วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เบื่อเหนื่อย: ประวัติขนม..... การแกะรอยการตอบรับวิทยานิพนธ์ทางประวัติศาสตร์

โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ผู้เขียนบังเอิญสืบค้นพบบทความชื่อ “ประวัติขนม” ปรากฏในแหล่งข้อมูลสารสนเทศข้างล่าง เห็นเข้าท่าดี นึกชมว่า เขียนดีและ มีการอ้างเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จากบุคคลร่วมสมัย และขณะที่กำลังจะนำมาอ้างในเวบจัดการความรู้แห่งนี้ อ่านไปอ่านมาก็พบสำนวนคุ้นหูคุ้นตายิ่งนัก ในที่สุดก็ถึงบางอ้อ ......
อย่างไรก็ดี ผู้เขียนรู้สึกภาคภูมิใจที่มีผู้นำเนื้อหาบางส่วนของวิทยานิพนธ์เรื่อง “ชุมชนชาวโปรตุเกสในสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2059-2310” ไปพัฒนาและเผยแพร่สู่สาธารณชน ด้วยเหตุนี้จึงขออนุญาตเจ้าของบทความด้านล่างในการนำกลับมาถ่ายทอดซ้ำอีกครั้งใกล้ๆกับต้นฉบับเดิม เพื่อให้เกิดแสงสว่างทางปัญญา


http://toxicoffee.exteen.com/page/4 2005/Dec/30
เบื่อ เหนื่อย ประวัติ ขนม

ข้าวนม เข้าหนม ข้าวหนม ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า ขนม ซึ่งมีผู้สันทัดกรณีหลายท่านตั้งข้อสันนิษฐานไว้ เริ่มตั้งแต่คำแรก ข้าวนม ที่นักคหกรรมศาสตร์หลายท่านบอกต่อ ๆ กันมาว่าน่าจะมาจากคำคำนี้ เนื่องจากขนมมีอิทธิพลมาจากอินเดียที่ใช้ข้าวกับนมเป็นส่วนผสมสำคัญที่สุดในการทำขนมแต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากนมไม่มีบทบาทสำคัญในขนมไทยเลย ขนมไทยใช้มะพร้าวหรือกะทิทำต่างหาก

สำหรับ เข้าหนม นั้น พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า หนม เพี้ยนมาจาก เข้าหนม เนื่องจาก หนม นั้นแปลว่าหวาน แต่หกลับไม่ปรากฎความหมายของขนม ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า ข้าวหนม แต่ถึงอย่างไรก็ไม่พบความหมายของคำว่า หนม ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือเมื่ออยู่โดด ๆ ในพจนานุกรมเช่นกันอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คำว่า ขนม อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า หนม ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้ง เมื่อลองพิจารณาดูแล้วพบว่าขนมส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากแป้งทั้งนั้น โดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ขนม เพี้ยนมาจาก ขนม ในภาษาเขมรก็เป็นได้ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วยฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิ และคนไทยเองก็ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็นชีวิตจิตใจหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมไทยกับคนไทยก็คือวรรณคดีมรดกสุโขทัยเรื่องไตรภูมิพระร่วง ซึ่งกล่าวถึงขนมต้มที่เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งไว้

(อยู่ในพิทยะน.261-268 )
ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา ดังปรากฎข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับ บางฉบับกล่าวถึง ย่านป่าขนม หรือตลาดขนม บางฉบับกล่าวถึง บ้านหม้อ ที่มีการปั้นหม้อ และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขาย บางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่อง
จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทย ดังที่จดหมายเหตุฝรั่งโบราณได้มีการบันทึกไว้ว่า การทำขนมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาวโปรตุเกสอย่างท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์หรือบรรดาศักดิ์ว่า ท้าวทองกีบม้า ผุ้เป็นต้นเครื่องขนมหรือของหวานในวัง ได้สอนให้สาวชาววังทำของหวานต่าง ๆ โดยเฉพาะได้นำไข่ขาวและไข่แดงมาเป็นส่วนผสมสำคัญอย่างที่ทางโปรตุเกสทำกัน ขนมที่ท่านท้าวทองกีบม้าทำขึ้นและยังเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็ได้แก่ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง และรวมไปถึง ขนมทองโปร่ง ขนมทองพลุ ขนมสำปันนี ขนมไข่เต่า ฯลฯ

