วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

3.Four Centuries of Portuguese Expansion,1415-1825: a Succint Survey by C.R. Boxer,บทที่3

by C.R. Boxer (แปลโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร / ร่างรอขัดเกลาสำนวน พิสูจน์อักษร อ้างอิงและกำกับภาษาต่างประเทศ)

การช่วงชิงแหล่งเครื่องเทศ น้ำตาล ทาสและการสู้ชีวิตในคริสต์ศตวรรษที่17
ความพ่ายแพ้ของโปรตุเกสและการสิ้นพระชนม์กษัตริย์ดอม เซบัสติอาว(
) ผู้ทรงไร้รัชทายาทจากการสงครามที่อัลคาเซอร์ เคบีร์(
)ในมอรอคโค เมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ.1578 ทำให้กษัตริย์ฟิลิปที่ 2(
) แห่งสเปนทรงอ้างสิทธิเป็นกษัตริย์โปรตุเกสเมื่อ ค.ศ.1580 การประกาศอ้างพระราชสิทธิของพระองค์เป็นไปอย่างถูกกฎหมาย ยิ่งไปกว่านั้น การสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์เฮนริก( )ในปีเดียวกันก็ทำให้บัลลังก์ของโปรตุเกสว่างลง และพระบรมราชโองการของกษัตริย์ฟิลิปที่2 แห่งสเปน ยังถูกบังคับใช้ด้วยความช่วยเหลือดุ๊กแห่งอาลวา( ) ผู้ทรงมีประสบการณ์ การประกาศรวมราชอาณาจักรสเปนและโปรตุเกสโดยใช้เงินเม็กซิกันมูลค่ามหาศาลอย่างระมัดระวัง ทำให้กษัตริย์ฟิลิปที่2 ทรงได้รับการยกย่องอย่างสมพระเกียรตเหนือราชอาณาจักรใหม่ของพระองค์ กษัตริย์ฟิลิปที่2ทรงตรัสว่า “ข้าพเจ้ามีกรรมสิทธิ์ในการสืบทอดราชบัลลังก์โปรตุเกสทั้งจากการเป็นทายาทและซื้อมาอย่างถูกต้อง( )



งานเฉลิมฉลองนักบุญเซา กงซาลู ดามารันตึ(São Gonçalo d' Amarante)ที่เมืองบาเอีย(Bahia) เมื่อ ค.ศ.1718
(เริ่มการพิสูจน์อักสอนต่อ)โปรตุเกสและสเปนมีกษัตริย์องค์เดียวกันนานถึง 60 ปี(ค.ศ.1580-1640:ผู้แปล) ทำให้ชาวโปรตุเกสผู้รักชาติเปรียบเทียบสถานการณ์ช่วงนี้ว่า คล้ายกับกรณีที่ชาวบาบิโลเนียนจับชาวยิวเป็นเชลย
(foot note)1. อาณานิคมของจักรวรรดิไอบีเรียนซึ่งเริ่มต้นในค.ศ.1580 และสิ้นสุดเมื่อค.ศ.1640นั้น มีดินแดนอยู่ในการยึดครองตั้งแต่มาเก๊าจนถึงโปโตซี( ) ในเปรู จักรวรรดิไอบีเรียนจึงเป็นดินแดนยิ่งใหญ่อันดับแรกของโลกที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน การอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์โปรตุเกสโดยกษัตริย์ฟิลิปปินที่2แห่งสเปนในค.ศ. 1580 ถูกต่อต้านเพียงเล็กน้อยพอเป็นพิธีจากชาวโปรตุเกส ขณะที่ขุนนางโปรตุเกสจำนวนมากต่างก็พอใจกับการรวมประเทศ

(footnote)1.เมื่ออาณาจักรอิสราเอลของชาวยิวตกเป็นชาวแอสซีเรียนในศตวรรษที่แปดก่อนคริสต์กาลและอาณาจักรจูดาห์ของชาวยิว ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักรอิสราเอลตกเป็นของชาวแคลเดียนในศตวรรษที่หกก่อนคริสต์กาล ทำให้ชาวยิวถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในอาณาจักรบาบิโลนเป็นยุดที่รู้จักกันในพระคัมภีร์เก่าว่า “ The Babyloniarl Captirity” ผู้แปล


ในการรวมตัวของประเทศสเปนแต่พลเมืองโปรตุเกศส่วนใหญ่ซึ่งมีความขุ่นเคืองต่อการรวมประเทศกับสเปนนั้น ยังคงสับสน ท้อแท้และตกอยู่ในสภาวะขาดผู้นำหลังเหตุการณ์โศกนาฎกรรมแห่งสมรภูมิอัลคาเซอร์-เคบีร์ นอกจากนี้ยังมีความรู้สึกทางเชื้อชาติอย่างรุนแรงอีกด้วย กษัตริย์ฟิลิปที่2ผู้รอบคอบจึงโปรดให้สภาแห่งโตมาร์( ) พิจารณาสถานภาพการเป็นรัชทายาทของพระองค์เหนือบัลลังก์โปรตุเกส จึงเป็นที่ยอมรับว่าจักรวรรดิแห่งอาณานิคมซึ่งแยกอำนาจจาการปกครองออกจากกันนั้น ได้เกิดขึ้นแล้วอย่างถูกต้อง ในทำนองเดียวกับการรวมประเทศของราชอาณาจักรสกอตแลนด์และอังกฤษ(
) ให้อยู่ภายใต้กษัตริย์องค์เดียวกันนั้น เกิดขึ้นนับตั้งแต่การครองราชย์ของกษัตริย์เจมส์ที่6 (หรือกษัตริย์เจมส์ที่ 1 แห่งสกอตแลนด์) โดยมีกฎหมายแห่งการรวมราชอาณาจักร(
) เป็นพื้นฐานรองรับ กษัตริย์ฟิลิปที่2 (หรือฟิลิปที่1แห่งโปรตุเกส) ทรงตั้งปฏิญานว่า จะทรงจรรโลงไว้ซึ้งกฎหมายและภาษาโปรตุเกส จะทรงขอความเห็นจากที่ปรึกษาชาวโปรตุเกสในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับโปรตุเกสและดินแดนโพ้นทะเลของโปรตุเกส จะทรงแต่งตั้งชาวโปรตุเกสเท่านั้นเป็นเจ้าหน้าที่ในอาณานิคมของโปรตุเกสและประการสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ การห้ามมิให้ชาวสเปนเข้าไปค้าขายและตั้งถิ่นฐานในอาณานิคมของโปรตุเกสอย่างเด็ดขาด และชาวโปรตุเกสก็จะต้องยึดถือข้อบังคับเช่นเดียวกันนี้ด้วยในดินแดนของสเปนด้วย
กษัตริย์ฟิลิปที่2ของสเปน(หรือที่1ของโปรตุเกส) และรัชทายาทของพระองค์(กษัตริย์ฟิลิปที่3ของสเปน-ที่2ของโปรตุเกส) ทรงตั้งมั่นอยู่ในสัตย์ปฏิญานที่ทรงพระราชทานแก่ชาวโปรตุเกสเป็นอย่างดี ครั้นถึงรัชสมัยของกษัตริย์ฟิลิปที่4สิทธิพิเศษของชาวโปรตุเกสค่อยๆถูกบั่นทอนลดน้อยลงไป เนื่องจากนโยบายการรวบรวมอำนาจทางการปกครอง ซึ่งเคานท์-ดุ๊ค แห่งโอลิวาเรส( ) อัครมหาเสนาบดี( )
ของกษัตริย์ฟิลิปที่4เป็นผู้นำมาใช้เป็นคนแรก ความต้องการของเคานท์-ดุ๊คแห่งโอลิวาเรสคือสถาปนาอำนาจและความมั่นคงให้แก่ราชวงค์คาสติลเลียนของสเปน ดังที่ริเซอลิเออ(
) คู่แข่งคนสำคัญของโอลิวาเรสกำลังดำเนินการเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่แด่กษัตริย์แห่งฝรั่งเศสนโยบายดั้งกล่าวทำให้โอลิวาเรสมีความขัดแย้งกับกลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจเช่น ขุนนางและ
ศาสนจักร อีกทั้งยังนำไปสู่ความไม่พอใจที่มีต่อการปกครองจากกรุงมาดริดด้วย โปรตุเกสกับสเปนต่างก็มีความไม่พอใจซึ่งกันและกัน ดั้งจะเห็นจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อชาวโปรตุเกสกล่าวหาว่า ความเกี่ยวดองทางเครือญาติกับราชวงค์คาสติลเลียนเป็นต้นเหตุให้โปรตุเกสต้องพลอยเป็นปฏิปักษ์กับศัตรูของสเปนด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นศัตรูกับดัทช์และอังกฤษ นอกจากนี้ทหารโปรตุเกสยังต้องร่วมรบกับสเปนในการทำสงครามที่ฟลันเดอร์( )
และอิตาลี( )ด้วยส่วนชาวสเปนได้ตำหนิว่า ชาวโปรตุเกสไม่เต็มใจในการร่วมรบ และยิ่งไปกว่านั้นในขณะที่เมืองท่าต่างๆของโปรตุเกสกีดกันไม่ให้ชาวสเปนมีส่วนร่วมผลประโยชน์อย่างเคร่งครัด แต่ชาวโปรตุเกสและโปรตุเกสเชื้อสายยิวส่วนใหญ่ ต่างพากันแทรกซึมเข้าไปภูมิภาคอันอุดมสมบูรณ์ที่สุดของเม็กซิโกและเปรู บรรดาที่ปรึกษาแห่งศาลทางศาสนาที่กรุงมาดริด( The Coumalkors of the Ingnistion Madid) ได้สะท้อนปรากฏการณ์ดังกล่าวออกมา
เมื่อพวกเขายืนยัน(แม้จะเกินเลยจนเห็นได้ชัด)ในค.ศ.1623ว่า มีชาวโปรตุเกสเชื้อสายยิวอยู่ในเปรูมากกว่าผู้ตั้งถิ่นฐานชาวสเปน
เรื่องที่ชาวโปรตุเกสอ้างว่า การรวมประเทศกับสเปนทำให้โปรตุเกสต้องเป็นปรปักษ์กับมหาอำนาจฝ่ายโปรเตสแตนท์เป็นสิ่งไม่ยุติธรรม ดัทช์และอังกฤษจะต้องเป็นศัตรูกับโปรตุเกสอย่างไม่ต้องสงสัยเมื่อโปรตุเกสประกาศว่า น่านน้ำทางตะวันออกของแหลมกู้ดโฮป และน่านน้ำส่วนใหญ่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย เป็นของโปรตุเกสแต่ผู้เดียวตามความเป็นจริงแล้ว การที่กษัตริย์ฟิลิปทรงพยายามปราบปรามความกระด้างกระเดื่องในเนเธอร์แลนด์(Nerthenland) และการที่กษัตริย์เชื้อสายของพระองค์ทรงห้ามมิให้จักรวรรดิไอบีเรียนติดต่อค้าขายกับดัทช์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวดัทช์มีความมุ่งร้ายต่อโปรตุเกส ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อดัทช์ตัดสินใจทำสงครามโพ้นทะเลและเปิดการจู่โจมอาณานิคมของสเปนและโปรตุเกส ทำให้ดัทช์มีปัจจัยทางเศรษฐกิจสนับสนุนการทำสงครามในยุโรป หลังจากนั้นโปรตุเกสซึ่งเป็นเพียงอาณาจักรอ่อนแอที่รวมอยู่ในจักรวรรดิไอบีเรียนจึงได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของดัทช์พอๆ กับสเปนอย่างไม่อาจหลีกเหลี่ยงได้ ขณะที่การต่อสู้กำลังดำเนินอยู่นั้น ชาวดัทช์ได้หันมาโจมตีอาณานิคมในเอเชีย อาฟริกาและอเมริกาใต้ของโปรตุเกสมากยิ่งขึ้น การรุกรานอาณานิคมชายฝั่งทะเลของชาวโปรตุเกสเกือบทุกแห่ง มีสภาพอ่อนแอกว่าเม็กซิโกและเปรู ประเทศราช(Vice noyalties)เป็นพื้นทวีปของสเปนซึ่งได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้นจากการโจมตีทางเรือ
