วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

1.Four Centuries of Portuguese Expasion,1415-1825: a Succint Survey

บทที่ 1จากเมเกร็บ สู่หมู่เกาะเครื่องเทศ ค.ศ.1415-1521 (From the Maghreb to the Moluccas, 1415-1521 )
by C.R. Boxer (แปลโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร / ร่างรอขัดเกลาสำนวน อ้างอิงและกำกับภาษาต่างประเทศ)

ฟรานซิสกู ลอเปซ ดึ กอมารา (Francisco López de Gómara) นักประวัติศาสตร์ชาวสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวถึงการค้นพบเส้นทางการเดินเรือไปสู่หมู่เกาะอินเดียตะวันออกและหมู่เกาะอินเดียตะวันตกของนักสำรวจทางทะเลจากคาบสมุทรไอบีเรียว่า:

“สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปรากฏการณ์ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกครั้ง นับตั้งแต่พระเจ้าทรงสร้างโลก ไม่รวมถึงการจุติจากสวรรค์และการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์” [1]

ภาพวาด
ขบวนการเดินทางของขุนนางชาวโปรตุเกส วาดโดยช่างเขียนคนครึ่งชาติอินเดีย-โปรตุเกส ประมาณ ค.ศ.1540 ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดคาซานาเตนซี(Bibl. Casanatense) กรุงโรม บาทหลวง เกฬ ซชูฮัมแมร์(G. Schurmammer SJ.) ผู้ดูแลเอกสารอนุเคราะห์ให้ผู้เขียน(C.R.Boxer)ทำสำเนาเมื่อ ค.ศ.1889

แม้กระทั่งทุกวันนี้ ทั้งชาวคริสต์และผู้ที่นับถือศาสนาอื่นต่างก็เห็นว่า คำกล่าวของกอมาราไม่ไกลจากความจริงแม้แต่น้อย เนื่องจากลักษณะเด่นทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมก่อนการเดินทางสำรวจดินแดนของชาวโปรตุเกสและสเปน คือ การอยู่อย่างกระจัดกระจาย (Dispersion)และโดดเดี่ยว (Isolation) ของมนุษยชาติเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ วัฒนธรรมโบราณซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมสลายในทวีปอเมริกา หรือสังคมของกลุ่มชนในดินแดนส่วนใหญ่ของแอฟริกาและแปซิฟิกต่างก็ดำรงอยู่เหนือการรับรู้ของชาวเอเชียและชาวยุโรปทั้งสิ้น ชาวยุโรปตะวันตกมีความรู้เกี่ยวกับอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของเอเชียและอเมริกาเหนือไม่มากนัก ขณะที่ทั้งชาวเอเชียและแอฟริกาเหนือต่างก็แทบจะไม่รู้จักยุโรปและดินแดนทางใต้ของแอฟริกาที่เรียกว่า “ซูดาน-กาฬทวีป (Dark Continent)” หรือ รู้จักเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับทวีปอเมริกาเลย นักบุกเบิกชาวโปรตุเกสและผู้พิชิตดินแดนชาวคาสติลเลียน (The Castilian Conquistadores) จากแผ่นดินชายขอบของคริสตจักร 2 ชาตินี้ เป็นผู้ทำให้มนุษย์ทั่วโลกรู้จักกัน พวกเขาทำให้คนเผ่าต่าง ๆ เกิดสำนึกแห่งการรวมตัวอย่างเป็นเอกภาพ แม้ว่าตอนนั้นจะเห็นได้ยังไม่ชัดเจนนักก็ตาม

ภาพวาด
แสดงให้เห็นถึงการเดินทางของภรรยาของขุนนางชาวโปรตุเกส(Portuguese Fidalgo) วาดโดยช่างเขียนครึ่งชาติอินโด-โปรตุเกส ประมาณค.ศ.1540 ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดคาซานาเทนซี(the Bibl. Casanatense) กรุงโรม
เรามักจะได้รับคำบอกเล่าอยู่เสมอว่า คนจากคาบสมุทรไอบีเรีย โดยเฉพาะชาวโปรตุเกสเป็นชนชาติที่ควรได้รับยกย่องว่า สร้างปรากฏการณ์แห่งการค้นพบเส้นทางการเดินเรือและการสำรวจทางภูมิศาสตร์อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์โลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 ประโยชน์จากการค้นพบดังกล่าว คือ การเขียนแผนที่ทางภูมิศาสตร์ในย่านมหาสุมทรแอตแลนติกซึ่งทันสมัยที่สุดขณะนั้นกับการบันทึกลักษณะเฉพาะของชนชาติต่าง ๆ ที่ร่วมต่อสู้กับชาวมัวร์ (Moors) ถึง 800 ปี การปกครองคาบสมุทรไอบีเรียอย่างยาวนานของชาวมัวร์ ทำให้ชาวคริสเตียนจำนวนมากคุ้นเคยกับมโนทัศน์ที่ว่า ชาวมัวร์หรือชาวอาหรับผู้มีผิวพรรณคล้ำกว่าตน เป็นผู้ที่มีสถานภาพทางสังคมสูงกว่า ส่วนสตรีชาวมัวร์ที่มีผิวสีน้ำตาลก็ถูกจัดให้เป็นแม่แบบความงามและความมีเสน่ห์ชวนให้หลงใหล ค่านิยมเช่นนี้เป็นเรื่องที่บอกเล่าสืบต่อกันมา ดังปรากฏอยู่ในนิทานพื้นบ้าน (Folk Tales) หลายเรื่องที่กล่าวถึงเจ้าหญิงชาวมัวร์ผู้เลอโฉม หรือ “Moura Encantada” นิทานพื้นบ้านเหล่านี้ถูกเล่าต่อกันมาแบบปากต่อปากในกลุ่มชาวนาไม่รู้หนังสือของโปรตุเกส จึงอาจจะกล่าวได้ว่าความเคยชินจากการอยู่ภายใต้การปกครองของชาวมัวร์และความมีเสน่ห์ของหญิงสาวชาวมัวร์ เป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้มีผลผลิตเป็นพลเมืองครึ่งชาติ (Half Breeds) และคนเลือดผสม (Mixed Bloods) ขึ้น และยังเป็นที่มาแห่งการยกเลิกกีดกันผิว หรือ รังเกียจผิว (Colour-bar) ของชาวโปรตุเกสและชาวสเปนในเวลาต่อมา การต่อสู้เพื่อชิงความเป็นใหญ่ระหว่างชาวคริสต์กับชาวมุสลิมเหนือคาบสมุทรไอบีเรียซึ่งกินเวลาหลายร้อยปี มิได้เป็นยุคที่เกิดขึ้นโดยปราศจากการหยุดชะงัก เอล ซิดขุนพลผู้ยิ่งใหญ่ชาวสเปน(El Cid Campeador พ.ศ.1586-1642) ก็เคยเปลี่ยนข้างมากกว่าหนึ่งครั้ง แม้แต่ในคริสต์ศตวรรษที่13 ชาวคริสต์ มุสลิมและยิวต่างก็เคยเข้าร่วมพิธีทางศาสนาตามความเชื่อของตนในศาสนสถานเดียวกันมากกว่าหนึ่งครั้ง ณ มัสยิด ซานตา มารีอา ลา บลังกา(the Mosque of Santa Maria la Blanca) ที่เมืองตูเลดู(Toledo)เป็นที่น่าสังเกตได้ชัดเจนว่า ข้อถกเถียงเหล่านี้มีฐานะบางอย่างที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณา ประการแรก ชาวมัวร์ส่วนใหญ่ที่เคยครอบครองคาบสมุทรไอบีเรียมานานมิได้มีผิวคล้ำกว่าชาวโปรตุเกส เพราะชาวมัวร์เป็นคนเผ่าเบอร์เบอร์มิใช่ชาวอาหรับ หรือ ที่เรียกกันว่า “Blackamoors” แม้ว่าสงครามชิงความเป็นใหญ่ในคาบสมุทรไอบีเรียจะเคยสงบลงชั่วคราวแต่การพักรบดังกล่าวกินเวลาสั้น ๆ ปีที่ชาวคริสต์ ชาวมุสลิม และชาวยิว ร่วมทำพิธีเฉลิมฉลองตามความเชื่อของตนเองอย่างเท่าเทียม ณ เมืองตูเลดู มิได้ทำให้มีการพักรบนานกว่าสัมพันธ์ไมตรีชั่วคราวที่เกิดระหว่างชาวคริสต์กับชาวมุสลิมในเมืองชิชิลี (Sicily)ในรัชสมัยของกษัตริย์เฟรดริก ที่2 (Frederick II ค.ศ.1215-1250) ผู้ทรงมีฉายาว่า “Stupor Mundi” เลยแม้แต่น้อย อย่างไรก็ตาม ในคริสต์ศวรรษที่ 15 ชาวคริสเตียนส่วนใหญ่จากคาบสมุทรไอบีเรีย มักไม่ละโอกาสที่จะโจมตีความเชื่อทางศาสนาของชาวมุสลิมและยิวเสมอ ขณะที่ชาวมุสลิมและยิวก็มักจะพูดจาดูถูกดูแคลนชาวคริสเตียนเช่นกัน ความเกลียดชังขาดความเห็นใจและไม่เข้าใจกัน เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายแสดงออกต่อชาวต่างชาติต่างศาสนาอย่างรุนแรง ชาวมัวร์ (หมายถึงชาวมุสลิม) ชาวยิวและคนนอกศาสนากลุ่มอื่น ๆ (Gentiles) ต่างก็ถูกตราหน้าจากชาวคริสเตียนว่า จะถูกพิพากษาจากพระเจ้าให้รับทุกข์ทรมานในไฟนรกแห่งโลกหน้า อันสร้างความไม่พอใจให้แก่คนเหล่านี้อย่างยิ่งการไม่รักษาสันติภาพเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่ายเป็นระยะๆในสงครามศักดิ์สิทธิ์เพื่อปราบคนนอกศาสนา กล่าวคือ เมื่อชาวคริสเตียนทำสงครามครูเสด (Crusade) ได้ ชาวมุสลิมก็ทำสงครามจีฮัดได้เช่นกัน ชาวมุสลิมที่เคร่งครัดพระคัมภีร์(the orthodox Muslim) มองชาวคริสเตียน "ผู้หวังจะได้อยู่ร่วมกับพระเจ้า" ด้วยความยึดมั่นในพระตรีเอกนุภาพ (Trinity คือ พระบิดา พระบุตรและพระจิต-ผู้แปล) พระแม่มารีผู้บริสุทธิ์และ(บางนิกาย)บรรดาเหล่านักบุญของพวกเขาด้วยความเกลียดชังยุคกลางของยุโรป(Medieval Europe)ขณะนั้นจัดป็นสถานบ่มเพาะความความเหลวแหลกและหยาบกร้าน ประเทศโปรตุเกสเองก็มิได้มีอารยธรรมสูงส่งเหนือกว่าดินแดนอื่น ๆ เลย ด้วยเหตุนี้อีกห้าร้อยปีต่อมา อีซา ดึ ไกวโรซ (Eça de Queiroz) จึงบรรยายไว้ว่า ลิสบอนเป็นเมืองที่คลาคล่ำไปด้วยชนชั้นขุนนาง ชั้นผู้ดี บาทหลวงที่ล้วนเฉื่อยชาและขาดความสำรวม ชาวไร่ ชาวนาและชาวประมงผู้โง่เขลา ชนชั้นต่ำที่เป็นช่างฝีมือและกรรมกรหาเช้ากินค่ำ คนเหล่านี้ต่างก็งมงายต่อความเชื่อทางศาสนา สกปรกและโหดร้ายทารุณ สิ่งเหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมโปรตุเกสซึ่งสะท้อนภาพให้เห็นโดยนักบุกเบิกและผู้ตั้งถิ่นฐานในอาณานิคม รายละเอียดเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าวมีอยู่ในบันทึกของเฟอร์เนา ลูเปช(Fernão Lopes) ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องจากโรเบิร์ต ซูทธีย์ (Robert Southey)ว่า "เป็นนักจดหมายเหตุได้ดีที่สุดยากจะผู้ใดหรือคนชาติใดมาเปรียบได้"การยึดครองเมืองซูตา(Ceuta)โดยชาวโปรตุเกสในค.ศ.1415 ถือเป็นก้าวแรกของการขยายอำนาจยุโรปไปยังดินแดนโพ้นทะเล แล้วลงเอยด้วยการเล่นเรือวิกตอเรีย(Victoria)ไปรอบโลกของชาวสเปนระหว่างค.ศ.1519-1522 เดิมทีทั้งชาวโปรตุเกสและชาวสเปนต่างมุ่งมั่นที่จะพิชิตมหาสมุทรแอตแลนติกให้สำเร็จเท่านั้น แต่ความพยายามของนักผจญภัยทั้ง 2 ชาติมิได้ทำให้ความจริงของประวัติศาสตร์โลกเปลี่ยนไปแต่อย่างใด เนื่องจากในอดีตนั้น ชาวไวกิ้งก็เคยเดินทางจากยุโรปไปทวีปอเมริกามาแล้วตั้งแต่ยุคกลางตอนต้น ทว่าการตั้งถิ่นฐานอย่างสันโดษของพวกเขาในกรีนแลนด์ ต้องเลิกล้มไปเมื่อใกล้จะสิ้นคริสศตวรรษ ที่15 เพราะสภาพอากาศที่หนาวจัดและการถูกโจมตีจากชาวเอสกิโม นอกจากชาวไวกิ้งแล้วเรือแกลลีย์ของชาวอิตาเลียนและชาวคาตาแลน ก็เคยแล่นจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้าไปผจญภัยในมหาสมุทรแอตแลนด์ติคอย่างห้าวหาญตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่13-ต้นคริสต์ศตวรรษที่14 แต่สิ่งที่พวกเขาค้นหากลับคลุมเครือและสิ่งที่พวกเขาค้นพบก็เห็นได้ไม่ชัด แม้ว่าพวกเขาอาจจะเคยเห็นหมู่เกาะ อะซูรึช (Açores)มาแล้วก็ได้ มีการตั้งคำถามว่าเหตุใดนักเดินทางชาวไอบีเรียนจึงประสบความสำเร็จในการสำรวจเส้นทางการเดินเรือ ขณะที่ก่อนหน้านั้นนักเดินทางชาวเมดิเตอร์เรเนียนกลับพากันล้มเหลว และทำไมโปรตุเกสจึงสามารถก้าวเป็นผู้นำในด้านการเดินเรือทางทะเลได้ทั้ง ๆ ที่นักเดินเรือจากอ่าวบิสเคย์(Biscayan)เองก็มีความกล้าได้กล้าเสียและมีเรือดีพอๆคนชาติอื่นในยุโรป(ถึงนี้)ทุกวันนี้ นักประวัติศาสตร์ยังไม่สามารถให้คำตอบที่เหมาะสมต่อปัญหาข้างต้นได้ แต่อาจจะกล่าวได้อย่างชัดเจนว่า แรงผลักดันหลัก ๆ ของยุคแห่งการค้นพบนั้น สืบเนื่องมาจากการผสมผสานกันระหว่างองค์ประกอบทางศาสนา เศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ และการดำเนินนโยบายทางการเมือง ปัจจัยเหล่านี้ มิได้ส่งผงชัดเจนเสมอไป และมิได้กระตุ้น จากแรงบันดาลใจ ในการแสวงหาทรัพย์สิน เพื่อนำไปถวายแด่จักรพรรดิแห่งโรมและพระเจ้า อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างตายตัวเสียทีเดียวนัก หรือบางทีจะกล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ ว่าแรงผลักดันสำคัญ 4 ประการที่ทำให้ชาวโปรตุเกส ประสบความสำเร็จ ในการสำรวจทะเลนั้น ประการแรก คือ ความกระตือรือร้น ในการทำสงคราม ครูเสด ประการที่ 2 คือความมุ่งหวังต่อทองคำ แห่งดินแดนกีนี ประการที่ 3 คือการค้นหาอาณาจักรของกษัตริย์ เพรสเตอร์ จอห์น และประการที่ 4 คือ การแสวงหาเครื่องเทศ ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ โปรตุเกสเป็นราชอาณาจักรแห่งเดียวของยุโรป ที่มีการรวมตัวกันอย่างเป็นเอกภาพ โดยปราศจากสงครามกลางเมืองในคริสต์ศตวรรษ ที่ 15 ขณะที่ฝรั่งเศสอยู่ในระยะสุดท้ายของสงครามร้อยปี นอกจากนี้ ในปีเดียวกับที่โปรตุเกสสามารถยึดครองซูต้า ได้ ก็เกิดสงครามเอจินคอร์ท การขึ้นมามีอำนาจของแคว้นเบอร์กันดี การต่อสู้ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส สงครามดอกกุหลาบ ส่วนสเปนกับอิตาลีก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติและความไม่สงบภายในราชอาณาจักรการยึดครองและครอบงำซูต้าในปี ค.ศ.1415 อาจจะมีสาเหตุมาจากความกระตือรือร้นในการทำสงครามปราบปรามพวกนอกศาสนา เพราะบรรดาเจ้าชายแห่งราชอาณาจักร โปรตุเกสซึ่งมีสายเลือดอังกฤษทรงมีพระราชประสงค์ที่จะได้รับการขนานนามว่า “อัศวินแห่งสนามรบ” จากการทำสงครามอย่างห้าวหาญ อย่างไรก็ดี แรงกระตุกทางเศรษฐกิจและหลักยุทธศาสตร์ก็อาจจะมีส่วนผลักดันใหโปรตุเกสยึดครองซูต้า ได้เช่นดัน เนื่องจากซูต้าเป็นศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ และเป็นที่ยึดมั่นสำคัญบนฝั่งตรงข้ามกับช่องแคบยิบรอลต้า และขณะนั้นเชื่อกันว่าดินแดนซึ่งอยู่ลึกเข้าไปจากฝั่งทะเลอันเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าวโพดนั้นก็เป็นที่หมายปองของชาวโปรตุเกสด้วย เนื่องจากพื้นที่ในโปรตุเกสเองมักประสบปัญหาการขาดแคลนพืชพันธุ์ธัญญาหารอยู่เสมอ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือซูต้าเป็นเมืองท่าศูนย์กลางการค้าทองคำซึ่งถูกนำข้ามทะเลทรายสะฮารราออกมายังชายฝั่งทะเล แม้ว่าก่อนที่โปรตุเกสจะครอบครองซูต้านั้นก็สามารถทำให้ชาวโปรตุเกสได้รับข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับดินแดนของพวกนิโกรแห่งลุ่มแม่น้ำไนเจอร์ตอนบนและลุ่มแม่น้ำ เซเนกัล อันเป็นแหล่งกำเนิดของทองคำที่ถูกน้ำออกไป บางทีจากเหตุผลข้างต้นอาจจะทำให้ชาวโปรตุเกสตระหนักถึงความจำเป็นกับการติดต่อของดินแดนแงพวกนิโกรโดยทางทะเล เพื่อเข้าแทรกแซงการค้าทองคำของบรรดากองเกวียนแห่งสะฮาราโบราณ และพ่อค้าคนกลางชาวมุสลิมแห่งบาร์บารี แรงผลักดันสำคัญที่ทำชาวโปรตุเกสมีความกระตือรือร้นมากยิ่งขึ้น คือความเดือดร้อนอันเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนโลหะมีค่าทั้งยุโรปตะวันตกและในประเทศโปรตุเกสอย่างรุนแรง เพราะต่าวก็ต้องสูญเสียทองคำและเงินตราจำนวนมากในการซื้อเครื่องเทศและสินค้านำเข้าอื่น ๆ จากเอเชีย นอกเหนือจากปัญหาการตกต่ำจากผลผลิตจากเหมืองทองในยุโรปตอนกลางความเคลื่อนไหวที่ผสมผสานในการขยายอำนาจโปรตุเกสไปยังดินแดนโพ้นทะเล ถูกรับรองอย่างชัดเจนในโองการของพระสันตปาปาโรมานุส ปอนติเฟ็กซ์ เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ.1455 คำรับรองดังกล่าวเป็นสิ่งผลักดันให้มงกุฏราชกุมาร ดอม เฮนริก หรือเจ้าชายเฮนรีแห่งโปรตุเกสทรงเกิดแรงบันดาลใจในการทำสงครามศาสนา และทรงมุ่งหวังที่จะเดินทางไปยังอาณาจักรเพรสเตอร์ จอห์น อันเร้นลับในอินเดีย ด้วยการแล่นเรือไปรอบ ๆ แอฟริกา โองการของพระสันตปาปา โรมานุสได้รับรองการขยายอำนาจขอแงโปรตุเกสซึ่งแฝงมากับการเคลื่อนไหวทางการค้า โดยอนุญาตให้กษัตริย์โปรตุเกสและผู้สืบราชบัลลังก์ในชั้นหลังมีเอกสิทธิ์ในการผูกขาดทางการค้ากับพลเมืองของดินแดนที่ถูกค้นพบใหม่จากการสำรวจ ภายใต้เงื่อนไขที่มิให้ขายอาวุธ ท้ายที่สุดอาจกล่าวได้ว่า การผลักดันให้มีการสำรวจดินแดนท่างตอนใต้ของแอฟริกาทำให้ชาวโปรตุเกสสามารถอ้างสิทธิ์ในการค้าทาสนิโกรและเครื่องเทศได้ด้วย นอกเหนือจากการแสวงหาทองคำแห่งกินี ละการค้นหาอาณาจักรของกษัตริย์เพรสเตอร์ จอห์น การแสวงหาเครื่องเทศได้ทวีความสำคัญยิ่งขึ้น ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายเฮนรีในปี 1460 ขณะที่การค้าทาสในแถบแอฟริกาตะวันออกนั้นมีความมั่นคงอยู่ก่อนแล้ว

