงจำกัดมาเป็นเวลานาน แต่ปัจจัยอื่น ๆ ก็เป็นชนวนที่ทำให้ชาวบราซิลทุกชนชั้นมีความไม่พอใจต่อการตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของผู้อพยชาวโปรตุเกส ซึ่งเป็นพวกที่มักจะมความขยันขันแข็งมากกว่าญาติ ๆ ที่เกิดในอเมริกา ( ) และมักจะเป็นพวกที่มีอิทธิพลครอบงำการค้าและเศรษฐกิจ ของบราซิลอย่างแท้จริง ชาวโปรตุเกสที่เดินทางมาจากประเทศแม่ ( ) เป็นพวกที่มักจะได้รับความเมตตาและการคุ้มครองเป็นกรณีพิเศษจากเพื่อนร่วมชาติของพวกเขาซึ่งรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจำนวนมาก พลเมืองผิวสีที่เป็นอิสรชน ( -หมายถึง ชาวมูแลตโต- ) จึงแสดงความไม่พอใจด้วยการค้ดด้านอยุติธรรมซึ่งมีจุดมุ่งทางทฤษฏีเพื่อนำมาใช้กับชาวมูแลตโต ซึ่งกฎหมายดังกล่าวแทบจะไม่มีผลในทางปฏิบัติเลย และท้ายที่สุดก็เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า โปรตุเกสไม่สามารถควบคุมอาณานิคมของในอเมริกาใต้ได้อีกต่อไป นอกจากนี้โปรตุเกสยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากบราซิลอีกด้วย คงเหลือเพียงกิจการไร่ปศุสัตว์ของกษัตริย์โปรตุเกสเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การประกาศเอกราชของบราซิลมิได้ใช้เวลาในการบ่มตัวยาวนานอย่างที่แมกคาร์ทนีย์ได้คาดหมายเมื่อ ค.ศ.1792 การประกาศเอกราชของบราซิลเกิดขึ้นอย่างฉับพลันในขณะที่ประเทศโปรตุเกสกำลังติดพันกับสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน ( ) ซึ่งทำให้กษัตริย์ดอม โจอาวที่ 6 ( ) ขณะทรงเป็นมกุฎราชกุมารโปรตุเกส ( ) เสด็จหนีไปยังบราซิลเมื่อ ค.ศ.1808 เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การยกเลิกระบบการผูกขาดอาณานิคม ( ) และการเปิดประตูทางการค้าระหว่างอังกฤษกับบราซิล รวมทั้งการมีสิทธิในการติดต่อกับต่างประเทศโดยตรงด้วยความขัดแย้งระหว่างโปรตุเกสกับบราซิลเกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ.1821 - 1825 และยุติลงอย่างรวดเร็วเมื่อบรรดาที่ปรึกษากิจการโพ้นทะเลของกษัตริย์โปรตุเกส ( ) ถวายคำแนะนำว่า : ไม่ต้องสงสัยว่า หากบราซิลกับโปรตุเกสยังคงต่อสู่กันอย่างไม่ยอมลดราต่อไปแล้วบราซิลจะต้องปฏิบัติการรุนแรงกว่าโปรตุเกส และประเทศที่ใหญ่กว่าและอุดมสมบูรณ์กว่าย่อมไม่ต้องการที่จะอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศเล็ก ๆ และมีฐานะยากจนกว่าอย่างแน่นอน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถแก้ไขได้อย่างง่ายดาย
หากจะกล่าวโดยสังเขปแล้ว เรื่องราวสี่ร้อยปีแห่งการขยายอิทธิพลไปยังโพ้นทะเลของโปรตุเกสเริ่มต้นเมื่อโปรตุเกสสามารถยึดครองซีทต้า ( ) ได้ใน ค.ศ.1415 และสิ้นสุดลงเมื่อบราซิลประกาศเอกราชในปี ค.ศ.1825 อะไรเป็นสาเหตุและสิ่งบ่งชี้ที่มีต่อปรากฎการณ์ดังกล่าว นักประวัติศาสตร์ต่างก็ให้คำตอบที่ไม่เหมือนกัน และสำหรับข้าพเจ้านั้นขอเสนอความคิดเห็นเป็นการส่วนตัวดังต่อไปนี้
