โบราณสถานในเขตชุมชนโปรตุเกสด้านใต้ของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา จำแนกเป็น โบราณสถานเนื่องในศาสนาคริสต์และโบราณสถานเนื่องในศาสนาพุทธ
บันทึกการเดินทางของบาทหลวงกวีย์ ตาชารด์(Le Reverend Père Qui Tachard ) ครั้งที่ 2(ค.ศ.1687-1688) ตีพิมพ์ค.ศ.1689 กล่าวถึง การที่เจ้าพระยาวิไชเยนทร์(Constantine Phalcon)ได้รับพระราชทานที่ดินแปลงใหญ่ในเมืองพระนครศรีอยุธยาเพื่อสร้างโรงเรียนซึ่งเรียกในภาษาฝรั่งเศสว่า “Collège Constantinien”[1] และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เร่งสร้าง “บ้านหลังงามกับโบสถ์ฝรั่ง” หลังหนึ่งแก่คณะบาทหลวงเยซูอิตชาวโปรตุเกส กับ “โบสถ์ฝรั่งอันงดงาม” หลังหนึ่งแก่บาทหลวงคณะ “โดมินิแกง”ชาติเดียวกัน[2]
บาทหลวงมานูเอล ไตไซรา นักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสระบุว่า บาทหลวงชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในกรุงศรีอยุธยาจำแนกออกเป็น 4 คณะ เรียกตามสำเนียงโปรตุเกส ได้แก่ คณะดูมินิกานูช หรือ โดมินิกัน(Missionários Dominicanos)คณะฟรานซิสกานูช หรือ ฟรานซิสกัน (Missionários Franciscanos ) คณะอากุสติญูช หรือ ออกัสติน(Missionários Agostinhos ) และคณะเยซูอีตาช หรือ เยซูอิต(Missionários Jesuítas )[3]
จากข้อมูลการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากร ทำให้กล่าวกันว่า โบราณสถานในพื้นที่ของชุมชนโปรตุเกสประกอบด้วยซากโบสถ์ 3 แห่ง ดังนี้
บาทหลวงมานูเอล ไตไซรา นักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสระบุว่า บาทหลวงชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในกรุงศรีอยุธยาจำแนกออกเป็น 4 คณะ เรียกตามสำเนียงโปรตุเกส ได้แก่ คณะดูมินิกานูช หรือ โดมินิกัน(Missionários Dominicanos)คณะฟรานซิสกานูช หรือ ฟรานซิสกัน (Missionários Franciscanos ) คณะอากุสติญูช หรือ ออกัสติน(Missionários Agostinhos ) และคณะเยซูอีตาช หรือ เยซูอิต(Missionários Jesuítas )[3]
จากข้อมูลการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากร ทำให้กล่าวกันว่า โบราณสถานในพื้นที่ของชุมชนโปรตุเกสประกอบด้วยซากโบสถ์ 3 แห่ง ดังนี้
อาคารจัดแสดงโครงกระดูกที่โบสถ์ซานเปโตร
โบราณสถานแห่งแรก คือ โบราณสถานโบสถ์ซานเปโตร[4]ของบาทหลวงนิกายคณะโดมินิกัน ตั้งอยู่ที่บริเวณจุดกึ่งกลางหมู่บ้าน มีชื่อเรียกในแผนที่ฝรั่งเศสว่า “The Portuguese Jacobins”[5] ปัจจุบันมีชาวไทยคาทอลิกเชื้อสายเวียดนามตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับโบราณสถานโบสถ์ซานเปโตรมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่5 และบางครอบครัวก็ระบุว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวโปรตุเกสแต่ก็ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือมายืนยัน [6]