การเดินทางอันนำไปสู่การค้นพบดินแดนและการค้าตามชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกาของชาวโปรตุเกสเริ่มต้น ในปี 143 แล้วเติบโตอย่างเต็มที่ในช่วง 8 ปี แห่งการสำเร็จราชการของเจ้าชาย เปโดร พระเชษฐาของ เจ้าชายเฮนรี และภายหลัง เจ้าชายเปโดรก็ได้รับยกย่องว่าเป็นนักเดินเรือ แต่กระนั้น ประชาชนก็ยังยอมรับการดำเนินพระราชกรณียกิจอย่างทุ่มเทของเจ้าชายเฮนรีมากกว่าในช่วง 2-3ปีแรกของการดำเนินการ โดยได้รับการสนับสนุนจากการเงินจากรายได้ส่วนใหญ่ของศาสนาจักรแห่งโปรตุเกส กลุ่มพ่อค้าในกรุงลิสบอนเองก็มีส่วนร่วมในการลงทุนและวางแผนการเดินเรือตั้งต่ ค.ศ.1470-1475 พ่อค้าชาวลิสบอนถูกบังคับให้อยู่ภายใต้หลักการแห่งสัญญาผูกขาดเอกสิทธิ์ทางการค้าที่ เฟอร์เนา กูมส์ ได้ทำไว้ การดำเนินงานของกูมส์ ทำให้ชายฝั่งอันเหยียดยาวของกินีถูกเปิดกว้างสำหรับการลงทุน แม้จนบัดนี้ก็ยังไม่ทราบว่าทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์หรือศาสนาจักรโปรตุเกสมีจำนวนเท่าใด แต่เราอาจจะกล่าวได้ว่าหากปราศจากการริเริ่ม การวางแผน การจัดการ แล้ว ปรากฏการณ์ต่าง ๆ คงจะไม่เกิดขึ้นง่าย ๆ เลย เป้าหมายที่แน่นอนและการสนับสนุนอย่างจริงจังนั่นเองที่ทำให้โปรตุเกสก้าวนำหน้าสเปนและคู่แข่งชาติอื่นได้พ่อค้าสเปนคัดค้านพระบัญชาของสันตปาปาที่อนุญาตให้พ่อค้าโปรตุเกสผูกขาดการค้าแถบชายฝั่งแอฟริกาตะวันตกได้เพียงชาติเดียว แต่ก็ประสบความล้มเหลว เพราะนักแสวงโชคเหล่านี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์สเปนดังเช่นโปรตุเกสการเดินทางของนักเดินเรือไปยังชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกามิใช่เรื่องยากเย็น แต่ก็ไม้มีผู้ใดรู้จักเส้นทางอันน่าสะพึงกลัวในแถบนั้นอย่างแท้จริงนับจากปี 1443 เป็นต้นมา กลาสีชาวโปรตุเกสได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นเมื่อได้ประยุกต์เอาใบเรือรูปสามเหลี่ยมจากกลาสีเรือชาวอาหรับ การปรับปรุงข้างต้นทำให้เรือ คาราเวลมีรูปแบบทันสมัยที่สุดที่โปรตุเกสใช้ในการสำรวจดินแดนทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติกการเดินเรืออกไปทางตอนใต้และมุ่งสู่มหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกนั้น อาศัยความเชี่ยวชาญในการเรืออันเกิดจากการผสมผสานการค้นพบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของชาวกรีก ซึ่งเป็นการวางรากฐานวิทยาศาสตร์ด้านการเรือสมัยใหม่ให้แก่ชาวโปรตุเกส ครั้นสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 15 บรรดานักเดินเรือก็สามารถกำหนดตำแหน่งในทะเลของตนเองได้อย่างถูกต้อง โดยสังเกตจากเส้นละติจูดและการคำนวณที่แม่นยำพอสมควรของนักเดินเรือ ปัจจัยดังกล่าวทำให้ชาวโปรตุเกสสามารถครองความเป็นหนึ่งในการเดินเรือไปยังชายฝั่งแอฟริกาตะวันตกได้แต่เพียงผู้เดียว เครื่องมือสำคัญในการเดินเรือ คือ เข็มทิศชาวเรือ ซึ่งชาวโปรตุเกส อาจจะได้รับมากจากชาวจีนถึงกระนั้นคนนำร่องทะเลลึกชาวโปรตุเกสจำนวนมากก็ยังคงเชื่อมั่นในความรู้ส่วนใหญ่ที่มาจากการเรียนรู้ อาทิ การสังเกตความแตกต่างของสีและการเคลื่อนไหวของน้ำทะเล ก่อนยุคแห่งการค้นพบจะนำไปสู่การสำรวจและการตั้งถิ่นฐานในอาณานิคมที่เกาะมาเดร่าเมื่อประมาณ ค.ศ.1420 ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับดินแดนในภาคพื้นมหาสมุทรแอตแลนติกจำกัดอยู่เพียงหมู่เกาะคานารีและ แหลมนันเท่านั้น

มีเรื่องที่ยังถกเถียงกันอยู่ คือ ชาวโปรตุเกสจะทราบมาก่อนบ้างหรือไม่ว่า ก่อนที่บาร์โตโลมิว ไดแอส จะออกเดินเรือสำรวจในปี ค.ศ.1487-1488 นั้น กระแสลมในภูมิภาคแถบแอตแลนติกใต้มีทิศทางการพัดทำมุมเป็นรูปสามเหลี่ยมกับลมที่พัดมาจากซีกโลกเหนือ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์สำคัญอันเปรียบเสมือนกุญแจที่ช่วยให้เขาสามารถเปิดเส้นทางสู่อินเดียในช่วงเวลานี้เองที่มีชาวโปรตุเกสจำนวนมากเริ่มเดินเรือ จากหมู่เกาะอะซอเรสทางทิศตะวันตกเช่นกัน แต่ก็ไม่ปรากฏรายละเอียดอันเชื่อถือได้เกี่ยวกับการมีชีวิตรอด สิ่งที่จะทำให้กล่าวได้ดีที่สุดเท่าที่ความรู้ของเราจะอำนวยให้ก็คือ การสันนิษฐานว่าบางทีพวกเขาอาจจะสงสัยขึ้นมาว่า ทางทิศตะวันตกของหมู่เกาะอะซอเรส คงจะมีภาคพื้นทวีปหรือหมู่เกาะตั้งอยู่ จึงผลักดันให้พวกเขาเดินทางไปยังทิศนั้นก็เป็นได้ปรากฏการณ์ที่มีความสำคัญ คือ การเดินทางสำรวจแอฟริกาโดยใช้เส้นทางทางบก ของ เปโร ดึ โควิลยา เขามีเพื่อนร่วมเดินทางชื่อ อัฟฟองโซ เดอ เปวา แต่การเดินทางของเขากลับประสบความล้มเหลว ขณะที่โควิลยาประสบความสำเร็จในการเดินทางอย่างน่าประหลาดใจ เขาสามารถเดินทางไปถึงดินแดนชายฝั่งมะละบาร์ของอินเดีย อ่าวเปอร์เชีย จนถึง โซฟาลา จากนั้นจึกวางแผนเดินทางกลับโปรตุเกส แต่เมื่อเดินทางไปถึงไคโร เขาก็ได้ทราบข่าวการตายของ อัฟฟองโซ เดอ เปวา ดังนั้น เมื่อเขาได้รายงานผลการสำรวจดินแดนต่าง ๆ เขาจึงมุ่งหน้าออกเดินทางสู่อะบิสสิเนียซึ่งอยู่ทางใต้ต่อไปด้วยความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ๆ ได้รับมอบหมาย และเขาก็สามารถบากบั่นไปจนถึง เอธิโอเปีย และได้ค้นพบ อาณาจักรของเพรสเตอร์ จอห์น แต่ทว่ากษัตริย์แห่งลัทธิคอปติกทรงปฏิเสธที่จะให้เขาเดินทางออกจากเอธิโอเปียผลที่ตามมาจากการรายงานการสำรวจของบาร์โตโลมิว ไดแอส และเปโร ดึ โควิลยา ทำให้กษัตริย์ดอม จูอาวที่ 2 ทรงเชื่อว่า เส้นทางการเดินเรือไปสู่อินเดียได้ถูกเปิดเผยออกมาแล้ว เรื่องราวการเดินทางไปถึงเอเชียอย่างบังเอิญของโคลัมบัสส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อแผนการสำรวจทางทะเลซึ่งกษัตริย์ดอม จูอาว ได้วางไว้ แต่ในเวลาต่อมา ก็ทรงมั่นใจให้โคลัมบัสเดินทางไปถึงนั่น ไม่ใช้หมู่เกาะอินเดียตะวันออก อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งเรื่องสิทธิการครอบครองดินแดนอันถูกค้นพบใหม่กับกษัตริย์สเปนก็ได้ยุติลงด้วยสัญญาทอเดสซิลลัส ส่งผลให้กษัตริย์ทั้ง 2 ต้องแบ่งเขตอิทธิพลเหนือดินแดนอาณานิคมของทั้ง 2 ประเทศตามพระราชโองการของสันตปาปา หลังจากนั้นกษัตริย์ดอม จูอาว จึงทรงเตรียมแผนการนำเรือออกสำรวจดินแดนต่าง ๆโดยให้อยู่ภายใต้การนำของ วาสโก ดา กามากษัตริย์มานูเอลที่ 1 ผู้ทรงได้รับการขนานนามว่า “มานูเอลผู้โชคดี” ได้ทรงเริ่มดำเนินการสำรวจทางทะเลโดยทรงสนับสุนการเดินทางของ วาสโก ดากามา ระหว่าง ค.