ประการแรก จากการพิจารณาผลกระทบบางอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศโปรตุเกส จะพบว่าระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14 -15 กับครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 นั้น ประเทศโปรตุเกสทำการค้ากับยุโรปเหนือด้วยเรือและลูกเรือทั้งหมดของตนในการเดินเรือระหว่างเมืองท่าของอังกฤษและเฟลมมิช ( ) ครั้นสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสจำเป็นต้องใช้เรือและลูกเรือทั้งหมดของตนในการเดินทางไปยังอินเดีย อัฟริกาและบราซิล ดังนั้นระหว่าง ค.ศ.1600 - 1800 จึงแทบจะไม่มีเรือสินค้าของโปรตุเกสเดินทางไปยังช่องแคบอังกฤษเลย ในขณะที่มีเรือของโปรตุเกสเพียงไม่กี่ลำแล่นในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแม้ว่าจักรวรรดิโปรตุเกส ( ) จะเป็นจักรวรรดิทางทะเล ( )ตามที่เข้าใจกันก็ตาม แต่โปรตุเกสซึ่งเป็นประเทศแม่ () กลับไม่เคยมีกลาสีและเรือเพียงพอในการเดินเรือค้าขายให้ครอบคลุมอาณานิคมต่าง ๆ ของคนแต่อย่างใด ทำให้บางครั้งโปรตุเกสต้องใช้เรือของต่างชาติในการเดินเรือพาณิชย์ (ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นเรือของอังกฤษ)
นักวิจารณ์หลายคนในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และนักเขียนสมัยใหม่บางคนระบุว่า การขยายอำนาจของโปรตุเกสไปยังอาณานิคมต่าง โดยเฉพาะจักรวรรดิทางตะวันออกของโปรตุเกสซึ่งมีสภาพไม่มั่นคง คือ สาเหตุแห่งความหายนะทางภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมและการลดจำนวนประชากรลงภายในประเทศโปรตุเกส ทำให้มีข้อกล่าวหากันว่า ความเสื่อมโทรมเหล่านี้นำมาซึ่งการอพยพนานใหญ่ออกจากประเทศโปรตุเกส เมื่อนักแสวงโชคที่ประสบความสำเร็จได้เดินทางกลับมาจากตะวันออกพร้อมกับความอวดมั่งอวดมีและความประพฤติเสื่อมเสียศีลธรรมมาเผยแพร่ที่โปรตุเกสด้วย ข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ระหว่าง ค.ศ.1540 - 1640 พลเมืองของประเทศโปรตุเกสจำนวนประมาณ 1,200,000 คน แต่ในช่วงยี่สิบห้ามีสุดท้ายของคริสต์ศวรรษที่ 17 นั้น พลเมืองของประเทศโปรตุเกสมีแนวโน้มเพิ่มสูงเรื่อย ๆ จนถึงกลางคริสต์ศวรรษที่ 18 โปรตุเกสจึงมีประชากรประมาณ 2,500,000 คน ในบางภูมิภาคของประเทศโปรตุเกสเมื่อการผลิตด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมถึงจุดเสื่อมโทรมระหว่างคริสต์ศวรรษที่ 16 -18 ชาวโปรตุเกสก็สามารถประกอบการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศได้ตามความเหมาะสม ที่ดินจำนวนมากของประเทศโปรตุเกสมักจะยังไม่ได้ทำการเพาะปลูก อุตสาหกรรมของโปรตุเกสส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับอุตสาหกรรมขั้นมูลฐานเท่านั้น ไม่ว่าจะในยุคกลาง () หรือแม้กระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้