โบราณสถานแห่งแรก คือ โบราณสถานโบสถ์ซานเปโตร[4]ของบาทหลวงนิกายคณะโดมินิกัน ตั้งอยู่ที่บริเวณจุดกึ่งกลางหมู่บ้าน มีชื่อเรียกในแผนที่ฝรั่งเศสว่า “The Portuguese Jacobins”[5] ปัจจุบันมีชาวไทยคาทอลิกเชื้อสายเวียดนามตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับโบราณสถานโบสถ์ซานเปโตรมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่5 และบางครอบครัวก็ระบุว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวโปรตุเกสแต่ก็ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือมายืนยัน [6]
สำหรับโบราณสถานแห่งที่สองนั้น นักโบราณคดีของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาสัณนิษฐานว่า คือ โบสถ์ซานฟรานซิสกันซึ่งตั้งอยู่ทางด้านเหนือของหมู่บ้านโปรตุเกสในเขตที่ดินมีโฉนดของเอกชนรายหนึ่ง อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข อินทราวุธตั้งข้อสังเกตว่า อาจไม่มีการสร้างโบสถ์ของนิกายฟรานซิสกันในเมืองพระนครศรีอยุธยา ซึ่งจากการศึกษาก็ได้พบว่านิกายฟรานสกันเป็นพวกที่เคร่งครัดศาสนา นิยมการดำรงชีพแบบสันโดษ เสียสละและยากไร้ตามแบบอย่างนักบุญฟรานซิส(St. Francis Xavier) ผู้ก่อตั้งนิกายในคริสต์ศตวรรษที่13[7]
หลักฐานจดหมายเหตุการเดินทางของบาทหลวงตาชารด์เล่ม1-3 ฉบับลายมือเขียนที่คัดมาจากต่างประเทศ ซึ่งกรมศิลปากรจัดพิมพ์เมื่อพ।ศ.2521 ยกสำเนาบันทึกกราบบังคมทูลพระเจ้าหลุยส์ที่14 ว่าด้วยเรื่องศาสนาของคอนสแตนติน ฟอลคอน(Constantin Phalcon) ยืนยันข้อเสนอในงานค้นคว้าของบาทหลวงไตไซราว่า ในสยามขณะนั้นมีบาทหลวงศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เคลื่อนไหวอยู่อย่างน้อย 4 คณะ คือ
หลักฐานจดหมายเหตุการเดินทางของบาทหลวงตาชารด์เล่ม1-3 ฉบับลายมือเขียนที่คัดมาจากต่างประเทศ ซึ่งกรมศิลปากรจัดพิมพ์เมื่อพ।ศ.2521 ยกสำเนาบันทึกกราบบังคมทูลพระเจ้าหลุยส์ที่14 ว่าด้วยเรื่องศาสนาของคอนสแตนติน ฟอลคอน(Constantin Phalcon) ยืนยันข้อเสนอในงานค้นคว้าของบาทหลวงไตไซราว่า ในสยามขณะนั้นมีบาทหลวงศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เคลื่อนไหวอยู่อย่างน้อย 4 คณะ คือ
“...พระซึ่งเป็นสาวกนักบุญดอมินิก สาวกของนักบุญฟรังซัวร์ ..สาวกของ
นักบุญออกัสแต็ง....บาทหลวงเยซูอิต...”[8]
ฟอลคอนเน้นว่าพวกมิชชันนารีอาศัยอยู่ในที่พำนัก 3 แห่งในกรุงสยาม[9] และมีวัดของชาวโปรตุเกสอยู่ 2 วัดประกอบด้วยบุคคลจำนวนมากกว่าสี่พันคน วัดทั้งสองแห่งนี้อยู่ภายใต้การปกครองของสังฆราชแห่งเมืองมะละกาและทางการโปรตุเกสแห่งอินเดียที่เมืองกัวได้ประกาศให้บาทหลวงโปรตุเกสและชุมชนชาวโปรตุเกสแห่งราชอาณาจักรสยามยอมรับอำนาจการปกครองทางจิตใจจาก “พระผู้ปกครองมิซซัง(Vicaires Apostoliques)ที่ได้เดินทางผ่านมาจากอินเดียโดยมิได้ผ่านประเทศโปรตุเกส”[10] ซึ่งฟอลคอนระบุว่า
“พวกพระหรือพวกนักบวชซึ่งเป็นผู้ควบคุมชาวโปรตุเกสในอินเดียนั้นปฏิบัติตนเหมือนกันหมดทุกหนทุกแห่งซึ่งก่อความไม่พอใจให้แก่ชาวโปรตุเกส...”[11]
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กษัตริย์โปรตุเกสจัดส่งเอกอัครราชทูตมาร้องทุกข์ยังราชสำนักสยามเพื่อ