ศ.1475-1499 การเดินทางของดา กามา ครั้งนั้นได้นำเอาประสบการณ์อันมากมายจากการเดินเรือของ บาร์โตโลมิว ไดแอส มาใช้ให้เกิดประโยชน์ หาก ดากามา มิได้ศึกษาผลงานของไดอส หรือนักเดินทางในย่านแอตแลนติกใต้แล้ว การเดินทางให้ไปถึงละติจูดที่ตั้งของเซียร่า เลโอน ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปใน “ทะเลหลวง” จนถึงแนวที่เส้นทางการค้าพาดผ่าน เขาคงจะแล่นเรือเทียบชายฝั่งห่างจากแหลมกู๊ดโฮ๊ปไปทางแนวตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 80 ไมล์อย่างแน่นอนภายหลังการเดินทางอ้อมแหลมกูดโฮปและแวะเยี่ยมเยียนเมืองท่าหลายแห่งของชาวอาหรับ เผ่าสวาฮิลี ก็ได้เดินเรือไปถึงเมืองมาลินดี อันเป็นสถานที่ซึ่งเขาได้รับความช่วยเหลือจากอาหมัด-อิบน์-มัดจิด คนนำร่องชาวอาหรับผู้มีชื่อเสียงที่สุดในโลกในยุคนั้น และช่วยให้ วากโก ดากามา ให้สามารถเดินทางถึงเมืองกาลิกัต อันเป็นเมืองท่าสำคัญของศูนย์กลางการค้าพริกไทยบนชายฝั่งมะละบาร์โดยสวัสดิภาพ ผลสำเร็จจากการเปิดเส้นทางการเดินเรือครั้งนี้ได้ถูกนักประวัติศาสตร์คนสำคัญชาวอินเดีย เรียกว่า ยุคแห่งอำนาจทางทะเล อันเป็นยุคที่อำนาจทางทะเลอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวยุโรปเท่านั้นเมื่อชาวโปรตุเกสเดินทางไปถึงเมืองกาลิกัต ปรากฎว่าพ่อค้าชาวตูนิเซียน บางคนซึ่งยืนปะปนอยู่กับฝูงชนได้ร้องถามขึ้นด้วยความประหลาดใจว่า อะไรทำให้พวกเขาเดินทางมาไกลจนถึงเพียงนี้ กล่าวกันว่าลูกเรือของ ดา กามา ได้ตอบกลับไปว่า “การแสวงหาชาวคริสเตียนและเครื่องเทศ” คำตอบดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงรากเหง้าแห่งแรงบันดาลที่ผลักดันให้ชาวโปรตุเกสออกเดินทางสำรวจภายหลังการยึดครองเมืองซูต้า การเผยแพร่ศาสนาคริสต์และการแสวงหาเครื่องเทศเป็นความหวังสำคัญที่ตั้งไว้ในการสำรวจ เมื่อพวกเขาเดินทางไปถึงอินเดีย ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างความศรัทธาต่อพระเจ้าและความมั่งคั่งในทรัพยน์สิน ( GOD AND MAMMON) คือ หัวใจแห่งการสร้างสรรค์จักรวรรดิของชาวโปรตุเกสในเอเชียแอฟริกา และบราซิลนั่นเองต้องขอบคุณสำหรับการปราศจากความเข้มแข็งแห่งอำนาจทางทะเลของชาวเอเชีย (ยกเว้นจักรพรรดิจีนผู้รักสันโดษ และได้หันหลังให้กับการขยายอำนาจทางทะเลเมื่อสักประมาณ 2-3 ทศวรรษก่อนหน้านั้น) ที่ทำให้ชาวโปรตุเกสสามารถขยายอำนาจครอบคลุมน่านน้ำแถบมหาสมุทรอินเดียได้เพียงผู้เดียวด้วยความรวดเร็วอย่างน่าประหลาดใจ การสร้างสรรค์รากฐานแห่งจักรวรรดิของพวกเขาในภูมิภาคแถบเอเชียอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ อัฟฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์ก บุคคลผู้นี้ได้ช่วงชิงเอาเมืองกัว มาจาสุลต่านมุสลิมแห่งพิชปุระ เมื่อปี ค.ศ.1510 อัลบูเคอร์กได้ตั้งเมืองกัวเป็นกองบัญชาการใหญ่ของโปรตุเกสในเอเชีย ภาระกิจอันยุ่งยากได้สำเร็จลงอย่างค่อนข้างง่ายดายเนื่องจากพลเมืองส่วนใหญ่ของเมืองกัวเป็นชาวฮินดู ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงมิได้มีเยื่อใยผูกพันต่อผู้ปกครองชาวมุสลิมการยึดครองมะละกาในปี ค.ศ.1511 ทำให้อัลบูเคอร์กสามารถรักษาเมืองท่าศูนย์กลางการค้าเครื่องเทศและจุดยุทธศาสตร์ของทะเลจีนใต้และอินโดนีเซีย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมะละกาเป็นศูนย์กลางทางการค้ามาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เทียบเท่ากับความสำคัญของสิงคโปร์ในปัจจุบันเลยทีเดียว การยึดครองเมืองเฮอร์มุซในอ่าวเปอร์เซียเมื่อปี ค.ศ.1515 ทำให้อัลบูเคอร์กสามารถควบคุมน่านน้ำเหล่านั้นและเส้นทางการค้าเครื่องเทศหนึ่งในสองสายที่ค้าขายกับเมืองต่าง ๆ แถบเลฟวอนท์ได้ อัลบูเคอร์กมีความพยายามที่จะปิดกั้นเส้นทางการค้าเครื่องเทศอีกสายหนึ่งด้วยการยึดครองเมืองเอเดน และแม้ว่าการทำงานของเขาจะไม่ถึงกับล้มเหลว โดยทำให้โปรตุเกสสามารถแล่นเรือเข้าสู่ทะเลแดงได้ แต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็ไม่เคยประสบความสำเร็จในกาปิดกั้นเส้นทางการค้าของชาวมุสลิมได้อย่างแท้จริงในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 การค้าในแถบมหาสมุทรอินเดียล้วนแต่อยู่ในกำมือของพ่อค้ามุสลิมซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับและชาวกุชราติส แต่ชาวโปรตุเกสได้ขจัดพ่อค้ามุสลิมบางส่วนออกไปอย่างรวดเร็ว แบะได้บังคับพ่อค้ามุสลิมส่วนใหญ่ให้อยู่ภายใต้การแกครองของตน การควบคุมชายฝั่งทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกาให้เกิดความมั่นคงได้จำเป็นต้องมีการสร้างป้อมค่ายขึ้นที่เมืองโซฟาลา และเมืองโมแซมบิก ส่วนทางตอนเหนือของแหลมเดลกาโดนั้น ชาวโปรตุเกสจำเป็นต้องอาศัยความซื่อสัตย์ที่ได้รับจากสุลต่านแห่งเมืองมาลินดี ซึ่งเป็นพันธมิตรเก่าแก่ที่สุดของโปรตุเกสชาวเผ่าสวาฮิลีจนกระทั่งสามารถก่อตั้งป้อมเจซัสที่เมืองมอมบาซาแล้วเสร็จในช่วงสิบปีสุดท้ายของคริสต์ศวรรษที่16ระยะแรก ๆ ความยิ่งใหญ่ทางทะเลของโปรตุเกสในมหาสมุทรอินเดียเกิดขึ้นจากชัยชนะครั้งที่สำคัญของฟรานซิสโก เดอ อัลเมดา ที่มีเหนือกองเรือของชาวอียิปต์ที่เมืองดิว ในปี ค.ศ.1509 หลังจากนั้นอำนาจของโปรตุเกสก็ไม่เคยถูกท้าทายจนถึงขั้นน่าวิตกเลย จนกระทั่งการปรากฎตัวของชาวดัทช์และชาวอังกฤษในมหาสมุทรอินเดียเมื่อประมาณร่วมหนึ่งร้อยปีต่อมาบรรดาผู้นำชาวมุสลิมแห่งอียิปต์และตุรกีต่างก็ถูกขัดขวางอย่างรุนแรงเป็นระยะ ๆ เมื่อพยายามที่จะสร้างกองเรือขึ้นมาใช้แล่นในมหาสมุทรอินเดีย ไม้ซุงจำนวนมากที่ถูกนำมาวางเรียงรายบนชายฝั่งของทะเลแดงและชายฝั่งทะเลของอ่าวเปอร์เซียมักจะสูญหายไปเป็นประจำ เรือสินค้าของชาวอาหรับที่แล่นอยู่ในย่านนั้นหากไม่ถูกต่อขึ้นด้วยไม้จากอินเดียก็ต่อจากไม่จากชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา อันเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าที่ถูกนำกลับมา ปัจจัยดังกล่าวทำให้ชาวเม็มลูกส์ และชาวอ็อตโตมันส์ เกิดความวิตกกังวล ดังนั้น ในเวลาต่อมาไม้ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในการต่อเรือแถบดินแดนชายฝั่งตะวันออกของเมืองสุเอช และเมืองบัสรา จึงต้องถูกบรรทุกข้ามมาตามภาคพื้นทวีปจากป่าทอรัส ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับชายฝั่งทะเลของซีเรีย การขนส่งไม้จากบริเวณดังกล่าวไปยังเมืองสุเอชและเมืองบัสรานั้นเต็มไปด้วยความยุ่งยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงมาก และสงครามบรภาคพื้นทวีปที่กำลังโรมรันพันตูระหว่างพวกนิกายสุหนี่แห่งตรกีกับพวกชีอะห์แห่งเปแร์เซีย ก็ยิ่งเพิ่มอุปสรรคในการขนส่งไม้ให้มีมากขึ้นด้วย ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชางเตอร์กได้ใช้ความพยายามในการสร้างกิงเรือในมหาสมุทรอินเดียเพียงสี่ครั้งเท่านั้น แต่บรรดาเรือที่พวกเขาสร้างขึ้นจากความอุตสาหะอันยาวนานเพื่อใช้แล่นในน่านน้ำแถบนั้นก็มักจะถูกโจมตีและทำลายจนอับปางเสียทุกครั้งจากฝีมือของชาวโปรตุเกสนั่นเองเวลาต่อมา ป้อมทหารในจุดยุทธศาสตร์สำคัญสามแห่งของโปรตุเกสที่เมืองกัว เมืองฮอร์มุซ และเมืองมะละกา ก็ได้ถูกเสริมให้มั่นคงมากขึ้นจากแหล่งตั้งถิ่นฐานที่มีป้อมค่ายและสถานีการค้าจำนวนมาก เรียงรายตั้งแต่เมืองโซฟาลาทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา มาจนถึงเมืองเทอเนต ในหมู่เกาะโมลุกกะ นอกจากนี้ ชาวโปรตุเกสยังได้รับอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานและสถานีการค้าหลายแห่งโดยไม่มีป้อมค่ายในบางภูมิภาค