ผลประโยชน์อย่างหนึ่งซึ่งโปรตุเกสได้รับจากอาณานิคมโพ้นทะเลทั้งหลาย คือ ผลกำไรทางการค้าและทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งทำให้โปรตุเกสสามารถรอดพ้นจากการถูกรวมประเทศอย่างสก็อตแลนด์และคานาโกเนีย ( ) นับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 (ถ้าหากไม่มีหลักฐานเก่าไปกว่านี้อีก) ถ้า "เมืองกัวแดนสวรรค์- " กลายเป็นเมืองที่ให้ร่ำรวยอย่างยิ่งแก่โปรตุเกส และถ้าแหล่งตั้งถิ่นฐานในเอเซียเป็นภาระอันหนักหน่วงทางเศรษฐกิจของโปรตุเกสแล้ว ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 17 -18 นั้น บราซิลมีฐานะเป็นอู่ข้าวอู่น้ำอย่างแท้จริงของโปรตุเกส ซึ่งกษัตริย์ดอม โจอาวที่ 4 ( ) ก็ทรงยอมรับความจริงดังกล่าวเช่นกัน ผลิตผลของบราซิลจำพวกน้ำตาล ยาสูบ ทองคำ เพชร ฝ้ายและหนังสัตว์เป็นสิ่งเกื้อหนุนทางเศรษฐกิจของโปรตุเกสซึ่งผลิตได้แต่ผลไม้ไวน์และเกลือมาโดยตลอด และนอกจากนี้สิ่งที่ทำให้โปรตุเกสสามารถดำรงเอกราชของตนอยู่ได้ก็ คือ ผลกำไรจากน้ำตาล ทองคำและเพชรจากบราซิล และการได้รับความคุ้มครองจากอังกฤษนั่นเองเมื่อเรามองอีแง่หนึ่งจะพบว่า ผลผลิตจากบราซิลดังกล่าวไปแล้วข้างต้นนั้นเป็นสิ่งที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของทาสนิโกรทั้งสิ้น อาณานิคมโปรตุเกสแถบแอตแลนติกใต้ () ดำรงอยู่ได้ด้วยการค้าทาสจากอัฟริกาตะวันตก ซึ่งไม่เพียงแต่จะให้ความมั่งคั่งเท่านั้น หากแต่ยังทำให้อาณานิคมแถบนี้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อีกด้วยการประกาศเอกราชของบราซิลก็ยังคงมีความสำคัญต่อประเทศโปรตุเกสอีกต่อไป เหมือนเมือครั้งยังเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส : นั่นคือ เป็นแหล่งผลิตสินค้าเขตร้อน ( ) ได้แก่ กาแฟและยางพารา โดยบราซิลเป็นแหล่งผลิตใหญ่ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และที่สำคัญก็ คือ พืชผลทางการเกษตรและผลิตผลจากเหมืองแร่ของบราซิลนั้น เลี้ยงตัวอยู่ได้ด้วยตลาดแถบยุโรปและอเมริกาเหนืออย่างแท้จริง สำหรับในปัจจุบันนี้บราซิลมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจของชาติด้วยการนำระบบอุตสาหกรรมมาใช้อย่างกว้างขวาง
โปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่สร้างอาณานิคมในอัฟริกาเขตร้อน ( ) และถ้าหากรูปการณ์ในปัจจุบันเป็นสิ่งบ่งชี้ อัฟริกาคงเป็นดินแดนสุดท้ายที่จะถูกยึดครองพัฒนาการของอาณานิคมโปรตุเกสในอัฟริกาถูกขัดขวางเป็นเวลานับร้อย ๆ ปีจากการระดมความพยายามทั้งหมดไปใช้ในการค้าทาส ปัจจัยอื่น ๆ ที่ฉุครั้งพัฒนาการของอัฟริกาก็ คือ ความไม่ถูกสุขลักษณะของหลาย ๆ ภูมิภาค เช่น แถบลุ่มแม่น้ำแซมเบซี ( ) ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการค้นพบยารักษาเชื้อไข้มาราเรียและโรคเขตร้อนอื่น ๆ ได้นั้น คนผิวขาวไม่สามารถตั้งอาณานิคมในแถบนี้ได้เลย แต่การค้าทาสและผลที่เกิดขึ้นอย่างไร้ศีลธรรมทั้งจากการค้าทาสและการจับคนไปเป็นทาสล้วนแต่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างใหญ่หลวงและก่อให้เกิดภาระกันหนักอึ้งขึ้นทั้งในอัฟริกาและบราซิลชาวบราซิลมีคำพูดติดปากอยู่ประโยคหนึ่งว่า " -- การทำงานเป็นสิ่งที่คู่ควรกับคนชั่วและนิโกร" ความน่าเกรงขามเป็นเวลาหลายร้อยปีแห่งการใช้แรงงานทาสของชาวไอบีเรียนถูกทำให้มีความแข็งแกร่งและมั่นคงยิ่งขึ้นโดยสังคมอาณานิคมของชาวผิวขาวหรือลูกครึ่งผิวขาว ซึ่งพวกเขาเองต่างก็ยอมรับว่าสังคมของตนดำรงอยู่ด้วยแรงงานจากสองมือสองเท้าของบรรดาทาสนิโกร