ขนมไทยแท้ๆ นั้น จากการศึกษาพบว่า ส่วนประกอบหลักของขนมไทยมักหนีไม่พ้นของสามสิ่ง คือ แป้ง น้ำตาล และ มะพร้าว นำมาคลุกเคล้าผสมผสาน ดัดแปลงตามสัดส่วนที่เหมาะสมด้วยวิธีต่างๆ เช่น นึ่ง ต้มทอด จี่ ผิง ก็จะได้ขนมไทยมากมายหลายชนิด

คนไทยสมัยโบราณไม่ได้กินขนมทุกวัน หากแต่จะได้กินก็ต่อเมื่อมีงานนักขัตฤกษ์ หรืองานบุญสำคัญเท่านั้น ขนมไทยที่มักพบกันบ่อยที่กินกับน้ำกะทิ และทำเลี้ยงแขกเสมอ คือ ขนมสี่ถ้วย ซึ่งหมายถึง ไข่กบ (เม็ดแมงลัก) นกปล่อย (ลอดช่อง) มะลิลอย (บัวลอย) และอ้ายตื้อ (ข้าวเหนียวน้ำวุ้น) ส่วนขนมอื่นๆ มักใช้ในงานมงคลต่างๆ เช่น ขนมชั้น ขนมจ่ามงกุฎ ขนมกง ขนมสามเกลอ ขนมปุยฝ้าย เป็นต้น ฯลฯ

(อยู่ในพิทยะ น.262-263)ในงาน "นิทรรศการขนมนานาชาติ" ซึ่งจัดโดยภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2541 ได้จำแนกกลุ่มขนมหวานของไทยที่ได้รับอิทธิพลจาก วัฒนธรรมโปรตุเกส คือ ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอด บ้าบิ่น ลูกชุบ ขนมผิง ทองม้วน ขนมหม้อแกง ขนมไข่กะหรี่ปั๊บ

มีหลักฐานพบว่า ในโปรตุเกส ขนมที่ชื่อ ตรูซูช ดาช กัลดัช (Trouxos das caldas) คือ ต้นตำรับของขนม ทองหยิบ และขนม Fios de Ovos คือ ขนมฝอยทอง ส่วนขนม เกลชาดาซ เดอ กรูอิงบรา (Queijadas de Coimbra) เป็นต้นตำรับ ขนมบ้าบิ่น ของไทย ซึ่งใช้เนยแข็ง แต่ในบ้านเราใช้มะพร้าวแทนสำหรับ ลูกชุบ เป็นขนมประจำถิ่นโปรตุเกส แพร่หลายมาถึงย่านเมดิเตอร์เรเนียนแถบฝรั่งเศสตอนใต้ เพราะอยู่ใกล้บ้าน เช่น เมืองนีซ เมืองคานส์ ก็มีขนมลูกชุบมากมายทั้งเมือง ลูกชุบในภาษาโปรตุเกส เรียกว่า Massapa'es เป็นขนมประจำถิ่นของ แคว้นอัลการ์วิ (Aigaeve) โดยโปรตุเกสใช้เม็ด อัลมอนด์ เป็นส่วนผสมสำคัญ แต่บ้านเราไม่มี จึงต้องคิดด้วยการใช้ ถั่วเขียว แทน เนื่องจากขนมโปรตุเกสจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ความชำนาญพิเศษ จึงจะได้ขนมหวานที่รสชาติดีออกมาสีสันสวยงามดังนั้น แม้ทุกวันนี้ ขนมฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด ยังเป็นขนมยอดฝีมือที่ผู้ทำต้องมีความชำนาญ และได้รับการยกย่อง หากทำขนมประเภทนี้ได้รสชาติดี สวยงาม ประณีต

ในรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บาทหลวงฝรั่งเศส เดอโลลีเยร์ บันทึกรายงานถึงระดับความมีหน้ามีตา และรสนิยมการบริโภคขนมหวานของชาวโปรตุเกสในสมัยกรุงศรีอยุธยา กระทั่งราชสำนักสยามถึงกับต้องเกณฑ์ขนมหวานจาก หมู่บ้านโปรตุเกส เข้าไปในพระราชวัง เนื่องในโอกาสนักขัตฤกษ์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก ดังความตอนหนึ่งว่า

"พวกเข้ารีตบางครัว ต้องถูกเกณฑ์ให้ทำของหวานแก่พระเจ้าแผ่นดิน ในวันนักขัตฤกษ์ ในวันชนิดนี้พระเจ้ากรุงสยามก็มีรับสั่งให้พวกเข้ารีตนี้ ทำของหวานเป็นอันมาก อ้างว่าสำหรับงานนี้งานนั้น เป็นต้นว่า สำหรับพิธีล้างศีรษะช้าง ซึ่งถือว่าเป็นพระองค์หนึ่ง หรือสำนักงาน(ที่ถูก คือ สำหรับงาน ไม่ใช่ สำนักงาน: พิทยะ)ไหว้พระพุทธบาทดังนี้"

อาจด้วยเป็นพระราชประสงค์ที่มีรับสั่งตรงมาจากราชสำนักสยาม ทำให้ มาดามดอนญา มาเรีย กิอูมาร์ เดอ(ดึในต้นฉบับพิทยะ) ปินา ภรรยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ฟอลคอน ซึ่งรับหน้าที่แม่บ้านหัวเรือใหญ่จัดอาหารเลี้ยงรับรองราชอาคันตุกะต่างประเทศที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยามากมาย ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ท้าวทองกีบม้า (เพียนจาก 'กิอูมาร์') ตำแหน่งวิเศสกลาง ถือศักดินา 400 เป็นผู้กำกับการพนักงานของหวานในพระราชวัง

อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน ชาวตะวันตกอีกผู้หนึ่งที่บันทึกการเดินทางเกี่ยวกับเรื่องของ ท้าวทองกีบม้าว่า"ข้าพเจ้าได้เห็นท่านผู้หญิงของฟอลคอนในปี พ.ศ.2262 เวลานี้ท่านได้รับเกียรติเป็นต้นห้องเครื่องหวานาของพระเจ้าแผ่นดิน ท่านเกิดในกรุงสยามในตระกุลอันมีเกียรติ และในเวลานั้นท่านเป็นที่ยกย่องนับถือแก่คนทั่วไป...(อยู่ในเชิงอรรถของพิทยะ น.265)

ท่านท้าวทองกีบม้าผู้นี้ เป็นต้นการสั่งสอนให้ชาวสยามทำของหวาน คือ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมทองโปร่ง ทองพลุ ขนมผิง ขนมฝรั่ง ขนมผิง ขนมไข่เต่า ขนมทองม้วน ขนมสัมปันนี ขนมหม้อแกง เป็นต้นเหตุเดิมที่ท้าวทองกีบม้าทำและสอนให้ชาวสยาม"

นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่มีการยอมรับวัฒธรรมขนมหวานจากชาวโปรตุเกส ซึ่งมักนิยมนำมาจัดเลี้ยงในงานพิธีมงคลต่างๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาในครั้งกระนั้นสืบทอดมาถึงยุคปัจจุบันในทุกวันนี้
http://www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J3987849/J3987849.html
posted by toxicoffee, at 2005-Dec-30 19:40:161
2005/Dec/28

1 ความคิดเห็น:

  1. ผม เซ็งมาเลย ขนมครก ครก คือ คนรักกัน ตามนี้ก็รู้แล้วว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องรักๆใคร่ๆ น่าจะเกี่ยวกับอุปกรณ์ใช้ทำในสมันก่อนมากกว่า

    ตอบลบ