ซึ่งผู้ปกครองชาวพื้นเมืองหรือขุนนางชาวพื้นเมืองอนุญาตให้พวกเขามีสิทธิพิเศษเหนืออาณาเขต ระดับหนึ่งอาทิ สิทธิพิเศษที่ได้รับจากผู้ปกครองในเมืองเซา โตเม่ แห่งเมเลียเปอร์ บนชายฝั่งโคดรมันเดล เมืองฮู้กลี ในอ่าวเบงกอลและเมืองมาเก๊าในจีน ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1555-1557 บนดินแดนปากแม่น้ำเพิร์ลสำหรับในมหาสมุทรอินเดียและในอ่าวเปอร์เซียนั้น ชาวโปรตุเกสได้ควบคุมเส้นทางการค้าแถบลมมรสุมอย่างได้ผล ด้วยเหตุนี้ กษัตริย์มานูเอลที่ 1 สำหรับในเมืองท่าอื่น ๆ นั้น การเดินเรือสินค้าของชาวพื้นเมืองได้รับอนุญาตให้แล่นขึ้นล่องได้ดังเดิม โดยมีเงื่อนไขว่า เจ้าของเรือจะต้องจ่ายเงินซื้อใบอนุญาตอาจจะถูกยึดหรือถูกจมทิ้งได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเรือเหล่านั้นเป็นของพวกพ่อค้าชาวมุสลิมสภาพการณ์ทางด้านตะวันออกของมะละกา มีความแตกต่างไปจากเนื้อหาข้างต้น กล่าวคือ เรือสินค้าของโปรตุเกสสามารถแล่นไปยังหมู่เกาะเครื่องเทศ ตลอดจนถึงน่านน้ำของอินโดนีเซียได้โดยปราศจากการท้าทาย แต่เมื่อชาวโปรตุเกสพยายามจะใช้วิธีการแข็งกร้าวตามแถบชายฝั่งทะเลของจีน พวกเขาต้องประสบกับความปราชัยอย่างยับเยินจากการรบกับกิงเรือพิทักษ์ชายฝั่งของจีน นอกจากมะละกาแล้ว ชาวโปรตุเกสได้ดำเนินการเพียงดำรง ความอยู่รอดของรูปแบบทางการค้าและความสัมพันธ์กับดินแดนอื่นเท่านั้น ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนที่พวกเขาจะต้องแข่งขันทางการค้ากับชาวสเปน ผู้ซึ่งมีเป้าหมายเช่นเดียวกับโปรตุเกสแต่ใช้เส้นทางการเดินเรือไปยังอีกทิศทาวงหนึ่ง โดยในเวลานั้นชาวสเปนตระหนักแล้วว่าสิ่งที่โคลัมบัสค้นพบ มิใช่อาณาจักรคาเธย์ และชิปังกุ ตามที่มาร์โค โปโลได้บรรยายไว้อย่างมีชีวิตชีวา และก่อนที่ชาวสเปนจะค้นพบขุทรัพย์ของชาวแอซเต็ก แห่งเม็กซิโก และขุมทรัพย์ของชาวอินคา แห่งเปรูนั้นเป้าหมานสำคัญประการหนึ่งของชาวสเปนก็คือ การเดินเรืออ้อมหรือข้ามทวีปอเมริกาซึ่งเพิ่งจะถูกค้นพบ เพื่อเดินทางไปยังแหล่งค้าไหม เงิน และเครื่องเทศของเอเซียตะวันอก ท้ายที่สุดชาวสเปนก็ได้รับสิ่งที่อาจเรียกได้ว่ามีความสำคัญยิ่วกว่าการเดินทางครั้งใด ๆ ทั้งสิ้นหลังจากที่ได้แล่นเรือข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกอย่างง่ายดายไปถึงหมู่เกาะเครื่องเทศอันเป็นสถานที่ซึ่งบุคคลทั้งสองรู้จักเป็นอย่างดีจากประสบการณ์ที่เคยใช้ชีวิตโลดแล่นอยู่ในน่านน้ำของมาเลย์แม้ว่า เดล กาโน จะไม่สามารถแลนเรือกลับไปยังเมืองเซวิลล์ ได้สำเร็จภายหลังการบรรทุกเครื่องเทศขึ้นจากเกาะทีดอเร แต่ก็อาจจะกล่าวได้ว่าความตั้งใจและวัตถุประสงค์ในการเดินทางรอบโลกได้สำเร็จลุล่วงเป็นครั้งแรกแล้วในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เมื่อชาวโปรตุเกสและชาวสเปนเดินเรือมาบรรจบกันที่หมู่เกาะเครื่องเทศ การเดินเรือสำรวจทางทะเลซึ่งเริ่มขึ้นที่เมเกร็บในปี ค.ศ.1415 ได้นำมาซึ่งชัยชนะแห่งการค้นพบหมู่เกาะโมลุกกะในปี ค.ศ.1521 อย่างงดงามและก่อนหน้านั้นเพียงปีเดียว คณะทูตโปรตุเกสจากอินเดียก็ประสบความสำเร็จในการติดต่อกับอาณาจักรของกษตริย์เพรสเตอร์ จอห์น อันเป็นดินแดนซึ่ง เปโร เดอโควิลยาได้ไปใช้ชีวิตในบั้นปลายของเขาอย่างมีเกียรติ และนับตั้งแต่บัดนั้นชื่อเสียงของอะบิสสิเนีย ก็ได้ถูกเรียกขานกันทั่วไปจักรวรรดิโปรตุเกสในทวีปเอเชียและแอฟริกา รวมทั้งอาณานิคมบางส่วนที่ขยายเข้าไปในบราซิล ซึ่งถูกค้นพบเมื่อ ค.ศ.1500 และดินแดนชายฝ่งทะเลอื่น ๆ ที่ชาวโปรตุเกสได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานในภายหลัง เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ทางการค้าและอำนาจทางทะเลของโปรตุเกสว่า เกิดจากการถูกหล่อหลอมด้วยเป้าพิมพ์ทางการทหารและความศรัทธาทางศาสนา ผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัวในอินเดีย มักจะเป็นบุคคลที่ถูกคัดเลือกจากบรรดาเหล่าผู้ดีหรือขุนนางที่มีอาชีพเป็นนายทหาร เพราะเขาจะเป็นทั้งผู้บัญชาการป้อมปืนและข้าหลวงใหญ่ของอาณานิคมโปรตุเกส การดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการที่เมืองกัวถูกกำหนดไว้คราวละ 3 ปี และเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า บรรดาผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์โปรตุเกสให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ มักจะถือโอกาสใช้ตำแหน่งของตนในการแสวงหาผลประโยชน์บรรดาทหารข้าราชการทั้งหมดต่างก็ได้รับค่าจ้างและเบี้ยเลี้ยงตอบแทนจากกษัตริย์โปรตุเกส แต่พระราชทรัพย์นั้นก็ไม่อาจจ่ายให้แก่พวกเขาได้อย่างเพียงพอ หรือแม้แต่จ่ายได้เป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอก็ตาม สาเหตุดังกล่าวนี้ส่งผลทำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนตั้งแต่ผู้สำเร็จราชการแห่งเมืองกัว ตลอดจนถึงเด็กรับใช้ในเรือสินค้า ต่างก็ต้องมกหาลู่ทางในการเพิ่มรายได้พิเศษของตนเองด้วยการค้าขายของและแลกเปลี่ยนสินค้าอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้น ผู้ชายโปรตุเกสทุกคนในอาณานิคมของฦโปรตุเกสในเอเชีย หากไม่กลายเป็นพ่อค้าเต็มตัวก็เป็นพ่อค้าสมัครเล่น สภาวการณ์ดังกล่าวข้างต้นส่งผลกระทบต่อบาทหลวงและนักบวชซึ่งเป็นกลุ่มที่ไดรับค่าครองชีพเป็นสินค้าโดยตรงจากรัฐบาล จึงมีบาทหลวงอยู่เพียงไม่กี่คนที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยศรุทธาอันค่อนข้างแรงกล้า จนกระทั่งหลังจากบาทหลวงคณะเยซูอิต เดินทางเข้ามา ในปี ค.ศ.1541 พวกเขาจึงได้ยกระดับและทำนุบำรุงมาตรฐานทางศาสนาให้สูงขึ้นกว่าเดิม แต่ความตกต่ำในการครองตนของบาทหลวงและนักบวชทั่วไปหลับมิได้เป็นอุปสรรคต่อการได้รับความเคารพนับถือทั้งจากกษัตริย์โปรตุเกสและเจ้าหน้าที่ของทางการและพลเมืองชาวอินโด โปรตุเกส ทั้งหลายแม้แต่น้อยทั้งนี้เพราะมีจารีตเก่าแก่ของชาวลูซิตาเนียนกล่าวไว้ว่า “ถึงจะมีบาทหลวงที่จัดว่าเลวที่สุด ก็ยังนับว่าประเสริฐกว่าสัปบุรุษที่ดีเลิศหลายคน”เราไม่ทราบว่าแท้ที่จริงแล้วพลเมืองชาวโปรตุเกสในดินแดนโพ้นทะเลระหว่างคริสต์ศตวรรษที่16-17 มีจำนวนเท่าใด แต่ดูเหมือนว่าผู้ชายชาวโปรตุเกสที่สามารถจับอาวุธได้ ซึ่งประจำการหรือตั้งหลักแหล่งอยู่ในนครรัฐแห่งอินเดีย คงจะไม่เคยมีจำนวนเกินระหว่าง 6000-7000 คนอย่างแน่นอน ครึ่งหนึ่งของชายฉกรรจ์เหล่านี้มักจะเป็นพวกหนีทัพหรือเข้าไปตั้งหลักแหล่งอยู่ในอาณาจักรของกษัตริย์พื้นเมืองต่าง ๆอาทิเช่น จีน พะโค สยาม โอริสสา และเบงกอล พวกเขาอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้สำเร็จราชการแห่งกัว เช่นกัน นอกจากนี้แล้วยังมีชาวโปรตุเกสออกไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในแอฟริกาตะวันตก มอร็อกโก และบราซิล ประมาณ 2000-3000 คน แต่อัตราการล้มตายจากผลของสงครามกลับมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้น ในคริสตศวรรษที่ 16 บรรดาชายฉกรรจ์ชาวโปรตุเกสที่ออกไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ตลอดจนถึงหมู่เกาะโมลุกกะจึงมีจำนวนไม่น่าจะเกิน 10000 คน ขณะที่พลเมืองชาวโปรตุเกสที่อยู่ในประเทศแม่ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้มีประมาณหนึ่งล้านคน