ชาวโปรตุเกสเป็นชนชาติที่มีบทบาทในการนำเอาผลไม้และพืชผักเขตร้อนชนิดต่าง ๆ จากทวีปหนึ่งไปปลูกยังอีกทวีปหนึ่ง โดยเฉพาะผลไม้และพืชผักในแถบบราซิล เอเซียและอัฟริกา เช่น ส้ม สับปะรด ข้าวโพด มันสำปะหลังและยาสูบ ฯลฯ ใครบางคนอาจจะคิดว่าสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ชาวโปรตุเกสได้ทำให้ภาษาและศาสนาประจำชาติของคนขยายตัวไปยังดินแดนต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง อเล็กซานเดอร์ เซมิลตัน ( ) นักแสวงโชคชาวสก็อตผู้ซึ่งเสื่อมใสนิกายคาลวิน ( ) และไม่เคยยกย่องชาวโปรตุเกสเลย แต่จัดเป็นคนที่รู้จักดินแดนต่าง ๆ ที่อยู่ในแถบมหาสมุทรอินเดียดีราวกับรู้จักหลังมือของตน ในปี ค.ศ.1727 แซมิลตันได้บันทึกเอาไว้ว่า ในกลุ่มคนที่พูดภาษาอังกฤษจำนวนหนึ่งหมื่นคนนั้น เขาไม่พบชาวเอเซียเลยแม้แต่คนเดียว ในขณะที่เขากลับพบว่าชาวเอเซียจำนวนมากสามารถพูดภาษาโปรตุเกสได้เป็นอย่างดี : ชาวโปรตุเกสได้ทิ้งร่องรอยทางภาษาเอาไว้ตลอดแนวดินแดนต่าง ๆ ชายฝั่งทะเลแม้ว่าจะเป็นภาษาโปรตุเกสที่กลายไปจากเดิมมาแล้ว แต่ก็นับเป็นภาษาแรกที่ชาวยุโรปจะต้องเรียนรู้ เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถติดต่อกับอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการติดต่อกับคนเชื้อชาติต่าง ๆ ของอินเดีย ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวสก็อตอีกคนหนึ่งซึ่งเคยมีประสบการณ์มากมายในทะเลแถบตะวันออกได้เขียนจดหมายถึงเพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่งซึ่งกำลังเดินทางไปยังเอเซียว่า : หากเป็นไปได้ การเรียนรู้ภาษาพื้นเมืองทั้งภาษามัวร์ ( หมายถึง ภาษามาเลย์ ) และภาษาโปรตุเกสจะทำให้คุณได้รับประโยชน์อย่างเหลือที่จะกล่าวภาษาโปรตุเกสจำนวนหลายคำทีเดียวที่ยังคงฝังแน่นอยู่ในภาษาพื้นเมืองของชาวเอเซีย ( ) และชุมชนต่าง ๆ ของชาวคาธอลิกสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปแล้วเบื้องต้น อาจจะกล่าวได้ว่า โจอาว ดึ บารูช ( ) นักจดหมายเหตุชาวโปรตุเกสมิได้คาดการณ์เอาไว้เกินหลักความจริงเลยจากบันทึกของเขาเมื่อ ค.ศ.1540 ว่า : ตราและแท่งศิลาสัญญลักขณ์ประจำชาติโปรตุเกสซึ่งถูกติดตั้งไว้ในอัฟริกา เอเซียและเกาะแก่งจำนวนมากของทวีปทั้งสามเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ แม้เวลาจะสามารถทำลานบันได้แต่ก็ไม่สามารถทำลายศาสนา ขนบธรรมเนียมและภาษาในดินแดนต่าง ๆ ซึ่งโปรตุเกสเคยปลูกฝังไว้ได้เลย
1 คนครึ่งชาติเลือดผสมอินเดียน-ฝรั่งเศส : ผู้แปล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น