เป็นที่น่าสังเกตว่า การขยายอิทธิพลของดัทช์เหนือทะเลโปรตุเกสในทะเลทั้งเจ็ด( )
ในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่17นั้น ใช้วิธีการเขียนด้วยการขยายอำนาจไปสู่อาณานิคมโพ้นทะเลของสเปนและโปรตุเกสในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่16 อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าเพียงแต่หมายถึงผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของดัทช์ ที่มีต่อการสลายตัวของจักรวรรดิโปรตุเกศเท่านั้น การต่อสู้ระหว่างดัทช์กับโปรตุเกส เริ้มขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่17และสิ้นสุดเมื่อดัทช์สามารถยึดครองอาณานิคมของโปรตุเกสตามดินแดนชายฝั่งมะละบาร์( Malaber) ในค.ศ.1663
แต่สันติภาพที่แท้จริงได้เกิดขึ้นในอีก 6 ปีต่อมา จึงอาจกล่าวได้ว่า สงครามอาณานิคมอันยืดเยื้อเกิดขึ้นในรูปของการช่วงชิงแหล่งเครื่องเทศในเอเชีย แหล่งทาสในอาฟริการตะวันตก และแหล่งน้ำตาลในบราซิล ผลลัพธ์ที่สะท้อนให้เห็นคือ-ชัยชนะของดัทช์ในเอเชีย-การต่อสู้ที่ไม่ปรากฏความมีชัยหรือการพ่ายแพ้ในแอฟริการตะวันตก-และชัยชนะของโปรตุเกสในบราซิล การต่อสู้ของดัทช์และโปรตุเกสในสามทวีปและห้าทะเล ดังจะกล่าวโดยสังเขปตามเนื้อหาต่อไปนี้
ชัยชนะระยะแรกของดัทช์ในแถบเอเชียตะวันออก เริ่มต้นด้วยการยึดครองหมู่เกาะเครื่องเทศเมื่อค.ศ.1605 ถูกชาวโปรตุเกสต่อต้านอย่างแข็งแรงที่เกาะทิดอร์ และยึดครองเกาะแอมบัวนาโดยปราศจากการต่อต้าน ในปีต่อมานั้นเอง ชาวสเปนที่ฟิลิปปินส์ได้ฉวยโอกาสเป็านศัตรูกับโปรตุเกส โดยการยึดครองเกาะทิดอร์และปกครองพื้นที่บางส่วนของเกาะเทอร์เนตเอาไว้จนกระทั่ง เมื่อทัพเรือของจีนบุกเข้าโจมตีมนิลาในปีค.ศ.1662 สเปนจึงถอนทหารจากหมู่เกาะโมลุกกะกลับไปยังมลิลา ระหว่างนั้นดัทช์ได้ทำความเสียหายแก่เมืองท่าการค้าแห่งต่างๆของโปรตุเกสได้อย่างไม่ปรานีปราศรัย—ดัทช์ได้ใช้เรือรบปิดกั้นทางเดินเรือช่องแคบมะละกา(The Straits of Malaeea)เมื่อราวทศวรรษค.ศ.1630 การกะทำดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อโปรตุเกตอย่างรุนแรง นอกจากนนี้ ดัทช์ยังได้เป็นบ่อนทำลายอาณานิคมตามชายฝั่งทะเลของโปรตุเกส โดยการยึดอาณานิคมของโปรตุเกสไปที่ละแห่ง โปรตุเกสเสียมะละกาเมื่อค.ศ.1641 และอีกสิบเจ็ดปีต่อมา(ค.ศ.1658:ผู้แปล)โปรตุเกสก็เสียเมืองจ๊าฟนา(Jaffna)ซึ่งเป็นป้อมปราการแห่งสุดท้ายในศรีลังกา การพิชิตดินแดนต่างๆในเอเชียสิ้นสุดลงเมื่อดัทช์สามารถยึดครอง-
โคชิน(Cochin) และอาณานิคมบนแผ่นดินชายฝั่งมะละบาร์ของโปรตุเกสเมื่อค.ศ.1663
จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ทำให้ดัทช์ประสบความสำเร็จในการควบคุมแหล่งกานพลู( )
จันทร์เทศ( )และแหล่งเครื่องเทศในหมู่เกาะโมลุกกะ รวมทั้งได้ควบคุมแหล่งพริกไท
บนดินแดนชายฝั่งมะละบาร์ นอกจากนี้ดัทช์ยังได้ผลักดันโปรตุเกสออกไปจากการคุ้มครองผลประโยชน์การขนส่งสินค้าในแถบเอเชียอีกด้วย เมื่อโปรตุเกสถูกขับไล่ออกจากญี่ปุ่นในค.ศ.1639ตามนโยบายทางการเมืองและนโยบายทางศาสนาของโชกุนโตกุงาวะ( )พ่อค้าชาวดัทช์ผูกขาดทางการค้าระหว่างยุโรปกับญี่ปุ่นแต่เพียงผู้เดียว ดัทช์ประสบความล้มเหลวเพียงครั้งเดียว เมื่อพยายามขับไล่โปรตุเกสออกจากมาเก๊า( ) เมืองแห่งพระนางของพระเจ้าในจีน และหมู่เกาะซุนดาน้อย ( ได้แก่
) ซึ่งอยู่ไกลลิปและแทบจะไม่มีใครรู้จักเลย1.
ชาวดัทช์ประสบความล้มเหลวในการแย่งชิงสถานีการค้าของโปรตุเกสบนหมู่เกาะโมแซมบิก
(Mocombrque) ซึ่งอยู่ในอาฟริกาตะวันออก จึงเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ชาวดัทช์ต้องก่อตั้งอาณานิคมของตนขึ้นที่แหลมกู๊ดโฮปในเวลาต่อมา ส่วนอาฟริกาตะวันตกนั้น อาณานิคมระยะแรกของดัทช์ซึ้งตั้งในดินแดนชายฝั่งกินี(The Guinea Coast) และแม้ว่าดัทช์จะพ่ายแพ้อย่างยับเยินจากการใช้ความพยายามในการแย่งชิงเมืองท่าเซา จอร์จดา มินา( )
ของโปรตุเกสเมื่อค.ศ.1625 แต่ในอีก13ปีต่อมากองทหารซึ่งถูกจัดตั้งโดยเคานต์ โยฮัน มอริตส์ ออฟ นัสสอร์ ไซเจน ( ) ข้าหลวงใหญ่แห่งเนเธอร์แลนด์บราซิล(ผู้ดำรงตำ1638-1644) ได้ขับไล่โปรตุเกสและสามารถยึดครองเชา จอร์จ ดา มินา เป็นผลสำเร็จ ในขณะนั้น แม้ดัทช์จะทราบว่าโปรตุเกสได้กระทำกระด้างกระเดื่องต่อต้านการรวมประเทศกับสเปนตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ.1640 แล้ว ซึ่งอาจจะมีผลก่อให้เกิดวามไม่สลบในดินแดนอาณานิคมของโปรตุเกส( ) ดังเช่นปฏิกิริยาที่เกิดในประเทศแม่ แต่ชาวดัทช์ก็ได้ใช้กำลังเข้ายึดครองดินแดนชายฝั่งอังโกลาและเบงกูลา( )
มาเป็นของตนในปีค.ศ.1641 ผู้รุกรานแห่งลัทธิคาลวินิสม์ชาวดัทช์( )ได้สร้างสรรค์ความสำพันธ์อันดียิ่งต่อกษัตริย์ผู้ทรงนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกแห่งคองโกและราชินีของมนุษย์กินคนเผ่ายักกัส( ) อย่างน่าประหลาดใจ ในเดือนสิงหาคม ค.ส.1648 กลุ่มพันธมิตรซึ้งปะปนกันหลากหลายเชื้อชาติและหลายเผ่าพันธุ์ เกือบจะทำลายเมืองท่าป้อมค่ายของโปรตุเกสที่เหลืออยู่สามแห่งในที่ราบกวนชา( ได้แก่
) ได้สำเร็จ เมืองท่าป้อมค่ายดังกล่าวรอดพ้นการการถูกทำลาย เพราะทหารชาวรูโซ บราซิเลียน( ) แห่งริโอ เดอ จาเนโรยกกำลังไปยึดลวนดา( )
กลับคืนมาได้ และสามารถกู้สถานการณ์ไว้ได้นาทีสุดท้ายของชั่วโมงที่สิบเอ็ด เมื่อสงครามยุติลงใน2-3ปีต่อมา ดัทช์ก็ไดครอบครองอาณานิคมดั้งเดิมตามชายฝั่งแถบโกลด์ โคสท์( )
สเลฟ โคสท์( ) และไอวารี่ โคสท์( ) ของโปรตุเกส แต่โปรตุเกสยังควบคุมตลาดค้าทาสในอังโกลาและเบงกูลา
ระหว่างค.ส.1635-1644 ดัทช์ได้ยึดครองดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ครึ่งหนึ่งทางภาคเหนือของบราซิลเอาไว้ จนกระทั่งในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1645 ชาวเมืองเปอร์มันบูโก( )
จึงลกฮือขึ้นต่อต้านชาวดัทช์ และหลังจากสงครามแห่งความข่มขื่นผ่านพ้นไปเป็นเวลาเกือบสิบปี ชาวดัทช์ที่มุ่งมั่นแห่งสุดท้ายก็ขอทำสัญญายอมปราชัยในเดือนมกราคม ค.ศ.1654 “น้ำตาล”
ซึ้งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำสงคราม คือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดสงครามแม้ว่า “ความเกลียดชังต่อลัทธิทางศาสนา”ระหว่างชาวคาลวินิสต์( กับชาวโรมานิสต์( )
จะเป็นสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการลุกฮือก็ตาม ทั้งดัทช์และชาวโปรตุเกสก็ใช้ทหารชาวอเมริเดียนเป็นกำลังสำคัญในการรบ เช่นเดียวกับสงครามระหว่างอังกฤษ-ฝรั่งเศสในแคนนาดาและอเมริกาเหนือ แท้จริงแล้วกองทัพโปรตุเกส หรือที่ถูกคือกองทัพชาวลูโซบราซิเลียนที่เข้าทำสงครามกับดัทช์ในครั้งนั้นประกอบด้วยชาวมูแลตโต( Mulattoes) ชาวนิโกร( Negloes )ชาวอเมริเดียน(Amelindean) และทหารเลือดผสมเชื้อชาติอื่นอีกหลายเชื้อชาติผู้นำคนสำคัญของทหารเหล่านี้คือ โจอาว เฟอร์นันเดช วีเยรา (Jo ao Founemder Viera)
บุตรชายขุนนางชาวโปรตุเกตแห่งมาเดอิรา(The Madeira Fidelgo)ซึ่งเกิดจากครรภ์โสเภณีชาวมูแลตโต ความอัปยศอันใหญ่หลวงของดัทช์จากการสูญเสียภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล
ถูกซ้ำเติมยื่งขึ้นเมื่อชาวดัทช์ทราบว่า ฝ่ายที่มีชัยชนะเหนือตนนั้น คือกองทัพที่มีกำลังทหารส่วนใหญ่เป็นชนผิวสี ดังนั้น การค้าน้ำตาลในบราซิลจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโปรตุเกสไปในที่สุดโดยปราศจากการต่อต้าน หลังจากที่ดัทช์ได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากการค้าน้ำตาลในบราซิลมาเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม ความพยายามด้านอุตสาหกรรมน้ำตาลของดัทช์ก็มิไดสูญป่าว เพราะในระหว่างที่ยึดครองปอร์นัมบูโกอยู่นั้น ชาวดัทช์ได้ปรับวิธีการเพราะปลูกและการบดน้ำตาลของเปอร์นัมบูโก และนำเข้าไปเผยแพร่ในแอนทิลส์(The Antilles) โดยอาจจะผ่านมาทางตัวแทนบริษัทของชาวโปรตุเกตเชื้อสายยิว

1.