และการอพยพออกไปจากโปรตุเกสซึ่งเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอคราวละมาก ๆ นั้น มีความจำเป็นต่อการลดช่องว่างโปรตุเกสซึ่งเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอคราวละมาก ๆ นั้น มีความจำเป็นต่อลดช่องว่างอันเกิดจากการสูญเสียพลเมืองในอาณานิคมเขตร้อนเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้เปรียบเทียบสัดส่วนของชาวโปรตุเกสที่อกไปตั้งถิ่นฐานในโพ้นทะเลเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 แล้ว ปรากฎว่าผู้หญิงชาวโปรตุเกสอพยพออกจากประเทศโปรตุเกสน้อยมาก และพวกเธอส่วนใหญ่จะอพยพไปยังบราซิลทั้งสิ้นในที่สุดเมื่อชาวโปรตุเกสเดินทางไปถึงเมืองกาลิกัต ปรากฎว่าพ่อค้าชาวตูนิเซียน บางคนซึ่งยืนปะปนอยู่กับฝูงชนได้ร้องถามขึ้นด้วยความประหลาดใจว่า อะไรทำให้พวกเขาเดินทางมาไกลจนถึงเพียงนี้ กล่าวกันว่าลูกเรือของ ดา กามา ได้ตอบกลับไปว่า “การแสวงหาชาวคริสเตียนและเครื่องเทศ” คำตอบดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงรากเหง้าแห่งแรงบันดาลที่ผลักดันให้ชาวโปรตุเกสออกเดินทางสำรวจภายหลังการยึดครองเมืองซูต้า การเผยแพร่ศาสนาคริสต์และการแสวงหาเครื่องเทศเป็นความหวังสำคัญที่ตั้งไว้ในการสำรวจ เมื่อพวกเขาเดินทางไปถึงอินเดีย ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างความศรัทธาต่อพระเจ้าและความมั่งคั่งในทรัพยน์สิน ( GOD AND MAMMON) คือ หัวใจแห่งการสร้างสรรค์จักรวรรดิของชาวโปรตุเกสในเอเชียแอฟริกา และบราซิลนั่นเอง

ขอบคุณที่อำนาจทางทะเลของชาวเอเชียปราศจากความเข้มแข็ง (ยกเว้นจักรพรรดิจีนผู้ทรงรักสันโดษ และหันหลังให้กับการขยายอำนาจทางทะเลเมื่อประมาณประมาณ 2-3 ทศวรรษก่อนหน้านั้น) ทำให้ชาวโปรตุเกสสามารถขยายอำนาจครอบคลุมน่านน้ำแถบมหาสมุทรอินเดียได้เพียงผู้เดียวอย่างรวดเร็วอย่างจนน่าประหลาดใจ การสร้างสรรค์รากฐานแห่งจักรวรรดิของพวกเขาในภูมิภาคแถบเอเชียอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ อัฟฟองซู ดึ อัลบูแกร์กึ ซึ่งได้ช่วงชิงเอาเมืองกัวมาจากสุลต่านมุสลิมแห่งพิชปุระเมื่อ ค.ศ.1510 อัลบูแกร์กึได้ตั้งเมืองกัวเป็นกองบัญชาการใหญ่ของโปรตุเกสในเอเชีย ภารกิจอันยุ่งยากสำเร็จลงอย่างค่อนข้างง่ายดาย เนื่องจากพลเมืองส่วนใหญ่ของเมืองกัวเป็นชาวฮินดู ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงมิได้มีเยื่อใยผูกพันต่อผู้ปกครองชาวมุสลิม การยึดครองมะละกาในปี ค.ศ.1511 ทำให้อัลบูแกร์กึสามารถรักษาเมืองท่าศูนย์กลางการค้าเครื่องเทศและจุดยุทธศาสตร์ของทะเลจีนใต้และอินโดนีเซีย ซึ่งอันที่จริงแล้วมะละกาเป็นศูนย์กลางทางการค้ามาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เทียบเท่ากับความสำคัญของสิงคโปร์ในปัจจุบันเลยทีเดียว การยึดครองเมืองเฮอร์มุซในอ่าวเปอร์เซียเมื่อปี ค.ศ.1515 ทำให้อัลบูแกร์กึสามารถควบคุมน่านน้ำเหล่านั้นและเส้นทางการค้าเครื่องเทศหนึ่งในสองสายที่ค้าขายกับเมืองต่าง ๆ แถบเลฟวอนท์ได้ อัลบูเคอร์กมีความพยายามที่จะปิดกั้นเส้นทางการค้าเครื่องเทศอีกสายหนึ่งด้วยการยึดครองเมืองเอเดน และแม้ว่าการทำงานของเขาจะไม่ถึงกับล้มเหลว โดยทำให้โปรตุเกสสามารถแล่นเรือเข้าสู่ทะเลแดงได้ แต่ถึงกระนั้นโปรตุเกสก็ไม่เคยประสบความสำเร็จในการปิดกั้นเส้นทางการค้าของชาวมุสลิมได้อย่างแท้จริง ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 การค้าในแถบมหาสมุทรอินเดียล้วนแต่อยู่ในกำมือของพ่อค้ามุสลิมซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับและชาวกุชราติส แต่ชาวโปรตุเกสได้ขจัดพ่อค้ามุสลิมบางส่วนออกไปอย่างรวดเร็ว และได้บังคับพ่อค้ามุสลิมส่วนใหญ่ให้อยู่ภายใต้การปกครองของตน การควบคุมชายฝั่งทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกาให้เกิดความมั่นคงได้ จำเป็นต้องมีการสร้างป้อมทหารขึ้นที่เมืองโซฟาลาและเมืองโมแซมบิก ส่วนทางตอนเหนือของแหลมเดลกาโดนั้น ชาวโปรตุเกสจำเป็นต้องอาศัยความซื่อสัตย์ที่ได้รับจากสุลต่านแห่งเมืองมาลินดี ซึ่งเป็นพันธมิตรเก่าแก่ที่สุดของโปรตุเกสชาวเผ่าสวาฮิลีจนกระทั่งสามารถก่อตั้งป้อมเจซัสที่เมืองมอมบาซาเสร็จในช่วงสิบปีสุดท้ายของคริสต์ศวรรษที่16

ระยะแรก ๆ ความยิ่งใหญ่ทางทะเลของโปรตุเกสในมหาสมุทรอินเดียเกิดขึ้นจากชัยชนะครั้งสำคัญของฟรานซิสกู ดึ อัลเมดาเหนือกองเรือของชาวอียิปต์ที่เมืองดิวในค.ศ.1509 หลังจากนั้นอำนาจของโปรตุเกสก็ไม่เคยถูกท้าทายจนถึงขั้นน่าวิตกเลย จนกระทั่งการปรากฎตัวของชาวดัทช์และชาวอังกฤษในมหาสมุทรอินเดียเมื่อประมาณร่วมหนึ่งร้อยปีต่อมาบรรดาผู้นำชาวมุสลิมแห่งอียิปต์และตุรกีต่างก็ถูกขัดขวางอย่างรุนแรงเป็นระยะ ๆ เมื่อพยายามที่จะสร้างกองเรือขึ้นมาใช้แล่นในมหาสมุทรอินเดีย ไม้ซุงจำนวนมากที่ถูกนำมาวางเรียงรายบนชายฝั่งของทะเลแดงและชายฝั่งทะเลของอ่าวเปอร์เซียมักจะสูญหายไปเป็นประจำ เรือสินค้าของชาวอาหรับที่แล่นอยู่ในย่านนั้นหากไม่ถูกต่อขึ้นด้วยไม้จากอินเดียก็ต่อจากไม่จากชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา อันเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าที่ถูกนำกลับมา ปัจจัยดังกล่าวทำให้ชาวเม็มลูกส์ และชาวอ็อตโตมันส์ เกิดความวิตกกังวล ดังนั้น ในเวลาต่อมาไม้ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในการต่อเรือแถบดินแดนชายฝั่งตะวันออกของเมืองสุเอช และเมืองบัสรา จึงต้องถูกบรรทุกข้ามมาตามภาคพื้นทวีปจากป่าทอรัส ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับชายฝั่งทะเลของซีเรีย การขนส่งไม้จากบริเวณดังกล่าวไปยังเมืองสุเอชและเมืองบัสรานั้นเต็มไปด้วยความยุ่งยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงมาก และสงครามบรภาคพื้นทวีปที่กำลังโรมรันพันตูระหว่างพวกนิกายสุหนี่แห่งตรกีกับพวกชีอะห์แห่งเปแร์เซีย ก็ยิ่งเพิ่มอุปสรรคในการขนส่งไม้ให้มีมากขึ้นด้วย ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชางเตอร์กได้ใช้ความพยายามในการสร้างกิงเรือในมหาสมุทรอินเดียเพียงสี่ครั้งเท่านั้น แต่บรรดาเรือที่พวกเขาสร้างขึ้นจากความอุตสาหะอันยาวนานเพื่อใช้แล่นในน่านน้ำแถบนั้นก็มักจะถูกโจมตีและทำลายจนอับปางเสียทุกครั้งจากฝีมือของชาวโปรตุเกสนั่นเองเวลาต่อมา ป้อมทหารในจุดยุทธศาสตร์สำคัญสามแห่งของโปรตุเกสที่เมืองกัว เมืองฮอร์มุซ และเมืองมะละกา ก็ได้ถูกเสริมให้มั่นคงมากขึ้นจากแหล่งตั้งถิ่นฐานที่มีป้อมค่ายและสถานีการค้าจำนวนมาก เรียงรายตั้งแต่เมืองโซฟาลาทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา มาจนถึงเมืองเทอเนต ในหมู่เกาะโมลุกกะ นอกจากนี้ ชาวโปรตุเกสยังได้รับอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานและสถานีการค้าหลายแห่งโดยไม่มีป้อมค่ายในบางภูมิภาค ซึ่งผู้ปกครองชาวพื้นเมืองหรือขุนนางชาวพื้นเมืองอนุญาตให้พวกเขามีสิทธิพิเศษเหนืออาณาเขต ระดับหนึ่งอาทิ สิทธิพิเศษที่ได้รับจากผู้ปกครองในเมืองเซา โตเม่ แห่งเมเลียเปอร์ บนชายฝั่งโคดรมันเดล เมืองฮู้กลี ในอ่าวเบงกอลและเมืองมาเก๊าในจีน ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1555-1557 