วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

(เพิ่มเติมเนื้อหาข้อมูลแล้ว)โบราณวัตถุประเภทเครื่องแก้วที่พบจากการขุดแต่งโบสถ์ซานเปโตร พ.ศ.2527

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
ข้อมูลที่เกี่ยวกับการขุดค้นและทะเบียนโบราณวัตถุยกมาจากหนังสือประกอบนิทรรศการเรื่อง...............ตีพิมพ์และเผยแพร่โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินารายณ์ราชนิเวศน์ ลพบุรี เมื่อ.........ขอขอบพระคุณอาจารย์ภูธร ภูมะธร ผู้ควบคุมการผลิต อาจารย์ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์และอาจารย์พิรักษ์ ชวนะเกรียงไกรผู้สนับสนุนเนื้อหาการวิเคราะห์ ส่วนที่ข้อวิพากษ์เพิ่มเติมที่มีต่อการอธิบาย กำหนดอายุหลักฐานทางโบราณคดีนั้นเป็นความคิดเห็นของผู้เขียน
1.กางเขนแก้ว


ชื่อวัตถุ กางเขนแก้ว ทำจาก แก้ว
ขนาด กว้าง 4 ซม. ยาว 4 ซม. อายุสมัย ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23
ประวัติที่มา ขุดพบระหว่างการขุดแต่งโบราณสถานบ้านนักบุญเปโตร หลุม A 6 ระดับ 100-150 ซม.
รายละเอียด ตอนบนมีรอยขีดเป็นรูปอักษร INRJ ซึ่งหมายถึง พระเยซู ชาวนาชาเร็ธ และกษัตริย์ของยิว ที่ข้างซ้ายของกางเขนมีรอยสลักรูปตะปู และตรงกลางคือมงกุฎ (ของพระเยซู)

Object : Cross
Material : Glass Size : 4 cm. + 4 cm.
Period : 16 – 17th century Style : Portuguese
Background : Unearthed during excavations at Sao Pedro Village.
Description : The Letters INRI are visible at the top. This could be “I” for Jesus, “N” for Nazareth, “R” for Rex and “I” for Jews. At the left of the cross is an engraved object resembling a nail. In the middle is an engraved thorn crown. The object is in poor condition, one arm and the shaft of the cross are missing.

2.เลนส์แว่นตาสำหรับคนสายตาสั้น


ชื่อวัตถุ เลนส์แว่นตา ทำจาก แก้วใส
ขนาด กว้าง 3 ซม. ยาว 3-8 ซม. หนา 0.2 ซม.
อายุสมัย พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประวัติที่มา ขุดพบระหว่างการขุดแต่งโบราณสถานบ้านนักบุญเปโตร หลุม D’ 12 ระดับ 100-200 ซม.
รายละเอียด เป็นเลนส์เว้าสำหรับคนสายตาสั้น

Object : optical lens
Material : Clear Glass
Size : 3 cm. wide x 3.8 cm. long x 0.2 cm. thick
Period : 17th century
Style : foreign
Background : Unearthed during excavations at Sao Pedro Village. Site No. D12
Stratum : 100-200 cm.
Description : Optical lens with correction for myopia.




































ชิ้นส่วนแก้วไวน์ ทรงก้านสูง
โบราณวัตถุชิ้นนี้มักจะถูกจัดแสดงโดยวางส่วนฐานกลับขึ้นบนด้วยความเข้าใจผิดเสมอ อันที่จริงส่วนรองรับของเหลวนั้น ควรจะมีผิวสัมผัสด้านในที่โค้งเว้าและเรียบเนียนโดยตลอด แต่หากสังเกตให้ดีจะพบว่า ส่วนที่เข้าใจว่าเป็นผิวใช้งานด้านในกลับมีลักษณะเกือบจะสอบและผิวด้านในก็ไม่ค่อยจะเรียบเนียนเท่าใดนัก








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น