2. เกาะมาเดอิรา อาณานิคมแห่งหนึ่งของโปรตุเกตในหมาสมุทรแอตแลนติก อยู่ทางทิศตะวันตกของมอรอคโก
ความหายนะซึ่งโปรตุเกสได้รับจากการโจมตีของดัทช์ในช่วง 40 ปีแรกแห่งคริสต์ศตวรรษที่17 คือคำตอบที่สำคัญที่ทำให้ชาวโปรตุเกสลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองของกษัตริย์สเปนในพ.ศ.1640 แต่ชาวโปรตุเกสซึ่งคาดการว่า ชาวดัทช์คงจะหยุดการโจมตีอาณานิคมของตนในทันที เมื่อดินแดนต่างๆของโปรตุเกสประกาศไม่อยู่ภายใต้การปกครองของสเปน ต้องประสบกับความผิดหวังอย่างแรง เพราะหลักจากระยะ 10ปีของสัญญาการหักรบชั่วคราว”ลูโซ-ดัทช์”สิ้นสุดลงเมื่อ ค.ศ.1641 ดัทช์ได้ขยายการโจมตีอาณานิคมของโปรตุเกส ในแถบอังโกลาและศรีลังกามากยิ่งขึ้น ตามแต่โอกาสจะอำนวย ความรุนแรงของสงครามอาณานิคมครั้งนี้ ทำให้โปรตุเกสต้องแสวงหาการคุ้มครองจากอังกฤษ ในรูปของการอภิเษกสมรสระหว่าง
พระเจ้าชาร์ลส์ที่2(Charles II)กับราชะนีแคทารินแห่งบรากัญชา( )เมื่อค.ศ.1661สันติภาพระหว่างโปรตุเกสกับสเปน และโปรตุเกสกับดัทช์ ซึ่งมีขึ้นในภายหลังโดยการประนีประนอมของอังกฤษเป็นสันติภาพอันเปราะบางซึ่งโปรตุเกสจะพึงแสวงหาในขณะนั้นการมอบบอมเบย์( )และแทนกิเยร์( )แก่อังกฤษเพื่อเป็นสินสมรสเดิมของเจ้าหญิงแคทารินา สร้างความไม่พอใจแก่ชาวโปรตุเกสเป็นอย่างยิ่ง แม้โปรตุเกสจะไม่สามารถพัฒนาให้อาณานิคมดังกล่าวไปแล้วทั้งสองแห่ง มีชีวิตชีวาขึ้นมาได้ก็ตาม
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัทช์ประสบความสำเร็จในแถบเอเชียนั้น อาจสรุปได้สามประเด็นใหญ่ๆคือ ประการแรก ดัทช์มีปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่า ประการที่สอง ดัทช์มีกองทัพที่ยิ่งใหญ่กว่า ประการที่สาม ดัทช์มีอำนาจทางทะเลที่เหนือกว่า ในฐานที่ดัทช์(
)เป็นชาติที่มีความเจริญทางการค้ามากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่17 ความร่ำรวยและความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลของดัทช์ ทำให้ราชอาณาจักรแห่งโปรตุเกสประสบกับความยากจนมากยิ่งขึ้น พลเมืองของดัทช์และโปรตุเกสมีจำนวนใกล้เคียงกัน(หนึ่งล้านสองแสนห้าหมื่นคน) ขณะที่โปรตุเกสจำเป็นต้องหากระสุนดินดำ( )มาสนับสนุนในการทำสงคราม แต่ดัทช์สามารถใช้หรือสร้างกองทัพและกองเรือจากกำลังของทหารชาวเยอรมันและ
สแกนดิเนเวียนความแตกต่างของอำนาจทางทะเลมองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จากงานเขียนอันมีชื่อเสียงในค.ศ.1649จากบาทหลวงชาวโปรตุเกสแห่งคณะเจซูอิตชื่อบาทหลวงอันโตนิโย วิเยรา( )บาทหลวงผู้นี้แต่งเติมเรื่องราวเกินเลยขอเท็จจริงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยประมาณกำลังพลของดัทช์และโปรตุเกสว่า ดัทช์มีเรือที่สามารถใช้ทำการรบได้มากกว่า14000ลำ ขณะที่โปรตุเกสมีเรือน้อยกว่าดัทช์เพียง13ลำ เมื่อดัทช์ประกาศว่าสามารถจัดหาทหารเรือได้ถึง 250000 คน โปรตุเกสก็สามารถระดมทหารเรือได้น้อยกว่าดัทช์เพียง 4000 คนนั้น
ข้าพเจ้าขอเพิ่มรายละเอียดอีกเล็กน้อยว่า ข้าหลวงใหญ่ของดัทช์แห่งปัตตาเวีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอนโตนอิโอ ฟอน เดเมน(Antois Van Diemen) ผู้เคยลอบเข้าโจมตีกองเรือของโปรตุเกสในมหาสมุทรอินเดียอย่างยับเยิน ระหว่างเป็นข้าหลวงที่เมืองปัตตาเวียในช่วงปี ค.ศ.1636-1645 ข้าหลวงผู้นี้สามารถใช้อำนาจทางทะเลได้ดีกว่าผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสหัวเมือง นอกจากนี้ โปรตุเกสซึ้งแทบจะมอบความไว้วางใจทั้งหมดแก่บรรดา”ขุนนาง- “ หรือสุภาพบุรุษจากสายเลือดและจากตระกูลขุนนาง(Gleod and coat-aemom)อาทิ ตระกลูผู้นำทางทหารบกและทหารเรือของโปรตุเกส เป็นต้น ความสามารถของบุคคลเหล่านี้ มิอาจจะนำไปเปรียบเทียบกับเจ้าหน้าที่ระดับสูง ในบริษัทอินเดียตะวันออกของดัทช์ได้เลย เนื่องจากบริษัทอินเดียตะวันออกของดัทช์ คำนึงถึงความสามารถของเจ้าหน้าที่เป็นบรรทัดฐาน ในการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานชองบริษัท ความจริงดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของสำนักงานสังเกตการณ์ชาวโปรตุเกส นักสังเกตการณ์ผู้หนึ่งได้เขียนบทความเมื่อค.ศ.1656 โดยตำหนิติเตียนขุนนางชั้นสูงอย่างแหลมคม ที่ทำให้มะละกาและศรีลังกาหลุดพ้นจากอำนาจของโปรตุเกสด้วยฝีมือของชนชั้นกรรมกรชาวฮอลันเดอร์ (Hallandery)2
ผลประโยชน์ต่างๆซึ่งชาวดัทช์ได้รับนั้น ข้าพเจ้าจาระไนไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อาจมีผู้ตั้งปัญหาถามว่า เหตุใดดัทช์ซึ่งใช้เวลาเพียง60ปีก็สามารถแย่งชิงอาณานิคมของโปรตุเกสในเอเชียได้สำเร็จ และเหตุใดดัทช์จึงประสบความล้มเหลวในการแย่งชิงเอาบราซิลไปครองอย่างสมบูรณ์แบบหลังจากที่มีแนวโน้มว่าสามารถจะทำได้ เราอาจตอบคำถามได้หลายประเด็น แต่ข้าพเจ้าอยากจะให้ลองพิจารณาดังต่อไปนี้คือ ความผิดพลาดของโปรตุเกสเกิดจากการถลำตัวเป็นเจ้าอาณานิคมอย่างลึกซึ้ง และยิ่งไปกว่านั้น ตามหลักการแล้วโปรตุเกสไม่อาจจะถอนตัวออกมาอย่างง่าย ๆ ได้ หลังจากการปราชัยทางเรือหรือทางทหารในแต่ละครั้ง
ชาวดัทช์ต่างก็สำนึกในข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างดี ดังจะเห็นจากบันทึกของนักสังเกตการณ์ร่วมสมัยหลายคน เช่น แอนโตนิโอ ฟอน เดเมน ข้าหลวงใหญ่ดัทช์แห่งปัตตาเวียและนายสิบโทโยฮัน ซาร์ ( ) แห่งศรีลังกา เป็นต้น
ชาวโปรตุเกสในอินเดีย (เอเชีย) ส่วนใหญ่ต่างก็มีความรู้สึกว่า อินเดียเปรียบเสมือนปิตุภูมิของตน และมิได้รำลึกถึงโปรตุเกสซึ่งเป็นมาตุภูมิของตนอีกเลย ชาวโปรตุเกสบางคนประกอบการค้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ในอินเดีย บางคนก็พอใจในการติดต่อค้าขายกับเมืองท่าต่าง ๆ ของเอเชีย ราวกับเป็นชาวเอเชียไปเสียแล้ว และไม่มีดินแดนอื่นที่จะต้องคำนึงถึงอีกต่อไป
หลังจากการต่อสู้กับทหารโปรตุเกสในศรีลังกาผ่านพ้นไปได้ 20 ปี นายสิบ โทซาร์ได้บันทึกเกี่ยวกับพวกเขาว่า
ดินแดนแห่งใดก็ตามที่ชาวโปรตุเกสเดินทางไปถึง พวกเขาจะตั้งถิ่นฐานเพื่อใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในดินแดนแห่งนั้นต่อไป พวกเขาไม่เคยนึกถึงการเดินทางกลับไปยังโปรตุเกสอีกเลย แต่สำหรับชาวฮอลันเดอร์นั้น เมื่อได้เดินทางมาถึงเอเชียแล้ว พวกเขาจะรำลึกอยู่เสมอว่า “หากช่วงเวลา 6 ปีแห่งการทำงานในเอเชียของข้าพเจ้าสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อนั้นข้าพเจ้าจะเดินทางกลับยุโรปอีกครั้ง”