บนดินแดนปากแม่น้ำเพิร์ลสำหรับในมหาสมุทรอินเดียและในอ่าวเปอร์เซียนั้น ชาวโปรตุเกสได้ควบคุมเส้นทางการค้าแถบลมมรสุมอย่างได้ผล ด้วยเหตุนี้ กษัตริย์มานูเอลที่ 1 สำหรับในเมืองท่าอื่น ๆ นั้น การเดินเรือสินค้าของชาวพื้นเมืองได้รับอนุญาตให้แล่นขึ้นล่องได้ดังเดิม โดยมีเงื่อนไขว่า เจ้าของเรือจะต้องจ่ายเงินซื้อใบอนุญาตอาจจะถูกยึดหรือถูกจมทิ้งได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเรือเหล่านั้นเป็นของพวกพ่อค้าชาวมุสลิมสภาพการณ์ทางด้านตะวันออกของมะละกา มีความแตกต่างไปจากเนื้อหาข้างต้น กล่าวคือ เรือสินค้าของโปรตุเกสสามารถแล่นไปยังหมู่เกาะเครื่องเทศ ตลอดจนถึงน่านน้ำของอินโดนีเซียได้โดยปราศจากการท้าทาย แต่เมื่อชาวโปรตุเกสพยายามจะใช้วิธีการแข็งกร้าวตามแถบชายฝั่งทะเลของจีน พวกเขาต้องประสบกับความปราชัยอย่างยับเยินจากการรบกับกองเรือพิทักษ์ชายฝั่งของจีน นอกจากมะละกาแล้ว ชาวโปรตุเกสได้ดำเนินการเพียงดำรง ความอยู่รอดของรูปแบบทางการค้าและความสัมพันธ์กับดินแดนอื่นเท่านั้น ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนที่พวกเขาจะต้องแข่งขันทางการค้ากับชาวสเปน ผู้ซึ่งมีเป้าหมายเช่นเดียวกับโปรตุเกสแต่ใช้เส้นทางการเดินเรือไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยในเวลานั้นชาวสเปนตระหนักแล้วว่าสิ่งที่โคลัมบัสค้นพบ มิใช่อาณาจักรคาเธย์ และชิปังกุ ตามที่มาร์โค โปโลได้บรรยายไว้อย่างมีชีวิตชีวา และก่อนที่ชาวสเปนจะค้นพบขุทรัพย์ของชาวแอซเต็ก แห่งเม็กซิโก และขุมทรัพย์ของชาวอินคาแห่งเปรูนั้นเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของชาวสเปน คือ การเดินเรืออ้อมหรือข้ามทวีปอเมริกาซึ่งเพิ่งจะถูกค้นพบ เพื่อเดินทางไปยังแหล่งค้าไหม เงิน และเครื่องเทศของเอเซียตะวันอก ท้ายที่สุดชาวสเปนก็ได้รับสิ่งที่อาจเรียกได้ว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าการเดินทางครั้งใด ๆ ทั้งสิ้นหลังจากที่ได้แล่นเรือข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกอย่างง่ายดายไปถึงหมู่เกาะเครื่องเทศอันเป็นสถานที่ซึ่งบุคคลทั้งสองรู้จักเป็นอย่างดีจากประสบการณ์ที่เคยใช้ชีวิตโลดแล่นอยู่ในน่านน้ำของมาเลย์แม้ว่า เดล กาโน จะไม่สามารถแล่นเรือกลับไปยังเมืองเซวิลล์ ได้สำเร็จภายหลังการบรรทุกเครื่องเทศขึ้นจากเกาะทีดอเร แต่ก็อาจจะกล่าวได้ว่าความตั้งใจและวัตถุประสงค์ในการเดินทางรอบโลกได้สำเร็จลุล่วงเป็นครั้งแรกแล้วในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เมื่อชาวโปรตุเกสและชาวสเปนเดินเรือมาบรรจบกันที่หมู่เกาะเครื่องเทศ การเดินเรือสำรวจทางทะเลซึ่งเริ่มขึ้นที่เมเกร็บในปี ค.ศ.1415 นำมาซึ่งชัยชนะแห่งการค้นพบหมู่เกาะโมลุกกะในปี ค.ศ.1521 อย่างงดงามและก่อนหน้านั้นเพียงปีเดียว คณะทูตโปรตุเกสจากอินเดียก็ประสบความสำเร็จในการติดต่อกับอาณาจัดรของกษตริย์เพรสเตอร์ จอห์น อันเป็นดินแดนซึ่ง เปโร ดึ โควิลยาได้ไปใช้ชีวิตในบั้นปลายของเขาอย่างมีเกียรติ และนับตั้งแต่บัดนั้นชื่อเสียงของอะบิสสิเนีย ก็ถูกเรียกขานกันทั่วไปจักรวรรดิโปรตุเกสในทวีปเอเชียและแอฟริกา รวมทั้งอาณานิคมบางส่วนที่ขยายเข้าไปในบราซิล ซึ่งถูกค้นพบเมื่อ ค.ศ.1500 และดินแดนชายฝ่งทะเลอื่น ๆ ที่ชาวโปรตุเกสได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานในภายหลัง เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ทางการค้าแบะอำนาจทางทะเลของโปรตุเกสว่า เกอดจากการถูกหล่อหลอมด้วยเป้าพิมพ์ทางการทหารและความศรัทธาทางศาสนา ผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัวในอินเดีย มักจะเป็นบุคคลที่ถูกคัดเลือกจากบรรดาเหล่าผู้ดีหรือขุนนางที่มีอาชีพเป็นนายทหาร เพราะเขาจะเป็นทั้งผู้บัญชาการป้อมปืนและข้าหลวงใหญ่ของอาณานิคมโปรตุเกส การดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการที่เมืองกัวถูกกำหนดไว้คราวละ 3 ปี และเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า บรรดาผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์โปรตุเกสให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ มักจะถือโอกาสใช้ตำแหน่งของตนในการแสวงหาผลประโยชน์บรรดาทหารข้าราชการทั้งหมดต่างก็ได้รับค่าจ้างและเบี้ยเลี้ยงตอบแทนจากกษัตริย์โปรตุเกส แต่พระราชทรัพย์นั้นก็ไม่อาจจ่ายให้แก่พวกเขาได้อย่างเพียงพอ หรือแม้แต่จ่ายได้เป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอก็ตาม สาเหตุดังกล่าวนี้ส่งผลทำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนตั้งแต่ผู้สำเร็จราชการแห่งเมืองกัว ตลอดจนถึงเด็กรับใช้ในเรือสินค้า ต่างก็ต้องมกหาลู่ทางในการเพิ่มรายได้พิเศษของตนเองด้วยการค้าขายของและแลกเปลี่ยนสินค้าอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้น ผู้ชายโปรตุเกสทุกคนในอาณานิคมของฦโปรตุเกสในเอเชีย หากไม่กลายเป็นพ่อค้าเต็มตัวก็เป็นพ่อค้าสมัครเล่น สภาวการณ์ดังกล่าวข้างต้นส่งผลกระทบต่อบาทหลวงและนักบวชซึ่งเป็นกลุ่มที่ไดรับค่าครองชีพเป็นสินค้าโดยตรงจากรัฐบาล จึงมีบาทหลวงอยู่เพียงไม่กี่คนที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยศรุทธาอันค่อนข้างแรงกล้า จนกระทั่งหลังจากบาทหลวงคณะเยซูอิต เดินทางเข้ามา ในปี ค.ศ.1541 พวกเขาจึงได้ยกระดับและทำนุบำรุงมาตรฐานทางศาสนาให้สูงขึ้นกว่าเดิม แต่ความตกต่ำในการครองตนของบาทหลวงและนักบวชทั่วไปหลับมิได้เป็นอุปสรรคต่อการได้รับความเคารพนับถือทั้งจากกษัตริย์โปรตุเกสและเจ้าหน้าที่ของทางการและพลเมืองชาวอินโด โปรตุเกส ทั้งหลายแม้แต่น้อยทั้งนี้เพราะมีจารีตเก่าแก่ของชาวลูซิตาเนียนกล่าวไว้ว่า “ถึงจะมีบาทหลวงที่จัดว่าเลวที่สุด ก็ยังนับว่าประเสริฐกว่าสัปบุรุษที่ดีเลิศหลายคน”เราไม่ทราบว่าแท้ที่จริงแล้วพลเมืองชาวโปรตุเกสในดินแดนโพ้นทะเลระหว่างคริสต์ศตวรรษที่16-17 มีจำนวนเท่าใด แต่ดูเหมือนว่าผู้ชายชาวโปรตุเกสที่สามารถจับอาวุธได้ ซึ่งประจำการหรือตั้งหลักแหล่งอยู่ในนครรัฐแห่งอินเดีย คงจะไม่เคยมีจำนวนเกินระหว่าง 6000-7000 คนอย่างแน่นอน ครึ่งหนึ่งของชายฉกรรจ์เหล่านี้มักจะเป็นพวกหนีทัพหรือเข้าไปตั้งหลักแหล่งอยู่ในอาณาจักรของกษัตริย์พื้นเมืองต่าง ๆอาทิเช่น จีน พะโค สยาม โอริสสา และเบงกอล พวกเขาอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้สำเร็จราชการแห่งกัว เช่นกัน นอกจากนี้แล้วยังมีชาวโปรตุเกสออกไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในแอฟริกาตะวันตก มอร็อกโก และบราซิล ประมาณ 2000-3000 คน แต่อัตราการล้มตายจากผลของสงครามกลับมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้น ในคริสตศวรรษที่ 16 บรรดาชายฉกรรจ์ชาวโปรตุเกสที่ออกไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ตลอดจนถึงหมู่เกาะโมลุกกะจึงมีจำนวนไม่น่าจะเกิน 10000 คน ขณะที่พลเมืองชาวโปรตุเกสที่อยู่ในประเทศแม่ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้มีประมาณหนึ่งล้านคน และการอพยพออกไปจากโปรตุเกสซึ่งเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอคราวละมาก ๆ นั้น มีความจำเป็นต่อการลดช่องว่างโปรตุเกสซึ่งเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอคราวละมาก ๆ นั้น มีความจำเป็นต่อลดช่องว่างอันเกิดจากการสูญเสียพลเมืองในอาณานิคมเขตร้อนเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้เปรียบเทียบสัดส่วนของชาวโปรตุเกสที่อกไปตั้งถิ่นฐานในโพ้นทะเลเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 แล้ว ปรากฎว่าผู้หญิงชาวโปรตุเกสอพยพออกจากประเทศโปรตุเกสน้อยมาก และพวกเธอส่วนใหญ่จะอพยพไปยังบราซิลทั้งสิ้นหลังจากที่ได้แล่นเรือข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกอย่างง่ายดายไปถึงหมู่เกาะเครื่องเทศอันเป็นสถานที่ซึ่งบุคคลทั้งสองรู้จักเป็นอย่างดีจากประสบการณ์ที่เคยใช้ชีวิตโลดแล่นอยู่ในน่านน้ำของมาเลย์แม้ว่า เดล กาโน จะไม่สามารถแลนเรือกลับไปยังเมืองเซวิลล์ ได้สำเร็จภายหลังการบรรทุกเครื่องเทศขึ้นจากเกาะทีดอเร แต่ก็อาจจะกล่าวได้ว่าความตั้งใจและวัตถุประสงค์ในการเดินทางรอบโลกได้สำเร็จลุล่วงเป็นครั้งแรกแล้วในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เมื่อชาวโปรตุเกสและชาวสเปนเดินเรือมาบรรจบกันที่หมู่เกาะเครื่องเทศ การเดินเรือสำรวจทางทะเลซึ่งเริ่มขึ้นที่เมเกร็บในปี ค.ศ.1415 ได้นำมาซึ่งชัยชนะแห่งการค้นพบหมู่เกาะโมลุกกะในปี ค.ศ.1521 อย่างงดงามและก่อนหน้านั้นเพียงปีเดียว คณะทูตโปรตุเกสจากอินเดียก็ประสบความสำเร็จในการติดต่อกับอาณาจัดรของกษัตริย์เพรสเตอร์ จอห์น อันเป็นดินแดนซึ่ง เปโร ดึ โควิลยาได้ไปใช้ชีวิตในบั้นปลายของเขาอย่างมีเกียรติ และนับตั้งแต่บัดนั้นชื่อเสียงของอะบิสสิเนีย ก็ได้ถูกเรียกขานกันทั่วไปจักรวรรดิโปรตุเกสในทวีปเอเชียและแอฟริกา รวมทั้งอาณานิคมบางส่วนที่ขยายเข้าไปในบราซิล ซึ่งถูกค้นพบเมื่อ ค.ศ.1500 และดินแดนชายฝ่งทะเลอื่น ๆ ที่ชาวโปรตุเกสได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานในภายหลัง เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ทางการค้าแบะอำนาจทางทะเลของโปรตุเกสว่า เกอดจากการถูกหล่อหลอมด้วยเป้าพิมพ์ทางการทหารและความศรัทธาทางศาสนา ผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัวในอินเดีย มักจะเป็นบุคคลที่ถูกคัดเลือกจากบรรดาเหล่าผู้ดีหรือขุนนางที่มีอาชีพเป็นนายทหาร เพราะเขาจะเป็นทั้งผู้บัญชาการป้อมปืนและข้าหลวงใหญ่ของอาณานิคมโปรตุเกส การดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการที่เมืองกัวถูกกำหนดไว้คราวละ 3 ปี และเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า บรรดาผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์โปรตุเกสให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ มักจะถือโอกาสใช้ตำแหน่งของตนในการแสวงหาผลประโยชน์บรรดาทหารข้าราชการทั้งหมดต่างก็ได้รับค่าจ้างและเบี้ยเลี้ยงตอบแทนจากกษัตริย์โปรตุเกส แต่พระราชทรัพย์นั้นก็ไม่อาจจ่ายให้แก่พวกเขาได้อย่างเพียงพอ หรือแม้แต่จ่ายได้เป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอก็ตาม สาเหตุดังกล่าวนี้ส่งผลทำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนตั้งแต่ผู้สำเร็จราชการแห่งเมืองกัว ตลอดจนถึงเด็กรับใช้ในเรือสินค้า ต่างก็ต้องมกหาลู่ทางในการเพิ่มรายได้พิเศษของตนเองด้วยการค้าขายของและแลกเปลี่ยนสินค้าอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้น ผู้ชายโปรตุเกสทุกคนในอาณานิคมของโปรตุเกสในเอเชีย หากไม่กลายเป็นพ่อค้าเต็มตัวก็เป็นพ่อค้าสมัครเล่น สภาวการณ์ดังกล่าวข้างต้นส่งผลกระทบต่อบาทหลวงและนักบวชซึ่งเป็นกลุ่มที่ไดรับค่าครองชีพเป็นสินค้าโดยตรงจากรัฐบาล จึงมีบาทหลวงอยู่เพียงไม่กี่คนที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยศรุทธาอันค่อนข้างแรงกล้า จนกระทั่งหลังจากบาทหลวงคณะเยซูอิต เดินทางเข้ามา ในปี ค.ศ.1541 พวกเขาจึงได้ยกระดับและทำนุบำรุงมาตรฐานทางศาสนาให้สูงขึ้นกว่าเดิม แต่ความตกต่ำในการครองตนของบาทหลวงและนักบวชทั่วไปหลับมิได้เป็นอุปสรรคต่อการได้รับความเคารพนับถือทั้งจากกษัตริย์โปรตุเกสและเจ้าหน้าที่ของทางการและพลเมืองชาวอินโด โปรตุเกส ทั้งหลายแม้แต่น้อยทั้งนี้เพราะมีจารีตเก่าแก่ของชาวลูซิตาเนียนกล่าวไว้ว่า “ถึงจะมีบาทหลวงที่จัดว่าเลวที่สุด ก็ยังนับว่าประเสริฐกว่าสัปบุรุษที่ดีเลิศหลายคน”เราไม่ทราบว่าแท้ที่จริงแล้วพลเมืองชาวโปรตุเกสในดินแดนโพ้นทะเลระหว่างคริสต์ศตวรรษที่16-17 มีจำนวนเท่าใด แต่ดูเหมือนว่าผู้ชายชาวโปรตุเกสที่สามารถจับอาวุธได้ ซึ่งประจำการหรือตั้งหลักแหล่งอยู่ในนครรัฐแห่งอินเดีย คงจะไม่เคยมีจำนวนเกินระหว่าง 6,000-7,000 คนอย่างแน่นอน ครึ่งหนึ่งของชายฉกรรจ์เหล่านี้มักจะเป็นพวกหนีทัพหรือเข้าไปตั้งหลักแหล่งอยู่ในอาณาจักรของกษัตริย์พื้นเมืองต่าง ๆอาทิเช่น จีน พะโค สยาม โอริสสา และเบงกอล พวกเขาอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้สำเร็จราชการแห่งกัว เช่นกัน นอกจากนี้แล้วยังมีชาวโปรตุเกสออกไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในแอฟริกาตะวันตก มอร็อกโก และบราซิล ประมาณ 2,000-3,000 คน แต่อัตราการล้มตายจากผลของสงครามกลับมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้น ในคริสตศวรรษที่ 16 บรรดาชายฉกรรจ์ชาวโปรตุเกสที่ออกไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ตลอดจนถึงหมู่เกาะโมลุกกะจึงมีจำนวนไม่น่าจะเกิน 10,000 คน ขณะที่พลเมืองชาวโปรตุเกสที่อยู่ในประเทศแม่ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้มีประมาณหนึ่งล้านคน และการอพยพออกไปจากโปรตุเกสซึ่งเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอคราวละมาก ๆ นั้น มีความจำเป็นต่อการลดช่องว่างโปรตุเกสซึ่งเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอคราวละมาก ๆ นั้น มีความจำเป็นต่อการลดช่องว่างที่เกิดจากการสูญเสียพลเมืองในอาณานิคมเขตร้อนเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของชาวโปรตุเกสที่ออกไปตั้งถิ่นฐานในโพ้นทะเลเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 แล้ว ปรากฎว่าผู้หญิงชาวโปรตุเกสอพยพออกจากประเทศโปรตุเกสน้อยมาก และพวกเธอส่วนใหญ่จะอพยพไปยังบราซิลทั้งสิ้นจะว่าไปแล้วชายฉกรรจ์ชาวโปรตุเกสที่อยู่ในจักรวรรดิโพ้นทะเลมีจำนวนพอ ๆ กับชายฉกรจ์ที่อยู่ในอาณานิคมของโปรตุเกสแห่งโจฮันเนสเบิร์กขณะนี้ จำนวนประชากรกังกล่าวแลดูน้อยเหลือเกินเมื่อเรานำไปคิดเปรียบเทียบกับความพยายามของพวกเขาในการตั้งอาณานิคมเกษตรกรรมตลอดแนวชายฝั่งทะเลของบราซิล นอกเหนือไปจากความพยายามในการสู้รบ การดำเนินการค้า และการขยายอาณานิคมตั้งแต่มอรอกโก จนถึงญี่ปุ่นสิ่งที่สำคัญมิได้อยู่ที่การล่มสลายของจักรวรรดิโปรตุเกสในตะวันออก หากแต่อยู่ที่ช่วงแห่งความรุ่งเรืองเป็นเวลานับศตวรรษ และสืบทอดต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานานก่อนที่จะสิ้นสุดลงในภายหลัง

การอ้างอิง
[1] “…la mayor cosa después de la creació del mundo, sacando la encarnación y muerte del que lo criá ” . Fracisco López de Gómara, Primera y segunda parte de la historia general de la Indias (çaragoça, 1553), Vol. I, p.4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น