“ร้องทุกข์เรื่องที่สาวกของพระเยซูเหล่านั้นปฏิบัติไม่ดีต่อชาวโปรตุเกสซึ่งอยู่ในความอารักขาขององค์พระมหากษัตริย์ และเพื่อขอร้องให้พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่จัดการหาทางป้องกันเพื่อชาวโปรตุเกสได้มีความเป็นอยู่สุขสบายปราศจากความเดือดร้อนตลอดไป”[12]
สำนักพระสารสาส์นซึ่งเป็นองค์กรเผยแพร่พระคริสต์ศาสนาในประเทศไทยระบุในหนังสือ “ประวัติพระศาสนจักรสากลและศาสนจักรในประเทศไทย” ว่า ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา(พ.ศ.2112-2133) บาทหลวงคณะฟรานซิสกัน 2 รูป คือ บาทหลวงฟรานซิส ดึ มัลทิลดา(Francis de Maltilda)กับบาทหลวงดิเอกู ดึ ชิมิเนซ(Diago de Simenez) เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเพื่อเผยแพร่ศาสนาคริสต์[13]
บทความชื่อ “มิชชันนารีคาทอลิกพวกแรกที่เข้ามาในประเทศไทย”ของบาทหลวงรอคโค ลีออติโล(Rocco Leotilo ชาวอิตาเลียน)[14] ระบุว่าเดิมเชื่อว่าคณะฟรานซิสกันเข้ามาในสยามครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1584-1585 (พ.ศ.2127-2128) แต่จากการศึกษาเอกสารภาษาสเปนจำนวนหนึ่ง(Archivo Ibero-Amennicano )ทำให้เชื่อว่า บาทหลวงคณะฟรานซิสกันเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกเมื่อพ.ศ.2125 และปีสุดท้ายที่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับบาทหลวงคณะฟรานซิสกันในกรุงศรีอยุธยาคือพ.ศ.2298[15] อันเป็นช่วงปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ(พ।ศ.2276-2301) และการที่แผนที่ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ไม่ระบุตำแหน่งโบสถ์ของบาทหลวงคณะฟรานซิสกันนั้นอาจจะมีสาเหตุสอดคล้องกับข้อคิดเห็นข้างต้นก็ได้
โบราณสถานแห่งที่สาม คือ โบสถ์ซานเปาโลของนิกายเยซูอิต โบราณสถานแห่งนี้ปรากฏชื่อเรียกในแผนที่ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือจดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์ว่า “The Portuguese Jesuites”
นอกจากเนินโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับชาวโบรตุเกสโดยตรง 3 แห่งแล้ว ยังปรากฏร่องรอยของเนินโบราณสถานซึ่งเป็นปรากฏอยู่ในภาพถ่ายดาวเทียมระบุว่าเป็นวัดในพุทธศาสนา 4 แห่ง แห่งแรก คือ วัดพญากง ภาพจากดาวเทียมระบุตำแหน่งตรงข้ามกับโบสถ์นักบุญฟรานซิสกัน แห่งที่2 คือ วัดโพธิ์ซุ้มอยู่เยื้องจากวัดพญากงลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 350 เมตร และอยู่ห่างจากโบสถ์นักบุญโดมินิกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือระยะทางใกล้เคียงกัน ในภาพถ่ายจากดาวเทียมระบุคลาดเคลื่อนว่า โบสถ์นักบุญโดมินิก เป็นโบสถ์เยซูอิตนิกาย แห่งที่3 คือ วัดพญาพาน ตั้งอยู่ระนาบใกล้เคียงกับโบสถ์ซานโดมินิกัน โดยตั้งอยู่ห่างกันประมาณ 300 เมตร แห่งที่4 คือวัดโพธิ์ชัยร้าง แต่เดิมเข้าใจว่าเป็นโบสถ์นิกายเยซูอิต และสันนิษฐานว่าโบสถ์เยซูอิตคงจะตั้งอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนี้เท่าใดนัก
นอกจากเนินโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับชาวโบรตุเกสโดยตรง 3 แห่งแล้ว ยังปรากฏร่องรอยของเนินโบราณสถานซึ่งเป็นปรากฏอยู่ในภาพถ่ายดาวเทียมระบุว่าเป็นวัดในพุทธศาสนา 4 แห่ง แห่งแรก คือ วัดพญากง ภาพจากดาวเทียมระบุตำแหน่งตรงข้ามกับโบสถ์นักบุญฟรานซิสกัน แห่งที่2 คือ วัดโพธิ์ซุ้มอยู่เยื้องจากวัดพญากงลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 350 เมตร และอยู่ห่างจากโบสถ์นักบุญโดมินิกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือระยะทางใกล้เคียงกัน ในภาพถ่ายจากดาวเทียมระบุคลาดเคลื่อนว่า โบสถ์นักบุญโดมินิก เป็นโบสถ์เยซูอิตนิกาย แห่งที่3 คือ วัดพญาพาน ตั้งอยู่ระนาบใกล้เคียงกับโบสถ์ซานโดมินิกัน โดยตั้งอยู่ห่างกันประมาณ 300 เมตร แห่งที่4 คือวัดโพธิ์ชัยร้าง แต่เดิมเข้าใจว่าเป็นโบสถ์นิกายเยซูอิต และสันนิษฐานว่าโบสถ์เยซูอิตคงจะตั้งอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนี้เท่าใดนัก
โคกวัดโพธิ์ชัย(ร้าง)ซึ่งเคยเข้าใจกันว่าเป็นที่ตั้งของโบสถ์เยซูอิต
[1] บางทีก็แปล(เกินเลย)ว่า “วิทยาลัยคอนสแตนติน”
[2] บาทหลวงกวีย์ ตาชารด์, จดหมายเหตุการเดินทางครั้งที่2ของบาทหลวงตาชารด์ ค.ศ.1687-1688(กรุงเทพฯ: คุรุสภา, ลาดพร้าว), หน้า186
[3] Teixeira, P. Manuel, op. cit. , p.337-344
[4] ชื่อโบสถ์แห่งนี้ตั้งใหม่โดยชาวคาทอลิกเชื้อสายญวนที่อพยพเข้ามาอาศัยในบริเวณหมู่บ้านโปรตุเกสสมัยรัชกาลที่5
[5] ตีพิมพ์ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์ เล่ม 1 แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร
[6] ฉัตราภรณ์ จินดาเดช, “ชุมชนชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา: สายสัมพันธ์จากวันวานถึงวันนี้” เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทยกับโปรตุเกส , วันที่ 23-24 มิถุนายน 2548 ณ ห้องประชุมหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี, เอกสารถ่ายสำเนา, หน้า 3
[7] The Columbia Encyclopedia (New York, Columbia University Press, 1963), p. 756
[8] กรมศิลปากร, จดหมายเหตุการเดินทางของบาทหลวงตาชารด์เล่ม1-3 ฉบับลายมือเขียนที่คัดมาจากต่างประเทศ ซึ่งกรมศิลปากรจัดพิมพ์เมื่อพ.ศ.2521, หน้า40-41
[9] กรมศิลปากร, เรื่องเดิม, หน้า55
[10] กรมศิลปากร, เรื่องเดิม, หน้า52
[11] กรมศิลปากร, เรื่องเดิม, หน้า52
[12] กรมศิลปากร, เรื่องเดิม, หน้า 53
[13] สำนักพระสารสาส์น, ประวัติพระศาสนจักรสากลและศาสนจักรในประเทศไทย, (พระนคร: ไทยหัตถ์การพิมพ์, 2510), หน้า196
[14] บาทหลวงสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์, “การเข้ามาของพวกโปรตุเกสกับศาสนาคริสต์” สรุปการสัมมนาทางวิชาการประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-โปรตุเกส, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. 2548, หน้า191
[15] บาทหลวงสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์, เรื่องเดิม, 200
ชอบมากค่ะ .. จะแวะเข้ามาศึกษาเรื่อยๆค่ะ
ตอบลบ