การบรรยายของซาร์มีหลักฐานยืนยันอย่างน่าเชื่อถือ กล่าวคือเมื่อดัทช์ยึดครองโคลอมโบ
( )โคชิน( ) และอาณานิคมแห่งอื่นของโปรตุเกสได้แล้ว ชาวดัทช์ได้ทำการรื้อถอนบ้านเรือนกำแพง และป้อมค่ายจำนวนมากของชาวโปรตุเกส โดยเต็มใจจะอาศัยอยู่ในพื้นที่เพียงเศษหนึ่งส่วนสามของบริเวณที่ห้อมล้อมไปด้วยถิ่นฐานของผู้ที่อาศัยอยู่มาแต่เดิม จึงอาจจะกล่าวโดยอนุโลมได้ว่าปรากฏการณ์ที่อุบัติขึ้นในเอเชีย มีสภาพคล้ายกับการยึดครองดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล กับการยึดครองดินแดนตลอดแนวชายฝั่งทะเลของอังโกลาและเบงกูเอลลา ( ) มาไว้ใต้อำนาจของดัทช์ชั่วคราว เคานท์ โจฮัน มอริตส์ ( ) ข้าหลวงใหญ่ผู้สร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองให้แก่เนเธอร์แลนด์แห่งบราซิล และยังคงได้รับความนับถือจากชาวบราซิลอยู่ เป็นผู้หนึ่งที่ไม่เคยหยุดการย้ำเตือนให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงกว่าตนในกรุงเฮกและกรุงแอมสเตอร์ดัมส์ได้ทราบว่า หากไม่ส่งชาวดัทช์ ชาวสแกนดิเนเวียและชาวเยอรมันจำนวนมาก ๆ เข้าไปขับไล่ หรือปะปนกับบรรดาผู้ตั้งถิ่นฐานชาวโปรตุเกสแล้ว ในภายหลังพลเมืองของเนเธอร์แลนด์แห่งบราซิลจะยังคงมีความรู้สึกนึกคิดเป็นโปรตุเกสอยู่ต่อไป และอาจจะกระด้างกระเดื่องต่อการปกครองของดัทช์ได้ทุกขณะ เมื่อโอกาสมาถึง
สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้อิทธิพลของโปรตุเกสยั่งยืนยาวนานกว่า ในดินแดนแถบชายฝั่งทะเลของอาฟริกาและเอเชีย คือการรับเอาภาษาโปรตุเกสไปใช้อย่างลึกซึ้งและกว้างขวางจนกลายเป็นภาษาลูกผสม ( ) ที่ใช้ในวงการค้าแถบดังกล่าว ก่อนที่ชาวดัทช์จะเดินทางเข้ามา สำหรับในช่วง 24 ปี แห่งการยึดครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลนั้น ชาวโปรตุเกสต่างก็ดึงดันและปฏิเสธที่จะเรียนรู้ภาษาดัทช์ และเชื่อกันว่ามีภาษาดัทช์เพียงสองคำเท่านั้นที่ตกค้างอยู่ในภาษาที่นิยมพูดกันมากในเปอร์นัมบูโก แม้ว่านิโกรในอังโกลาและคองโกจะถือหางฝ่ายดัทช์มาโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนถึงช่วง 7 ปีสุดท้ายแห่งการปกครองของดัทช์ และแม้ว่าดัทช์จะปฏิบัติต่อชาวพื้นเมืองในอังโกลาและคองโกดีกว่าเมื่อครั้งโปรตุเกสปกครองดินแดนดังกล่าว แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า จนกระทั่งบัดนี้ชาวนิโกรก็ยังไม่มีความตั้งใจจะเรียนรู้ภาษาดัทช์ซึ่งเป็นภาษาของผู้เป็นพันธมิตรกับตน และยังคงพูดภาษาโปรตุเกสอีกต่อไป ในค.ศ. 1642 ผู้อำนวยการดัทช์แห่งลวนดา ( ) ผู้หนึ่งได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า หากชาวเนเธอร์แลนเดอร์ ( ) ต้องการสร้างความมั่นคงในการปกครองคองโกและอังโกลาแล้ว พวกเขาควรจะชักชวนให้ชาวบันตูเรียนรู้ภาษาดัทช์ เหมือนอย่างที่ชาวโปรตุเกสได้ริเริ่มให้ชาวพื้นเมืองเรียนรู้ภาษาของตนในคริสต์วรรษที่ 16 ข้อเสนอแนะของเขาไม่ได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่ระดับสูง ซึ่งสนใจในการขยายการค้ามากกว่าการเผยแพร่ภาษาหรือวัฒนธรรมของดัทช์ให้แก่ชาวพื้นเมือง และในที่สุดการนำนโยบายดังกล่าวไปใช้ในอังโกลาและคองโกก็สายเกินไปสำหรับชาวฮอลันเดอร์ส อย่างไรก็ตามสำหรับในบราซิลชาวฮอลันเดอร์สประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยสามารถนำนโยบายการการครอบงำทางภาษาและวัฒนธรรม ไปใช้กับมนุษย์กินคนเผ่าทาปูยา ( ) พันธมิตรของตนอย่างได้ผลดังที่บาทหลวงอันโตนิโย วิเยอิรา ( ) ได้ไปพบเห็นมาขณะที่เดินทางไปเยือนชาวอเมรินเดียนแห่งเซียรา เดอ อิเบียปาบา ( ) เมื่อ ค.ศ. 1656 แต่ความสำเร็จดังกล่าวไม่สมดุลกับความล้มเหลวของดัทช์ ซึ่งพยายามจะบังคับให้ชาวลูโซ-บราซิลเลียนแห่งโมราโดเรส ( ) ใช้ภาษาดัทช์
ในทวีปเอเชีย ภาษาโปรตุเกสหรือภาษาเครโอล ( )
ซึ่งกลายมาจากภาษาโปรตุเกสนั้น สามารถต้านทานต่อแรงกดดันจากเจ้าหน้าที่ของดัทช์และการออกกฎหมายของดัทช์ได้สำเร็จอย่างน่าประหลาดใจ ราชาสิงหะที่ 2 ( )
ผู้ทรงร่วมมือกับชาวฮอลันเดอร์สในการต่อต้านชาวโปรตุเกส แต่ทรงปฏิเสธที่จะยอมรับหลักเกณฑ์ทางภาษาดัทช์ หรือเขียนหนังสือราชการโดยใช้ภาษาดัทช์ และยืนกรานจะใช้ภาษาโปรตุเกสซึ่งเป็นภาษาที่พระองค์ทรงตรัสและนิพนธ์ได้อย่างคล่องแคล่วอีกต่อไป ในทำนองเดียวกัน ขณะนั้นบรรดาผู้สำเร็จราชการชาวมุสลิมแห่งมากัสซาร์ ( ) ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ต่างก็พูดภาษาโปรตุเกสอย่างคล่องแคล่ว หนึ่งในจำนวนนั้นเคยอ่านต้นฉบับหนังสือทุกเล่มของเฟรย์ หลุยส์ เดอ เกรนาดา โอ.พี. ( ) นักเทศน์ชาวสเปนสำหรับในมะละกา ศรีลังกา มะละบาร์และดินแดนอื่น ๆ นั้น ยังปรากฏร่องรอยของภาษาโปรตุเกสซึ่งมีโครงสร้างทางภาษาง่าย ๆ ไม่สละสลวย คล้ายกับที่ใช้พูดกันในแถบชนบทของโปรตุเกส หลงเหลืออยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และบางแห่งตกค้างมาจนถึงปัจจุบันเลยทีเดียว ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1645 เกอร์ริต เดมเมอร์ ( ) ข้าหลวงแห่งโมลุกกะได้ตั้งข้อสังเกตว่าภาษาอังกฤษและภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาที่ค่อนข้างง่ายต่อการเรียนรู้ของชาวแอมโบเนส ( ) และเป็นภาษาที่น่าสนใจมากกว่าภาษาดัทช์
ตัวอย่างที่สำคัญที่สุดคือชัยชนะทางภาษาของกามูส์1. ( หมายถึงภาษาโปรตุเกส : ผู้แปล) ซึ่งมีเหนือภาษาของโฟนเดล2. (หมายถึงภาษาดัทช์ : ผู้แปล) ในเมืองปัตตาเวีย “ราชินีแห่งน่านน้ำบูรพา ” ของดัทช์ นอกจากเชลยศึกและนกเดินทางจากกองเรือในบางโอกาสแล้ว โปรตุเกสไม่เคยตั้งถิ่นฐานอยู่ในปัตตาเวียเลย แต่ปรากฏว่าภาษาเครโอลของโปรตุเกสกลับเป็นภาษาพูดของเหล่าทาสและคนรับใช้ในบ้าน ที่ถูกส่งไปจากดินแดนแถบอ่าว เบงกอล เป็นภาษาพูดของชาวดัทช์และหญิงเลือดผสมที่เกิดและเจริญเติบโตในปัตตาเวียและบางครั้งภาษาเครโอลก็เป็นภาษาพูดของชาวโปรตุเกสเองด้วย ใน ค.ศ. 1659 แมตซุกเกอร์ ( ) ข้าหลวงใหญ่และสภาที่ปรึกษา ได้พยายามชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงในเนเธอร์แลนด์ได้ทราบถึง ความสูญเปล่าของมาตรการรุนแรงต่อการใช้ภาษาโปรตุเกส โดยแมตซุกเกอร์และคณะได้เสนอว่า :
ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาที่ง่ายต่อการพูดและการเรียนรู้ จึงเป็นสาเหตุที่เราไม่สามารถจะป้องกันมิให้ทาสที่นำมาจากอาการกัน ( ) ซึ่งไม่เคยได้ยินภาษาโปรตุเกสมาก่อนแม้แต่คำเดียว (และแม้แต่ลูกหลานของเรา) พูดภาษาโปรตุเกส และนำเอาภาษาโปรตุเกสไปใช้เป็นภาษาของตน แทนที่จะใช้ภาษาอื่น ๆ3.
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากเย็นประการใดที่จำนวนของผู้ซึ่งใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาพูดได้ทวีปเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ในสังคมอาณานิคมโปรตุเกส บทบาทของสตรีเป็นสิ่งที่ได้รับการคำนึงถึง มากกว่าที่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ และหากจะกล่าวไปแล้ว ประวัติศาสตร์แทบจะไม่สนใจบทบาทของสตรีเลยก็ว่าได้ ยกเว้นกรณีของพระราชินีและเจ้าหญิงบางคน อย่างไรก็ตามสำหรับในสถานการณ์ที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้นั้น มีสตรีจำนวนไม่มากนักที่ร่วมเดินทางไปเอเชียกับสามีหรือผู้นำครอบครัว แต่ละปีหนึ่ง ๆ ที่แล่นไปสู่อินเดีย จะมีผู้ชายชาวโปรตุเกสเดินทางไปยังเมืองกัว ประมาณ 3,000 – 4,000 คน ในจำนวนนี้มีผู้หญิงโปรตุเกสไม่เกิน 20 – 30 คน และบ่อยครั้งทีเดียวที่ไม่มีผู้หญิงโปรตุเกสร่วมทางไปด้วย ผู้หญิงโปรตุเกสซึ่งเดินทางไปยังอาณานิคมของโปรตุเกสในอาฟริกา ไม่ว่าดินแดนชายฝั่งอาฟริกาตะวันตกหรืออาฟริกาตะวันออก มีจำนวนน้อยกว่าผู้หญิงที่เดินทางไปยังเอเชีย เนื่องจากเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า อาฟริกาเป็นดินแดนซึ่งชาวยุโรปอยู่ได้ไม่นานเท่าใดก็มักจะต้องล้มตายลงเป็นจำนวนมาก
กษัตริย์โปรตุเกสทรงมีความแตกต่างจากกษัตริย์สเปนอย่างเด่นชัด พระองค์ทรงสนับสนุนให้ผู้หญิงโปรตุเกสออกเดินทางไปยังอาณานิคมของโปรตุเกสในเอเชียและอาฟริกา โดยมีข้อยกเว้นคือ ผู้หญิงเหล่านี้ จะต้องไปในฐานะของ “หญิงกำพร้าแห่งกษัตริย์โปรตุเกส ”
ผู้หญิงเหล่านี้เป็นผู้ซึ่งอยู่ในวัยที่สมควรจะครองเรือนได้แล้ว พวกเธอจะถูกส่งไปกรุงลิสบอนเป็นกลุ่ม ๆ มีพระราชทรัพย์ของกษัตริย์โปรตุเกสเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หญิงสาวทุกคนจะนำสินสมรสเดิมหลายอย่างติดตัวไปด้วยตามนโยบายของรัฐบาลโปรตุเกส เพื่อมอบให้แก่ชายหนุ่มที่มีความประสงค์จะแต่งงานกับหญิงสาวคนใดคนหนึ่ง หญิงสาวลูกกำพร้าแห่งกษัตริย์โปรตุเกสมีจำนวนไม่มากนัก มีเรื่องเล่ากันว่าหากพวกเธอไม่ตายตั้งแต่ยังเป็นเด็กก็เสียชีวิตไปตั้งแต่แรกเกิด หญิงสาวบางคนมีคุณสมบัติกุลสตรีเพียบพร้อมแต่ก็มีอายุมากเกินไป หรือหน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่เกินกว่าจะหาสามีได้ ข้าพเจ้าขอเพิ่มเติมรายละเอียดว่า หากหญิงกำพร้าแห่งกษัตริย์โปรตุเกสเดินทางไปถึงเมืองกัวโดยสวัสดิภาพแล้ว พวกเธอไม่จำเป็นจะต้องแต่งงานกับชาวโปรตุเกสก็ได้ หญิงสาวบางคนถูกยกให้แต่งงานกับผู้ลี้ภัยหรือเจ้าชายชาวเอเชียนผู้ร่ำรวย เช่น กษัตริย์พลัดถิ่นแห่งมัลดีฟส์ ( ) , เจ้าชายผู้ทรงพระเยาว์แห่งมอมบาชา ( ) , เจ้าชายอาหรับผู้ลี้ภัยจากเพ็มบา( ) และบุคคลอื่น ๆ อีกจำนวนมาก กษัตริย์โปรตุเกสทรงมีนโยบายอย่างชัดเจนว่า ต้องการให้บรรดาสามีหญิงกำพร้าเหล่านี้มีความจงรักภักดีต่อพระองค์ด้วย แต่ “หญิงกำพร้าแห่งกษัตริย์โปรตุเกส ” มีจำนวนน้อยเกินกว่าจะทำให้ประชากรในอาณานิคมของโปรตุเกสแถบอาฟริกาและเอเชียเพิ่มขึ้นมากอย่างเด่นชัดได้ ในขณะที่ผู้ชายชาวโปรตุเกสส่วนใหญ่ มักจะแต่งงานกับหญิงสาวชาวเอเชียหรือยูเรเชียนตั้งแต่หนึ่งครั้งหรือมากกว่าหนึ่งครั้งขึ้นไป อย่างไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้
กษัตริย์โปรตุเกสทรงมีนโยบายสนับสนุนให้ชาวโปรตุเกสแต่งงานกับชายพื้นเมือง นโยบายดังกล่าวนี้ อัฟฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์ก ( ) ได้นำไปใช้ที่เมืองกัวเมื่อ ค.ศ. 1510 หลังจากที่เขายึดครองเมืองกัวได้ อย่างไรก็ตามนโยบายการสนับสนุนให้ชาวโปรตุเกสแต่งงานกับชนพื้นเมืองนั้น ใช่ว่าจะได้รับการส่งเสริมอย่างสม่ำเสมอเท่าใดนัก อัลบูเคอร์กชี้ว่า ผู้ชายที่แต่งงานมีเหย้าเรือนไปแล้ว จะสร้างสรรค์อาณานิคมได้ดีกว่าหนุ่มโสดเจ้าสำราญ ซึ่งพอใจแต่การใช้ชีวิตอยู่กับบรรดาชู้รักของตนเท่านั้น อัลบูเคอร์รายงานว่า เมื่อเห็นชาวโปรตุเกสและบาทหลวงคณะเจซูอิตในอาณานิคมโปรตุเกสที่บราซิลต่างก็มีสำนึกเช่นเดียวกับชาวโปรตุเกสในอินเดีย บุคคลผู้หนึ่งซึ่งมีชีวิตอยู่ในขณะนั้นได้บันทึกไว้ว่า ผู้ชายชาวโปรตุเกสที่แต่งงานแล้วเพียงคนเดียวมีค่าเท่ากับหนุ่มโสดถึงยี่สิบคนเพราะหนุ่มโสดมักจะคิดถึงแต่การเดินทางผจญภัยต่อไปเรื่อย ๆ หรือมักจะคิดถึงแต่การกลับไปสู่มาตุภูมิอีกครั้งเท่านั้น ในขณะที่ผู้ชายที่มีครอบครัวแล้วจะต้องขวนขวายมองหาลู่ทางในการทำเกษตรกรรมหรือการสร้างเคหะสถาน อย่างไรก็ตาม การชักชวนให้หนุ่มโสดชาวโปรตุเกสในเอเชีย อาฟริกาและบราซิล รีบแต่งงานมีครอบครัวเร็ว ๆ ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายดายเลยชายหนุ่มโปรตุเกสส่วนใหญ่มักพอใจจะอยู่กินกับหญิงสาวผิวสีจำนวนมาก เท่าที่พวกเขาจะมีปัญญาหาได้ โดยไม่ต้องแต่งงานกับพวกเธอคนใดคนหนึ่ง และหนุ่มโสดประเภทนี้มีอยู่เป็นจำนวนมากในอาณานิคมของโปรตุเกส สิ่งที่เป็นแรงผลักดันให้ชาวโปรตุเกสเกิดความกระตือรือร้นหรือความอยากได้ใคร่มีในระดับที่แตกต่างกันออกไป คือการใช้แรงงานทาสอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้การทวีจำนวนของโสเภณีทาสได้ถูกประณามจากบาทหลวงที่มีตำแหน่งสูงโดยปราศจากการตอบสนองอย่างสิ้นเชิงจากสังคม สาเหตุสำคัญที่ทำให้โสเภณีทาสมีจำนวนเพิ่มขึ้นคือ การตายของผู้ชายชาวผิวขาวมีอัตราสูงกว่าการตายของหญิงผิวสี ดังนั้นผู้ตั้งถิ่นฐานชาวโปรตุเกสจึงต้องมีภาระในการรับผิดชอบต่อหญิงหม้ายและเด็กกำพร้าจำนวนมากซึ่งจมอยู่กับความตกต่ำหม่นหมองใจ1.
ด้วยเหตุนี้ กฎเกณฑ์ทุกอย่างจึงมีข้อยกเว้นระหว่างหญิงผิวขาวและหญิงเลือดผสมซึ่งกลายเป็นเจ้าของที่ดินหรือ เจ้าของทาสที่ร่ำรวย หรือเป็นทั้งเจ้าของที่ดินและเจ้าของทาสไปพร้อม ๆ กัน หญิงเหล่านี้จะถูกยกขึ้นเป็น “ ” หรือหญิงผู้ได้รับมรดกแห่งลุ่มแม่น้ำแซมเบเซีย หรือ “ ” (เลดี้แห่งอีโบ ) แห่งหมู่เกาะเควอริมบา ( ) มรกดที่ได้รับประกอบด้วยการค้าทองคำ งาช้างและทาสในอาฟริกาตะวันออก อย่างไรก็ตามโดยหลักการแล้วเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า
“ หญิงผู้สืบทอดมรดก” ส่วนใหญ่เป็นชาวมูแลตา ( ) และบุตรของพวกเธอมักจะมีผิวสีเหมือนผู้เป็นมารดาระบบการสืบทอดมรดกดังกล่าวถูกตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่จากหลักฐานบัญชีของบาทหลวงคณะเจซูอิตชาวโปรตุเกสแห่งแซมเบเซียเมื่อ ค.ศ. 1667 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าขณะนั้นระบบการสืบทอดมรดกถูกริเริ่มขึ้นมาแล้ว2.
การแต่งงานกับชาวต่างชาติ ทำให้บุตรของชาวโปรตุเกสที่เกิดจากการอยู่กินโดยมิได้สมรส อาจเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ถูกต้องก็ได้ แต่ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวโปรตุเกส ล้วนมีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์โปรตุเกสและศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกและแม้ว่าโปรตุเกสจะถูกขับออกไปแล้ว แต่เชื้อสายของชาวโปรตุเกสที่ยังคงอาศัยอยู่ในดินแดนต่าง ๆ ก็ยังมีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์โปรตุเกสและศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกอย่างมั่นคงสืบมาเป็นเวลานาน บุคคลเหล่านี้รวมไปถึงหญิงเลือดผสมหรือหญิงพื้นเมืองชาวเอเชีย ชาวอาฟริกันและชายอเมรินเดียน ซึ่งโปรตุเกสได้เข้าไปปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และเปลี่ยนแปลงแบบแผนประเพณีต่าง ๆ ของพวกเขา อาทิ การดูแลบ้านเรือน การทำอาหารการแต่งกายและโภชนาการ ภายใต้การปกครองของดัทช์นั้น หญิงยูเรเซียน หญิงเลือดผสมหรือแม้แต่นางทาสในมะละกา ปัตตาเวียและศรีลังกา ต่างก็ใช้ภาษาโปรตุเกสในชีวิตประจำวัน
หญิงชาวโปรตุเกสได้ชื่อว่ามีนิสัยรักความสันโดษที่สุดในยุโรป นักเขียนชาวโปรตุเกสแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้บันทึกด้วยความชื่นชมว่า หญิงพรหมจรรย์ชาวโปรตุเกสจะออกจากบ้านเพียงสามกรณีเท่านั้นคือ ออกจากบ้านเพื่อเข้าพิธีตั้งชื่อ ( ) ของตน เพื่อการแต่งงาน ( ) และในงานศพของตน ( ) เมื่อตายแล้วนั่นเอง ค่านิยมดังกล่าวของผู้หญิงชาวโปรตุเกสมีลักษณะคล้ายกับคติของผู้หญิงญี่ปุ่น นั่นคือผู้หญิงมีนายเหนื่อหัวอยาสามคน ที่มีอิทธิพลเหนือการดำเนินชีวิต ขณะเป็นเด็กผู้หญิงมีบิดาเป็นนาย เมื่อแต่งงานมีสามีเป็นนาย และเมื่อตกพุ่มหม้ายผู้หญิงก็ได้บุตรชายมาเป็นนาย นิสัยรักสันโดดของผู้หญิงชาวโปรตุเกสจะถูกถ่ายทอดมาจากผู้ปกครองชาวมัวร์หรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่มีส่วนทำให้หญิงสาวชาวโปรตุเกสและผู้หญิงส่วนใหญ่ในตะวันออก เคยชินต่อการใช้ชีวิตอย่างสันโดษ คือฮาเร็ม ( สถานที่ซึ่งอนุภรรยาหรือนางบำเรอของขุนนางชาวมัวร์อาศัยอยู่ : ผู้แปล) กับเซนานา ( บริเวณส่วนหนึ่งของบ้านซึ่งสตรีวรรณะสูงของชาวอินเดียอาศัยอยู่โดยไม่ปะปนกับผู้อื่นชาวดัทช์ได้แสดงความรู้สึกต่อค่านิยมดังกล่าวด้วยความขบขัน และได้แสดงความรังเกียจต่อค่านิยมนี้ระหว่างการยึดครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล แต่ในทางตรงกันข้ามความมีอิสระซึ่งชาวดัทช์มอบให้แก่บุตรสาวและภรรยาของตนในขณะนั้น เป็นสิ่งที่ผู้ชายชาวลูโซบราซิลเลียนตำหนิติเตียน บาทหลวงมานูเอล กาลาโด ( ) ซึ่งเคยใช้ชีวิตอยู่ในเปอร์นัมบูโก ได้บันทึกไว้ในหนังสือชื่อ “ ” ว่าระหว่างปี ค.ศ. 1630 – 1647 ไม่มีชายหนุ่มโปรตุเกสคนใดแต่งงานกับหญิงสาวชาวดัทช์หรือมีแต่เป็นชู้รักกับหญิงสาวชาวดัทช์เลย ในขณะที่หนุ่มดัทช์จำนวนมากกลับแต่งงานกับหญิงสาวชาวลูโซบราซิลเลียน และต่อมาภายหลังชาวดัทช์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะยอมรับนับถือประเทศและศาสนาของทางฝ่ายภรรยาไปด้วย ในทำนองเดียวกัน การแต่งงานแบบผสมผสานที่มีขึ้นในตะวันออก ทำให้รัฐบาลดัทช์จับตาดูด้วยความไม่ไว้วางใจ เนื่องจากบรรดาลูก ๆ และสามีชาวดัทช์ของหญิงสาวชาวลูโซ – บราซิลเลียนเหล่านั้น จะต้องพลอยนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกไปด้วย โจฮัน แมตซุกเกอร์ ( ) ข้าหลวงใหญ่แห่งปัตตาเวีย ระหว่าง ค.ศ. 1653 – 1678) ผู้ซึ่งสังเกตเห็นอันตรายในรูปแบบดังกล่าว และเป็นผู้ที่ให้ความสนใจต่อปัญหาแนวโน้มของผู้ชายดัทช์ในการแต่งงานกับหญิงโปรตุเกส แมตซูกเกอร์เป็นผู้ที่ชื่นชมในความรักสันโดษของผู้หญิงโปรตุเกส เขาได้เสนอให้ชาวดัทช์ยึดถือความสันโดษเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต เขาแนะนำว่า ผู้หญิงชาวยูเรเซียนทั้งหมดที่แต่งงานกับชาวดัทช์ควรจะเก็บตัวอยู่แต่ภายในบ้านของตน โดยที่เขาเองก็มิได้อธิบายว่า เหตุใดจึงต้องปฏิบัติเช่นนั้น1.
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้อิทธิพลของโปรตุเกสมีความสืบเนื่องในเวลาต่อมา แม้แต่ในดินแดนต่าง ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของดัทช์นานหลายศตวรรษ สิ่งนั้นคือองค์ประกอบทางศาสนา แม้บางครั้งการเผยแพร่ศาสนาของโปรตุเกสจะใช้วิธีการขู่เข็ญบังคับ มากกว่าการโฆษณาชวนเชื่ออย่างสันติ และแม้ว่าโปรตุเกสจะไม่ประสบความสำเร็จในการเผยแพร่ศาสนา เนื่องจากอิทธิพลของศาสนาอิสลาม และโปรตุเกสสร้างความประทับใจได้เพียงเล็กน้อยในการติดต่อกับอินเดียและจีน แต่เมื่อโปรตุเกสได้ปลูกฝังศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกลงไปแล้วความเชื่อทางศาสนาดังกล่าวมักจะหยั่งรากลงไปได้อย่างล้ำลึกเสมอ อิทธิพลของโปรตุเกสในอาณานิคมของดัทช์แถบเอเชียซึ่งเคยเป็นของโปรตุเกสมาก่อน ทำให้ดัทช์ต้องใช้ความพยายามในการกำจัดให้หมดไปจากอาณานิคมของดัทช์ในเอเชีย แต่ความพยายามดังกล่าวก็ไม่ใคร่จะได้ผลนักยกเว้นที่แอมบัวนา ( ) เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ความพยายามในการกำจัดอิทธิพลของโปรตุเกสในเอเชียถูกผลักดันออกมาดำเนินการเป็นครั้งคราวคิดเป็นเวลาร่วม 150 ปี แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น พวกคาลวินิสต์กลุ่มพริดิแคนต์ ( ) แต่ในช่วงนั้น หากคาลวินิสต์กลุ่มพริดิแคนต์ ( ) ไม่เคยได้รับความสำเร็จในการเผยแพร่ศาสนาในระดับที่เท่าเทียมกับการเผยแพร่ศาสนาของบาทหลวงนิกายโรมันคาธอลิกเลย เมื่อใดก็ตามที่ชุมชนของชาวยูเรเซียนในปัตตาเวีย มะละกาโคโรมันเดล ( ) ศรีลังกาและมะละบาร์มีโอกาส พวกเขาก็มักจะเสี่ยงอันตรายด้วยการออกไปให้พ้นจากสายตาของนักเทศน์แห่งนิกายโปรเตสแตนท์ ( ) เพื่อประกอบพิธีมิสซา ( ) หรือนำเด็กเขาพิธีรับศีลล้างบาป ( ) หรือประกอบพิธีรับศีลสมรส ( ) โดยมีบาทหลวงแห่งนิกายโรมันคาธอลิกที่ปลอมตัว จาริกเข้าไปเป็นผู้ประกอบพิธีให้1. พวกคาลวินิสต์ซึ่งแปลงศาสนามาจากนิกายโรมันคาธอลิกโดยการกระทำของดัทช์ แทบจะไม่ทิ้งร่องรอยทางวัฒนธรรมให้หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันเลย ในขณะที่ชุมชนคาธอลิกซึ่งก่อตัวขึ้นจากการปลูกฝังของโปรตุเกส ยังคงปรากฏร่องรอยให้เห็นอย่างชัดเจนในดินแดนหลายแห่ง
ข้าพเจ้าได้กล่าวไปในตอนต้นแล้วว่า จักรวรรดิอาณานิคมโปรตุเกส ( ) เป็นองค์การทางเศรษฐกิจและองค์การที่ตั้งอยู่บนดินแดนริมทะเล ( ) ซึ่งก่อตัวขึ้นจาก พื้นฐานทางการทหารและทางด้านศาสนา โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวพันกันเป็นลูกโซ่อย่างไม่จบสิ้นและบ่อยครั้งทีเดียวที่องค์ประกอบเหล่านี้มีความขัดแย้งกัน เช่น ไม้กางเขนกับดาบ พระเจ้ากับทรัพย์ศฤงคาร และการเผยแพร่ศาสนากับเครื่องเทศ (ที่บราซิลคือการเผยแพร่ศาสนากับน้ำตาล) ดิ โอโก โด กูโต ( ) นายทหารนักบันทึกจดหมายเหตุชาวโปรตุเกสผู้เคยใช้ชีวิตในอินเดีย ได้กล่าวถึงปรากฏการณ์ข้างต้นเมื่อ ค.ศ. 1612 ว่า :
เหนือดินแดนอาณานิคมของโปรตุเกสในย่านตะวันออก กษัตริย์โปรตุเกสมักใช้ความพยายาม ในการรวมอำนาจทางศาสนจักรและอำนาจทางอาณาจักรเข้าด้วยกันเสมอและในทางปฏิบัตินั้น อำนาจทั้งสองขั้วไม่เคยถูกแยกออกจากกันเลย
นโยบายในการรวมอำนาจทางศาสนาจักรและอาณาจักร ( ) แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดในทางปฏิบัติ เช่น กษัตริย์โปรตุเกสทรงให้ความอุปถัมภ์แก่ศาสนจักร ( หรือ ) อย่างยาวนานและรุนแรง ในการต่อสู้กับพวกมุสลิม พวกนอกศาสนา ( ) และพวก อนารยชน ( ) อื่น ๆ รวมทั้งทรงสนับสนุนการต่อสู้กับมิสชันนารีของนิกายโรมันคาธอลิกชาติอื่นที่เป็นศัตรูกับโปรตุเกสด้วย
ความอุปภัมภ์ทางศาสนา ในการก่อตั้งมิสซังคาธอลิกและศาลทางศาสนา ( ) ของโปรตุเกสในดินแดนส่วนใหญ่ของอาฟริกา เอเชียและบราซิลนั้น ถูกกำหนดให้รวมอยู่ภายใต้สิทธิและอำนาจของกษัตริย์โปรตุเกสที่ทรงปฏิบัติสืบทอดกันมา ในความเป็นจริงแล้วการให้ความอุปถัมภ์ทางศาสนาในดินแดนที่ไม่ใช่ยุโรปโดยกษัตริย์โปรตุเกส จะมีขึ้นเมื่อได้รับสิทธิพิเศษจากพระสันตปาปาแล้วเท่านั้น เช่นเดียวกับการให้ความอุปถัมภ์ทางศาสนาของกษัตริย์แห่งสเปน ( ) ในดินแดนแถบสแปนิชอเมริกา ( ) และฟิลิปปินส์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ( ) นั้น ปัญหาทางการเมือง การต่อตัวของนิกายโปรตุเสตแตนท์และปัญหาอิตาลีถูกเตอรกีรุกราน ทำให้พระสันตปาปาไมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ศาสนา ในดินแดนที่โปรตุเกสกับสเปนเป็นผู้ค้นพบ พระสันตปาปาจึงมิได้ทรงตระหนักถึงภยันตรายอันเกิดขึ้นจากการอนุญาตให้กษัตริย์โปรตุเกสและกษัตริย์สเปน ( ) ดำเนินการอุดหนุนทุนทรัพย์ในการตั้งโรงสวด ( ) ทะนุบำรุงการปกครองคณะสงฆ์ และส่งบาทหลวงไปเผยแพร่ศาสนาแก่อนารยชนได้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่พระสันตปาปาจะทรงได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มขึ้น ในการแต่งตั้งบิชอป ไปแทนตำแหน่งที่ว่างในแขวงการปกครอง ( ) ของบิชอปทุกแห่ง รวมทั้งการที่พระสันตปาปาจะทรงได้รับสิทธิพิเศษในการเก็บอากรแบบหนึ่งซักสิบ ( ) และสามารถดำเนินการจัดเก็บภาษีศาสนา ( ) ได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย สำหรับในกรณีของโปรตุเกสนั้น กษัตริย์โปรตุเกสทรงได้รับสิทธิพิเศษทางศาสนาดังกล่าวข้างต้นในฐานะผู้บริหาร ผู้ปกครองและประมุขแห่งคริสจักร ( ) ของโปรตุเกส มิใช่ทรงได้รับในฐานะของกษัตริย์โปรตุเกส ลักษณะที่กษัตริย์โปรตุเกสทรงเป็นประมุขแห่งศาสนจักรโปรตุเกสเช่นนี้ เป็นคณะสงฆ์แบบลัทธิทหาร ( ) ซึ่งกษัตริย์ดอม ดินิส ( ) ทรงก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1319 แทนคณะสงฆ์แห่งเทมปลารส์ ( ) ที่ถูกกำจัดไปก่อนหน้านั้นไม่นานนัก ต่อมาใน ค.ศ. 1551 เมื่อกษัตริย์โปรตุเกสทรงรวมคณะสงฆ์แบบลัทธิทหารไว้ภายใต้อำนาจแล้ว กษัตริย์โปรตุเกสทรงมอบอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดของมิสซังคาธอลิกในอาณานิคมทุกแห่ง ให้แก่พระสันตปาปาแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 161.
เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในคริสต์วรรษที่ 17 เปลี่ยนแปลงไป พระสันตปาปาทรงพบว่า สิทธิพิเศษอันไร้ขอบเขตซึ่งกษัตริย์โปรตุเกสและกษัตริย์สเปนทรงได้รับจากพระสันตปาปาเมื่อสองร้อยปีที่แล้วนั้น ได้บานปลายออกไปเป็นสิทธิในการอุปภัมภ์ศาสนาของกษัตริย์ ที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากและก่อให้เกิดการบ่อนทำลายอำนาจของพระสันตปาปาเป็นอย่างยิ่ง พระสันตปาปาแทบจะไม่มีอำนาจเหมือนอาณานิคมของสเปนในอเมริกาเลย และสิทธิของกษัตริย์สเปนในการอุปถัมภ์ศาสนายังคงอยู่อย่างสมบูรณ์ จนกระทั่งอาณานิคมของสเปนในอเมริกาประกาศเอกราชในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่สำหรับโปรตุเกสนั้น เมื่อถูกดัทช์และอังกฤษทำลายอำนาจที่มีอยู่เหนือน่านน้ำในแถบเอเชียและอาฟริกาได้สำเร็จ ก็มีสถานภาพทางการเมืองอ่อนแอกว่าสเปนมาก พระสันตปาปาจึงสามารถลดเงื่อนไขและยกเลิกสิทธิพิเศษในการอุปถัมภ์ศาสนาของกษัตริย์โปรตุเกสในเอเชียและอาฟริกาได้ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 17 – 18 การเพิ่มอำนาจของพระสันตะปาปาในระยะแรก ดำเนินการโดยสภาพระราชาคณะแห่งกระทรวงเผยแพร่ศาสนา ( ) ซึ่งตั้งขึ้นที่กรุงโรมเมื่อ ค.ศ. 1622 ระยะต่อมาดำเนินการโดยได้รับความช่วยเหลือจากคณะสงฆ์แห่งฝรั่งเศสและมิสซังคาธอลิกอิตาเลียนแห่งเอเชียและอาฟริกา ส่วนในบราซิลนั้น อำนาจของโปรตุเกสมีความมั่นคงพอ ๆ กับอำนาจของสเปนในละตินอเมริกา ทำให้พระสันตปาปาจำต้องยอมรับสิทธิพิเศษในการอุปภัมภ์ทางศาสนา ( ) ของกษัตริย์โปรตุเกสจนกระทั่งบราซิลได้รับเอกราชไปในที่สุด พระสันตปาปาหลายต่อหลายพระองค์ต่างก็ไม่ทรงพอพระทัยต่อการที่โปรตุเกสได้รับสิทธิพิเศษในการอุปถัมภ์ทางศาสนา แต่กษัตริย์โปรตุเกสก็ได้ต่อสู้อย่างเต็มที่ เพื่อพิทักษ์สิทธิอันชอบธรรมแห่ง ( ) ที่ทรงได้รับสืบทอดมานานกว่าสามร้อยปี การป้องกันสิทธิดังกล่าวของโปรตุเกส ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ขึ้นในอินเดีย อินโดจีน จีนและดินแดนอื่น ๆ อีกหลายแห่ง ซึ่งไม่อาจนำมาอธิบายโดยสังเขปที่นี้ได้ แต่อาจจะกล่าวได้ว่า สิทธิพิเศษของกษัตริย์โปรตุเกสในการอุปถัมภ์ทางศาสนาที่อินเดีย (ในพื้นที่นอกเขตอาณานิคมของโปรตุเกส) เพิ่งจะยกเลิกไปเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง หลังจากถูกกดดันทางการทูตจากรัฐบาลนายเนห์รู ( )1.
คณะเจซูอิต คือสถาบันทางศาสนาที่เป็นหัวหอกในการเผยแพร่ศาสนา และได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์โปรตุเกสเป็นอันดับแรก คณะเจซูอิต ( )ได้ดำเนินการเผยแพร่ศาสนาในอาณานิคมของโปรตุเกสหลังจากการประกาศตั้งคณะเมื่อ ค.ศ. 1540 ได้ไม่นานนัก ต่อมาการดำเนินการดังกล่าวของคณะเจซูอิตได้ถูกยับยั้งลงเมื่อ ค.ศ. 1760 โดยคำสั่งของปอมบาล ( ) ในช่วงเวลาเกือบสองร้อยปี (หลัง ค.ศ. 1540 – 1760 : ผู้แปล) นี้ บาทหลวงคณะเจซูอิตได้ชื่อว่าเป็นแนวหน้าในการเผยแพร่ศาสนาตั้งแต่บราซิลจนถึงญี่ปุ่น ที่มีความเสียสละยิ่งกว่าบาทหลวงคณะอื่น ๆ คณะเจซูอิตได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ให้การศึกษาแก่เยาวชนในอาณานิคมของโปรตุเกสที่ดีที่สุดและสถานศึกษาของคณะเจซูอิตได้กลายเป็นศูนย์สำคัญทางวัฒนธรรม ของดินแดนต่าง ๆ ที่ใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาพูด บาทหลวงคณะเจซูอิตเป็นทั้งครูและผู้เผยแพร่ศาสนาที่มีมาตรฐานทางความรู้ สูงกว่าบาทหลวงคณะเมนดิเกนต์ ( หรือที่เรียกกันว่าคณะโดมินิกัน ) คณะฟรานซิสกัน ( ) คณะออกุสติเนียน ( ) และคณะคาร์เมลิตส์ ( ) ซึ่งล้วนแต่มีมิตรภาพอันดีต่อกันทั้งสิ้น ยิ่งบาทหลวงคณะเจซูอิตเป็นครูที่ดีที่สุด และได้รับความเคารพจากชนชั้นผู้ดีชาวโปรตุเกส ( ) ในแผ่นดินแม่มากที่สุดเพียงใด และยิ่งได้รับเกียรติเป็นผู้ฟังการสารภาพบาปของกษัตริย์โปรตุเกสบ่อยครั้งเท่าใด บารมี อำนาจ และอิทธิพลของบาทหลวงคณะเจซูอิตก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปด้วย “ ผู้สำเร็จราชการเดินทางมาปกครองแล้วก็กลับไป แต่บาทหลวงคณะเจซูอิตยังคงอยู่กับเรา” ความรู้สึกดังกล่าวคือสิ่งที่พลเมืองชาวกัว ( ) แสดงออกมาอย่างลึกซึ้งต่อบาทหลวงคณะเจซูอิต
บาทหลวงคณะเจซูอิตจำเป็นต้องรับจ้างเป็นผู้คำนวณรายรับ – รายจ่ายทางการค้า เพื่อให้การเผยแพร่ศาสนาดำเนินต่อไปได้ เช่นเดียวกับบรรดานักบวช ( )
และบาทหลวง ( ) คณะอื่น ๆ ที่ทำงานอยู่ในอาฟริกาตะวันออก อันเป็นดินแดนซึ่งบาทหลวงคณะต่าง ๆ ได้รับค่าตอบแทนในการดำรงชีพเป็นสินค้าและเครื่องใช้ อาทิผ้าฝ้ายและสิ่งของที่ไม่ใช่เงินตรา นอกจากนี้คณะเจซูอิตยังเป็นเจ้าของที่ดินผืนใหญ่ในดินแดนหลายแห่ง เช่น ไร่น้ำตาลและทุ่งปศุสัตว์ในบราซิลแหล่งเพาะปลูกในอังโกลา และหมู่บ้านสวนปาล์มในอินเดีย ความมั่งคั่งที่คณะเจซูอิตได้รับจากการเป็นเจ้าของที่ดิน และการเป็นเจ้าของผลประโยชน์ในวงการค้าหลาย ๆ แห่งเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้คณะเจซูอิตถูกตำหนิติเตียนอย่างมุ่งร้ายและถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง โดยบางโอกาสและบางสถานที่ก็มีการขุดคุ้ยหามูลฝอยมาสนับสนุนได้อย่างน่าเชื่อถือ ดังเช่น ระหว่าง ค.ศ. 1659 – ค.ศ. 1662 มีการกล่าวหาบาทหลวงคณะเจซูอิตในอังโกลา ซึ่งแม้แต่บาทหลวงคณะอื่น ๆ ในอังโกลาก็ไม่อาจรอดพ้นจากการถูกกล่าวหา ด้วยข้อหาคล้าย ๆ กันได้ ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 บาทหลวงคณะโดมินิกันแห่งแซมเบเซียก็ถูกกล่าวหาด้วยเช่นกัน แต่ผู้ที่กล่าวถึงเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องที่สุด คือชาวโปรเตสแตนท์ชื่อปีเตอร์ มุนดี ( ) หลังจากที่ได้เฝ้าดูบทบาทของบาทหลวงคณะเจซูอิต ในการเผยแพร่ศาสนาและทำงานทางด้านการศึกษาในเอเชีย ปีเตอร์ มุนดี ( ) ได้ประกาศเมื่อ ค.ศ. 1638 ว่า “หากจะกล่าวตามข้อเท็จจริงแล้วละก็บาทหลวงคณะเจซูอิตเป็นผู้ที่ประหยัดทั้งเงินทุนและแรงงาน ขยันหมั่นเพียรแต่ไม่หักโหม เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการทำงาน” เพื่อการสรรเสริญพระบารมีของพระเจ้า หรืออีกนัยหนึ่ง คือ บาทหลวงแห่งคณะเจซูอิตไม่เพียงแต่จะสามารถทำงานได้ดีเท่านั้น หากแต่ยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย1.
สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่ง เกี่ยวกับการทำงานของบาทหลวงคณะเจซูอิตที่ทำให้ถูกต่อต้านอย่างรุนแรง คือการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของชาวอเมรินเดียนในบราซิล คณะเจซูอิตเป็นนักบวชคณะเดียวในบราซิลที่สนับสนุนให้ชาวอเมริเดียนต่อต้านชาวผิวขาว ซึ่งพยายามแสวงหาผลประโยชน์จากชาวอเมริเดียน และต้องการจับชาวอเมรินเดียนไปเป็นทาส ยกเว้นในบางโอกาสและสถานที่จึงจะมีบาทหลวงคณะคาปูชิน ( ) ร่วมยืนหยัดในอุดมคติเดียวกัน บาทหลวงผู้มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของคณะเจซูอิต ชื่อบาทหลวงอันโตนิโย วิเยียรา ( ) ผู้มีชีวิตอย่างสมบุกสมบันในคริสต์วรรษที่ 17 ได้บันทึกไว้ว่า ความผิดของชาวโปรตุเกสที่กระทำต่อชาวอเมริเดียน เป็นผลให้ชาวอเมริเดียนมากกว่าสองล้านคน ในแถบลุ่มแม่น้ำอเมซอนเพียงแห่งเดียวต้องเสียชีวิตไปในช่วงเวลาสี่สิบปีแห่งการยึดครองของโปรตุเกส เรื่องราวที่บาทหลวง อันโตนิโย วิเยียราบันทึกไว้ มีลักษณะคล้ายกับเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในงานเขียนของบาทหลวง บาร์โธเลเม เดอ ลาส์ คาซัส ( ) ชาวสเปนแห่งคณะโดมินิกัน เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แตกต่างจากงานเขียนของบาทหลวง เดอ ลาส์ คาซัส คือ บาทหลวงวิเยียราและบาทหลวงชาวโปรตุเกสคนอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักจะมองข้ามความผิดอันเกิดจากการจับชาวนิโกรไปเป็นทาส ในขณะที่มองว่าการจับชาวอเมรินเดียนไปเป็นทางเป็นสิ่งที่จะต้องต่อต้าน แต่กระนั้นบาทหลวงเหล่านี้ก็ได้คัดค้านอย่างตรงไปตรงมาต่อการกระทำอันโหดร้ายทารุณ ที่ชาวอาฟริกันได้รับจากการถูกบังคับให้ทำงานในไร่น้ำตาลที่บราซิล อันเป็นดินแดนซึ่งทางแต่ละคนจะมีชีวิตรอดอยู่ได้โดยเฉลี่ยคนละ 3 ปี เท่านั้น
กษัตริย์โปรตุเกสทรงพิจารณาปัญหาความขัดแย้งเรื่องอิสรภาพของชาวอเมริเดียน ระหว่างบาทหลวงคณะเจซูอิตกับชาวผิวขาวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอาณานิคมอย่างค่อนข้างลังเลพระทัย แม้ว่าในสภาวะเช่นนั้นกษัตริย์โปรตุเกสจะทรงเข้าข้างบาทหลวงคณะเจซูอิตก็ตาม กฎหมายซึ่งถูกร่างขึ้นมาอย่างต่อเนื่องที่กรุงลิสบอน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาวอเมรินเดียน มีลักษณะที่ค่อนข้างจะประนีประนอม ทำให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความไม่พอใจและเกิดความขัดแย้งกันในระหว่างการพิจารณา แต่ท่าทีของคณะเจซูอิต โดยเฉพาะอิทธิพลของบาทหลวงอันโตนิโย วิเยียรา ผู้เคยเป็นที่ปรึกษาระดับสูงของกษัตริย์โปรตุเกส ได้ช่วยให้บรรดาบาทหลวงของชาวอินเดียนแห่งบราซิล ( ) ในอาณานิคมของสเปนแถบอเมริกา ( ) รอดพ้นจากความเดือนร้อนได้บ้าง ข้อกล่าวหาของคณะเจซูอิตต่อการแสดงความโหดร้ายทารุณกับทาสชาวอาฟริกัน ปรากฏให้เห็นจากงานเขียนสองชิ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จากการตีพิมพ์ของบาทหลวงคณะเจซูอิต งานทั้งสองเล่มประกอบด้วยเรื่องราวของทาสชาวนิโกรทั้งหมด1. คำกล่าวหาของคณะเจซูอิตซึ่งเข้าข้างชนชาติที่ถูกกดขี่นี้ ไม่มีผลโน้มน้าวจิตใจได้ดีเท่ากับงานเขียนของบาทหลวงคณะเจซูอิตชาวสแปนิช – อเมริกันชื่อ บาทหลวงอลองโซ เดอ ซัลโดวาล ( ) งานเขียนของเขา “ ” ตีพิมพ์ที่เซวิลล์ ( ) เมื่อ ค.ศ. 1627 คาดหมายเหตุการณ์ล่วงหน้าหลายเรื่องเกี่ยวกับการโต้แย้งของพวกที่นิยมการเลิกทาสชาวแองโกลแซกซอน ( )
ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อแห่งความล่อแหลมในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ หลายอย่างที่มีฐานะของจักรวรรดิโปรตุเกส ปัจจัยสำคัญที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ คือความเสื่อมโทรมและการลดจำนวนอาณานิคมโปรตุเกสในตะวันออก การเพิ่มความสำคัญของบราซิลและอังโกลา ความสูญเสียจากการปราชัยซึ่งโปรตุเกสได้รับ ระหว่างการรบกับดัทช์ในเอเชียนานถึงหกสิบปี เป็นสิ่งที่เร่งเร้าให้ศัตรูของโปรตุเกสชาติอื่น ๆ โจมตีอาณานิคมที่กำลังอ่อนแอของโปรตุเกสในแถบตะวันออก เมื่อสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 17 ชาวอาหรับแห่งโอมาน ( ) ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอำนาจทางทะเลขึ้นมา จึงไม่เพียงแต่จะรบกวนโปรตุเกสในอ่าวเปอร์เซียและดินแดนชายฝั่งทะเลทางทิศตะวันตกของอินเดียเท่านั้น หากแต่ยังช่วงชิงเอามอมบาซา ( ) ไปจากโปรตุเกส และคุกคามโมแซมบิกของโปรตุเกสอีกด้วย ความพยายามของโปรตุเกสในการปราบปรามการลุกฮือของชาวโอมานี ( ) ต้องประสบกับอุปสรรคจากการขยายอำนาจของแคว้นมาระตะ ( ) ในอินเดีย ซึ่งขยายตัวเข้ามาใกล้เมืองกัวมากจนทำให้โปรตุเกสวิตกกังวล สงครามอันยาวนานและผลพวงจากความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจ เป็นเครื่องแสดงว่า มิได้เหนี่ยวรั้งความดึงดูดใจของโปรตุเกสอีกต่อไป ดังเช่นเมื่อครั้งหนึ่งนั้น เคยมีความสำคัญเทียบเท่ากับกรุงลิสบอนเลยทีเดียว
ต้นปี ค.ศ. 1645 ชาวโปรตุเกสผู้หนึ่ง ซึ่งรู้จักบราซิลอย่างดีได้บันทึกไว้ว่า ไม่มีภูมิภาคใดในโปรตุเกส ( ) ที่อุดมสมบูรณ์ อยู่ใกล้อำนาจทางการเมือง มีทาสดีและมีที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยยิ่งกว่าบราซิล ชาวโปรตุเกสที่ตกทุกข์ได้ยากในมาตุภูมิ จึงควรจะเดินทางไปยังบราซิล 1.
ข้อความในบันทึกข้างต้นเขียนขึ้นก่อนที่ดินแดนเกือบครึ่งหนึ่งของบราซิล จะตกอยู่ภายใต้การยึดครองของดัทช์ อีกสิบปีต่อมาหลังจากการขับไล่ผู้รุกรานนอกรีต (ชาวดัทช์ : ผู้แปล) และ หลังจากการฟื้นตัวของตลาดน้ำตาลแล้ว การอพยพออกจากโปรตุเกสยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ครั้นในช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1680 ปรากฏว่ามีชาวโปรตุเกสอพยพออกจากมาตุภูมิไปยังบราซิลประมาณ 2,000 คน ผู้อพยพส่วนใหญ่เดินทางไปบราซิลด้วยความสมัครใจ ตรงกันข้ามกับกองเรือโปรตุเกสที่เดินทางไปยังอินเดียในช่วงนั้น ซึ่งบรรทุกแต่พวกที่ถูกเนรเทศ ( ) นักโทษ ( ) และคนเดนคุก ( ) ที่ถูกเกณฑ์เป็นทหาร ดังนั้นในแต่ละปีจึงไม่บ่อยนักที่จะมีผู้เดินทางไปยังอินเดียเกินกว่า 1,000 คน ผู้หญิงผิวขาวที่อพยพไปยังบราซิลมีจำนวนไม่มากนัก แต่การเดินทางช่วงสั้น ๆ และง่าย ๆ เช่นนี้ ทำให้จำนวนของผู้หญิงที่เดินทางไปบราซิลมีมากกว่าผู้หญิงที่ลงเรือเดินทางไปยังอินเดีย ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางที่ยาวนานและเต็มไปด้วยภยันตรายเป็นอย่างยิ่ง
กษัตริย์รังซัวร์ที่ 1 ( ) แห่งฝรั่งเศส ได้ทรงขนามพระนามแห่งกษัตริย์มานูเอลที่ 1 ( ) อย่างดูถูกเหยียดหยามว่า “ หรือ (กษัตริย์ผู้ค้าของชำ อีกหนึ่งร้อยห้าสิบปีต่อมาพระนามนี้ก็ไม่อาจนำมาใช้ได้อีกต่อไปกับกษัตริย์ดอม โจอาวที่ 4 ( ) ผู้ทรงได้รับพระนามว่า “ ” กษัตริย์ดอม โจอาวที่ 4 ยังทรงตั้งชื่อให้แก่บราซิลด้วยพระองค์เองว่า บราซิลคือ “ หรือ (วัวนม) ส่วนพระองค์ บราซิลเป็นแหล่งน้ำตาล ยาสูบ ไม้ฝาง ( )1. และผลิตผลอื่น ๆ จากพืชเมืองร้อน ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้โปรตุเกสสามารถสนับสนุนกองทัพในการป้องกันชายแดนให้พ้นจากการรุกรานของสเปน และเป็นปัจจัยที่ทำให้โปรตุเกสได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสและอังกฤษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น